*** ศึกษาธรรมตามกาล....ว่าด้วยเรื่อง "มุสาวาท" ...***

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

  ว่าด้วยมุสาวาทมีด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ

      [๗๗๒] คำว่า   พึงเว้นจากความพูดเท็จ   ความว่า มุสาวาทเรียกว่า

ความพูดเท็จ     บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภาก็ดี อยู่ในที่ประชุมชน

ก็ดี ฯลฯ เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งที่รู้สึกตัว เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย

บ้าง นี้เรียกว่าความพูดเท็จ.

      อีกอย่างหนึ่ง    มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๓ อย่าง    คือในเบื้องต้น

บุคคลนั้นก็มีความรู้ว่า   เราจักพูดเท็จ ๑ เมื่อกำลังพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลัง

พูดเท็จ ๑ เมื่อพูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๑ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ

๓ อย่างนี้.

      อนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ ๔    ด้วยอาการ ๕      ด้วยอาการ ๖

ด้วยอาการ ๗   ด้วยอาการ ๘       คือในเบื้องต้น บุคคลนั้นก็มีความรู้ว่า

เราจักพูดเท็จ ๑    เมื่อกำลังพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ ๑ เมื่อพูดแล้ว

ก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว ๑     ปกปิดทิฏฐิ ๑    ปกปิดความควร ๑    ปกปิด

ความชอบใจ ๑  ปกปิดสัญญา ๑ ปกปิดความจริง ๑ มุสาวาทย่อมมีด้วย

อาการ ๘ อย่างนี้.

-------------

ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
นิยามดังนี้

มุสาวาท พูดเท็จ, พูดโกหก, พูดไม่จริง
       (ข้อ ๔ ในกรรมกิเลส ๔, ข้อ ๗ ในมละ ๙, ข้อ ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่