คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 20
หลายคนหลงไปไกลแล้ว กลับมาก่อนนะ
ที่ จขกท ต้องการจะสื่อคือว่า "การใช้ข้อมูลเชิงสถิติมาช่วยพัฒนาองค์กร" ครับ
จริงๆไม่ใช่แค่เลสเตอร์นะ ในประเทศที่พัฒนาแล้วทุกประเทศ ทุกวงการ เขาจะเก็บข้อมูลโดยละเอียดยิบ เพราะมันสามารถนำไปวิเคราะห์ได้หมด เดต้าเบสของประเทศเหล่านี้จะมหาศาลมาก แต่ในประเทศไทยคนไทยส่วนมากเข้าใจคำว่า สถิติ แค่ว่าหมายถึงผลแพ้ชนะในอดีต แต่จริงๆมันมีอะไรมากกว่านั้น
ยกตัวอย่าง เช่น สถิติของระยะทางการวิ่งโดยเฉลี่ยของนักฟุตบอลแต่ละคนในการแข่งขันทัวร์นาเมนท์หนึ่งๆ มันบอกอะไรได้หลายอย่าง อาทิ นักเตะคนนี้จะวิ่งได้ระยะทาง 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้เล่นคนอื่นในตำแหน่งเดียวกัน โดยมีอัตราการผ่านบอลสำเร็จคิดเป็นร้อยละมากกว่าผู้เล่นอื่นในทีม แต่มีการตัดบอลที่ค่อนข้างแย่กว่าคนอื่น และมักถูกเปลี่ยนตัวออกในนาทีที่ xx เนื่องจากหมดแรง ฯลฯ
มันจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของทีมตนได้มากกว่าการนั่งดูเทป หรือการเล่นเสียอีก และยังต่อยอดนำไปปรับ Training Schedule ของผู้เล่นแต่ละคนให้เหมาะกับคนคนนั้นได้ เช่น นักฟุตบอลตำแหน่งตัวอย่างข้างต้นมีดาวเด่น 2 คน คนหนึ่งอาจจะให้ฝึก Intensive ในด้านการจ่ายบอล เทคนิค และฝึก Normal ในด้านอื่นๆ ส่วนอีกคนให้ฝึก Intensive ในด้านการจ่ายบอล เทคนิค และ Defensive โดยลดเรื่องการฝึกฟิตเนสลง เป็นต้น (เป็นเพียงตัวอย่างการนำสถิติมาใช้เท่านั้น)
สังเกตไหมครับ พวกผู้จัดการทีมและทีมงานที่เก่งๆ เขาเข้ามาคุมทีมอื่นโดยที่มาเพียงไม่นานก็สามารถดึงเอาความสามารถของนักเตะแต่ละคนออกมาได้ดีมาก ส่วนหนึ่งนั่นก็เพราะใช้การเก็บสถิติมาช่วยวิเคราะห์ นี่แหละครับ
สเกาท์ จริงๆก็มีหลายแบบ ถ้าพวกแมวมองส่วนมากก็มองหานักเตะมีพรสวรรค์หรือนักเตะที่มีประสิทธิภาพแล้วแจ้งไปยังต้นสังกัด
แต่สเกาท์อีกหน่วยหนึ่งจะเป็นทีมงานที่คอย "เก็บสถิติ" ของผู้เล่นที่ต้นสังกัดสนใจ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งด้านระยะทางวิ่งต่อแมทช์ การจ่ายบอล การตัดบอล โอกาสทำประตู การโอเวอร์แลป การปะทะชนะฝ่ายตรงข้าม ฯลฯ
ประเทศไทยไม่เคยสนใจเรื่อง สถิติ มากเท่าไหร่ จริงๆมันสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆด้านมากครับ
เห็นด้วยที่จะให้ทีมชาติไทยเก็บสถิติทุกข้อมูลเพื่อนำมาใช้วางแผนและเป็นรากฐานที่ยั่งยืนของทีมชาติไทยในอนาคตครับ
ที่ จขกท ต้องการจะสื่อคือว่า "การใช้ข้อมูลเชิงสถิติมาช่วยพัฒนาองค์กร" ครับ
จริงๆไม่ใช่แค่เลสเตอร์นะ ในประเทศที่พัฒนาแล้วทุกประเทศ ทุกวงการ เขาจะเก็บข้อมูลโดยละเอียดยิบ เพราะมันสามารถนำไปวิเคราะห์ได้หมด เดต้าเบสของประเทศเหล่านี้จะมหาศาลมาก แต่ในประเทศไทยคนไทยส่วนมากเข้าใจคำว่า สถิติ แค่ว่าหมายถึงผลแพ้ชนะในอดีต แต่จริงๆมันมีอะไรมากกว่านั้น
ยกตัวอย่าง เช่น สถิติของระยะทางการวิ่งโดยเฉลี่ยของนักฟุตบอลแต่ละคนในการแข่งขันทัวร์นาเมนท์หนึ่งๆ มันบอกอะไรได้หลายอย่าง อาทิ นักเตะคนนี้จะวิ่งได้ระยะทาง 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้เล่นคนอื่นในตำแหน่งเดียวกัน โดยมีอัตราการผ่านบอลสำเร็จคิดเป็นร้อยละมากกว่าผู้เล่นอื่นในทีม แต่มีการตัดบอลที่ค่อนข้างแย่กว่าคนอื่น และมักถูกเปลี่ยนตัวออกในนาทีที่ xx เนื่องจากหมดแรง ฯลฯ
มันจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของทีมตนได้มากกว่าการนั่งดูเทป หรือการเล่นเสียอีก และยังต่อยอดนำไปปรับ Training Schedule ของผู้เล่นแต่ละคนให้เหมาะกับคนคนนั้นได้ เช่น นักฟุตบอลตำแหน่งตัวอย่างข้างต้นมีดาวเด่น 2 คน คนหนึ่งอาจจะให้ฝึก Intensive ในด้านการจ่ายบอล เทคนิค และฝึก Normal ในด้านอื่นๆ ส่วนอีกคนให้ฝึก Intensive ในด้านการจ่ายบอล เทคนิค และ Defensive โดยลดเรื่องการฝึกฟิตเนสลง เป็นต้น (เป็นเพียงตัวอย่างการนำสถิติมาใช้เท่านั้น)
สังเกตไหมครับ พวกผู้จัดการทีมและทีมงานที่เก่งๆ เขาเข้ามาคุมทีมอื่นโดยที่มาเพียงไม่นานก็สามารถดึงเอาความสามารถของนักเตะแต่ละคนออกมาได้ดีมาก ส่วนหนึ่งนั่นก็เพราะใช้การเก็บสถิติมาช่วยวิเคราะห์ นี่แหละครับ
สเกาท์ จริงๆก็มีหลายแบบ ถ้าพวกแมวมองส่วนมากก็มองหานักเตะมีพรสวรรค์หรือนักเตะที่มีประสิทธิภาพแล้วแจ้งไปยังต้นสังกัด
แต่สเกาท์อีกหน่วยหนึ่งจะเป็นทีมงานที่คอย "เก็บสถิติ" ของผู้เล่นที่ต้นสังกัดสนใจ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งด้านระยะทางวิ่งต่อแมทช์ การจ่ายบอล การตัดบอล โอกาสทำประตู การโอเวอร์แลป การปะทะชนะฝ่ายตรงข้าม ฯลฯ
ประเทศไทยไม่เคยสนใจเรื่อง สถิติ มากเท่าไหร่ จริงๆมันสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆด้านมากครับ
เห็นด้วยที่จะให้ทีมชาติไทยเก็บสถิติทุกข้อมูลเพื่อนำมาใช้วางแผนและเป็นรากฐานที่ยั่งยืนของทีมชาติไทยในอนาคตครับ
แสดงความคิดเห็น
สิ่งหนึ่งที่อยากให้ทีมชาติไทยเรียนรู้จากเลสเตอร์ คือ การให้ความสำคัญนำข้อมูลตัวเลขสถิติมาวิเคราะห์
เลสเตอร์เป็นทีมเล็ก แต่สามารถนำตัวเลขสถิติมาวิเคราะห์วางแผนทำทีมได้ดีเยี่ยม วางแผนมาดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ซึ่ง มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เลสเตอร์มาไกล ไม่ใช่คนใดคนนึง ทุกคนทีมงานที่เกี่ยวข้องของเลสเตอร์มีส่วนร่วมในความสำเร็จ
ทีมชาติไทยก็เช่นกัน สิ่งหนึ่งที่เราเหมือนเลสเตอร์ คือ เป็นทีมนอกสายตา ทีมที่ศักยภาพทีมด้อยกว่า 11 ชาติในบอลโลกเอเชียรอบสุดท้าย ขุมกำลังเราสู้เขาไม่ได้ แต่ถ้าคุณเตรียมทีมวางแผนดีๆ นำข้อมูลมาสถิติมาวิเคราะห์อย่างละเอียด ทั้งเรื่องนักเตะ ระบบการเล่น อย่างที่เลสเตอร์ทำ อะไรก็เกิดขึ้นได้
ข้อมูลสถิติสำคัญมากๆ คุณถึงจะไปได้ไกล
อย่างที่ลูกคุณวิชัยให้สัมภาษณ์ เค้าบอกว่า นักเตะดูภายนอกเหมือนจะฟิต เอเย่นบอกว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ บางทีตัวเลขที่ได้อาจจะไม่ใช่อย่างที่คิด ตัวเลขสถิติทำให้การตัดสินใจผิดพลาดน้อยลง
ไหนๆ เจ้าของทีมเลสเตอร์ก็เป็นของคนไทย สมาคมเอ่ยปากของทีมงานเลสเตอร์มาช่วยทีมชาติไทยเรา คุณวิชัยพร้อมที่จะช่วยอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าทีมงานฝั่งไทยเราจะทำแบบมืออาชีพร่วมงานกับเขาได้หรือเปล่า
มาฟังกันดีๆ เป็นเรื่องของการบริหารจัดการล้วนๆ