แชร์บทความดีๆจาก ดร นิเวศน์ครับ
การใช้เงินแบบ Value Investor - จาก ดร. นิเวศน์
ภารกิจในชีวิตของ Value Investor ที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือการเป็นคนที่มีอิสรภาพทางการเงินนั่นก็คือ Value Investor อยากมีพอร์ตของหุ้นที่ใหญ่พอที่จะสร้างรายได้เลี้ยงเขาตลอดชีวิตได้โดยไม่ต้องทำงาน ซึ่งผมเคยเขียนไว้ว่าอย่างคร่าวๆ ก็คือจะต้องมีพอร์ตหุ้นประมาณ 20 ล้านบาท การที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวสำหรับคนที่ไม่มีมรดก ไม่มีความสามารถพิเศษ แต่เป็นคนชั้นกลางกินเงินเดือนที่มีการศึกษาดี ความตั้งใจสูง และมีศักยภาพพอสมควรที่จะไต่เต้าขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจนั้น ผมคิดว่าเขาจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์ในการใช้เงินและการลงทุนที่เหมาะสม
ต่อไปนี้คือวิธีการใช้จ่ายและจัดสรรเงินที่จะช่วยให้ Value Investor สามารถบรรลุภารกิจของการเป็นไทในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ สามารถสร้างพอร์ตหุ้นจนใหญ่พออย่างรวดเร็วในขณะเดียวกันมีชีวิตที่มีความสุข โดยหลักการใหญ่ก็คือต้องใช้จ่ายเงินซื้อสิ่งจำเป็นและสิ่งที่สร้างความสุขให้อย่างคุ้มค่า และเหลือเงินมากพอที่จะนำมาลงทุนซื้อหุ้นสร้างพอร์ตการลงทุนในแบบ Value Investment
รายจ่ายที่สำคัญมากสำหรับคนส่วนใหญ่ก็คือเรื่องของบ้านอยู่อาศัย ผมคิดว่าคนหนุ่มสาวที่เพิ่งเริ่มทำงานไม่นานนักควรพยายามหลีกเลี่ยงการใช้เงินจำนวนมากเกินไปกับการซื้อบ้านที่มีราคาสูงซึ่งทำให้ต้องจ่ายค่าผ่อนมากจนแทบไม่เหลือเงินสำหรับการลงทุน การมีบ้านที่ใหญ่เกินจำเป็นนั้นนอกจากทำให้ต้องเสียค่าผ่อนสูงแล้ว การดูแลรักษาก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายและแรงงานมากตามไปด้วย เพราะฉะนั้นพูดถึงเรื่องการเงินแล้วการซื้อบ้านที่ใหญ่นั้น“กิน”เงินของคุณไปมากอย่างที่คุณอาจนึกไม่ถึง
แต่หลายคนก็พูดว่า การซื้อบ้านก็เหมือนกับการลงทุนและเป็นการลงทุนที่ดีเพราะคุณมีโอกาสได้“ใช้”มันอย่างคุ้มค่า ผมเองคิดว่าบ้านส่วนใหญ่แล้วมีราคาขึ้นไปน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในหุ้น เพราะบ้านนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเก่าลง ราคาจะตกลง และแม้ว่าราคาที่ดินอาจจะเพิ่มขึ้น แต่โดยรวมแล้วราคาจะปรับตัวขึ้นช้ามากในขณะที่ถ้าเอาเงินมาลงทุนซื้อหุ้นซึ่งเติบโตปีละประมาณ 10% ภายในเวลา 7 ปี เงินก้อนนั้นก็จะเติบโตเป็นหนึ่งเท่าตัว ซึ่งผมคิดว่ามีบ้านน้อยมากที่มีราคาขึ้นมามากขนาดนั้น ในส่วนของความสุขที่จะได้รับจากการอยู่ในบ้านที่ใหญ่โตนั้นผมเองก็ไม่เคยมีประสบการณ์ แต่ประสบการณ์จากการอยู่บ้านที่เล็กนั้นก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรนัก บ้านที่เล็กอาจทำให้เราต้องทำหลายสิ่งหลายอย่างในที่เดียวกันหรือห้องเดียวกันซึ่งทำให้เกิดความไม่สะดวกบ้าง แต่ก็ทำให้คนในบ้านพบเห็นเจอหน้ากันตลอดเวลาซึ่งสำหรับผมมันก็คือความสุขอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นในฐานะของ Value Investor บ้านที่ใหญ่เกินความจำเป็นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า
ถัดจากบ้านก็มาถึงรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ผ่องถ่ายเงินของเราออกไปมาก รองๆจากบ้าน ผมเองคิดว่าถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรซื้อรถส่วนตัว เพราะภาระค่าใช้จ่ายในการมีรถนั้นค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับบ้านนั่นคือ ต้องจ่ายทั้งค่ารถและค่าซ่อมแซมที่จะตามมา รวมทั้งยังต้องเสียค่าน้ำมัน ค่าประกัน และอื่นๆอีกจิปาถะ เทียบกับค่ารถไฟฟ้า รถเมล์หรือแท็กซี่แล้วจะพบว่าต่างกันมากในขณะที่ความสะดวกใกล้เคียงกัน ถ้าจำเป็นต้องซื้อรถผมคิดว่าควรจะเป็นรถญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพดี คุณภาพสูงและราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับรถของประเทศอื่น ส่วนรถที่ผมคิดว่า Value Investor ไม่ควรซื้อก็คือรถหรูที่ราคาแพงมาก เพราะประสบการณ์ของผมก็คือ คุณภาพของเครื่องยนต์และความสะดวกสบายมักจะสู้รถ“มวลชน”ไม่ได้ในขณะที่ราคาอาจจะแพงกว่าเท่าตัว เปรียบเทียบกันแล้ว ความสุขที่จะได้จากการขับรถหรูหราไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป บวกกับภาระต่าง ๆ ที่จะตามมา
การศึกษาของลูกเป็นค่าใช้จ่ายรายการใหญ่ที่ผมคิดว่าเราไม่ควรประหยัด เพราะผลตอบแทนที่กลับมานั้นมักจะคุ้มค่าเสมอ แม้ว่าจะใช้เวลาค่อนข้างยาวกว่าที่เด็กจะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่และทำมาหาเลี้ยงชีพได้ และผลตอบแทนจากการศึกษานั้นไม่ใช่เป็นเพียงตัวเงินแต่รวมถึงพฤติกรรม สังคม และอื่นๆอีกมาก การลงทุนในการศึกษายังต้องเริ่มตั้งแต่เด็กยังอายุน้อยเพราะนี่จะเป็นช่วงที่การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะฉะนั้นเราจะ“รอ”ไม่ได้ จะต้องยอมจ่ายเพื่อให้เขาได้รับการศึกษาที่ดีแม้ว่าราคาจะ“แพง”กว่าโรงเรียนอื่นๆอยู่มาก เช่นเดียวกับเรื่องการศึกษา Value Investor ไม่ควรเสียดายเงินในการซื้อหนังสือดีๆมาอ่านโดยเฉพาะหนังสือทางด้านการลงทุนซึ่งจะช่วยให้เรามีความรู้ และความรู้นั้นสุดท้ายก็จะช่วยให้เราสามารถลงทุนได้ดีขึ้นคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป พูดถึงเรื่องหนังสือแล้วผมคิดว่ามันคือแหล่งของความรู้ที่มีราคาถูกที่สุด หนังสือเล่มละเพียงไม่กี่ร้อยบาทหลายครั้งบรรจุความรู้และประสบการณ์ของคนเขียนทั้งชีวิต เพราะฉะนั้นผมจะไม่ลังเลเลยที่จะซื้อหนังสือที่ผมคิดว่าเขียนโดยคนที่รู้จริงไม่ว่าหนังสือจะแพงแค่ไหน แต่ถ้าเป็นหนังสือที่ผมเห็นว่าไม่มีสาระเพียงพอหรือเขียนโดยคนที่ไม่มีความรู้หรือความสามารถเป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าหนังสือจะถูกเพียงใดผมก็ไม่ซื้อ และก็คงจะไม่อ่านไม่ว่าในกรณีใด เพราะการอ่านหนังสือนั้นผมเห็นว่าต้นทุนจริงๆ ของเราก็คือเวลาที่ใช้ไม่ใช่เรื่องเงินค่าหนังสือซึ่งมักจะมีราคาถูกมาก
รายจ่ายของความบันเทิงที่มีราคาแพงรายการหนึ่งคือการท่องเที่ยวนั้นผมคิดว่าเราควรจ่าย เพราะนอกจากความบันเทิงแล้ว มันช่วยเปิดโลกทรรศน์ของเราให้กว้างขึ้นโดยเฉพาะการไปเที่ยวต่างประเทศบ้างเป็นครั้งเป็นคราว ในการท่องเที่ยวนั้นผมคิดว่าเราควรทำตัวเป็น Value Traveller คือนักท่องเที่ยวแบบเน้นคุณค่าเหมือนกันนั่นก็คือ เราไม่จำเป็นต้องนั่งเครื่องบินชั้นหนึ่ง หรืออยู่โรงแรมหรูซึ่งเราแทบจะไม่ได้ใช้ทำอะไรมากนอกจากการนอน
การใช้สินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมชื่อดังซึ่งมีราคาแพงเป็นสิ่งที่ผมคิดว่า Value Investor ที่กำลัง“สร้างตัว”ไม่ควรทำ เพราะนี่จะเป็นการใช้เงินที่ได้รับผลตอบแทนคืนมาน้อย สินค้าเองก็ตกรุ่นเร็ว เทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อครั้งแล้วก็มักจะสูงลิ่ว ในความรู้สึกของผมนั้นคนเราสามารถแต่งตัวดูดีได้โดยไม่ต้องจ่ายค่ายี่ห้อมากนัก
ทั้งหมดนั้นก็คือมุมมองหนึ่งของ Value Investor ต่อการใช้เงินของเราโดยเฉพาะในช่วงที่กำลังสร้างความมั่นคงทางการเงิน การเดินทางสู่เป้าหมายของการเป็นอิสระทางการเงินนั้น ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับวิธีการใช้เงินเท่าๆกับหรือมากกว่า วิธีการลงทุน และก็เช่นเดียวกัน วิธีการใช้เงินที่จะช่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายของเราก็คือการใช้เงินแบบ Value Investor
คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การใช้เงินแบบValue Investor-ดร. นิเวศน์ // มาอ่านคนประสบความสำเร็จสอนมนุษย์เงินเดือนไม่ให้มัวแต่ซื้อบ้านแบบโง่ๆกันครับ
การใช้เงินแบบ Value Investor - จาก ดร. นิเวศน์
ภารกิจในชีวิตของ Value Investor ที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือการเป็นคนที่มีอิสรภาพทางการเงินนั่นก็คือ Value Investor อยากมีพอร์ตของหุ้นที่ใหญ่พอที่จะสร้างรายได้เลี้ยงเขาตลอดชีวิตได้โดยไม่ต้องทำงาน ซึ่งผมเคยเขียนไว้ว่าอย่างคร่าวๆ ก็คือจะต้องมีพอร์ตหุ้นประมาณ 20 ล้านบาท การที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวสำหรับคนที่ไม่มีมรดก ไม่มีความสามารถพิเศษ แต่เป็นคนชั้นกลางกินเงินเดือนที่มีการศึกษาดี ความตั้งใจสูง และมีศักยภาพพอสมควรที่จะไต่เต้าขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจนั้น ผมคิดว่าเขาจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์ในการใช้เงินและการลงทุนที่เหมาะสม
ต่อไปนี้คือวิธีการใช้จ่ายและจัดสรรเงินที่จะช่วยให้ Value Investor สามารถบรรลุภารกิจของการเป็นไทในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ สามารถสร้างพอร์ตหุ้นจนใหญ่พออย่างรวดเร็วในขณะเดียวกันมีชีวิตที่มีความสุข โดยหลักการใหญ่ก็คือต้องใช้จ่ายเงินซื้อสิ่งจำเป็นและสิ่งที่สร้างความสุขให้อย่างคุ้มค่า และเหลือเงินมากพอที่จะนำมาลงทุนซื้อหุ้นสร้างพอร์ตการลงทุนในแบบ Value Investment
รายจ่ายที่สำคัญมากสำหรับคนส่วนใหญ่ก็คือเรื่องของบ้านอยู่อาศัย ผมคิดว่าคนหนุ่มสาวที่เพิ่งเริ่มทำงานไม่นานนักควรพยายามหลีกเลี่ยงการใช้เงินจำนวนมากเกินไปกับการซื้อบ้านที่มีราคาสูงซึ่งทำให้ต้องจ่ายค่าผ่อนมากจนแทบไม่เหลือเงินสำหรับการลงทุน การมีบ้านที่ใหญ่เกินจำเป็นนั้นนอกจากทำให้ต้องเสียค่าผ่อนสูงแล้ว การดูแลรักษาก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายและแรงงานมากตามไปด้วย เพราะฉะนั้นพูดถึงเรื่องการเงินแล้วการซื้อบ้านที่ใหญ่นั้น“กิน”เงินของคุณไปมากอย่างที่คุณอาจนึกไม่ถึง
แต่หลายคนก็พูดว่า การซื้อบ้านก็เหมือนกับการลงทุนและเป็นการลงทุนที่ดีเพราะคุณมีโอกาสได้“ใช้”มันอย่างคุ้มค่า ผมเองคิดว่าบ้านส่วนใหญ่แล้วมีราคาขึ้นไปน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในหุ้น เพราะบ้านนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเก่าลง ราคาจะตกลง และแม้ว่าราคาที่ดินอาจจะเพิ่มขึ้น แต่โดยรวมแล้วราคาจะปรับตัวขึ้นช้ามากในขณะที่ถ้าเอาเงินมาลงทุนซื้อหุ้นซึ่งเติบโตปีละประมาณ 10% ภายในเวลา 7 ปี เงินก้อนนั้นก็จะเติบโตเป็นหนึ่งเท่าตัว ซึ่งผมคิดว่ามีบ้านน้อยมากที่มีราคาขึ้นมามากขนาดนั้น ในส่วนของความสุขที่จะได้รับจากการอยู่ในบ้านที่ใหญ่โตนั้นผมเองก็ไม่เคยมีประสบการณ์ แต่ประสบการณ์จากการอยู่บ้านที่เล็กนั้นก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรนัก บ้านที่เล็กอาจทำให้เราต้องทำหลายสิ่งหลายอย่างในที่เดียวกันหรือห้องเดียวกันซึ่งทำให้เกิดความไม่สะดวกบ้าง แต่ก็ทำให้คนในบ้านพบเห็นเจอหน้ากันตลอดเวลาซึ่งสำหรับผมมันก็คือความสุขอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นในฐานะของ Value Investor บ้านที่ใหญ่เกินความจำเป็นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า
ถัดจากบ้านก็มาถึงรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ผ่องถ่ายเงินของเราออกไปมาก รองๆจากบ้าน ผมเองคิดว่าถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรซื้อรถส่วนตัว เพราะภาระค่าใช้จ่ายในการมีรถนั้นค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับบ้านนั่นคือ ต้องจ่ายทั้งค่ารถและค่าซ่อมแซมที่จะตามมา รวมทั้งยังต้องเสียค่าน้ำมัน ค่าประกัน และอื่นๆอีกจิปาถะ เทียบกับค่ารถไฟฟ้า รถเมล์หรือแท็กซี่แล้วจะพบว่าต่างกันมากในขณะที่ความสะดวกใกล้เคียงกัน ถ้าจำเป็นต้องซื้อรถผมคิดว่าควรจะเป็นรถญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพดี คุณภาพสูงและราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับรถของประเทศอื่น ส่วนรถที่ผมคิดว่า Value Investor ไม่ควรซื้อก็คือรถหรูที่ราคาแพงมาก เพราะประสบการณ์ของผมก็คือ คุณภาพของเครื่องยนต์และความสะดวกสบายมักจะสู้รถ“มวลชน”ไม่ได้ในขณะที่ราคาอาจจะแพงกว่าเท่าตัว เปรียบเทียบกันแล้ว ความสุขที่จะได้จากการขับรถหรูหราไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป บวกกับภาระต่าง ๆ ที่จะตามมา
การศึกษาของลูกเป็นค่าใช้จ่ายรายการใหญ่ที่ผมคิดว่าเราไม่ควรประหยัด เพราะผลตอบแทนที่กลับมานั้นมักจะคุ้มค่าเสมอ แม้ว่าจะใช้เวลาค่อนข้างยาวกว่าที่เด็กจะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่และทำมาหาเลี้ยงชีพได้ และผลตอบแทนจากการศึกษานั้นไม่ใช่เป็นเพียงตัวเงินแต่รวมถึงพฤติกรรม สังคม และอื่นๆอีกมาก การลงทุนในการศึกษายังต้องเริ่มตั้งแต่เด็กยังอายุน้อยเพราะนี่จะเป็นช่วงที่การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะฉะนั้นเราจะ“รอ”ไม่ได้ จะต้องยอมจ่ายเพื่อให้เขาได้รับการศึกษาที่ดีแม้ว่าราคาจะ“แพง”กว่าโรงเรียนอื่นๆอยู่มาก เช่นเดียวกับเรื่องการศึกษา Value Investor ไม่ควรเสียดายเงินในการซื้อหนังสือดีๆมาอ่านโดยเฉพาะหนังสือทางด้านการลงทุนซึ่งจะช่วยให้เรามีความรู้ และความรู้นั้นสุดท้ายก็จะช่วยให้เราสามารถลงทุนได้ดีขึ้นคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป พูดถึงเรื่องหนังสือแล้วผมคิดว่ามันคือแหล่งของความรู้ที่มีราคาถูกที่สุด หนังสือเล่มละเพียงไม่กี่ร้อยบาทหลายครั้งบรรจุความรู้และประสบการณ์ของคนเขียนทั้งชีวิต เพราะฉะนั้นผมจะไม่ลังเลเลยที่จะซื้อหนังสือที่ผมคิดว่าเขียนโดยคนที่รู้จริงไม่ว่าหนังสือจะแพงแค่ไหน แต่ถ้าเป็นหนังสือที่ผมเห็นว่าไม่มีสาระเพียงพอหรือเขียนโดยคนที่ไม่มีความรู้หรือความสามารถเป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าหนังสือจะถูกเพียงใดผมก็ไม่ซื้อ และก็คงจะไม่อ่านไม่ว่าในกรณีใด เพราะการอ่านหนังสือนั้นผมเห็นว่าต้นทุนจริงๆ ของเราก็คือเวลาที่ใช้ไม่ใช่เรื่องเงินค่าหนังสือซึ่งมักจะมีราคาถูกมาก
รายจ่ายของความบันเทิงที่มีราคาแพงรายการหนึ่งคือการท่องเที่ยวนั้นผมคิดว่าเราควรจ่าย เพราะนอกจากความบันเทิงแล้ว มันช่วยเปิดโลกทรรศน์ของเราให้กว้างขึ้นโดยเฉพาะการไปเที่ยวต่างประเทศบ้างเป็นครั้งเป็นคราว ในการท่องเที่ยวนั้นผมคิดว่าเราควรทำตัวเป็น Value Traveller คือนักท่องเที่ยวแบบเน้นคุณค่าเหมือนกันนั่นก็คือ เราไม่จำเป็นต้องนั่งเครื่องบินชั้นหนึ่ง หรืออยู่โรงแรมหรูซึ่งเราแทบจะไม่ได้ใช้ทำอะไรมากนอกจากการนอน
การใช้สินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมชื่อดังซึ่งมีราคาแพงเป็นสิ่งที่ผมคิดว่า Value Investor ที่กำลัง“สร้างตัว”ไม่ควรทำ เพราะนี่จะเป็นการใช้เงินที่ได้รับผลตอบแทนคืนมาน้อย สินค้าเองก็ตกรุ่นเร็ว เทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อครั้งแล้วก็มักจะสูงลิ่ว ในความรู้สึกของผมนั้นคนเราสามารถแต่งตัวดูดีได้โดยไม่ต้องจ่ายค่ายี่ห้อมากนัก
ทั้งหมดนั้นก็คือมุมมองหนึ่งของ Value Investor ต่อการใช้เงินของเราโดยเฉพาะในช่วงที่กำลังสร้างความมั่นคงทางการเงิน การเดินทางสู่เป้าหมายของการเป็นอิสระทางการเงินนั้น ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับวิธีการใช้เงินเท่าๆกับหรือมากกว่า วิธีการลงทุน และก็เช่นเดียวกัน วิธีการใช้เงินที่จะช่วยให้บรรลุถึงเป้าหมายของเราก็คือการใช้เงินแบบ Value Investor
คอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร