ธุรกิจ"ขี่มอไซค์ส่งของผ่านแอพฯ" มาแรง! อาชีพใหม่สิงห์นักบิด รายได้เสริมสไตล์ฟรีแลนซ์
Prev1 of 5Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 23 เม.ย 2559 เวลา 20:30:46 น.
ศิริลักษณ์ หาพันธ์นา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ปฎิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีอยู่ใกล้ตัวเราแค่ปลายนิ้วคลิก สมาร์ทโฟน แก็ดเจ็ต กลายมาเป็นอวัยวะชิ้นที่ 34,35 บริษัทต่างๆระดมกำลังประชันความก้าวหน้าทางไอที ตั้งแต่ปัญญาประดิษฐ์ยันสิ่งอำนวยความสะดวกเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวัน เหล่าธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด พร้อมความไวของอินเทอร์เน็ตที่เข้าไปถึงหลังคาบ้านและติดตามตัวเราไปทุกที่ผ่านโทรศัพท์มือถือ
ผลวิจัยล่าสุดของบริษัทไอดีซี เปิดเผยว่า เมื่อปี2558ที่ผ่านมา คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนมากถึง 63.1 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 67 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นการใช้สมาร์ทโฟน 38.4 ล้านคน จึงไม่แปลกที่เราจะเข้าถึงสารพัดบริการจาก “แอพพลิเคชั่น” ต่างๆ ในมือถือ ที่แข่งขันพัฒนากันออกมามากมาย จนพูดได้เลยว่าเลือกใช้ไม่ถูกและไม่ทัน
ชีวิตเราเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัล เวลาจะไปเที่ยวเราก็กดจองที่พักผ่านแอปฯ จะซื้อสินค้าก็ง่ายเปิดโทรศัพท์แล้วคลิก และขณะนี้แอพพลิเคชั่นได้มาถึงระบบขนส่งแล้ว...เอาใจลูกค้าที่ไม่ต้องรอโบกรถให้เมื่อยมืออีกต่อไป
ตลาดเรียกรถออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นแข่งขันกันดุเดือดทั้งเจ้าใหญ่จากต่างประเทศและเจ้าเล็กสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ประกาศศึกชิงคนขับกันระอุ ด้วยความที่กรุงเทพมหานครติดอันดับรถติดระดับโลกคนกรุงใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย2 ชั่วโมงต่อวัน
แอพฯเรียกรถโดยสารต่างๆ หันเจาะตลาดใหม่ผ่านการขนส่งทาง “จักรยานยนต์” ที่ให้บริการทั้ง “ส่งของ” และ “ส่งคน” โดยใช้ความสามารถในการฝ่าจราจรติดขัดได้เป็นจุดแข็ง
นอกจากทางเลือกใหม่ของลูกค้าผู้ใช้บริการแล้ว ในด้านหนึ่งการมาถึงของแอพพลิเคชั่นเรียกรถออนไลน์ ยังได้สร้างงานสร้างอาชีพใหม่ให้แก่ “ผู้ให้บริการสายฟรีแลนซ์” หรือขับรถโดยสารผ่านบริการเรียกออนไลน์แบบพาร์ทไทม์ หรือทำเป็นอาชีพอิสระ ว่าแต่อาชีพนี้รุ่งและรอดแค่ไหน?
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ พูดคุยกับ “โอม ชาลี วงศ์พันธุเศรษฐ์” หนุ่มเจนวาย วัย 25 ปี พนักงานโรงแรม ผู้ทำงานประจำห้าวันต่อสัปดาห์และอยากลองหารายได้เสริมบ้าง ด้วยความชื่นชอบในการขับขี่ยานยนต์ สนใจในเทคโนโลยี และมีมอเตอร์ไซค์คู่ใจ เขาตัดสินใจเข้ามาเป็นคนขับรถผ่านแอพฯ หลังจากที่เคยเป็นผู้ใช้บริการมาแล้วหลายครั้ง
เขาเล่าให้ฟังว่า เริ่มต้นจากการเป็นลูกค้าจากการใช้บริการ จึงอยากลองมาทำเองบ้าง เริ่มต้นเพียงรู้สึกสนุก ประกอบกับโปรโมชั่นดึงดูดคนขับของบริษัทต่างๆ ที่ดูเหมือนจะเเข่งกันเเย่งคนขับกันเต็มที่ จึงเห็นว่าน่าเป็นช่องทางหนึ่งที่จะสามารถสร้างรายได้เสริมได้ไม่เบา
"ตอนเเรกไม่รู้จักใครเลย ตัดสินใจฉายเดี่ยว หาข้อมูลเดินเข้าไปสมัครเเละก็ได้ไข้าอบรม ต่อมาก็รู้จักสังคมกลุ่มเพื่อนที่ทำงานนี้มากขึ้น เข้าร่วมกรุ๊ปไลน์ที่จะมีคนคอยเเชร์เรื่องราว พูดคุยเเละเล่าประสบการณ์กันในวงอาชีพนี้ ซึ่งมีทั้งกลุ่มคนที่ขับประจำเเละคนที่ทำพาร์ทไทม์"
หลังจากที่เริ่มงานไปได้สักพักกับแอพพลิเคชั่นเจ้าใหญ่รายหนึ่ง ชาลีเห็นเพื่อนหลายคนทำงานวิ่งรถให้กับหลายเเอพฯ เขาจึงเริ่มมองหาทางเลือกอื่นเเละรับงานหลายทางมากขึ้น โดยเน้นไปที่การวิ่งรถเพื่อส่งของ (เมสเซ็นเจอร์) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขนส่งผู้โดยสารที่กำลังเป็นปัญหากันอยู่ในปัจจุบันนี้
"การทำงานให้เเต่ละเเอพฯมีข้อตกลงกับลูกค้าไม่เหมือนกันเช่นเเอพฯหนึ่งค่อนข้างเอาใจลูกค้าก็ไม่ได้ระบุขนาดเเละรายละเอียดของที่จะจัดส่งของอย่างชัดเจนลูกค้าโทรไปถามเเอดมินเขาก็แค่บอกว่าแล้วแต่ความสามารถที่มอเตอร์ไซค์จะขนได้ซึ่งทำให้เราทำงานลำบากมากเเต่อีกเเอพฯหนึ่งก็ระบุชัดเลยว่าของที่คุณจะส่งต้องมีขนาดเท่านี้นะเกินนี้ไม่ได้"
มนุษย์ทำงานเจนวาย กับประสบการณ์ทำงานในโลกยุคออนไลน์ที่มีทั้งเรื่องหวาดเสียวและชวนหัว
เเน่นอนว่าเมื่อเจอลูกค้ามากหน้าหลายตาเเทบทุกวันก็ต้องประสบพบเจอกับเคสแปลกๆที่ทำให้ถึงกับอึ้งกันเลยทีเดียว
"อาจจะเป็นเพราะรถเราเป็นรถคันใหญ่CBRมีตัวถังน้ำมันอยู่ด้านหน้า เคสยากคือการขนถุงช็อปปิ้ง เคยเจอเคสที่ต้องไปส่งหลายถุงมากข้างในเป็นเสื้อยืด แต่ที่โหดกว่านั้นคือมันไม่ใช่แค่เสื้อยืด เเต่มันมาพร้อมกับพวกบล็อกสกรีนเสื้อ พ่วงมาเป็นไม้ขนาดใหญ่เลย เเต่ตอนนั้น ใจสู้ เอาวะ ก็ต้องขนไปให้ได้ อุ้มไว้ข้างหน้า มัดไว้ข้างหลัง คิดไปตลอดทางว่าอันตราย ไม่สะดวกและไม่อยากเจอเคสเเบบนี้เท่าไหร่"
ชาลี เล่าให้ฟังต่อว่า มีครั้งหนึ่งมีของให้ไปส่งที่ตึกคณะวิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเเห่งหนึ่ง เป็นกล่องขนาดสีเหลี่ยมขนาดพอดีไม่เล็กไม่ใหญ่ พอขึ้นตึกไปเป็นห้องสีขาวแสงจ้าของภาควิชาสรีรวิทยา มีตู้เเช่เย็นเยอะมาก เกิดกลัวขึ้นมาว่าของที่เรามาส่งคืออะไร (หัวเราะ) แต่อย่างน้อยก็ยังใจชื้นที่ของไม่ได้แช่เย็นมา
ไม่ใช่เเค่อุปสรรคในการขนส่งบนมอเตอร์ไซค์เท่านั้น ยังคงมีเคสที่ขอให้ไปบริการอย่างอื่นด้วย เพราะเคยมีลูกค้าให้ไปซื้อข้าวมันไก่ร้านดังย่านหนึ่ง พอเรียกแอพฯเเละปักหมุดที่คอนโดและปลายทางที่ร้านข้าวมันไก่ร้านนั้น เเล้วให้คนขับไปยืนต่อคิวรอคิวแล้วมาส่งที่คอนโดฯ
ส่วนเคสชวนหลอนก็มีเหมือนกัน โดยชาลีบอกว่าเคยมีคนอื่นเเชร์ประสบการณ์ที่ไปเคยเจอกรณีเเปลกๆ เช่น ให้คนขับเอาซากสุนัข เเมว หรือสัตว์เลี้ยงต่างๆไปฝังศพให้ก็มี แต่ก็ไม่รู้ว่าได้เขาจะค่าบริการเพิ่มหรือไม่
"ของที่ไม่ขนส่งมากที่สุด คืออาหาร เพราะมันจะเละเเละดูแลยาก ถ้าเป็นมอเตอร์ไซค์พวกสกู๊ตเตอร์หรือรถที่มีพื้นที่ด้านหน้ากว้างๆอาจจะง่าย เเต่รถเราทรงนี้คือลำบาก ก่อนจะมาทำงานนี้รถไม่เคยขนอะไรได้ แต่ตอนนี้มีไรก็มัดเเล้วขนได้หมดไปแล้ว"
ส่วนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดีลงานลูกค้าก็มีบ้างตามลักษณะงานที่ต้องเจอผู้คนหลากหลายประเภทอย่างลูกค้าบางรายก็มีเทคนิคเเยบยลจนผู้ปฏิบัติงานถึงกับตั้งคำถาม
"ค่าโดยสารคิดตามราคาที่ลูกค้าปักหมุดก็จะมีลูกค้าบางคนที่ให้ส่งจุดที่ใกล้กว่าที่ปักหมุดไว้ตอนแรกบางคนก็เรียกไม่ตรงห่างไปอีกประมาณ 500 เมตร เพื่อให้ค่าโดยสารถูกลง เเต่เขามาบอกตอนโทรคุยกันทีหลัง คือถ้าตามระเบียบถ้าห่างเยอะมากก็ต้องตกลงราคากับลูกค้าใหม่ แต่ถ้าไม่ห่างเยอะพอถูไถกันได้ ก็ต้องให้ลูกค้าไป เพื่อเอาใจลูกค้า แต่ส่วนใหญ่ถ้ามาไม้นี้ ก็ไม่คุ้มที่จะไปเถียง เพราะเขาตั้งใจมาแบบนี้ เขามีแผนจะจ่ายถูกกว่าราคาจริง ก็คงต้องยอมไป ถือซะว่าเราคงไม่ได้เจอเคสแบบนี้บ่อย"
ตลาดงานสายนี้ยังมีอนาคต แต่ต้องมีเทคนิครับงานและบริหารเวลา
นอกจากเน้นจัดส่งของเเล้ว ชาลีก็เคยวิ่งงานรับผู้โดยสารเช่นกัน โดยเขาบอกว่าส่วนใหญ่ลูกค้าผู้ใช้บริการเป็นผู้หญิงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงวัยรุ่น วัยทำงาน ที่ใช้บริการจากที่พักไปยังที่ทำงาน หรือให้ไปส่งที่จุดต่อยานพาหนะอื่นในเวลาเร่งด่วน
"แปลกใจมากที่บางคนบอกว่าไม่รีบแต่ขอให้ขับซิ่งๆนะพี่ เพราะปกติมีคนซ้อนก็จะขับช้า เพราะรถสูง แต่คนซ้อนรีเควส (ขอร้อง) มาเอง บางคนก็ให้ขับเร็วเพราะรีบจริง แต่บางคนก็อยากให้เราขับเร็วเพราะสนุกมั้ง (หัวเราะ)"
หลังจากทำงานมาสักพัก เขาได้เรียนรู้เทคนิคเเละช่วงเวลาที่งานจะฮอตงานจะรุม จึงต้องใช้วิถีชีวิตเร่งรีบของคนเมืองให้เป็นประโยชน์ การเดินทางโดยใช้จักรยานยนต์ช่วยกู้วิกฤตจราจรเมืองกรุงอย่างปฎิเสธไม่ได้
"ทำงานวิ่งไปสักพักจะรู้ว่าถ้าเราเปิดแอพฯอยู่บ้าน เเต่บ้านเรามันอยู่นอกเมืองก็ไม่ค่อยได้งานหรอกนานไปจะรู้ว่าเวลานี้ต้องไปที่ตึกนี้ เข้าเมืองไปโซนนี้แล้วจะมีงานเข้าเยอะ รู้รายละเอียดและเวลา คนที่เขาประจำวิ่งทุกวันรู้อยู่แล้ว จุดเเข็งของเราคือฝ่ารถติดได้ งานก็จะเยอะช่วงวันทำงาน จันทร์ถึงศุกร์ ส่วนเสาร์เเละอาทิตย์ รถไม่ติดคนก็จะเรียกรถเเท็กซี่เเทน เพราะราคาใกล้เคียงกัน"
กับรายได้ที่เเลกมาด้วยหยาดเหงื่อเเละความร้อน ด้วยสภาพอากาศเมืองไทยที่อบอ้าวเกินจะบรรยาย การขับขี่ฝ่าเเดดกลางเเจ้ง จึงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะเหน็ดเหนื่อยกว่าการขับยานยนต์บริการอื่นๆ เเต่ค่าตอบเเทนก็เป็นสิ่งจูงใจไม่น้อย
"ในวันหยุดเราออกจากบ้านเก้าโมงเช้า บ่ายสามถึงบ่านสี่โมงก็เลิกงานแล้ว ถ้าออกเช้ากว่านั้นบ่ายสองก็พอกลับบ้านมานอนได้ รายได้เกือบพันบาทต่อวัน การที่เราเลือกวิ่งให้กับหลายแอพฯ ถือว่าดี เพราะจะได้ทำงานประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อวัน รายได้จึงดีกว่าทำงานประจำถ้าเทียบกับชั่วโมงทำงาน ส่วนคนที่วิ่งทั้งวันจริงๆ รายได้ก็จะเยอะกว่านี้มาก...
แต่การขี่มอเตอร์ไซค์มันเหนื่อย มีอุปสรรคมากกว่าขับรถอื่น คือความร้อน ปกติขับรถ 10-20 ชั่วโมงยังทนได้ เพราะมันอยู่ในแอร์ แต่นี่กลางแจ้งนานๆไม่ไหวจริงๆช่วงนี้ ภาพรวมเป็นรายได้เสริมที่ดี ช่วยค่าใช้จ่าย ผ่อนรถ เเต่เราเลือกจะทำงานเเบบไม่หักโหมมาก เอาเเบบพอได้ เดือนไหนวิ่งได้เยอะตั้งแต่ต้นเดือน ช่วงกลางเเละปลายเดือนก็จะลด เพราะยังต้องเเบ่งเเรงไว้ทำงานประจำด้วย" ชาลีกล่าวในท้ายที่สุด
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1461323117
สิงมอไซค์น่าสนน่ะนี่ แอพไหนบ้างหว่า
Prev1 of 5Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 23 เม.ย 2559 เวลา 20:30:46 น.
ศิริลักษณ์ หาพันธ์นา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ปฎิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีอยู่ใกล้ตัวเราแค่ปลายนิ้วคลิก สมาร์ทโฟน แก็ดเจ็ต กลายมาเป็นอวัยวะชิ้นที่ 34,35 บริษัทต่างๆระดมกำลังประชันความก้าวหน้าทางไอที ตั้งแต่ปัญญาประดิษฐ์ยันสิ่งอำนวยความสะดวกเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวัน เหล่าธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด พร้อมความไวของอินเทอร์เน็ตที่เข้าไปถึงหลังคาบ้านและติดตามตัวเราไปทุกที่ผ่านโทรศัพท์มือถือ
ผลวิจัยล่าสุดของบริษัทไอดีซี เปิดเผยว่า เมื่อปี2558ที่ผ่านมา คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนมากถึง 63.1 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 67 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นการใช้สมาร์ทโฟน 38.4 ล้านคน จึงไม่แปลกที่เราจะเข้าถึงสารพัดบริการจาก “แอพพลิเคชั่น” ต่างๆ ในมือถือ ที่แข่งขันพัฒนากันออกมามากมาย จนพูดได้เลยว่าเลือกใช้ไม่ถูกและไม่ทัน
ชีวิตเราเริ่มเข้าสู่ยุคดิจิทัล เวลาจะไปเที่ยวเราก็กดจองที่พักผ่านแอปฯ จะซื้อสินค้าก็ง่ายเปิดโทรศัพท์แล้วคลิก และขณะนี้แอพพลิเคชั่นได้มาถึงระบบขนส่งแล้ว...เอาใจลูกค้าที่ไม่ต้องรอโบกรถให้เมื่อยมืออีกต่อไป
ตลาดเรียกรถออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นแข่งขันกันดุเดือดทั้งเจ้าใหญ่จากต่างประเทศและเจ้าเล็กสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ประกาศศึกชิงคนขับกันระอุ ด้วยความที่กรุงเทพมหานครติดอันดับรถติดระดับโลกคนกรุงใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย2 ชั่วโมงต่อวัน
แอพฯเรียกรถโดยสารต่างๆ หันเจาะตลาดใหม่ผ่านการขนส่งทาง “จักรยานยนต์” ที่ให้บริการทั้ง “ส่งของ” และ “ส่งคน” โดยใช้ความสามารถในการฝ่าจราจรติดขัดได้เป็นจุดแข็ง
นอกจากทางเลือกใหม่ของลูกค้าผู้ใช้บริการแล้ว ในด้านหนึ่งการมาถึงของแอพพลิเคชั่นเรียกรถออนไลน์ ยังได้สร้างงานสร้างอาชีพใหม่ให้แก่ “ผู้ให้บริการสายฟรีแลนซ์” หรือขับรถโดยสารผ่านบริการเรียกออนไลน์แบบพาร์ทไทม์ หรือทำเป็นอาชีพอิสระ ว่าแต่อาชีพนี้รุ่งและรอดแค่ไหน?
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ พูดคุยกับ “โอม ชาลี วงศ์พันธุเศรษฐ์” หนุ่มเจนวาย วัย 25 ปี พนักงานโรงแรม ผู้ทำงานประจำห้าวันต่อสัปดาห์และอยากลองหารายได้เสริมบ้าง ด้วยความชื่นชอบในการขับขี่ยานยนต์ สนใจในเทคโนโลยี และมีมอเตอร์ไซค์คู่ใจ เขาตัดสินใจเข้ามาเป็นคนขับรถผ่านแอพฯ หลังจากที่เคยเป็นผู้ใช้บริการมาแล้วหลายครั้ง
เขาเล่าให้ฟังว่า เริ่มต้นจากการเป็นลูกค้าจากการใช้บริการ จึงอยากลองมาทำเองบ้าง เริ่มต้นเพียงรู้สึกสนุก ประกอบกับโปรโมชั่นดึงดูดคนขับของบริษัทต่างๆ ที่ดูเหมือนจะเเข่งกันเเย่งคนขับกันเต็มที่ จึงเห็นว่าน่าเป็นช่องทางหนึ่งที่จะสามารถสร้างรายได้เสริมได้ไม่เบา
"ตอนเเรกไม่รู้จักใครเลย ตัดสินใจฉายเดี่ยว หาข้อมูลเดินเข้าไปสมัครเเละก็ได้ไข้าอบรม ต่อมาก็รู้จักสังคมกลุ่มเพื่อนที่ทำงานนี้มากขึ้น เข้าร่วมกรุ๊ปไลน์ที่จะมีคนคอยเเชร์เรื่องราว พูดคุยเเละเล่าประสบการณ์กันในวงอาชีพนี้ ซึ่งมีทั้งกลุ่มคนที่ขับประจำเเละคนที่ทำพาร์ทไทม์"
หลังจากที่เริ่มงานไปได้สักพักกับแอพพลิเคชั่นเจ้าใหญ่รายหนึ่ง ชาลีเห็นเพื่อนหลายคนทำงานวิ่งรถให้กับหลายเเอพฯ เขาจึงเริ่มมองหาทางเลือกอื่นเเละรับงานหลายทางมากขึ้น โดยเน้นไปที่การวิ่งรถเพื่อส่งของ (เมสเซ็นเจอร์) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขนส่งผู้โดยสารที่กำลังเป็นปัญหากันอยู่ในปัจจุบันนี้
"การทำงานให้เเต่ละเเอพฯมีข้อตกลงกับลูกค้าไม่เหมือนกันเช่นเเอพฯหนึ่งค่อนข้างเอาใจลูกค้าก็ไม่ได้ระบุขนาดเเละรายละเอียดของที่จะจัดส่งของอย่างชัดเจนลูกค้าโทรไปถามเเอดมินเขาก็แค่บอกว่าแล้วแต่ความสามารถที่มอเตอร์ไซค์จะขนได้ซึ่งทำให้เราทำงานลำบากมากเเต่อีกเเอพฯหนึ่งก็ระบุชัดเลยว่าของที่คุณจะส่งต้องมีขนาดเท่านี้นะเกินนี้ไม่ได้"
มนุษย์ทำงานเจนวาย กับประสบการณ์ทำงานในโลกยุคออนไลน์ที่มีทั้งเรื่องหวาดเสียวและชวนหัว
เเน่นอนว่าเมื่อเจอลูกค้ามากหน้าหลายตาเเทบทุกวันก็ต้องประสบพบเจอกับเคสแปลกๆที่ทำให้ถึงกับอึ้งกันเลยทีเดียว
"อาจจะเป็นเพราะรถเราเป็นรถคันใหญ่CBRมีตัวถังน้ำมันอยู่ด้านหน้า เคสยากคือการขนถุงช็อปปิ้ง เคยเจอเคสที่ต้องไปส่งหลายถุงมากข้างในเป็นเสื้อยืด แต่ที่โหดกว่านั้นคือมันไม่ใช่แค่เสื้อยืด เเต่มันมาพร้อมกับพวกบล็อกสกรีนเสื้อ พ่วงมาเป็นไม้ขนาดใหญ่เลย เเต่ตอนนั้น ใจสู้ เอาวะ ก็ต้องขนไปให้ได้ อุ้มไว้ข้างหน้า มัดไว้ข้างหลัง คิดไปตลอดทางว่าอันตราย ไม่สะดวกและไม่อยากเจอเคสเเบบนี้เท่าไหร่"
ชาลี เล่าให้ฟังต่อว่า มีครั้งหนึ่งมีของให้ไปส่งที่ตึกคณะวิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเเห่งหนึ่ง เป็นกล่องขนาดสีเหลี่ยมขนาดพอดีไม่เล็กไม่ใหญ่ พอขึ้นตึกไปเป็นห้องสีขาวแสงจ้าของภาควิชาสรีรวิทยา มีตู้เเช่เย็นเยอะมาก เกิดกลัวขึ้นมาว่าของที่เรามาส่งคืออะไร (หัวเราะ) แต่อย่างน้อยก็ยังใจชื้นที่ของไม่ได้แช่เย็นมา
ไม่ใช่เเค่อุปสรรคในการขนส่งบนมอเตอร์ไซค์เท่านั้น ยังคงมีเคสที่ขอให้ไปบริการอย่างอื่นด้วย เพราะเคยมีลูกค้าให้ไปซื้อข้าวมันไก่ร้านดังย่านหนึ่ง พอเรียกแอพฯเเละปักหมุดที่คอนโดและปลายทางที่ร้านข้าวมันไก่ร้านนั้น เเล้วให้คนขับไปยืนต่อคิวรอคิวแล้วมาส่งที่คอนโดฯ
ส่วนเคสชวนหลอนก็มีเหมือนกัน โดยชาลีบอกว่าเคยมีคนอื่นเเชร์ประสบการณ์ที่ไปเคยเจอกรณีเเปลกๆ เช่น ให้คนขับเอาซากสุนัข เเมว หรือสัตว์เลี้ยงต่างๆไปฝังศพให้ก็มี แต่ก็ไม่รู้ว่าได้เขาจะค่าบริการเพิ่มหรือไม่
"ของที่ไม่ขนส่งมากที่สุด คืออาหาร เพราะมันจะเละเเละดูแลยาก ถ้าเป็นมอเตอร์ไซค์พวกสกู๊ตเตอร์หรือรถที่มีพื้นที่ด้านหน้ากว้างๆอาจจะง่าย เเต่รถเราทรงนี้คือลำบาก ก่อนจะมาทำงานนี้รถไม่เคยขนอะไรได้ แต่ตอนนี้มีไรก็มัดเเล้วขนได้หมดไปแล้ว"
ส่วนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดีลงานลูกค้าก็มีบ้างตามลักษณะงานที่ต้องเจอผู้คนหลากหลายประเภทอย่างลูกค้าบางรายก็มีเทคนิคเเยบยลจนผู้ปฏิบัติงานถึงกับตั้งคำถาม
"ค่าโดยสารคิดตามราคาที่ลูกค้าปักหมุดก็จะมีลูกค้าบางคนที่ให้ส่งจุดที่ใกล้กว่าที่ปักหมุดไว้ตอนแรกบางคนก็เรียกไม่ตรงห่างไปอีกประมาณ 500 เมตร เพื่อให้ค่าโดยสารถูกลง เเต่เขามาบอกตอนโทรคุยกันทีหลัง คือถ้าตามระเบียบถ้าห่างเยอะมากก็ต้องตกลงราคากับลูกค้าใหม่ แต่ถ้าไม่ห่างเยอะพอถูไถกันได้ ก็ต้องให้ลูกค้าไป เพื่อเอาใจลูกค้า แต่ส่วนใหญ่ถ้ามาไม้นี้ ก็ไม่คุ้มที่จะไปเถียง เพราะเขาตั้งใจมาแบบนี้ เขามีแผนจะจ่ายถูกกว่าราคาจริง ก็คงต้องยอมไป ถือซะว่าเราคงไม่ได้เจอเคสแบบนี้บ่อย"
ตลาดงานสายนี้ยังมีอนาคต แต่ต้องมีเทคนิครับงานและบริหารเวลา
นอกจากเน้นจัดส่งของเเล้ว ชาลีก็เคยวิ่งงานรับผู้โดยสารเช่นกัน โดยเขาบอกว่าส่วนใหญ่ลูกค้าผู้ใช้บริการเป็นผู้หญิงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงวัยรุ่น วัยทำงาน ที่ใช้บริการจากที่พักไปยังที่ทำงาน หรือให้ไปส่งที่จุดต่อยานพาหนะอื่นในเวลาเร่งด่วน
"แปลกใจมากที่บางคนบอกว่าไม่รีบแต่ขอให้ขับซิ่งๆนะพี่ เพราะปกติมีคนซ้อนก็จะขับช้า เพราะรถสูง แต่คนซ้อนรีเควส (ขอร้อง) มาเอง บางคนก็ให้ขับเร็วเพราะรีบจริง แต่บางคนก็อยากให้เราขับเร็วเพราะสนุกมั้ง (หัวเราะ)"
หลังจากทำงานมาสักพัก เขาได้เรียนรู้เทคนิคเเละช่วงเวลาที่งานจะฮอตงานจะรุม จึงต้องใช้วิถีชีวิตเร่งรีบของคนเมืองให้เป็นประโยชน์ การเดินทางโดยใช้จักรยานยนต์ช่วยกู้วิกฤตจราจรเมืองกรุงอย่างปฎิเสธไม่ได้
"ทำงานวิ่งไปสักพักจะรู้ว่าถ้าเราเปิดแอพฯอยู่บ้าน เเต่บ้านเรามันอยู่นอกเมืองก็ไม่ค่อยได้งานหรอกนานไปจะรู้ว่าเวลานี้ต้องไปที่ตึกนี้ เข้าเมืองไปโซนนี้แล้วจะมีงานเข้าเยอะ รู้รายละเอียดและเวลา คนที่เขาประจำวิ่งทุกวันรู้อยู่แล้ว จุดเเข็งของเราคือฝ่ารถติดได้ งานก็จะเยอะช่วงวันทำงาน จันทร์ถึงศุกร์ ส่วนเสาร์เเละอาทิตย์ รถไม่ติดคนก็จะเรียกรถเเท็กซี่เเทน เพราะราคาใกล้เคียงกัน"
กับรายได้ที่เเลกมาด้วยหยาดเหงื่อเเละความร้อน ด้วยสภาพอากาศเมืองไทยที่อบอ้าวเกินจะบรรยาย การขับขี่ฝ่าเเดดกลางเเจ้ง จึงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะเหน็ดเหนื่อยกว่าการขับยานยนต์บริการอื่นๆ เเต่ค่าตอบเเทนก็เป็นสิ่งจูงใจไม่น้อย
"ในวันหยุดเราออกจากบ้านเก้าโมงเช้า บ่ายสามถึงบ่านสี่โมงก็เลิกงานแล้ว ถ้าออกเช้ากว่านั้นบ่ายสองก็พอกลับบ้านมานอนได้ รายได้เกือบพันบาทต่อวัน การที่เราเลือกวิ่งให้กับหลายแอพฯ ถือว่าดี เพราะจะได้ทำงานประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อวัน รายได้จึงดีกว่าทำงานประจำถ้าเทียบกับชั่วโมงทำงาน ส่วนคนที่วิ่งทั้งวันจริงๆ รายได้ก็จะเยอะกว่านี้มาก...
แต่การขี่มอเตอร์ไซค์มันเหนื่อย มีอุปสรรคมากกว่าขับรถอื่น คือความร้อน ปกติขับรถ 10-20 ชั่วโมงยังทนได้ เพราะมันอยู่ในแอร์ แต่นี่กลางแจ้งนานๆไม่ไหวจริงๆช่วงนี้ ภาพรวมเป็นรายได้เสริมที่ดี ช่วยค่าใช้จ่าย ผ่อนรถ เเต่เราเลือกจะทำงานเเบบไม่หักโหมมาก เอาเเบบพอได้ เดือนไหนวิ่งได้เยอะตั้งแต่ต้นเดือน ช่วงกลางเเละปลายเดือนก็จะลด เพราะยังต้องเเบ่งเเรงไว้ทำงานประจำด้วย" ชาลีกล่าวในท้ายที่สุด
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1461323117