ทานให้ผลตามธรรม
เหตุทำให้มีผิวพรรณงามและเหตุให้เกิดทรัพย์ พระนางมัลลิกา มเหสีพระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลถามพระพุทธเจ้า ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคาม(สตรี)บางคนในโลกนี้ มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู และเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์. พระพุทธเจ้าตรัสว่า
มัลลิกา ! มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ เธอไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เครื่องนุงห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์ และมีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น กีดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาอุบัติ(ชายติ)ในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู และเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์.
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สูงศักดิ์. มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ แต่เธอให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ดังที่กล่าวแล้ว แก่สมณะหรือพราหมณ์ และไม่มีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น ไม่กีดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาอุบัติ(ชายติ)ในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สูงศักดิ์.
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์. มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ แต่เธอไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เป็นต้น ดังที่กล่าวแล้ว แก่สมณะหรือพราหมณ์ และมีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น กีดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาอุบัติ(ชายติ)ในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์.
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก และเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สูงศักดิ์. มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ และเธอให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เป็นต้น ดังที่กล่าวแล้ว แก่สมณะหรือพราหมณ์ และไม่มีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น ไม่กีดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาอุบัติ(ชายติ)ในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก และสูงศักดิ์. อ้างอิง ไตร. บาลีสยามรัฐ อุปริ. ม. ม. / ๑๔ / ๓๗๖ / ๕๗๙. ไตร. บาลีสยามรัฐ จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๗๘ / ๑๙๗. ติดตามธรรมตามนัยพุทธโอษฐ์เพิ่มเติมใน face book หลวงตาเฟื่อง ปัญญาวโร.
ทานให้ผลตามธรรม
เหตุทำให้มีผิวพรรณงามและเหตุให้เกิดทรัพย์ พระนางมัลลิกา มเหสีพระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลถามพระพุทธเจ้า ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคาม(สตรี)บางคนในโลกนี้ มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู และเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์. พระพุทธเจ้าตรัสว่า
มัลลิกา ! มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ เธอไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เครื่องนุงห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะหรือพราหมณ์ และมีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น กีดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาอุบัติ(ชายติ)ในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู และเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์.
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สูงศักดิ์. มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ แต่เธอให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ดังที่กล่าวแล้ว แก่สมณะหรือพราหมณ์ และไม่มีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น ไม่กีดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาอุบัติ(ชายติ)ในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สูงศักดิ์.
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์. มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ แต่เธอไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เป็นต้น ดังที่กล่าวแล้ว แก่สมณะหรือพราหมณ์ และมีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น กีดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาอุบัติ(ชายติ)ในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์.
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก และเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สูงศักดิ์. มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ และเธอให้ทาน คือ ข้าว น้ำ เป็นต้น ดังที่กล่าวแล้ว แก่สมณะหรือพราหมณ์ และไม่มีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น ไม่กีดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาอุบัติ(ชายติ)ในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก และสูงศักดิ์. อ้างอิง ไตร. บาลีสยามรัฐ อุปริ. ม. ม. / ๑๔ / ๓๗๖ / ๕๗๙. ไตร. บาลีสยามรัฐ จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๗๘ / ๑๙๗. ติดตามธรรมตามนัยพุทธโอษฐ์เพิ่มเติมใน face book หลวงตาเฟื่อง ปัญญาวโร.