Tease of the world's longest working limestone cableway Forsby-Köping Sweden
Forsby-Köping Limestone Cableway
เคยให้บริการขนส่งหินปูนที่มีเส้นทางยาวที่สุดในโลก
ระยะทางรวม 42 กิโลเมตร ผ่านสองข้างทางที่งดงาม
ด้วยกระเช้าลอยฟ้า หรือ กะบะ หรือ ถังบรรจุหินปูน
เพื่อส่งไปโรงงานปูนซีเมนต์ที่ Skånska ใน Sweden
โครงสร้างที่ผสมผสานลงตัวนี้มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง
ในการขนย้ายวัตถุดิบจากเหมืองหินปูนไปยังโรงงานปูนซีเมนต์
เพราะตัดข้ามแม่น้ำ ทุ่งนา ถนน และภูมิประเทศสองข้างทาง
มีการใช้กระเช้า/กะบะขนส่ง 750 ตัว
แต่ละตัวจะใส่หินปูนได้ถึง 1,200 กิโลกรัม
โดยมีระยะเวลาทำงานที่ 24/7 (ตลอดทั้งวันในสัปดาห์)
ถ้าทำงานที่ความจุสูงสุด
จะขนย้ายวัตถุดิบได้ถึง 90 ตันต่อชั่วโมง
การใช้เคเบิลจะส่งผลต่อกำไร
ขึ้นกับการทำงานในอัตราเกือบเต็มประสิทธิภาพ
ถ้าโรงงานปูนซีเมนต์มีอัตราการผลิตที่จุดสูงสุด
แต่ถ้าความต้องการปูนซีเมนต์ในตลาดลดลง
กะบะขนส่งบนสายเคเบิ้ลก็จะหยุดการทำงานตามไปด้วย
การก่อสร้างกระเช้าลอยฟ้านี้
มีต้นทุนราว 5 แสนเหรียญสหรัฐในยุคนั้น
คิดตามอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน
จะมีต้นทุนค่าก่อสร้างราว 8.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
Forsby-Köping Limestone Cableway
ใช้งานกระเช้าลอยฟ้านี้
ตั้งแต่ปี ค.ศ.1939 ถึงปี 1997
แล้วต้องหยุดให้บริการถึง 3 ปี
ตั้งแต่ปีค.ศ.1977 ถึงปี 1980
เพราะไม่จำเป็นต้องใช้กระเช้าลอยฟ้า
ขนส่งหินปูนมาจากเหมืองอีกต่อไปแล้ว
ผู้ฆ่าวิศวกรรมที่ประทับใจรายนี้
คือ ถนนและรถยนต์บรรทุก ในปี ค.ศ.1997
เพราะค่าขนส่งทางรถยนต์บรรทุก
จะถูกกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับ
ค่าขนส่งกับค่าบำรุงรักษากระเช้าลอยฟ้า
ผลงานในอดีตคือ
บรรทุกหินปูนถึง 25 ล้านตัน
ผ่านกระเช้าลอยฟ้าที่มีอายุใช้งานถึง 53 ปี
เมื่อการใช้งานต้องปิดตัวลงในที่สุด
ก็ต้องมีการรื้อถอนเสาที่ตั้ง
และสายเคเบิ้ลบางส่วนออกมา
Forsby-Köping Limestone Cableway
จึงเป็นผู้ให้บริการกระเช้าลอยฟ้าเส้นทางยาวที่สุดในโลก
กระเช้าลอยฟ้าที่วิ่งผ่านสถานที่ต่าง ๆ นี้
กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไปแล้ว
มีหลายคนพยายามจะผลักดันให้มีการอนุรักษ์ไว้
แต่ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดแล้ว
เพราะในปี ค.ศ.2013
เจ้าของบริษัทไม่สามารถแบกรับภาระ/ต้นทุน
ค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษาต่อไปได้แล้ว
จึงเริ่มทะยอยรื้อ/ขนย้ายสายเคเบิ้ล
กับเสาที่ตั้งบางส่วนออกจากที่ตั้งเดิม
ในช่วงที่ยังมีการใช้งานอยู่นั้น
เครือข่ายของกระเช้า/กะบะขนหินปูน หอคอย สายเคเบิ้ล
จะมีสถานีรองรับถึง 3 แห่ง ประกอบด้วย
สถานีต้นทาง สถานีชุมทาง และ สถานีย่อย
เพื่อให้การขนส่งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถานีต้นทางปล่อยสายเคเบิ้ลให้วิ่งรอกไปกลับ
ด้วยพลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 135 แรงม้า
สถานีชุมทางจะรองรับกะบะขนส่งที่มาตามสายเคเบิ้ล
ทั้งที่บรรทุกหินปูนกับกะบะว่างเปล่า
แม้ว่าการออกแบบเครือข่ายจะค่อนข้างยืดหยุ่นลงตัว
แต่สถานีย่อยก็ยังมีความจำเป็นในการสับหลีกกะบะในบางครั้ง
กระเช้าลอยฟ้านี้ดูเหมือนว่า
เป็นของเก่าและไม่ทันสมัยแล้ว
แต่ได้แสดงผลงานเชิงประจักษ์
ศิลปะของระบบการขนส่งหินปูนในยุคนั้น
ด้วยการเริ่มใช้งานตั้งแต่ปี ค.ศ.1939
และสามารถใช้งานจนถึงยุคปี 2000
วิศวกรรมไม่จำเป็นต้องการเรื่องแปลกใหม่
และก้าวล้ำนำยุคอย่างมากในการใช้งาน
เพราะบางครั้งกะบะ/บุ้งกี๋/กระเช้าลอยฟ้า
หรือสายเคเบิ้ลบางแห่งก็ยังจำเป็นกับการใช้งาน
บุ้งกี๋ ที่ขายกันในท้องตลาด
เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/NUVSSd
https://goo.gl/gvzIx0
http://goo.gl/wKPLGc
เรื่องเล่าไร้สาระ
มีคำพังเพยปราชญ์ชาวบ้านปักษ์ใต้ว่า
เรือบินฆ่ารถยนต์ รถยนต์ฆ่ารถไฟ
รถไฟฆ่าเรือ เรือฆ่าช้างม้า
เพราะสังเกตจากการเดินทางในสมัยก่อน
และตลาดชุมชนโบราณที่ติดทางน้ำ
ที่ใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือในอดีต
กับเป็นตลาดนัดชุมชนในการขายสินค้า
ต่างกลายเป็นตลาดร้างไปจำนวนมากแล้ว
เมื่อรถไฟเริ่มวิ่งผ่านไปมา
แต่ไม่เลียบขนานไปกับแม่น้ำ
หรือจอดเทียบชานชาลา
ใกล้กับตลาดนัดเดิมของชุมชนในอดีต
จนกระทั่งมีการฟื้นฟูตลาดน้ำขึ้นมาใหม่
ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ปักษ์ใต้หมายถึง 15 จังหวัด
ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธุ์ถึงยะลา
ปักษ์หมายถึง 15 หรือ ปีกนก
ส่วนภาคใต้หมายถึงเขตการปกครอง
ไม่รวมประจวบคีรีขันธุ์
ในสมัยอดีตก่อนรัชกาลที่ 5
จะมีการเรียกคนปักษ์ใต้ว่า
พวกคนนอก หัวแข็ง ปกครองยาก
โดยหมายถึง ชาวบ้านตั้งแต่
ประจวบคีรีขันธุ์ถึงยะลา
แต่ที่หมายหัวไว้คือ
เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงกรุงธนบุรี
เจ้าเมืองสงขลา สมัยสุลต่านสุไลมาน
เจ้าเมืองปัตตานี เจ้าเมืองไทรบุรี
สมัยต้นรัตนโกสินทร์
เพราะบางยุคแข็งข้อไม่ยอมเป็นเมืองขึ้น
ที่ต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง
หรือเครื่องราชบรรณาการให้กับพระนคร
ตามประวัติศาสตร์ชาติไทยในอดีต
คนว่า คนนอก ที่หมายถึงคนปักษ์ใต้
มีในหนังสือราชการ/บันทึกความทรงจำของ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ส่วนภาคกลางในยุคต้นรัตนโกสินทร์
ขอบเขตขัณฑสีมาที่ดูแล
จะมีพรมแดนพอสังเขป
ภาคใต้ที่ เพชรบุรี ภาคเหนือที่ พิษณุโลก
ภาคตะวันตกที่ กาญจนบุรี
ภาคตะวันออกที่ นครนายก
ภาพเพิ่มเติม http://goo.gl/wKPLGc
นักเรียนแขวนตัวกับสายเคเบิลยาว 800 เมตรสูง 400 เมตร เหนือแม่น้ำ Rio Negro
ในโคลอมเบีย(ดินแดนนางงาม/โคเคน) ใช้เส้นทางนี้ไปโรงเรียน
Daisy Mora ในกระสอบมี Jamid น้องชายวัย 5 ขวบร่วมเดินทางไปด้วย
เส้นทางนี้ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 นาทีด้วยความเร็ว 50 ไมล์/ชั่วโมง ง่ามไม้ไว้ชะลอความเร็ว
และมีนักเรียนอีก 11 คนที่ใช้เส้นทางนี้ ช่วงพายุ/ฝนตกหนักต้องงดใช้งาน
กระเช้าลอยฟ้าที่มีเส้นทางยาวที่สุดในโลก
Tease of the world's longest working limestone cableway Forsby-Köping Sweden
Forsby-Köping Limestone Cableway
เคยให้บริการขนส่งหินปูนที่มีเส้นทางยาวที่สุดในโลก
ระยะทางรวม 42 กิโลเมตร ผ่านสองข้างทางที่งดงาม
ด้วยกระเช้าลอยฟ้า หรือ กะบะ หรือ ถังบรรจุหินปูน
เพื่อส่งไปโรงงานปูนซีเมนต์ที่ Skånska ใน Sweden
โครงสร้างที่ผสมผสานลงตัวนี้มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง
ในการขนย้ายวัตถุดิบจากเหมืองหินปูนไปยังโรงงานปูนซีเมนต์
เพราะตัดข้ามแม่น้ำ ทุ่งนา ถนน และภูมิประเทศสองข้างทาง
มีการใช้กระเช้า/กะบะขนส่ง 750 ตัว
แต่ละตัวจะใส่หินปูนได้ถึง 1,200 กิโลกรัม
โดยมีระยะเวลาทำงานที่ 24/7 (ตลอดทั้งวันในสัปดาห์)
ถ้าทำงานที่ความจุสูงสุด
จะขนย้ายวัตถุดิบได้ถึง 90 ตันต่อชั่วโมง
การใช้เคเบิลจะส่งผลต่อกำไร
ขึ้นกับการทำงานในอัตราเกือบเต็มประสิทธิภาพ
ถ้าโรงงานปูนซีเมนต์มีอัตราการผลิตที่จุดสูงสุด
แต่ถ้าความต้องการปูนซีเมนต์ในตลาดลดลง
กะบะขนส่งบนสายเคเบิ้ลก็จะหยุดการทำงานตามไปด้วย
การก่อสร้างกระเช้าลอยฟ้านี้
มีต้นทุนราว 5 แสนเหรียญสหรัฐในยุคนั้น
คิดตามอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน
จะมีต้นทุนค่าก่อสร้างราว 8.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
Forsby-Köping Limestone Cableway
ใช้งานกระเช้าลอยฟ้านี้
ตั้งแต่ปี ค.ศ.1939 ถึงปี 1997
แล้วต้องหยุดให้บริการถึง 3 ปี
ตั้งแต่ปีค.ศ.1977 ถึงปี 1980
เพราะไม่จำเป็นต้องใช้กระเช้าลอยฟ้า
ขนส่งหินปูนมาจากเหมืองอีกต่อไปแล้ว
ผู้ฆ่าวิศวกรรมที่ประทับใจรายนี้
คือ ถนนและรถยนต์บรรทุก ในปี ค.ศ.1997
เพราะค่าขนส่งทางรถยนต์บรรทุก
จะถูกกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับ
ค่าขนส่งกับค่าบำรุงรักษากระเช้าลอยฟ้า
ผลงานในอดีตคือ
บรรทุกหินปูนถึง 25 ล้านตัน
ผ่านกระเช้าลอยฟ้าที่มีอายุใช้งานถึง 53 ปี
เมื่อการใช้งานต้องปิดตัวลงในที่สุด
ก็ต้องมีการรื้อถอนเสาที่ตั้ง
และสายเคเบิ้ลบางส่วนออกมา
Forsby-Köping Limestone Cableway
จึงเป็นผู้ให้บริการกระเช้าลอยฟ้าเส้นทางยาวที่สุดในโลก
กระเช้าลอยฟ้าที่วิ่งผ่านสถานที่ต่าง ๆ นี้
กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไปแล้ว
มีหลายคนพยายามจะผลักดันให้มีการอนุรักษ์ไว้
แต่ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดแล้ว
เพราะในปี ค.ศ.2013
เจ้าของบริษัทไม่สามารถแบกรับภาระ/ต้นทุน
ค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษาต่อไปได้แล้ว
จึงเริ่มทะยอยรื้อ/ขนย้ายสายเคเบิ้ล
กับเสาที่ตั้งบางส่วนออกจากที่ตั้งเดิม
ในช่วงที่ยังมีการใช้งานอยู่นั้น
เครือข่ายของกระเช้า/กะบะขนหินปูน หอคอย สายเคเบิ้ล
จะมีสถานีรองรับถึง 3 แห่ง ประกอบด้วย
สถานีต้นทาง สถานีชุมทาง และ สถานีย่อย
เพื่อให้การขนส่งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถานีต้นทางปล่อยสายเคเบิ้ลให้วิ่งรอกไปกลับ
ด้วยพลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 135 แรงม้า
สถานีชุมทางจะรองรับกะบะขนส่งที่มาตามสายเคเบิ้ล
ทั้งที่บรรทุกหินปูนกับกะบะว่างเปล่า
แม้ว่าการออกแบบเครือข่ายจะค่อนข้างยืดหยุ่นลงตัว
แต่สถานีย่อยก็ยังมีความจำเป็นในการสับหลีกกะบะในบางครั้ง
กระเช้าลอยฟ้านี้ดูเหมือนว่า
เป็นของเก่าและไม่ทันสมัยแล้ว
แต่ได้แสดงผลงานเชิงประจักษ์
ศิลปะของระบบการขนส่งหินปูนในยุคนั้น
ด้วยการเริ่มใช้งานตั้งแต่ปี ค.ศ.1939
และสามารถใช้งานจนถึงยุคปี 2000
วิศวกรรมไม่จำเป็นต้องการเรื่องแปลกใหม่
และก้าวล้ำนำยุคอย่างมากในการใช้งาน
เพราะบางครั้งกะบะ/บุ้งกี๋/กระเช้าลอยฟ้า
หรือสายเคเบิ้ลบางแห่งก็ยังจำเป็นกับการใช้งาน
บุ้งกี๋ ที่ขายกันในท้องตลาด
เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/NUVSSd
https://goo.gl/gvzIx0
http://goo.gl/wKPLGc
เรื่องเล่าไร้สาระ
มีคำพังเพยปราชญ์ชาวบ้านปักษ์ใต้ว่า
เรือบินฆ่ารถยนต์ รถยนต์ฆ่ารถไฟ
รถไฟฆ่าเรือ เรือฆ่าช้างม้า
เพราะสังเกตจากการเดินทางในสมัยก่อน
และตลาดชุมชนโบราณที่ติดทางน้ำ
ที่ใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือในอดีต
กับเป็นตลาดนัดชุมชนในการขายสินค้า
ต่างกลายเป็นตลาดร้างไปจำนวนมากแล้ว
เมื่อรถไฟเริ่มวิ่งผ่านไปมา
แต่ไม่เลียบขนานไปกับแม่น้ำ
หรือจอดเทียบชานชาลา
ใกล้กับตลาดนัดเดิมของชุมชนในอดีต
จนกระทั่งมีการฟื้นฟูตลาดน้ำขึ้นมาใหม่
ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ปักษ์ใต้หมายถึง 15 จังหวัด
ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธุ์ถึงยะลา
ปักษ์หมายถึง 15 หรือ ปีกนก
ส่วนภาคใต้หมายถึงเขตการปกครอง
ไม่รวมประจวบคีรีขันธุ์
ในสมัยอดีตก่อนรัชกาลที่ 5
จะมีการเรียกคนปักษ์ใต้ว่า
พวกคนนอก หัวแข็ง ปกครองยาก
โดยหมายถึง ชาวบ้านตั้งแต่
ประจวบคีรีขันธุ์ถึงยะลา
แต่ที่หมายหัวไว้คือ
เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงกรุงธนบุรี
เจ้าเมืองสงขลา สมัยสุลต่านสุไลมาน
เจ้าเมืองปัตตานี เจ้าเมืองไทรบุรี
สมัยต้นรัตนโกสินทร์
เพราะบางยุคแข็งข้อไม่ยอมเป็นเมืองขึ้น
ที่ต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง
หรือเครื่องราชบรรณาการให้กับพระนคร
ตามประวัติศาสตร์ชาติไทยในอดีต
คนว่า คนนอก ที่หมายถึงคนปักษ์ใต้
มีในหนังสือราชการ/บันทึกความทรงจำของ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ส่วนภาคกลางในยุคต้นรัตนโกสินทร์
ขอบเขตขัณฑสีมาที่ดูแล
จะมีพรมแดนพอสังเขป
ภาคใต้ที่ เพชรบุรี ภาคเหนือที่ พิษณุโลก
ภาคตะวันตกที่ กาญจนบุรี
ภาคตะวันออกที่ นครนายก
ภาพเพิ่มเติม http://goo.gl/wKPLGc
นักเรียนแขวนตัวกับสายเคเบิลยาว 800 เมตรสูง 400 เมตร เหนือแม่น้ำ Rio Negro
ในโคลอมเบีย(ดินแดนนางงาม/โคเคน) ใช้เส้นทางนี้ไปโรงเรียน
Daisy Mora ในกระสอบมี Jamid น้องชายวัย 5 ขวบร่วมเดินทางไปด้วย
เส้นทางนี้ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 นาทีด้วยความเร็ว 50 ไมล์/ชั่วโมง ง่ามไม้ไว้ชะลอความเร็ว
และมีนักเรียนอีก 11 คนที่ใช้เส้นทางนี้ ช่วงพายุ/ฝนตกหนักต้องงดใช้งาน
http://ppantip.com/topic/32527593 โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร (ภาคแรก)