ไทยเสีย GDP มหาศาลนำคลื่น 700 ทำทีวีดิจิตอล,5G ส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรม

GSMA ได้ชี้ตั้งแต่ก่อนปี 2558 แล้วว่าไทยจะต้องเสีย GDP จำนวนมากในปี 2568 ในกรณีที่นำคลื่น 700 ไปทำทีวีดิจิตอล แต่ถ้านำ 700 MHz มาทำบอร์ดแบนด์ GDP จะพุ่งขึ้นมาก. แผนการ เดิมของ กสทช.จะจัดสรรคลื่น 700 ให้เสร็จในปี 2566 ก่อน 2568 แค่ 2 ปีก็คงจะได้เสีย GDP กันไปมากทีเดียว ทั้งที่ GSMA ต้องการให้ไทยทำแผนคลื่น 700 MHz ให้เสร็จในปี 2561 ก็น่าจะจัดสรรให้เสร็จไม่เกินปี 2561 และเปิดประมูลปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากยุค 4G เข้าสู่ 5G ถือเป็นการประมูล 5G ทีเดียวเลย ในปี 2563 ก็เป็นการเปิดบริการ 5G ในเชิงพาณิชย์พอดี
  จากข่าวเก่า
GSMA” เตือน กสทช.ก่อนตัดสินคลื่น 700 MHz

   หากกสทช.เลือกเอาคลื่น 700MHz มาทำเป็นบรอดแบนด์ตั้งแต่ปี 2558 จะเพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ภายในปี 2568 มากกว่า 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ.    “GSMA” แนะ กสทช.ควรนำคลื่น 700 MHz ทำโมบายล์บรอดแบนด์เท่านั้น ระบุหากนำไปทำกิจการโทรทัศน์จะส่งผลสูญเสีย GDP ที่ควรเพิ่มขึ้นถึง 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 ด้าน “ฐากร” ยันเดินหน้าประมูลทีวีดิจิตอลตามเดิม 
       
       นางสาวคริส เปเรรา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและการกำกับดูแลคลื่นความถี่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สมาคม GSMA กล่าวว่า ในการประชุมของสมาคมเอเชียแปซิฟิก เทเลคอม (เอพีที) เมื่อปี 2553 ได้ข้อสรุปแล้วว่า ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะใช้คลื่นของย่านความถี่ 700MHz ในช่วงคลื่น 698-806MHz สำหรับให้บริการเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย หรือโมบายล์บรอดแบนด์ แต่หากคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยังตัดสินใจในการนำเอาคลื่นความถี่ย่าน 700MHz ไปใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ นั้น คือการนำไปเปิดประมูลทีวีดิจิตอล 48 ช่องธุรกิจในช่วง ส.ค.-ก.ย.นี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ตามรายงานที่บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (BCG) ได้ระบุไว้เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
       
       รายงานครั้งนั้นระบุว่า หาก กสทช.เลือกเอาคลื่น 700 MHz มาทำเป็นบรอดแบนด์ตั้งแต่ปี 2558 จะเพิ่มรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ภายในปี 2568 มากกว่า 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังก่อให้เกิดการสร้างงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 55,000 ตำแหน่ง อีกทั้งคลื่นดังกล่าวยังเหมาะสมต่อการใช้โทรศัพท์มือถือในบริเวณนอกเมือง และส่งผลให้คนไทยเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้นตามด้วย
       
       ทั้งนี้ ในทางกลับกัน หาก กสทช.ยังตัดสินใจเลือกใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการโทรทัศน์จะส่งผลทำให้การรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ไปรบกวนประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และพม่า ที่นำคลื่น 700MHz ไปใช้ในการทำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) และยังส่งผลให้ประเทศต้องสูญเสีย GDP ที่ควรเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 102,000 ล้านบาท และส่งผลให้การสร้างงานใหม่ลดลง 96,000 ตำแหน่งด้วย
     นอกจากนี้ สมาคมจีเอสเอ็มเอเสนอว่า ประเทศไทยควรใช้เทคโนโลยีรับส่งคลื่นความถี่เป็นย่านเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งในย่าน 700 คือตั้งแต่ 510-806 MHz สามารถทำได้ทั้งระบบโมบายล์ บรอดแบนด์ และทีวีดิจิตอล โดยในย่านความถี่คลื่น 510-698 ควรใช้สำหรับการประมูลช่วงทีวีดิจิตอล ซึ่งจะได้ช่องระบบส่งสัญญาณความชัดมาตรฐาน (SD) 48 ช่อง และความชัดสูง (HD) 16 ช่อง ส่วนช่วงคลื่นที่เหลือ 698-806 MHz จะสามารถเหลือความถี่ 45 MHz โดยนำมาให้บริการโมบายล์บรอดแบนด์
ที่มา
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000073328

สหภาพยุโรปมีแผนจะนำคลื่น 700 MHZ สำหรับบริการ 5G
โพสต์: 11 กุมภาพันธ์ 2016 ตาม: ไซมอนโทมัส

EU PLANS TO FREE UP SPECTRUM IN THE 700 MHZ BAND FOR MOBILE SERVICES

Posted: 11th February 2016 By:Simon Thomas

The European Commission has announced a new proposal, which could boost mobile internet performance across the whole of Europe.

It’s proposed freeing up spectrum in the 700 MHz band (694-790 MHz) for use with mobile services. Currently much of this spectrum is used for TV broadcasting, but it’s perfect for providing high-quality internet to people, whether they’re in urban or rural locations, as it offers both wide coverage and high speeds.

As such the Commission wants to reallocate it for use with high-speed mobile services and use bands below 700 MHz for TV, as these aren’t as useful for mobile data but are fine for audiovisual uses.

Günther H. Oettinger, Commissioner for the Digital Economy and Society, wants all European member states to make the change by 2020, in time for the roll out of 5G.

In fact, he believes it’s necessary for 5G, saying: “We cannot have high quality mobile internet for everything and for everyone everywhere unless we have modern infrastructure and modern rules.

“With this proposal we show that we can have both: a vibrant audiovisual sector as well as the spectrum we will need for 5G.

“The 700 MHz band will be ideal for new promising fields like connected driving and the Internet of Things. I want Europe to lead in 5G. That is why all Member States must act by 2020.“

By that deadline the European Commission expects mobile internet traffic to be eight times higher than it is today, so we’re going to need all the spectrum we can get. Having all EU countries using the same spectrum will also help reduce costs and make it faster and easier to develop services.

Andrus Ansip, Vice-President for the Digital Single Market, said: "28 different approaches to manage radio frequencies in the EU do not make economic sense in the Digital Single Market. Today we come with our first proposal on how to better coordinate spectrum in the EU.

“We propose a joint approach to use the 700 MHz band for mobile services. This band is the sweet spot for both wide coverage and high speeds. It will give top-quality internet access to all Europeans, even in rural areas, and pave the way for 5G, the next generation of communication network.

“At the same time, we secure frequencies for the audiovisual sector and boost the development of technologies which make an efficient use of radio waves. Spectrum is a scarce resource: we need to make the best of it."
ที่มา
https://5g.co.uk/news/eu-plans-to-free-up-spectrum-700-mhz-band/4061/

ชัดเจน 5 จี-คลาวด์-ไอโอที คือเทคโนโลยีแห่งอนาคต | เดลินิวส์
„ชัดเจน 5 จี-คลาวด์-ไอโอที คือเทคโนโลยีแห่งอนาคต อีริคสัน ประเทศไทย เผย ระบบคลาวด์ โทรศัพท์ 5จี และไอโอที จะส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรม แนะรัฐเพิ่มการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานช่วยดันดิจิตอล อีโคโนมี วันอังคารที่ 26 เมษายน 2559 เวลา 1:00 น. หมวด: ไอที คำสำคัญ: 5จี คลาวด์ ไอโอที เทคโนโลยี ระบบคลาวด์ อีริคสัน ประเทศไทย เผย ระบบคลาวด์ โทรศัพท์ 5จี และไอโอที จะส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรม แนะรัฐเพิ่มการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานช่วยดันดิจิตอล อีโคโนมี นางคามิลล่า วอลเทียร์ ประธาน บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในงาน Mobile World Congress 2016 ที่ผ่านมา พบว่าเทคโนโลยีที่จะเข้ามามี ความสำคัญในอนาคต คือ5จี ระบบคลาวด์ และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ ไอโอที ทำให้ทุกอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัว รองรับการเปลี่ยน แปลงที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีเหล่านี้ โดยผู้บริโภคจะเข้าถึงบริการออน ไลน์ และบรอดแบนด์ได้ทุกที่ทั่วโลก การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและการใช้งานโซเชียลมีเดียจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก รวมถึงในไทยด้วย “พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ ของคนไทยมีแนวโน้มสอด คล้องกับแนวโน้มดิจิตอลทั่วโลก โดยร้อยละ 56 ของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนในไทยมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมากกว่าหนึ่งชิ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยอัตราเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 82 ส่วนการเข้าถึงอุปกรณ์เครือข่ายโซเชียล มีเดีย กว่าร้อยละ 50 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนไทย มีการใช้งานมากกว่าหนึ่งเครือข่ายโซเชียลมีเดีย โดยอัตราเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 55 สำหรับเรื่อง Sharing Economy หรือ เศรษฐกิจแบ่งปัน เป็นแนวโน้มของเศรษฐกิจยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งกำลังเป็นกระแสในโลกธุรกิจ กว่าร้อยละ 33 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทยมีการใช้เศรษฐกิจแบ่งปัน โดยอัตราเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 34” นางคามิลล่า กล่าวต่อว่า สิ่งที่จะกีดขวางไม่ให้ผู้บริโภค บริษัท และประเทศได้ประโยชน์จาก Internet Economy คือ การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมของภาคอุตสาหกรรม ข้อมูล ภาครัฐจึงควรสร้างการเข้าถึงให้ทุกคน ในการวางแผนการใช้งานคลื่นความถี่ รวมถึงการดำเนินงานเรื่องเครือข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยอุตสาหกรรมมือถือในไทย ควรจะมีคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น เพื่อการใช้งานโมบายบรอดแบนด์ในราคาที่ถูกลง เมื่อเครือข่ายมีความก้าวหน้าจะช่วยให้ผู้บริโภค องค์กรธุรกิจ และประเทศได้รับประโยชน์จากดิจิตอล อีโคโนมี.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/393749
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่