ค่อนข้างจะชัดเจนล้วว่า จรวดท่อนแรกของ Falcon-9 ที่ถูกใช้ส่งดาวเทียมในโครงการ JCSAT 14 ในวันที่ 6 พฤษภาคม ที่ผ่านมานั้น
ได้รับความเสียหายจนถึงขีดสูงสุด ที่จะสามารถยอมรับให้มีการใช้งานต่อไปได้อีก มันจึงอาจจะต้องถูกหยุดการใช้งานลง
ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ที่แหลมคานาเวรัล จรวด Falcon-9 ของบริษัทเอกชน SpaceX
กำลังจะนำดาวเทียม JCSAT 14 ขึ้นสู่วงโคจร และมีแผนจะนำจรวดท่อนแรกกลับมาลงจอดอีกครั้ง หลังจากที่เคยทำสำเร็จไปแล้วครั้งหนึ่ง
แต่ในครั้งนี้นั้น ยากกว่ามาก เนื่องจากความสูงของวงโคจรดาวเทียม สูงกว่าการส่งสัมภาระให้กับ สถานีอวกาศ ISS มาก
ดังนั้นเครื่องยนต์ และจรวดท่อนแรก จะต้องแบกรับภาระงานที่หนักกว่าเดิมมาก แต่สุดท้ายมันก็สามารถลงจอดที่ยานลอยน้ำได้สำเร็จ
โดยภาระกิจของวันที่ 6 พฤษภาคมนั้น วงโคจรของดาวเทียมสื่อสาร JCSAT 14 นั้น อยู่สูงถึง 22,000 ไมล์
ในขณะที่การส่งสัมภาระของ NASA ไปยัง ISS นั้น ISS มีวงโคจรอยู่สูงประมาณ 250 ไมล์เท่านั้นเอง
ด้วยความสูงขนาดนี้ มันจึงต้องการความเร็วที่สูงมากเช่นกัน และด้วยความเร็วและความเร่งขนาดนี้
นั่นทำให้จรวดจะได้รับความร้อนที่สูงกว่าการปฏิบัติงานในครั้งก่อนมากถึง 5 เท่า
และในขณะที่จรวดท่อนแรกถูกปลดออก ตัวมันยังมีความเร็วถึง 5,220 ไมล์ต่อชม. หรือประมาณ 1.5 ไมล์ต่อวินาที
หลังจากที่จรวดท่อนแรกลอยขึ้นไปถึงระดับความสูงที่ 76 ไมล์ เครื่องยนต์ 3 จาก 9 เครื่อง ก็ถูกจุดระเบิดอีกครั้ง
เพื่อลดความเร็วของจรวดลง จาก 441 ไมล์ต่อชม. ให้เหลือเพียง 134 ไมล์ต่อชม. ให้ได้ในเวลา 3 วินาที
และจากนั้นจะเป็นหน้าที่เครื่องยนต์ เพียงเครื่องเดียว ที่จะนำมันกับมาลงจอดบนยานลอยน้ำอัตโนมัติ ในมหาสมุทธแอตแลนติก
ด้วยความเร็ว 2.5 ไมล์ต่อชม.
ตัวขับดันถูกเผาเกรียม และไม่คิดว่ามันจะสามารถนำมาใช้อีกครั้งได้แน่ๆ
แต่มันจะกลายเป็นตัวศึกษาและทดสอบที่ดี สำหรับการทดลองบนพื้น เพื่อพัฒนาตัวอื่นๆต่อไป
สำหรับภาระกิจต่อไปของ Falcon-9 คือการส่งดาวเทียมไทยคม8 ขึ้นสู่วงโคจร
ตามกำหนดการแล้วจะเป็นวันที่ 26 พฤษภาคมนี้ แต่ยังไม่มีการยืนยัน และคาดว่าจะมีการเลื่อนไปเป็นเดือนมิถุนายนแทน
อ้างอิง
http://news.discovery.com/space/private-spaceflight/blazing-spacex-rocket-suffered-max-damage-160518.htm
[Falcon-9] จรวดท่อนแรก อาจจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง!!!!
ได้รับความเสียหายจนถึงขีดสูงสุด ที่จะสามารถยอมรับให้มีการใช้งานต่อไปได้อีก มันจึงอาจจะต้องถูกหยุดการใช้งานลง
ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ที่แหลมคานาเวรัล จรวด Falcon-9 ของบริษัทเอกชน SpaceX
กำลังจะนำดาวเทียม JCSAT 14 ขึ้นสู่วงโคจร และมีแผนจะนำจรวดท่อนแรกกลับมาลงจอดอีกครั้ง หลังจากที่เคยทำสำเร็จไปแล้วครั้งหนึ่ง
แต่ในครั้งนี้นั้น ยากกว่ามาก เนื่องจากความสูงของวงโคจรดาวเทียม สูงกว่าการส่งสัมภาระให้กับ สถานีอวกาศ ISS มาก
ดังนั้นเครื่องยนต์ และจรวดท่อนแรก จะต้องแบกรับภาระงานที่หนักกว่าเดิมมาก แต่สุดท้ายมันก็สามารถลงจอดที่ยานลอยน้ำได้สำเร็จ
โดยภาระกิจของวันที่ 6 พฤษภาคมนั้น วงโคจรของดาวเทียมสื่อสาร JCSAT 14 นั้น อยู่สูงถึง 22,000 ไมล์
ในขณะที่การส่งสัมภาระของ NASA ไปยัง ISS นั้น ISS มีวงโคจรอยู่สูงประมาณ 250 ไมล์เท่านั้นเอง
ด้วยความสูงขนาดนี้ มันจึงต้องการความเร็วที่สูงมากเช่นกัน และด้วยความเร็วและความเร่งขนาดนี้
นั่นทำให้จรวดจะได้รับความร้อนที่สูงกว่าการปฏิบัติงานในครั้งก่อนมากถึง 5 เท่า
และในขณะที่จรวดท่อนแรกถูกปลดออก ตัวมันยังมีความเร็วถึง 5,220 ไมล์ต่อชม. หรือประมาณ 1.5 ไมล์ต่อวินาที
หลังจากที่จรวดท่อนแรกลอยขึ้นไปถึงระดับความสูงที่ 76 ไมล์ เครื่องยนต์ 3 จาก 9 เครื่อง ก็ถูกจุดระเบิดอีกครั้ง
เพื่อลดความเร็วของจรวดลง จาก 441 ไมล์ต่อชม. ให้เหลือเพียง 134 ไมล์ต่อชม. ให้ได้ในเวลา 3 วินาที
และจากนั้นจะเป็นหน้าที่เครื่องยนต์ เพียงเครื่องเดียว ที่จะนำมันกับมาลงจอดบนยานลอยน้ำอัตโนมัติ ในมหาสมุทธแอตแลนติก
ด้วยความเร็ว 2.5 ไมล์ต่อชม.
ตัวขับดันถูกเผาเกรียม และไม่คิดว่ามันจะสามารถนำมาใช้อีกครั้งได้แน่ๆ
แต่มันจะกลายเป็นตัวศึกษาและทดสอบที่ดี สำหรับการทดลองบนพื้น เพื่อพัฒนาตัวอื่นๆต่อไป
สำหรับภาระกิจต่อไปของ Falcon-9 คือการส่งดาวเทียมไทยคม8 ขึ้นสู่วงโคจร
ตามกำหนดการแล้วจะเป็นวันที่ 26 พฤษภาคมนี้ แต่ยังไม่มีการยืนยัน และคาดว่าจะมีการเลื่อนไปเป็นเดือนมิถุนายนแทน
อ้างอิง
http://news.discovery.com/space/private-spaceflight/blazing-spacex-rocket-suffered-max-damage-160518.htm