https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/1053090678118002
ทองย้อย แสงสินชัย (ป.ธ. ๙)
Former ผู้อำนวยการกองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ at Royal Thai Navy
------------------
คำสอนที่สวนทาง (๑)
------------------
ช่วงนี้ข่าวเกี่ยวกับท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายกำลังขึ้นหน้า ๑
ขอเรียนว่า ผมไม่มีเคยมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจเป็นส่วนตัวกับบุคคลระดับใดๆ ของสำนักธรรมกาย เจอพระจากวัดธรรมกายที่ไหนผมก็น้อมนมัสการด้วยความเคารพ พระวัดพระธรรมกายมาบ้านผม ผมก็ต้อนรับด้วยความเต็มใจ เพราะบ้านผมเปิดประตูรับสงฆ์อันมาแต่จาตุรทิศ ญาติมิตรที่นับถือธรรมกายก็ยังคบหาสมาคมกันเป็นปกติสุขทุกประการ
การพูดถึงธรรมกายของผมจึงไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานแห่งอคติใดๆ ทั้งสิ้น
ผมเพียงแต่เห็นว่า ในท่ามกลางกระแสเช่นนี้ควรถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นเตือนกันและกันให้ศึกษาทำความเข้าใจ
มีคำสอนบางเรื่องของสำนักธรรมกายที่ผมอยากให้สังคมทำความเข้าใจและรู้ทันข้อเท็จจริง
มิใช่เพื่อให้เลิกนับถือหรือยกขบวนไปต่อต้าน
ท่านผู้ใดจะยังคงนับถือ ก็นับถือไป เพราะศรัทธาบังคับกันไม่ได้
การต่อต้านใดๆ ในลักษณะที่ไม่สุภาพ เช่นใช้คำหยาบคายด่าว่า เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ควรมองกันด้วยเมตตาไมตรี
เมื่อการนับถือศาสนาห้ามศรัทธากันไม่ได้ การทำความเข้าใจเพื่อรู้ทันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ทำความเข้าใจ-คือศึกษาเรียนรู้ว่า
คำสอนที่ธรรมกายยกขึ้นมาเชิดชูนั้น ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทท่านแสดงไว้อย่างไร
เมื่อศึกษาเข้าใจแล้ว มีพื้นฐานพอที่จะรู้ทัน คือรู้ว่าผิดหรือถูก รู้ว่าตนควรมีท่าทีอย่างไรต่อคำสอนนั้นแล้ว
ต่อจากนั้นก็เป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละคนที่จะใช้วิจารณญาณได้เอง
เท่านี้ก็น่าจะพอ
ขอยกคำสอนเด่นๆ ของสำนักธรรมกายมาทำความเข้าใจเพียง ๓ เรื่อง
๑ เรื่องนิพพานเป็นอัตตา
๒ เรื่องบริจาคมากได้บุญมาก
๓ เรื่องสร้างศาสนสถานใหญ่โต
--------------
๑ เรื่องนิพพานเป็นอัตตา
เรื่องนี้ผมเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจ หรืออาจจะไม่สนใจที่จะเข้าใจเสียด้วยซ้ำไป ได้ยินบางท่านบอกว่านิพพานจะเป็นอัตตาหรือไม่เป็นอัตตาก็ไม่เห็นจะสำคัญอะไร
เรื่องนิพพานเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา
ถ้าไม่สนใจ ก็เหมือนไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา
ถ้าไม่เข้าใจ ก็คือนับถือพุทธศาสนาแบบไม่รู้เป้าหมาย
ถ้าเข้าใจผิด ก็คือนับถือพุทธศาสนาแบบหลงทาง คือแสดงตัวว่าเป็นชาวพุทธ แต่สิ่งที่ตั้งใจปฏิบัตินั้นไม่ใช่พุทธ
เรื่องนิพพาน ผู้รู้ท่านเขียนชี้แจงไว้มากแล้ว เช่นงานนิพนธ์ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต เป็นต้น ควรขวนขวายศึกษากันดู
ผมไม่มีความสามารถที่จะอธิบายเรื่องนี้ให้เป็นวิชาการได้ในที่นี้ จะขออนุญาตพูดแบบชาวบ้านพอให้มองเห็นภาพก็แล้วกัน
คือพระพุทธศาสนามีคำสอนเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติขัดเกลาตนเองจนจิตใจโปร่งโล่งเป็นอิสระอยู่เหนือโลภโกรธหลงทั้งปวง
สภาพที่จิตใจโปร่งโล่งเป็นอิสระอยู่เหนือโลภโกรธหลงทั้งปวงนี่แหละคือนิพพาน
นิพพานจึงคือคุณภาพของจิตใจ ไม่ใช่ภพภูมิใดๆ ที่มีอยู่ เช่นสวรรค์ชั้นฟ้า หรือเทพหรือพรหม หรือแดนสุขาวดี
อันผู้ละโลกนี้แล้วจะไปเกิดอยู่ที่นั่น
ผู้บรรลุนิพพานไม่ถูกกิเลสตัณหาไสหัวให้ทำชั่วทำผิด
ถูกทุกข์มากระทบก็ไม่กระเทือน
เมื่อดับชีพแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะไปเกิดในภพภูมิไหนอีกต่อไป อุปมาเหมือนดวงเทียนที่จุดไว้ เมื่อไส้เทียนเนื้อเทียนถูกเปลวไฟลุกไหม้ไปจนหมดสภาพความเป็นเทียนแล้ว เทียนเล่มนั้นก็ไม่มีอีกต่อไป
สภาพเช่นนี้ไม่ใช่ทฤษฎีทางปรัชญาหรือความคาดเดาในเชิงตรรกะ แต่เป็นสัจธรรม คือเป็นจริงตามที่มันเป็น ใครจะเชื่ออย่างไรหรือไม่เชื่ออย่างไร มันก็คงเป็นอย่างที่มันเป็น ถ้าใครอยากพิสูจน์ ก็ต้องทำด้วยวิธีปฏิบัติขัดเกลาจิตจนกระทั่งเกิดความเห็นตรงกับความเป็นจริง แต่ไม่ใช่พยายามอธิบายความเป็นจริงให้ตรงกับความเห็นของตน
นี่คือนิพพานไม่ใช่อัตตา
แต่สำนักธรรมกายสอนว่า เมื่อปฏิบัติตามวิธีของธรรมกายจนบรรลุธรรมแล้ว เมื่อดับชีพผู้นั้นก็ไปสถิตอยู่ที่ “อายตนะนิพพาน”
แปลตามศัพท์ว่าแดนนิพพาน
ซึ่งเป็นภพภูมิชนิดหนึ่ง มีขนาดกว้างยาวเท่าไรบอกไว้เสร็จ และจะสถิตอยู่ที่นั่นเป็นเอกันตบรมสุข
คือสุขสุดยอด เป็นอภิมหาอมตะนิรันดร์กาลไม่มีเวลาสิ้นสุด
นี่คือนิพพานเป็นอัตตา
นิพพานแบบนี้สนองกิเลสของสัตว์โลกได้ดียิ่งนัก เพราะทุกชีวิตไม่อยากตาย แต่อยากเสวยสุขเป็นอมตะตลอดกาล
--------------
สัจธรรมมีอยู่ว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมแตกดับ
คำที่รู้กันเป็นสามัญคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
หลายท่านรู้เป็นคำบาลีได้ด้วย คือ อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ
อุปปาทะ (อุบ-ปา-ทะ) = เกิดขึ้น
ฐิติ (ถิ-ติ) = ตั้งอยู่
ภังคะ (พัง-คะ) = ดับไป
ผู้ที่จะเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาซึ่งจะได้บรรลุนิพพานเป็นที่สุดนั้นจะต้องเห็นประจักษ์ใจในสัจธรรมข้อนี้ก่อนเป็นอันดับแรก
ที่มีคำเรียกว่า “ธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม”
คำบาลีที่รู้จักกันทั่วโลกก็คือ -
ปุถุชนเมื่อดับชีพ ยังมีเหตุปัจจัยให้ต้องเกิดอีก แม้ไม่อยากเกิดก็ต้องเกิด
เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับ คือตาย
ตายแล้วก็เกิดอีก ก็ตายอีก
เวียนเกิดเวียนตายอยู่เช่นนี้ เสวยสุขทุกข์ สมหวังผิดหวัง หัวเราะร้องไห้ นับชาติไม่ถ้วน
สภาพเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สังสารวัฏ” เราพูดกันคุ้นปากว่า เวียนว่ายตายเกิด
ถ้าเอาเฉพาะภาพหัวเราะ-ร้องไห้ของแต่ละคนที่เกิดมาในแต่ละชาติมาตัดต่อสลับกันแล้วเอามาฉายดูเหมือนฉายหนัง
ก็จะได้เห็นภาพคนบ้าคนหนึ่ง
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบวิธีที่จะหลุดจากวงโคจรบ้านี้ นั่นคือฝึกหัดพัฒนาจิตจนอยู่เหนืออำนาจของโลภโกรธหลง
อันเป็นรากเหง้าของปัจจัยที่ทำให้ต้องเกิดอีก
เมื่อไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิด ก็ไม่เกิด
เมื่อไม่เกิด ก็เป็นอมตะ คือไม่ตาย
นิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นอมตะ คือไม่ตายเพราะไม่เกิด
นิพพานของธรรมกายเป็นอมตะเพราะเกิดแล้วไม่ตาย
สัตว์โลกล้วนปรารถนาว่า เกิดขึ้นแล้วไม่ตาย คือดำรงอยู่ตลอดไป
เมื่อธรรมกายบอกว่า นิพพานเป็นอัตตา คือผู้บรรลุนิพพานจะได้เสวยสุขในแดนนิพพานตลอดไป
จึงสนองความปรารถนาของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
แต่ขัดต่อหลักสัจธรรม-ก็คือ-เป็นไปไม่ได้
พุทธภาษิตบทที่ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ แปลเท่าตัวว่า นิพพานเป็นบรมสุข
เจ้าสำนักธรรมกายที่ราชบุรีท่านแปลเสริมเข้าไปว่า-นิพพานเป็นบรมสุขอันถาวร
คือต้องการจะให้เข้าใจไปว่า ใครบรรลุนิพพานก็จะมีชีวิตอยู่ในแดนนิพพานเป็นอมตะถาวรตลอดไป
เพราะมุ่งจะให้นิพพานเป็นไปตามความอยากเช่นนี้ นิพพานของธรรมกายจึงขัดแย้งกับตัวเองโดยไม่รู้ตัว นั่นก็คือ –
ผู้จะบรรลุนิพพานได้ เบื้องต้นจะต้องได้ธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม คือเห็นประจักษ์แจ้งใจว่า สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ถ้าเข้าใจว่านิพพานเป็นภพภูมิที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แต่ไม่ดับไป ก็ขัดกับหลักสัจธรรม
อันที่จริงเพียงแค่เข้าใจว่านิพพานเป็นภพภูมิคือดินแดนอะไรอย่างหนึ่ง ก็ผิดหลักพระพุทธศาสนาแล้ว
เมื่อเข้าใจนิพพานผิดจากความเป็นจริงก็เท่ากับยังไม่ได้มีธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม อันเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะบรรลุนิพพาน
นิพพานเป็นอัตตาที่ธรรมกายสอนนั้นไม่ต่างจาก “มหาตมัน” หรือ “ปรมาตมัน” ในลัทธิพราหมณ์
ซึ่งผู้คนในชมพูทวีปเชื่อถือกันมานานนักหนาก่อนพระพุทธศาสนา
ผู้บรรลุนิพพานของธรรมกายก็ไม่ต่างจากพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม และพระอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย
ที่เป็นเทพอมตะอยู่ทุกวันนี้ตามความเชื่อของผู้คนในศาสนาต่างๆ
พระพุทธเจ้าท่านอุตส่าห์ดึงผู้คนให้หลุดออกมาจากความเชื่อชนิดนั้นได้แล้ว
ธรรมกายกลับพยายามดึงกลับเข้าไปอีก
เรื่องนิพพานเป็นอัตตาจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย
แต่เป็นเรื่องที่สามารถกลืนพระพุทธศาสนาให้กลายเป็นศาสนาอื่นไปได้ทั้งศาสนาเลยทีเดียว
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๗ เมษายน ๒๕๕๙
๑๕:๐๔
----------------
หมายเหตุ
เรื่องบริจาคมากได้บุญมาก อ่านได้ที่
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/1053128414780895
# พระพุทธเจ้าท่านอุตส่าห์ดึงผู้คนให้หลุดออกมาจากความเชื่อชนิดนั้นได้แล้ว แต่ธรรมกายกลับพยายามดึงกลับเข้าไปอีก #
ทองย้อย แสงสินชัย (ป.ธ. ๙)
Former ผู้อำนวยการกองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ at Royal Thai Navy
------------------
คำสอนที่สวนทาง (๑)
------------------
ช่วงนี้ข่าวเกี่ยวกับท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายกำลังขึ้นหน้า ๑
ขอเรียนว่า ผมไม่มีเคยมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจเป็นส่วนตัวกับบุคคลระดับใดๆ ของสำนักธรรมกาย เจอพระจากวัดธรรมกายที่ไหนผมก็น้อมนมัสการด้วยความเคารพ พระวัดพระธรรมกายมาบ้านผม ผมก็ต้อนรับด้วยความเต็มใจ เพราะบ้านผมเปิดประตูรับสงฆ์อันมาแต่จาตุรทิศ ญาติมิตรที่นับถือธรรมกายก็ยังคบหาสมาคมกันเป็นปกติสุขทุกประการ
การพูดถึงธรรมกายของผมจึงไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานแห่งอคติใดๆ ทั้งสิ้น
ผมเพียงแต่เห็นว่า ในท่ามกลางกระแสเช่นนี้ควรถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นเตือนกันและกันให้ศึกษาทำความเข้าใจ
มีคำสอนบางเรื่องของสำนักธรรมกายที่ผมอยากให้สังคมทำความเข้าใจและรู้ทันข้อเท็จจริง
มิใช่เพื่อให้เลิกนับถือหรือยกขบวนไปต่อต้าน
ท่านผู้ใดจะยังคงนับถือ ก็นับถือไป เพราะศรัทธาบังคับกันไม่ได้
การต่อต้านใดๆ ในลักษณะที่ไม่สุภาพ เช่นใช้คำหยาบคายด่าว่า เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ควรมองกันด้วยเมตตาไมตรี
เมื่อการนับถือศาสนาห้ามศรัทธากันไม่ได้ การทำความเข้าใจเพื่อรู้ทันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ทำความเข้าใจ-คือศึกษาเรียนรู้ว่า คำสอนที่ธรรมกายยกขึ้นมาเชิดชูนั้น ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทท่านแสดงไว้อย่างไร
เมื่อศึกษาเข้าใจแล้ว มีพื้นฐานพอที่จะรู้ทัน คือรู้ว่าผิดหรือถูก รู้ว่าตนควรมีท่าทีอย่างไรต่อคำสอนนั้นแล้ว
ต่อจากนั้นก็เป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละคนที่จะใช้วิจารณญาณได้เอง
เท่านี้ก็น่าจะพอ
ขอยกคำสอนเด่นๆ ของสำนักธรรมกายมาทำความเข้าใจเพียง ๓ เรื่อง
๑ เรื่องนิพพานเป็นอัตตา
๒ เรื่องบริจาคมากได้บุญมาก
๓ เรื่องสร้างศาสนสถานใหญ่โต
--------------
๑ เรื่องนิพพานเป็นอัตตา
เรื่องนี้ผมเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจ หรืออาจจะไม่สนใจที่จะเข้าใจเสียด้วยซ้ำไป ได้ยินบางท่านบอกว่านิพพานจะเป็นอัตตาหรือไม่เป็นอัตตาก็ไม่เห็นจะสำคัญอะไร
เรื่องนิพพานเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา
ถ้าไม่สนใจ ก็เหมือนไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา
ถ้าไม่เข้าใจ ก็คือนับถือพุทธศาสนาแบบไม่รู้เป้าหมาย
ถ้าเข้าใจผิด ก็คือนับถือพุทธศาสนาแบบหลงทาง คือแสดงตัวว่าเป็นชาวพุทธ แต่สิ่งที่ตั้งใจปฏิบัตินั้นไม่ใช่พุทธ
เรื่องนิพพาน ผู้รู้ท่านเขียนชี้แจงไว้มากแล้ว เช่นงานนิพนธ์ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต เป็นต้น ควรขวนขวายศึกษากันดู
ผมไม่มีความสามารถที่จะอธิบายเรื่องนี้ให้เป็นวิชาการได้ในที่นี้ จะขออนุญาตพูดแบบชาวบ้านพอให้มองเห็นภาพก็แล้วกัน
คือพระพุทธศาสนามีคำสอนเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติขัดเกลาตนเองจนจิตใจโปร่งโล่งเป็นอิสระอยู่เหนือโลภโกรธหลงทั้งปวง
สภาพที่จิตใจโปร่งโล่งเป็นอิสระอยู่เหนือโลภโกรธหลงทั้งปวงนี่แหละคือนิพพาน
นิพพานจึงคือคุณภาพของจิตใจ ไม่ใช่ภพภูมิใดๆ ที่มีอยู่ เช่นสวรรค์ชั้นฟ้า หรือเทพหรือพรหม หรือแดนสุขาวดี
อันผู้ละโลกนี้แล้วจะไปเกิดอยู่ที่นั่น
ผู้บรรลุนิพพานไม่ถูกกิเลสตัณหาไสหัวให้ทำชั่วทำผิด
ถูกทุกข์มากระทบก็ไม่กระเทือน
เมื่อดับชีพแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะไปเกิดในภพภูมิไหนอีกต่อไป อุปมาเหมือนดวงเทียนที่จุดไว้ เมื่อไส้เทียนเนื้อเทียนถูกเปลวไฟลุกไหม้ไปจนหมดสภาพความเป็นเทียนแล้ว เทียนเล่มนั้นก็ไม่มีอีกต่อไป
สภาพเช่นนี้ไม่ใช่ทฤษฎีทางปรัชญาหรือความคาดเดาในเชิงตรรกะ แต่เป็นสัจธรรม คือเป็นจริงตามที่มันเป็น ใครจะเชื่ออย่างไรหรือไม่เชื่ออย่างไร มันก็คงเป็นอย่างที่มันเป็น ถ้าใครอยากพิสูจน์ ก็ต้องทำด้วยวิธีปฏิบัติขัดเกลาจิตจนกระทั่งเกิดความเห็นตรงกับความเป็นจริง แต่ไม่ใช่พยายามอธิบายความเป็นจริงให้ตรงกับความเห็นของตน
นี่คือนิพพานไม่ใช่อัตตา
แต่สำนักธรรมกายสอนว่า เมื่อปฏิบัติตามวิธีของธรรมกายจนบรรลุธรรมแล้ว เมื่อดับชีพผู้นั้นก็ไปสถิตอยู่ที่ “อายตนะนิพพาน”
แปลตามศัพท์ว่าแดนนิพพาน ซึ่งเป็นภพภูมิชนิดหนึ่ง มีขนาดกว้างยาวเท่าไรบอกไว้เสร็จ และจะสถิตอยู่ที่นั่นเป็นเอกันตบรมสุข
คือสุขสุดยอด เป็นอภิมหาอมตะนิรันดร์กาลไม่มีเวลาสิ้นสุด
นี่คือนิพพานเป็นอัตตา
นิพพานแบบนี้สนองกิเลสของสัตว์โลกได้ดียิ่งนัก เพราะทุกชีวิตไม่อยากตาย แต่อยากเสวยสุขเป็นอมตะตลอดกาล
--------------
สัจธรรมมีอยู่ว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมแตกดับ
คำที่รู้กันเป็นสามัญคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
หลายท่านรู้เป็นคำบาลีได้ด้วย คือ อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ
อุปปาทะ (อุบ-ปา-ทะ) = เกิดขึ้น
ฐิติ (ถิ-ติ) = ตั้งอยู่
ภังคะ (พัง-คะ) = ดับไป
ผู้ที่จะเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาซึ่งจะได้บรรลุนิพพานเป็นที่สุดนั้นจะต้องเห็นประจักษ์ใจในสัจธรรมข้อนี้ก่อนเป็นอันดับแรก
ที่มีคำเรียกว่า “ธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม”
คำบาลีที่รู้จักกันทั่วโลกก็คือ -
(ยังกิญฺจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง)
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งทั้งมวลนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา
ปุถุชนเมื่อดับชีพ ยังมีเหตุปัจจัยให้ต้องเกิดอีก แม้ไม่อยากเกิดก็ต้องเกิด
เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับ คือตาย
ตายแล้วก็เกิดอีก ก็ตายอีก
เวียนเกิดเวียนตายอยู่เช่นนี้ เสวยสุขทุกข์ สมหวังผิดหวัง หัวเราะร้องไห้ นับชาติไม่ถ้วน
สภาพเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สังสารวัฏ” เราพูดกันคุ้นปากว่า เวียนว่ายตายเกิด
ถ้าเอาเฉพาะภาพหัวเราะ-ร้องไห้ของแต่ละคนที่เกิดมาในแต่ละชาติมาตัดต่อสลับกันแล้วเอามาฉายดูเหมือนฉายหนัง
ก็จะได้เห็นภาพคนบ้าคนหนึ่ง
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบวิธีที่จะหลุดจากวงโคจรบ้านี้ นั่นคือฝึกหัดพัฒนาจิตจนอยู่เหนืออำนาจของโลภโกรธหลง
อันเป็นรากเหง้าของปัจจัยที่ทำให้ต้องเกิดอีก
เมื่อไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิด ก็ไม่เกิด
เมื่อไม่เกิด ก็เป็นอมตะ คือไม่ตาย
นิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นอมตะ คือไม่ตายเพราะไม่เกิด
นิพพานของธรรมกายเป็นอมตะเพราะเกิดแล้วไม่ตาย
สัตว์โลกล้วนปรารถนาว่า เกิดขึ้นแล้วไม่ตาย คือดำรงอยู่ตลอดไป
เมื่อธรรมกายบอกว่า นิพพานเป็นอัตตา คือผู้บรรลุนิพพานจะได้เสวยสุขในแดนนิพพานตลอดไป
จึงสนองความปรารถนาของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
แต่ขัดต่อหลักสัจธรรม-ก็คือ-เป็นไปไม่ได้
พุทธภาษิตบทที่ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ แปลเท่าตัวว่า นิพพานเป็นบรมสุข
เจ้าสำนักธรรมกายที่ราชบุรีท่านแปลเสริมเข้าไปว่า-นิพพานเป็นบรมสุขอันถาวร
คือต้องการจะให้เข้าใจไปว่า ใครบรรลุนิพพานก็จะมีชีวิตอยู่ในแดนนิพพานเป็นอมตะถาวรตลอดไป
เพราะมุ่งจะให้นิพพานเป็นไปตามความอยากเช่นนี้ นิพพานของธรรมกายจึงขัดแย้งกับตัวเองโดยไม่รู้ตัว นั่นก็คือ –
ผู้จะบรรลุนิพพานได้ เบื้องต้นจะต้องได้ธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม คือเห็นประจักษ์แจ้งใจว่า สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ถ้าเข้าใจว่านิพพานเป็นภพภูมิที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แต่ไม่ดับไป ก็ขัดกับหลักสัจธรรม
อันที่จริงเพียงแค่เข้าใจว่านิพพานเป็นภพภูมิคือดินแดนอะไรอย่างหนึ่ง ก็ผิดหลักพระพุทธศาสนาแล้ว
เมื่อเข้าใจนิพพานผิดจากความเป็นจริงก็เท่ากับยังไม่ได้มีธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม อันเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะบรรลุนิพพาน
นิพพานเป็นอัตตาที่ธรรมกายสอนนั้นไม่ต่างจาก “มหาตมัน” หรือ “ปรมาตมัน” ในลัทธิพราหมณ์
ซึ่งผู้คนในชมพูทวีปเชื่อถือกันมานานนักหนาก่อนพระพุทธศาสนา
ผู้บรรลุนิพพานของธรรมกายก็ไม่ต่างจากพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม และพระอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย
ที่เป็นเทพอมตะอยู่ทุกวันนี้ตามความเชื่อของผู้คนในศาสนาต่างๆ
พระพุทธเจ้าท่านอุตส่าห์ดึงผู้คนให้หลุดออกมาจากความเชื่อชนิดนั้นได้แล้ว
ธรรมกายกลับพยายามดึงกลับเข้าไปอีก
เรื่องนิพพานเป็นอัตตาจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย
แต่เป็นเรื่องที่สามารถกลืนพระพุทธศาสนาให้กลายเป็นศาสนาอื่นไปได้ทั้งศาสนาเลยทีเดียว
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๗ เมษายน ๒๕๕๙
๑๕:๐๔
----------------
หมายเหตุ
เรื่องบริจาคมากได้บุญมาก อ่านได้ที่ https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/1053128414780895