ผีตามคน


...กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดา ผีป่าหลายตนและสัตว์นานา ชนิด อาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสอง พระองค์ กลับ เมือง เดิมเรียก"ผีตามคน" หรือ "ผีตาขน" จนกลายมาเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน
.....การล่ะเล่นผีตาโขนแต่เดิมนั้น เมื่อถึงช่วงเทศกาล ชาวบ้านจะนำสิ่งของเหลือใช้ที่มีอยู่ภายในบ้านมาแต่งตัวให้มีลักษณะเป็นผี เช่น ใช้หวดนึ่งข้าวเหนียวมาทำเป็นส่วนหัวและเสื้อผ้าเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นเครื่องแต่งตัว ผูกด้วยกระแหล่งลักษณะคล้ายกระดิ่งเพื่อให้เกิดเสียงเวลาเดินไปไหนมาไหน จากนั้นออกตระเวนเล่นไปตามหมู่บ้านหยิบฉวยผลไม้ อาหาร ของกินต่างๆพอสนุกสนาน เมื่อจบช่วงเทศกาลชาวบ้านจะนำเครื่องแต่งกายผีตาโขนนั้นๆไปทิ้งลงแม่น้ำเพื่อให้เคราะห์ภัยต่างๆไหลไปกับแม่น้ำ ถือเป็นการเสร็จสิ้นพิธีการเล่นผีตาโขน ในอดีตจะพบเห็นผีตาโขนได้แค่ช่วงเทศกาลงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า "งานบุญหลวง" หรือ "บุญผะเหวด" ซึ่งตรงกับเดือน 7 เท่านั้น
....แต่ปัจจุบัน การละเล่นผีตาโขนได้ถูกผลักดันให้เป็นส่วนหนึ่งในสัญลักษณ์การท่องเที่ยวของ อำเภอ ด่านซ้าย จังหวัดเลย การละเล่นผีตาโขน จึงมีให้นักเที่ยวเข้าไปสัมผัสได้ทั้งในส่วนของการจัดแสดงโชว์ตามงานพิธีต่างๆ และยังมีในส่วนของพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของเทศกาล ประเพณีและวัฒนธรรมของผีตาโขน ทั้งยังสามารถจับจ่ายซื้อหาของที่ระลึกที่เกี่ยวกับผีตาโขนมาไว้ชื่อชมได้อีกด้วย....และหากมีโอกาสได้แวะเวียนไปที่ อำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ก็อย่าลืม แวะชม ศิลปวัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่หาชมได้ยากและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่บ้านคู่เมืองตราบนานเท่านาน...
"สวัสดี...ผีตาโขน"



















...
...
***ขอขอบพระคุณ คุณ อนุสรณ์ แสนประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ ผู้ช่วยช่างโยธา เทศบาลตำบลศรีสองรักษ์ ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีผีตาโขนในฐานะผู้สืบสารวัฒนธรรมประเพณีผีตาโขนรวมทั้งการร่วมแต่งกายผีตาโขนในการถ่ายภาพในครั้งนี้
***กระทู้นี้มิได้มีเจตนาลบหลู่ บุคคล องค์กร หรือสถานที่ใดๆ หากแต่ทำด้วยใจที่ปารถนาจะสื่อสารงานศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของไทยให้ใครต่อใครได้เห็น
***ขอขอบคุณหมีอ้วนที่คอยอยู่ข้างกัน
***ถ้าชื่นชอบก็เข้าไปติดตามผลงานได้ที่ www.facbook.com/mirrorman2015 ครับผม^^






***
***
*******************************************ขอขอบพระคุณมากครับ**********************************************
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่