...
ตอนแรก จะเขียนเรื่อง หัวรถจักรดีเซลของการรถไฟไทย.. กับ หัวรถจักรไอน้ำ
และปิดท้าย ด้วย เรื่อง การพัฒนาและปรับปรุงการรถไฟให้กลับมารุ่งเรือง
แต่พอดูแล้วข้อมูงมันตาลาย.. รถไฟไทยมีเยอะ มีหลายแบบม หลายชนิดนะครับ ไทยเราถือว่าเป็นมหาอำนาจเลยละ ในสมัยนั้น
และสมัยก่อนมีการแยก เป็น กรมรถไฟสายเหนือ กับกรมรถไฟสายใต้ ต่อมารวมกัน.เป็นกรมรถไฟหลวง
และในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีการรวมกิจการรถไฟหลวง กับ การรถไฟไทยรวมกัน เหลือเพียง รฟท.
และ ก็..... กิจการการรถไฟ ก็เริ่มพัฒนาช้าลง ช้าลง ช้าลง ๆ จนตามคนอื่นไม่ทันแล้ว
_______________________________ วันนี้ เรามาเริ่ม บิดาแห่งการรถไฟไทย
สงสัย รึป่าว ว่า ตราที่อยู่ข้างรถไฟทุกคัน มีความเป็นมาอย่างไร
พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายบุรฉัตรไชยากร
ประสูติเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2424 เป็นพระราชโอรส องค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาวาด
( ในสกุล กัลยาณมิตร ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงศึกษาหนังสือไทย ที่โรงเรียนสวนกุหลาบตามแบบขัตติยราชประเพณีเช่นเดียวกับพระราชโอรสองค์อื่น ๆ
จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตั้งพระทัยว่าบรรดาพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ที่มีพระชันษาอันสมควรจะส่งไปศึกษาวิทยาการในประเทศยุโรป เพื่อให้กับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ.2437 เมื่อพระองค์เจ้าชายบุรฉัตรไชยากรมีพระชนม์ได้ 13 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้เสด็จไปทรงศึกษาด้านโยธาธิการ ณ โรงเรียนแฮร์โรว์ (HARROW SCHOOL) และทรงศึกษาต่อวิชาวิศวกรรม ZCIVIL ENGINEERING) จนจบหลักสูตรวิศวกรโยธาในปี พ.ศ.2444
และในเดือนตุลาคมในปีเดียวกันนั้นเองได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาการช่างทหารบกต่อที่โรงเรียนวิศวกรรมทหาร ณ เมืองแชทแฮม (THE SCHOOL OF MILITARY AT CHATHAM) ซึ่งตามหลักสูตรวิชาการช่างทหารบกจะต้องศึกษาการสร้าง และการวางรางรถไฟ สะพาน ถนน การขุดคลอง และการสื่อสารทางวิทยุโทรเลขตลอดจนการก่อสร้างตึกอาคารสถานที่ต่างๆ เป็นต้น
ระหว่างที่ทรงศึกษาได้รับคำชมเชยว่าทรงมีความกระตือรือร้น และยังขยันขันแข็งเอาใจใส่ต่อการเล่าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ทรงมีโอกาสฝึกงานภาคสนามตลอดจนทรงเข้าร่วมซ้อมรบในนามกองพันทหารช่างอังกฤษหลายครั้ง ได้ทรงเรียนรู้การนำวิทยุสื่อสารโทรเลข และโทรศัพท์มาใช้ในราชการสงคราม ตลอดจนการนำทหารช่างมาช่วยสร้างสะพานและการวางรางรถไฟ ทั้งในเวลาปกติ และในยามสงคราม นับว่าเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งต่อพระองค์ ทำให้ทรงทราบถึงความยากลำบากในการทำงานตลอดจนวิธีการแก้ปัญหา และอุปสรรคเหล่านั้น ทรงเกิดความคิดที่จะนำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมือง โดยเฉพาะการจัดตั้งกองทหารช่างในแบบสมัยใหม่ที่ให้บริการทางด้านการสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วควบคู่ไปกับงานโยธาด้วย อาจกล่าวได้ว่าทรงบรรลุผลสำเร็จในการศึกษาทางด้านทหารช่างที่เมืองแชทแฮม สมดังราชประสงค์ของพระราชประสงค์ของพระราชบิดา โดยทรงใช้เวลาศึกษา 2 ปี จึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2448
เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยแล้ว พระองค์ทรงรับราชการทหารเป็นนายพันตรี เหล่าทหารช่าง กรมยุทธนาธิการทหารบก ในขณะที่มีพระชนม์ได้ 24 พรรษา และทรงได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศเป็นนายพันเอก เมื่อปี พ.ศ.2449 ในปี พ.ศ.2451 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้จัดตั้งจเรทหารช่างขึ้น
โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พันเอก พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งจเรทหารช่าง พระองค์แรก ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่างเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2468
ตลอดระยะเวลาที่ทรงดำรงตำแหน่งนี้ ทรงฝึกฝนอบรมทางด้านวิชาการให้แก่เหล่าทหารช่างอย่างเต็มพระกำลัง ทรงปรับปรุงวิชาทหารช่าง ให้ทันสมัย และเจริญทัดเทียมประเทศตะวันตก ทรงวางระเบียบการช่างทหารให้เป็นรากฐานของเหล่า ทำให้กิจการของเหล่าทหารช่างเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์ทรงดำเนินการฝึกฝนอบรมวิชาทหารช่างสมัยใหม่ตามแบบทหารอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า ROYALENGINEER คือ ฝึกให้สามรถสร้างสะพาน ถนน อาคาร ขุดอุโมงค์ และทำการก่อวินาศกรรมได้ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชาทหารช่างแก่นักเรียนนายร้อยทหารบก ในสมัยนั้นได้ทรงแต่งตำราวิชาทหารช่างขึ้นเป็นภาษาไทย เล่มที่ 1 ว่าด้วย แบบสะพานทหาร และวิธีใช้ไม้ มีภาพประกอบอย่างสมบูรณ์ เล่มที่ 2 ว่าด้วย วิธีขุดบ่อระเบิด และวิธีใช้ดินระเบิด ร่วมทั้งการระเบิดรถไฟใช้สำหรับแนะนำทหารในกรมทหารช่าง และจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อให้ใช้เฉพาะเหล่าทหารช่าง เป็นการชั่วคราว
สมัยก่อนไทยเป็นมหาอำนาจทางรถไฟบิดาของการรถไฟไทย..และบิดาของทหารช่าง พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
ตอนแรก จะเขียนเรื่อง หัวรถจักรดีเซลของการรถไฟไทย.. กับ หัวรถจักรไอน้ำ
และปิดท้าย ด้วย เรื่อง การพัฒนาและปรับปรุงการรถไฟให้กลับมารุ่งเรือง
แต่พอดูแล้วข้อมูงมันตาลาย.. รถไฟไทยมีเยอะ มีหลายแบบม หลายชนิดนะครับ ไทยเราถือว่าเป็นมหาอำนาจเลยละ ในสมัยนั้น
และสมัยก่อนมีการแยก เป็น กรมรถไฟสายเหนือ กับกรมรถไฟสายใต้ ต่อมารวมกัน.เป็นกรมรถไฟหลวง
และในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีการรวมกิจการรถไฟหลวง กับ การรถไฟไทยรวมกัน เหลือเพียง รฟท.
และ ก็..... กิจการการรถไฟ ก็เริ่มพัฒนาช้าลง ช้าลง ช้าลง ๆ จนตามคนอื่นไม่ทันแล้ว
_______________________________ วันนี้ เรามาเริ่ม บิดาแห่งการรถไฟไทย
สงสัย รึป่าว ว่า ตราที่อยู่ข้างรถไฟทุกคัน มีความเป็นมาอย่างไร
พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายบุรฉัตรไชยากร
ประสูติเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2424 เป็นพระราชโอรส องค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาวาด
( ในสกุล กัลยาณมิตร ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงศึกษาหนังสือไทย ที่โรงเรียนสวนกุหลาบตามแบบขัตติยราชประเพณีเช่นเดียวกับพระราชโอรสองค์อื่น ๆ
จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตั้งพระทัยว่าบรรดาพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ที่มีพระชันษาอันสมควรจะส่งไปศึกษาวิทยาการในประเทศยุโรป เพื่อให้กับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ.2437 เมื่อพระองค์เจ้าชายบุรฉัตรไชยากรมีพระชนม์ได้ 13 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้เสด็จไปทรงศึกษาด้านโยธาธิการ ณ โรงเรียนแฮร์โรว์ (HARROW SCHOOL) และทรงศึกษาต่อวิชาวิศวกรรม ZCIVIL ENGINEERING) จนจบหลักสูตรวิศวกรโยธาในปี พ.ศ.2444
และในเดือนตุลาคมในปีเดียวกันนั้นเองได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาการช่างทหารบกต่อที่โรงเรียนวิศวกรรมทหาร ณ เมืองแชทแฮม (THE SCHOOL OF MILITARY AT CHATHAM) ซึ่งตามหลักสูตรวิชาการช่างทหารบกจะต้องศึกษาการสร้าง และการวางรางรถไฟ สะพาน ถนน การขุดคลอง และการสื่อสารทางวิทยุโทรเลขตลอดจนการก่อสร้างตึกอาคารสถานที่ต่างๆ เป็นต้น
ระหว่างที่ทรงศึกษาได้รับคำชมเชยว่าทรงมีความกระตือรือร้น และยังขยันขันแข็งเอาใจใส่ต่อการเล่าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ทรงมีโอกาสฝึกงานภาคสนามตลอดจนทรงเข้าร่วมซ้อมรบในนามกองพันทหารช่างอังกฤษหลายครั้ง ได้ทรงเรียนรู้การนำวิทยุสื่อสารโทรเลข และโทรศัพท์มาใช้ในราชการสงคราม ตลอดจนการนำทหารช่างมาช่วยสร้างสะพานและการวางรางรถไฟ ทั้งในเวลาปกติ และในยามสงคราม นับว่าเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งต่อพระองค์ ทำให้ทรงทราบถึงความยากลำบากในการทำงานตลอดจนวิธีการแก้ปัญหา และอุปสรรคเหล่านั้น ทรงเกิดความคิดที่จะนำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมือง โดยเฉพาะการจัดตั้งกองทหารช่างในแบบสมัยใหม่ที่ให้บริการทางด้านการสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วควบคู่ไปกับงานโยธาด้วย อาจกล่าวได้ว่าทรงบรรลุผลสำเร็จในการศึกษาทางด้านทหารช่างที่เมืองแชทแฮม สมดังราชประสงค์ของพระราชประสงค์ของพระราชบิดา โดยทรงใช้เวลาศึกษา 2 ปี จึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2448
เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยแล้ว พระองค์ทรงรับราชการทหารเป็นนายพันตรี เหล่าทหารช่าง กรมยุทธนาธิการทหารบก ในขณะที่มีพระชนม์ได้ 24 พรรษา และทรงได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศเป็นนายพันเอก เมื่อปี พ.ศ.2449 ในปี พ.ศ.2451 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้จัดตั้งจเรทหารช่างขึ้น
โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พันเอก พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งจเรทหารช่าง พระองค์แรก ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่างเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2468
ตลอดระยะเวลาที่ทรงดำรงตำแหน่งนี้ ทรงฝึกฝนอบรมทางด้านวิชาการให้แก่เหล่าทหารช่างอย่างเต็มพระกำลัง ทรงปรับปรุงวิชาทหารช่าง ให้ทันสมัย และเจริญทัดเทียมประเทศตะวันตก ทรงวางระเบียบการช่างทหารให้เป็นรากฐานของเหล่า ทำให้กิจการของเหล่าทหารช่างเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์ทรงดำเนินการฝึกฝนอบรมวิชาทหารช่างสมัยใหม่ตามแบบทหารอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า ROYALENGINEER คือ ฝึกให้สามรถสร้างสะพาน ถนน อาคาร ขุดอุโมงค์ และทำการก่อวินาศกรรมได้ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชาทหารช่างแก่นักเรียนนายร้อยทหารบก ในสมัยนั้นได้ทรงแต่งตำราวิชาทหารช่างขึ้นเป็นภาษาไทย เล่มที่ 1 ว่าด้วย แบบสะพานทหาร และวิธีใช้ไม้ มีภาพประกอบอย่างสมบูรณ์ เล่มที่ 2 ว่าด้วย วิธีขุดบ่อระเบิด และวิธีใช้ดินระเบิด ร่วมทั้งการระเบิดรถไฟใช้สำหรับแนะนำทหารในกรมทหารช่าง และจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อให้ใช้เฉพาะเหล่าทหารช่าง เป็นการชั่วคราว