เรื่องจริงไกล้ตัว-ราคายา-ทำไมแตกต่างระหว่างโรงพยาบาลรัฐกับเอกชน

เรื่องที่สังคมให้ความสนใจ – โรงพยาบาลเอกชนเอาเปรียบ คิดค่ายาแพงเวอร์
เรื่องจริง – รัฐบาลอุดหนุนต้นทุนทางตรงยาแก่โรงพยาบาลรัฐ ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนต้องจ่ายเอง 100%

ผมเริ่มต้นด้วยประเด็นที่เราต่างให้ความสำคัญ และมีความสงสัยในเรื่องราวเหล่านี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่สังคมกำลังให้ความสนใจว่าทำไมหญิงแย้จึงเตียงหัก (เกี่ยวมั้ย T_T)

ผมก็เคยป่วยและเคยได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลเอกชน และ โรงพยาบาลรัฐ (ถ้าป่วยต้นเดือนเอกชน ถ้าปลายเดือนรัฐ T_T) จึงทำให้เห็นความแตกต่างในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะถ้าเมื่อไหร่ที่ผมไปรับการรักษาด้วยประกันชีวิต กับ ประกันสังคม…เฮ้อ…(ขอถอนหายใจยาวๆ) ครับ…ผมขอไม่เยิ่นเย้อไปเรื่อยจึงขอเข้าประเด็นที่ผมสงสัยและเอาคำตอบมาฝากเพื่อนๆ ละกันครับ โดยเรามาดูกันว่าทำไม่ราคายาโรงพยาบาลเอกชน กับโรงพยาบาลรัฐจึงแตกต่างกันนักหนา ซึ่งหลายๆ คนที่เคยมีประสบการณ์นี้ต่างก็รู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบจากโรงพยาบาลเอกชน โดยผมเห็นได้จากโพสต์ต่อว่าใน Pantip นี่แหละ อิอิ

ที่มาข้อมูล:
1. สมาคมโรงพยาบาลเอกชน - http://www.posttoday.com/social/health/368682
2. กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักยา - http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/

ต้นทุนยา เปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน

จากภาพจะเห็นว่าโรงพยาบาลรัฐมีค่าอุดหนุนต้นทุนทางตรงโดยรัฐบาล (โดยภาษีประชาชน) แต่ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนต้องจ่ายเอง สังเกตุว่ากำไรค่ายาของโรงพยาบาลเอกชนนั้นยังสามารถทำได้สูงสุดถึง 15% ในขณะที่ต้องแบกรับต้นทุนทั้งหมด 100% ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องของการบริหารจัดการ

ภาพรวมผมเข้าใจว่าโรงพยาบาลเอกชนสามารถทำกำไรได้จากการบริการจัดการที่ดีกว่า และมีรายได้จากบริการอื่นๆ เสริม โดยคุณผู้อ่านที่เคยไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งมาบ้างจะทราบดี เช่น ลูกค้าจะมีชาวต่างประเทศมารักษาเยอะ (Medical tourism) คนไข้ต่างชาติเหล่านี้พกพาเงินถุงเงินถังมารักษาบ้านเรา เราบอกว่าแพงแต่เค้าบอกว่าจิ๊บๆ เหอๆ

เผยสถิติการใช้บริการสาธารสุขของไทย
นับตั้งแต่ปี 2546 ภายหลังมีการประกาศใช้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีสถิติผู้ป่วยที่ใช้บริการรักษาพยาบาลดังนี้
1. ผู้ป่วยนอก 91.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นเป็น 136.2 ล้านครั้ง
2. ผู้ป่วยใน 31 ล้านวัน เพิ่มขึ้นเป็น 32.9 ล้านวัน

สำหรับค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา บอกว่า หลักๆ แบ่งเป็น 3 หมวด คือ 1.ค่าธรรมเนียมบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งวิชาชีพแพทย์และวิชาชีพอื่นๆ 2.ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ต่างๆ เช่น สายสวนหัวใจ ข้อเข่าเทียม เป็นต้น และ 3.ค่าบริการต่างๆ ของแต่ละสถานพยาบาล ซึ่งจะแตกต่างกันไป นอกจากนี้อาจจะมีหมวดย่อยอื่นๆ
อ้างอิง: http://www.komchadluek.net/detail/20150515/206306.html

ภาครัฐมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง
ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย พ.ศ. 2559 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ “เพื่อสร้างเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ให้มั่นใจได้ว่าการส่งเสริมการขายยาในประเทศเป็นไปเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ ตามหลักธรรมาภิบาลระบบยา” ผมขอยกประเด็นหลักการและแนวทางของผู้สั่งใช้ยามาพูดถึงในที่นี้ครับ เค้าบัญญัติไว้ว่า
“ผู้สั่งใช้ยา ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจและผู้เกี่ยวข้อง ดำเนินการคัดเลือก จัดซื้อ จัดหาและใช้ยาโดยยึดประโยชน์ของผู้ป่วยและส่วนรวมเป็นสำคัญ ไม่พึงรับประโยชน์จากการส่งเสริมการขายยาอันนำมาซึ่งประโยชน์ส่วนตน”

วันที่ 18 พ.ค. 2558 ทีมข่าวคมชัดลึก มีรายงานการยื่นรายชื่อประชาชนที่เดือดร้อนกว่า 33,000 รายชื่อให้แก่ ศ.นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน รมว. สาธารณสุข เพื่อให้ช่วยพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือประชาชน อ้างอิง: http://www.komchadluek.net/detail/20150515/206306.html
--------------
วันที่ 21 พ.ค. 2558 ภญ.สุนทรี ท.ชัยสัมฤทธิ์โชค อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอเรื่องนี้ว่า       
"ภาครัฐอาจจะต้องกำหนดเปอร์เซ็นต์ที่โรงพยาบาลจะสามารถบวกกำไรเพิ่มจากต้นทุนราคายาออกไปตามระดับของ รพ.เอกชน เช่น ระดับเอ สามารถบวกได้ 20 - 30% ระดับบี บวกได้ 10 - 20% เป็นต้น โดยจะต้องมีการศึกษาต้นทุน รพ.เอกชน แต่ละระดับอย่างแท้จริง ถ้าหาก รพ.เอกชน ระดับบีมีการบวกเปอร์เซ็นต์เกินไปกว่าเรนจ์ที่กำหนด ก็ต้องมาชี้แจง หรืออธิบายมากขึ้นว่าเหตุใดจึงคิดราคาเท่านี้ ซึ่งทุกอย่างจะสามารถดำเนินการได้ หากเรามีข้อมูลโครงสร้างราคายามาตั้งแต่ต้น" อ้างอิง http://www.thaiday.com/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000057762
--------------
วันที่ 22 พ.ค. 2558 กระทรวงพาณิชย์ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบราคายาจากโรงพยาบาบวิภาวดี และ นนทเวช แต่ไม่ได้มีรายงานว่าพบความผิดปกติหรือไม่ อ้างอิง: http://www.thairath.co.th/content/500528
--------------
วันที่ 27 พ.ค. 2558 นพ. วิชัย โชควิวัฒ ได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเชิงระบบไว้อย่างน่าสนใจ ท่านให้แนวทางไว้ว่า
"สำหรับปัญหาโรงพยาบาลเอกชนค่ารักษาแพง จะต้องแก้เชิงระบบใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การพัฒนาหรือปฏิรูประบบบริการโรงพยาบาลรัฐ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะปัจจุบันโรงพยาบาลของรัฐยังเป็นผู้ให้บริการส่วนใหญ่ของระบบ สปสช. คือกว่าร้อยละ 90 และเกือบร้อยละ 50 ของระบบประกันสังคม 2) จะต้องควบคุมการบริการและการคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโรงพยาบาลเอกชนให้ได้ผล และ 3) จะต้องสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชนให้รู้จักใช้สิทธิ์อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ และให้เป็นพลเมืองที่เข้มแข็งในการมีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบบริการและคุ้มครองสิทธิของตนเอง"
อ้างอิง: https://www.isranews.org/component/content/article/59-isranews/isranews-article/38822-isranews_38822.html และ https://www.isranews.org/component/content/article/59-isranews/isranews-article/38822-isranews_38822.html
--------------
วันที่ 4 มิ.ย. 2558 หมอเจตน์ตั้งกระทู้ถาม ท่านนายกฯ และรมว. กระทรวงสาธารณสุข ปมค่ารักษา รพ.เอกชนแพงเกินจริง ชี้กระทบเศรษฐกิจ
หมอเจตน์ ตั้งกระทู้ถาม พล.อ.ประยุทธ์ ปมค่ารักษาพยาบาล-ค่ายา รพ.เอกชน แพงเกินจริง! ชี้การร้องเรียนกระจัดกระจาย พบเจ้าของ รพ. นั่งในแพทยสภาหวั่นผลประโยชน์ทับซ้อน เผยอาจส่งกระทบเศรษฐกิจในอนาคต จี้แก้ปัญหาอย่างไร ทำตามนโยบายที่แถลงไว้กับรัฐสภาหรือไม่
อ้างอิง: https://www.isranews.org/isranews-news/item/39026-jedddere_882392_01.html

ผู้ป่วยทำอะไรได้บ้างหากรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ
จากประกาศประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ผู้ป่วยที่รู้สึกว่าถูกโรงพยาบาลเอกชนเอาเปรียบสามารถใช้สิทธิ์ไปร้องเรียนกับกระทรวงพาณิชย์ สคบ. หรือ ผู้ตรวจการแผ่นดินให้เข้ามาตรวจสอบได้ตามกฏหมาย โดยอย่าเพิ่งเอาไปโพสต์ให้บุคคลที่สามรู้เห็นจนเป็นการสร้างความเกลียดชังเกิดขึ้นก่อนที่เรื่องนั้นๆ จะได้รับการพิจารณาจากศาลนะครับ

คำแนะนำ: การโพสต์แสดงความคิดเห็นในสื่อออนไลน์ มีความเสี่ยงผิด พรบ. คอมพิวเตอร์ ในเรื่องหมิ่นประมาทได้ทั้งกรณีเป็นเรื่องจริง และเรื่องโกหกครับ ความผิดฐานหมิ่นประมาทครอบคลุมทั้งผู้ที่เป็นเจ้าของกระทู้ ผู้อ่านที่ Forward / Share และ เว็บไซต์ที่ให้บริการด้วย ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.justusers.net/forum/index.php?topic=4922.0

สรุป: จากข้อมูลต่างๆ ที่มีทำให้ผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องระดับประเทศที่มีผลกระทบกับทุกคน (เพราะทุกคนต้องป่วย) ซึ่งพบว่าเราซึ่งเป็นคนธรรมดาๆ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมช่วยกันตรวจสอบเรื่องนี้ได้ จึงอยากให้เราทุกคนเข้ามาช่วยกันติดตามเรื่องนี้ต่อไปว่าท้ายที่สุดแล้วภาครัฐจะมีข้อสรุปแนวทางอะไรออกมาช่วยเหลือประชาชน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่