ความผิดฐานฟอกเงิน กับ การจะออกหมายจับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

ท้าวความถึงกฎหมายฉบับนี้กันสักหน่อยว่า
จุดประสงค์ของพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๕๘
กฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อใช้กับการปราบปรามความผิดเกี่ยวกับการพนัน ยาเสพติด ฉ้อโกง ยักยอก ความผิดเกี่ยวกับการเมืองบ้าง และการก่อการร้ายเป็นต้นเสียเป็นส่วนมาก ซึ่งในตอนที่ร่างกฎหมายฉบับนี้เสนอต่อรัฐสภาก็มีนักวิชาการด้านกฎหมายชั้นนำของประเทศท่านหนึ่งคัดค้านอย่างมาก
เพราะท่านเกรงว่าจะเกิดการใช้อำนาจกฎหมายเกินส่วนอย่างที่เกิดขึ้นในตอนนี้
แล้วมันก็เกิดขึ้นแล้วจริงๆ เอ่ยชื่อไปก็รู้จักกันทั้งประเทศ ยิ่งตอนนี้ท่านยิ่งโดดเด่นเรื่องร่างรธน. อยู่ด้วยจึงขอข้ามประเด็นนี้ไปก่อนเพราะไม่อยากนำมาโยงเกี่ยวเนื่องกันทำให้สับสนเปล่าๆ

กลับมาที่เรื่องหลักที่เริ่มข้างต้นประเด็นของการฟอกเงิน
การจะกล่าวหาใครว่าฟอกเงินกฎหมายก็บังคับว่าต้องอาศัยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง 21  ข้อกับอีกสามมาตราในกฎหมายอื่นซึ่งจะยืดยาวไปถ้าจะกล่าวตรงนี้หมด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
    ขอตั้งข้อสังเกตุให้เข้ากับกรณีคดีความนี้เลย คือ ความผิดมูลฐานที่จะกล่าวหา ผู้อื่นฐานฟอกเงิน ต้องอาศัย
"...ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือฉ้อโกงหรือประทุษร้ายต่อทรัพย์หรือกระทำโดยทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกระทำโดย กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น..."
    กล่าวคือ ต้องอาศัยความผิดฐานยักยอก หรือฉ้อโกง ... เป็นมูลฐานความผิดก่อน
    ความผิดฐานยักยอก หรือฉ้อโกงต้องเกิดขึ้นชัดเจนเป็นคดีก่อนจึงอ้างอิงมาตั้งความผิดฐานฟอกเงินได้นั่นเอง
ก็เมื่อคดีนี้ ความผิดมูลฐานยังอยู่ในชั้นพิจารณาของอัยการ
ซึ่งตามกระบวนการพิจารณาก็ยังไม่แน่ว่าอัยการจะสรุปสำนวนว่าอย่างไร
อัยการยังไม่ชี้มูลความผิดมูลฐาน จึงยังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดฐานฟอกเงิน

เมื่อเป็นเช่นนี้ กระบวนการพิจารณาของ  DSI ต่อจากนั้นก็ไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น
ตั้งแต่หมายเรียกไปจนกระทั่งการจะขอออกหมายจับตามที่เป็นข่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่