ต้องแจ้งก่อนว่า ประเด็นคำถามเป็นเรื่องเกี่ยวกับสรรพากรและข้อกฎหมายอื่น ๆ ไม่ได้เกี่ยวกับหุ้นส่วนนะคะ
คำถามคือ ในกรณีที่เรามี บริษัทจำกัด อยู่ในระบบ VAT เป็นธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป แต่หากผ่านระยะหนึ่ง เช่น 3 ปี ธุรกิจไปได้ไม่ดีพอ การอยู่ในระบบ vat จะมีความยุ่งยากกว่า ทั้งเรื่องสรรพากร ค่าใช้จ่าย การเก็บรักษาเอกสาร ค่าปรับต่าง ๆ จากการหลงลืม ผิดพลาดต่าง ๆ ฯ
ทางหุ้นส่วนมีการปรึกษากัน แนวความคิดคือ
1. หุ้นส่วนบริษัท ยังคงทำงานด้วยกัน แต่ต้องการสำแดงรายได้เป็นบุคคลธรรมดา เช่น รายได้จากการขายสินค้าปีละ 1.5 ล้าน กระจายออกเป็นรายได้ของหุ้นส่วนแต่ละคน ๆ ละ 5 แสนบาท และยื่น vat เป็น 0 สำหรับบริษัทจำกัด เป็นทางออกที่ดีหรือไม่
2. เนื่องจาก บริษัทจำกัด จะยังไม่ได้จดเลิก เพียงแต่ยื่น vat เป็น 0 และยื่นงบเปล่าไปสักระยะหนึ่ง ทีนี้ ถ้าหากมีลูกค้าที่ "ต้อง" ใช้ใบกำกับภาษี คำถามคือ หากหุ้นส่วน/กรรมการ ทำตามข้อ 1 ไปแล้ว มันมีกฎหมายหรือข้อบังคับอะไร ที่ "ห้าม" หุ้นส่วน/กรรมการ ทำธุรกิจส่วนตัวแบบเดียวกับ บริษัท ที่ตนเองถือหุ้น หรือไม่ (เอาเฉพาะในแง่กฎหมาย / สรรพากร นะคะ ไม่ต้องพูดเรื่องหุ้นส่วนฟ้องร้อง เพราะเขาตกลงเห็นด้วยแต่แรกแล้ว)
ขอบคุณค่ะ
กรรมการบริษัท กับการทำธุรกิจส่วนตัว
คำถามคือ ในกรณีที่เรามี บริษัทจำกัด อยู่ในระบบ VAT เป็นธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป แต่หากผ่านระยะหนึ่ง เช่น 3 ปี ธุรกิจไปได้ไม่ดีพอ การอยู่ในระบบ vat จะมีความยุ่งยากกว่า ทั้งเรื่องสรรพากร ค่าใช้จ่าย การเก็บรักษาเอกสาร ค่าปรับต่าง ๆ จากการหลงลืม ผิดพลาดต่าง ๆ ฯ
ทางหุ้นส่วนมีการปรึกษากัน แนวความคิดคือ
1. หุ้นส่วนบริษัท ยังคงทำงานด้วยกัน แต่ต้องการสำแดงรายได้เป็นบุคคลธรรมดา เช่น รายได้จากการขายสินค้าปีละ 1.5 ล้าน กระจายออกเป็นรายได้ของหุ้นส่วนแต่ละคน ๆ ละ 5 แสนบาท และยื่น vat เป็น 0 สำหรับบริษัทจำกัด เป็นทางออกที่ดีหรือไม่
2. เนื่องจาก บริษัทจำกัด จะยังไม่ได้จดเลิก เพียงแต่ยื่น vat เป็น 0 และยื่นงบเปล่าไปสักระยะหนึ่ง ทีนี้ ถ้าหากมีลูกค้าที่ "ต้อง" ใช้ใบกำกับภาษี คำถามคือ หากหุ้นส่วน/กรรมการ ทำตามข้อ 1 ไปแล้ว มันมีกฎหมายหรือข้อบังคับอะไร ที่ "ห้าม" หุ้นส่วน/กรรมการ ทำธุรกิจส่วนตัวแบบเดียวกับ บริษัท ที่ตนเองถือหุ้น หรือไม่ (เอาเฉพาะในแง่กฎหมาย / สรรพากร นะคะ ไม่ต้องพูดเรื่องหุ้นส่วนฟ้องร้อง เพราะเขาตกลงเห็นด้วยแต่แรกแล้ว)
ขอบคุณค่ะ