นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจความคิดเห็น (โพล) สถานภาพแรงงานไทย ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน สำรวจ1,212 ตัวอย่าง วันที่ 18-24 เมษายน 2559 และโพลสถานภาพธุรกิจ วันแรงงานแห่งชาติ สำรวจ 600 ตัวอย่าง วันที่ 18-23 เมษายน 2559 พบว่า สถานภาพทางเศรษฐกิจของแรงงานไทยปี 2559 แย่สุดในรอบ 8 ปี นับจากปี 2552 เนื่องจากแรงงานมีหนี้สูงสุดในรอบ 8 ปี โดยแรงงาน 95.9% มีภาระหนี้ และมีหนี้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 119,061 บาท เพิ่มจากปี 2552 ที่มีสัดส่วน 48.51% แบ่งเป็น นอกระบบ 60.62% ในระบบ 39.38% สะท้อนแรงงานมีปัญหารายได้ ค่าใช้จ่ายมากกว่ารายรับ ทำให้สถานภาพแรงงาน ซึ่งมีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน มีปัญหา แม้จะหารายได้เสริมจากงานหลักแล้วก็ตาม ยังไม่พอใช้จ่าย มีการนำเงินไปหมุนหนี้นอกระบบมากขึ้น ดังนั้นการที่ธนาคารจะทำนาโนไฟแนนซ์ ดึงเจ้าหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบมากขึ้น น่าจะเปิดทางให้กลุ่มแรงงานเข้าถึงการขอเงินกู้ได้มากขึ้น และช่วยบรรเทาภาระดอกเบี้ยให้ดีขึ้นได้
"สถานภาพแรงงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แรงงานจึงขอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 356.76 บาท จากปัจจุบัน 300 บาท ให้ทันตามภาวะค่าครองชีพที่มีการขึ้นตามกลไกตลาด และค่าจ้างที่ไม่ปรับขึ้นมาหลายปี อย่างไรก็ตาม แรงงานยังกังวลเรื่องตกงาน เพราะเห็นนายจ้างมีผลประกอบการไม่ดีนักตามเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้นควรปรับค่าจ้างขั้นต่ำ นอกจากนี้รายได้ไม่พอใช้จ่าย จะเป็นตัวฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง เศรษฐกิจซึมตัวทุกพื้นที่ ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดีขึ้น" นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า สอดรับกับสถานภาพธุรกิจ ของนายจ้าง มองเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/ 2559 จะถึงจุดต่ำสุดของทั้งปี จากกำลังซื้อที่ลดลงจากภัยแล้ง เศรษฐกิจโลกซบเซา ยอดขายลดลง และอาจส่งผลต่อการจ้างงานลดลง สอดคล้องกับอัตราว่างงานของไทยขณะนี้อยู่ที่ 0.9% เพิ่มขึ้นจาก 0.7% แต่ภาคธุรกิจเชื่อว่าในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะฟื้นจากการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจกว่า 71.4% ไม่เห็นด้วย จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะปัญหาเศรษฐกิจกระทบต่อยอดขาย กำไรลดลง แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้น มองว่าค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นการปรับล่วงหน้าไปไกลมาก และยังเป็นค่าแรงที่สูงอยู่แล้ว หากจะปรับขึ้นจะรับได้ 310.68 บาท
JJNY : เศรษฐกิจดี๊ดี...แรงงานไทยหลังแอ่น แบกหนี้สูงสุดรอบ 8 ปี ขอค่าแรงขั้นต่ำเป็น 356.76 บาท
"สถานภาพแรงงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แรงงานจึงขอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 356.76 บาท จากปัจจุบัน 300 บาท ให้ทันตามภาวะค่าครองชีพที่มีการขึ้นตามกลไกตลาด และค่าจ้างที่ไม่ปรับขึ้นมาหลายปี อย่างไรก็ตาม แรงงานยังกังวลเรื่องตกงาน เพราะเห็นนายจ้างมีผลประกอบการไม่ดีนักตามเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้นควรปรับค่าจ้างขั้นต่ำ นอกจากนี้รายได้ไม่พอใช้จ่าย จะเป็นตัวฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง เศรษฐกิจซึมตัวทุกพื้นที่ ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดีขึ้น" นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า สอดรับกับสถานภาพธุรกิจ ของนายจ้าง มองเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/ 2559 จะถึงจุดต่ำสุดของทั้งปี จากกำลังซื้อที่ลดลงจากภัยแล้ง เศรษฐกิจโลกซบเซา ยอดขายลดลง และอาจส่งผลต่อการจ้างงานลดลง สอดคล้องกับอัตราว่างงานของไทยขณะนี้อยู่ที่ 0.9% เพิ่มขึ้นจาก 0.7% แต่ภาคธุรกิจเชื่อว่าในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะฟื้นจากการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจกว่า 71.4% ไม่เห็นด้วย จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะปัญหาเศรษฐกิจกระทบต่อยอดขาย กำไรลดลง แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้น มองว่าค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นการปรับล่วงหน้าไปไกลมาก และยังเป็นค่าแรงที่สูงอยู่แล้ว หากจะปรับขึ้นจะรับได้ 310.68 บาท