ขอบคุณเนื้อหาจาก
ยิ้มเกษตรฟอรั่ม
การปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง เพื่อให้ได้ประโยชน์ ตามหลักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส คือ การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ ก็ให้เขาได้ให้ใช้วิธีปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง (คือการปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง ) คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ และไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน และปลูกรับซับน้ำ ปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วยโดยเป็นการรับน้ำฝนอย่างเดียว และประโยชน์อย่างที่ 4 ของการปลูกป่าคือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำได้
แนวทางการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง
การปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง ก็คือการปลูกไม้สามอย่างแต่ให้ประโยชน์สี่อย่าง เป็นการปลูกไม้ให้พออยู่ ก็คือปลูกไม้เศรษฐกิจปลูกไว้สำหรับทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย ส่วนพอกิน ก็คือการปลูกพืชเกษตรและสมุนไพรต่างๆเพื่อการกิน พอใช้ คือการปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงเพื่อพลังงาน อย่างการปลูกไม้สำหรับทำเป็นไม้ฟืน และไม้ไผ่ และจะต้องมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ ด้วยการสร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายในทางชีวภาพในพื้นที่ป่า
โครงการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการปลูกป่าสามอย่างคือ ปลูกป่าสำหรับไม้ใช้สอย เป็นป่าสำหรับไม้ผล และป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง โดยประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างเกื้อกูล และยังได้ประโยชน์อย่างที่ ๔ คือการอนุรักษ์ดินและน้ำอีกด้วย ซึ่งการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง มีวัตถุประสงค์ คือเพื่อให้ประชาชนสามารถปลูกต้นไม้ตามแนวคิดของป่า 3 อย่าง และประโยชน์ 4 อย่าง จากการจัดรูปแบบของการปลูกให้เกิดคุณค่าและบูรณาการ ในพื้นที่ทำกินเดิมๆ ให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า และสามารถสร้างมูลค่าต้นไม้ที่ปลูก เพื่อทำให้เป็นทรัพย์และเพื่อการออมทรัพย์สำหรับการใช้แก้ปัญหาความยากจน
วิธีการดำเนินการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง
การจัดแบ่งที่ดินทำกินเพื่อใช้ในการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง (ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง) จากพื้นที่ทำกินจากที่เป็นพื้นที่สวน หรือไร่นาโดยแบ่งพื้นที่ออกมา เพื่อทำเป็นพื้นที่จัดแบ่งปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง โดยปลูกในพื้นที่ร้อยละ 30-50 โดยจัดส่วนอยู่ด้านหนึ่งของพื้นที่ เป็นริ้วหรือแถบตามความเหมาะสม หรือจัดแบ่งออกมาชัดเจน และการปลูกพันธุ์ไม้ในพื้นที่ตามความเหมาะสม โดยให้อยู่ในความพออยู่ (ไม้ตะเคียนทอง, สัก, ไม้ยางนา, มะฮอกกานี, จำปาทอง ฯลฯ ) พอกิน (เงาะ, ทุเรียน, มะม่วง, ลองกอง ,ปาล์ม, มะพร้าว, ยางพารา ฯลฯ) พอใช้ (ปลูกต้นไม้สำหรับใช้สอย อย่างไม้ไผ่,หวาย เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในครัวเรือน)
ที่มา:
http://www.yimkaset.com/forum/index.php?topic=130946.0
เคล็ดหลับของแนวคิดการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง เพื่อให้ป่าได้ประโยชน์มากที่สุด
การปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง เพื่อให้ได้ประโยชน์ ตามหลักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส คือ การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ ก็ให้เขาได้ให้ใช้วิธีปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง (คือการปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง ) คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ และไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน และปลูกรับซับน้ำ ปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วยโดยเป็นการรับน้ำฝนอย่างเดียว และประโยชน์อย่างที่ 4 ของการปลูกป่าคือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำได้
แนวทางการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง
การปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง ก็คือการปลูกไม้สามอย่างแต่ให้ประโยชน์สี่อย่าง เป็นการปลูกไม้ให้พออยู่ ก็คือปลูกไม้เศรษฐกิจปลูกไว้สำหรับทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย ส่วนพอกิน ก็คือการปลูกพืชเกษตรและสมุนไพรต่างๆเพื่อการกิน พอใช้ คือการปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงเพื่อพลังงาน อย่างการปลูกไม้สำหรับทำเป็นไม้ฟืน และไม้ไผ่ และจะต้องมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ ด้วยการสร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายในทางชีวภาพในพื้นที่ป่า
โครงการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการปลูกป่าสามอย่างคือ ปลูกป่าสำหรับไม้ใช้สอย เป็นป่าสำหรับไม้ผล และป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง โดยประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างเกื้อกูล และยังได้ประโยชน์อย่างที่ ๔ คือการอนุรักษ์ดินและน้ำอีกด้วย ซึ่งการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง มีวัตถุประสงค์ คือเพื่อให้ประชาชนสามารถปลูกต้นไม้ตามแนวคิดของป่า 3 อย่าง และประโยชน์ 4 อย่าง จากการจัดรูปแบบของการปลูกให้เกิดคุณค่าและบูรณาการ ในพื้นที่ทำกินเดิมๆ ให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่า และสามารถสร้างมูลค่าต้นไม้ที่ปลูก เพื่อทำให้เป็นทรัพย์และเพื่อการออมทรัพย์สำหรับการใช้แก้ปัญหาความยากจน
วิธีการดำเนินการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง
การจัดแบ่งที่ดินทำกินเพื่อใช้ในการปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง (ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง) จากพื้นที่ทำกินจากที่เป็นพื้นที่สวน หรือไร่นาโดยแบ่งพื้นที่ออกมา เพื่อทำเป็นพื้นที่จัดแบ่งปลูก 3 อย่างได้ 4 อย่าง โดยปลูกในพื้นที่ร้อยละ 30-50 โดยจัดส่วนอยู่ด้านหนึ่งของพื้นที่ เป็นริ้วหรือแถบตามความเหมาะสม หรือจัดแบ่งออกมาชัดเจน และการปลูกพันธุ์ไม้ในพื้นที่ตามความเหมาะสม โดยให้อยู่ในความพออยู่ (ไม้ตะเคียนทอง, สัก, ไม้ยางนา, มะฮอกกานี, จำปาทอง ฯลฯ ) พอกิน (เงาะ, ทุเรียน, มะม่วง, ลองกอง ,ปาล์ม, มะพร้าว, ยางพารา ฯลฯ) พอใช้ (ปลูกต้นไม้สำหรับใช้สอย อย่างไม้ไผ่,หวาย เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในครัวเรือน)
ที่มา: http://www.yimkaset.com/forum/index.php?topic=130946.0