"ป่ะเที่ยวกัน!" เที่ยวแบบวิถีไทย อนุรักษ์อัมพวาไปด้วยกัน

สวัสดีจ้า หลังจากหยุดยาวช่วงสงกรานต์ไปไหนกันมาบ้างเอ่ยยย เพี้ยนแว๊น
วันนี้เราจะพาทุกท่านไปท่องเที่ยวอัมพวา เที่ยวเชิงอนุรักษ์ เที่ยวแบบติดตามวิถีชีวิตชาวอัมพวากันเลย
แต่...ช้าก่อน เนื่องจากเราไม่เคยไปเองมาก่อนครั้งนี้เป็นการแบกเป้ไปแบบปุ๊บปั๊บมาก!!!! ดังนั้นก่อนจะไปเนี้ยต้องหาข้อมูลกันนิดนึง โดยการเปิดอาจารย์กูเกิ้ลสืบหาข้อมูลสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีรีวิวมากมายให้ได้ดูเลย จากนั้นเราก็พร้อมที่จะเดินทางกันเลย โดยพกข้าวต้มมัดแม่ไปแก้หิวด้วย555555
10.15 เราเลือกที่จะขึ้นรถตู้จากตลาดบางประแก้วนะ โดยรถตู้จะอยู่ในตลาด อาจจิไม่มีป้ายบอกมากนัก แต่ถ้ามองเข้าไปจะเห็นรถตู้จอดเรียงกันยาวๆเลย ถ้าใครไม่สะดวกขึ้นที่ตลาดบางประแก้ว สามารถขึ้นได้ที่อนุสาวรีย์ฯ หรือพระราม 2 ได้เลยจ้า
จะเป็น สายบางประแก้ว - แม่กลอง  ค่ารถ 60 บาท ตลอดเส้นทาง (รถตู้สายนี้ไม่ได้ลงอัมพวาเลยนะคะ จะลงที่ตลาดแม่กลอง )
11.10น ถึงตลาดแม่กรอง ใช้ระยะเวลาเดินทาง 55 นาทีเท่านั้น จากนั้นเราก็ต้องต่อด้วยรถ สองแถว ไปลงตลาดน้ำอัมพวาอีก 8 บาทจ้า แต่การต่อรถเป็นอะไรที่สนุกมาก เนื่องจากเราเดินวนไปวนมาหารถสองแถว55555 พี่วินบอกเดินทะลุตลาดๆ ทะลุไปทะลุมา จนได้เจอตลาดชื่อดัง "ตลาดร่มหุบ" ด้วยความตื้นเต้นเราก็เดินเล่นไปบนรางรถไฟ จนได้ยินเสียง เป๋งๆๆ เสียงระฆังดังขึ้น แม่ค้าในตลาดที่ขายของอยู่สองฝั่งข้างทางนั่นเก็บของกระจาด กระบุง ตะกร้า ถูกเก็บอย่างรวดเร็วชั่วพริบตา เป็นอะไรที่สนุกสนานมากๆ

จากนั้นเราก็ขึ้นรถสองแถวนั่งกันไปลงถึงตลาดน้ำอัมพวาเลยจ้าาาา

เมื่อเดินเข้ามาในตลาดน้ำอัมพวาจะพบว่าของกินมากมายลายตาไปหมดเลยหิว
ที่แรกที่เราเดินทางไปพาไปเที่ยวก็คือโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ เมื่อเดินเข้ามาในตลาดน้ำอัมพวา แล้วข้ามสะพานไปอีกฝั่ง เดินไปทางขวามือเรื่อยๆจะเห็นป้าย สวัสดีอัมพวา เป็นสัญญานบ่งบอกว่าถึงแล้วววววววเย้ๆๆๆ

โดยโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ จะแบ่งเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย
1. พื้นที่สวนชัยพัฒนานุรักษ์ พื้นที่สวนผลไม้ดั้งเดิม เป็นสวนเกษตรแบบผสมผสานไม่ใช้สารเคมี โดยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาและวิธีชีวิตท้องถิ่นอัมพวาในด้านการ เกษตร

๒) ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์ และลานสวนชัยพัฒนานุรักษ์ สำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ชุมชน และคนในท่องถิ่นเช่าพื้นที่เพื่อจำหน่ายหรือจัดแสดง สินค้าที่เป็นของท้องถิ่น เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้
๓) ร้านค้าชุมชนของโครงการฯ เป็นแกนกลางในการส่งเสริมการตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างโอกาส และสร้างรายได้ให้กับชุมชน
๔) ร้านชานชาลา ร้านจำหน่ายเครื่องดื่ม และอาหารว่าง
๕) ห้องนิทรรศการชัยพัฒนานุรักษ์ พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวทางวัฒนธรรมชุมชนต่างๆหมุนเวียนให้สอด คล้องกับการจัดงานเทศกาล
เวลาทำการ
วันจันทร์ - วันพฤหัสบดี เปิดทำการตั้งแต่เวลา 09:00 - 17.00น.
วันศุกร์ - วันอาทิตย์ เปิดทำการตั้งแต่เวลา 09:00 - 21.00น.

แต่ส่วนที่เราจะพาไปดูนั่นก็คือ แอ่นแอนแอ๊น.............. โรงเคี่ยวน้ำตาล เตาตาลอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์
เดินเข้าไปตามป้ายเรื่อยๆจะเจอบ้านทรงไทย สวยมาๆไม่ตกต้องใจนะ 5555 เพราะเราตอนแรกตกใจมากนึกว่ามาผิดทาง เดินไปเรื่อยก็จะเจอซุ้มกระท่อมหลังน้อย โรงเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวแล้วจ้า
ถึงที่ปุ๊บก็มีป้าคอยต้อนรับเลยจ้า เอาน้ำตาลสดแก้วเล็กๆมาให้ดื่มเย็นๆชื่นใจจุง อ่ะๆนอกเรื่องเรามารู้ขั้นตอนการทำน้ำตาลมะพร้าวดีกว่า โดยขั้นตอนการทำน้ำตาลมะพร้าวให้มีรสดี ต้องเริ่มตั้งแต่การคัดสรรพันธุ์มะพร้าว ดูแลระบบน้ำ เตรียมดิน ปลูกมะพร้าว ขึ้นตาล ปาดตาล เก็บตาล เคี่ยวตาล ฯลฯ ต้องใช้ความชำนาญและทุกขั้นตอนในการทำจะต้องสะอาด ไม่ใส่สารกันบูด รวมถึงสภาพอากาศร้อนส่งผลต่อกการเคี่ยวน้ำตาลอีกด้วยเพราะจะทำให้น้ำตาลแห้งเร็ว  คุณป้าน่ารักมากเล่าให้เราฟังทุกขั้นตอนเลย สินค้าน้ำตาลมะพร้าว และสินค้าอื่นๆที่จำหน่ายที่นี้ราคาไม่แพงเลย เมื่อเทียบกับคุณภาพที่จะได้รับ เก็บภาพมาฝากด้วยแหละ น้ำตาลมะพร้าวใส่ชะลอมน่ารักไหมล่ะ 60 บาทเท่านั้น ปริณานคุ้มค่ากับราคาเลยจ้า มีให้เลือกเยอะมากเลยจ้า น้ำยาเอกประสงค์ ขวดละ 20 บาทกะปิคลองโคน 50 บาท  ดอกเกลือถุงละ 20 บาท  กล้วยตาก ถุงละ 20 บาท น้ำหวานดอกมะพร้าว เห็นม่ะราคาไม่แพงเลย แวะมาแล้วก็อย่าลืมอุดหนุนสินค้าภูมิปัญญาไทยด้วยนะคะ เมื่อเดินออกมาจากสวนเตาตาลเราก็ได้เดินเที่ยวร้านค้าริมแม่น้ำคลองอัมพวาต่อ แล้วก็ได้เข้าไปบริเวณร้านค้าชุมชน โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ แล้วได้เข้าไปเยี่ยมชมการสารหมวกไห่หน่ำโล้ย คุณป้าบุบผา อั้นจินดา หรือป้าดำ ปัจจุบันเป็นวิทยากรสาธิตการสาร หมวกไห่หน่ำโล้ยหมวกแบบจีนที่แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 โดนชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่นำติดตัวมา ด้วยความสวยงามและแข็งแรง
เมื่อเราเดินไปสุดท้ายก็จะพบว่าอัพวานั้นยังมีบ้านเรือนที่เป็นบ้านไม้โบราณที่ยังคงรักษาไว้ และถือได้ว่าเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวอย่างเราควรจะต้องอนุรักษ์ช่วยกันรักษาให้ดำรงไว้
ภารกิจต่อไปเราจะไปสู่ทีเด็ดของการมานั่นคือ การนั่งล่องเรือไหว้พระ โดยเราจะไปกันทั้งหมด 5 วัด บัตรล่องเรือไหว้พระเราอยู่ที่คนละ 50 บาทเท่านั้น
วัดแรกที่เราจะพาไปก็คือ  วัดภุมรินทร์กุฎีทอง วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ตั่งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยจะสังเกตได้ว่าภายในวัดจะมีกุฎีเป็นเรือนไม้สักทองขนาดใหญ่ ปิดลวดลายทองสวยงาม ภายในกุฎีทองมีเครื่องใช้ ชามเบณจรงค์ ที่คงคงรักษาไว้ให้ได้ชม โดยกุฎีนี้ยังมีห้องจำลอง ห้องพระบรรทมของรัชกาลที่ 5 เอาไว้อีกด้วย

จากนั้นก็ลงเรือมุ่งหน้าไปวัดต่อไป ซึ่งระหว่างการนั่งเรือล่องไปนี้ จะทำให้เห็นวิถีชีวิตชาวอัมพวาได้อย่างชัดเจน วัดที่เราลงไปสักการะกันต่อก็คือวัดท้องคุ้ง
วัดท้องคุ้ง จะมี“หลวงพ่อโต”เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ คาดว่าด้านในอาจเป็นพระพุทธรูปสำริด เนื่องจากในช่วงหนึ่งมีการรบติดพัน มีข้าศึกพม่าเข้ามาในบ้านเรา กลัวว่าพวกทหารพม่าจะเข้ามาพบและนำเอาพระพุทธรูปล้ำค่ากลับประเทศพม่า จึงได้มีการอำพรางเอาไว้ เมื่อครั้งสงครามไทยพม่านั่นเอง พี่ที่พาเราล่องเรื่องแอบกระซิบว่า ศักดิ์สิทธิมากมีผู้มาขอพรไหว้พระ บนบาลศาลกล่าวแล้วสมปรารถนามาแก้บนกันบ่อยครั้ง
อ่ะมาถึงวัดต่อไปที่เราได้ไปมาก็คือ วัดบางแคน้อย อุโบสถที่มีความสวยงาม มีคุณค่าทางด้านศิลปะเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะช่างแกะสลัก เป็นช่างฝีมือจากเพชรบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านแกะสลักไม้เป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าสวยมากๆเลยแหละอมยิ้ม36

ไปต่อยังวัดที่ 4 กันเลยวัดนี้มีชื่อว่า วัดบางแคใหญ่ วัดบางแคใหญ่มียักษ์ทวารบาลยืนอยู่ 2 ตน ซ้ายขวา รอบอุโบสถมีระเบียงคตล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน เปิดให้เป็นทางเข้าด้านหน้าซุ้มประตูกึ่งกลางระเบียงคต อีกด้านหนึ่งอยู่ด้านขวาเป็นซุ้มประตูเดินออกไปชมภาพเขียนอายุ 200 ปี ต่อ ในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย และปางสมาธิ ขนาดต่างๆ กันไป อุโบสถวัดบางแคใหญ่นับอายุได้ราว 200 ปี

ล่องเรือมาถึงวัดสุดท้ายแดร่มลมตก ประมาน 4 โมงเย็น นั่งเรือชิวผมพริ้วๆเลย5555555 วัดต่อมาคือ วัดบางกุ้ง เรียกได้ว่าไม่มาถือว่าไม่ถึงอัมพวาเลยน้า
วัดบางกุ้ง เมื่อขึ้นมาจากเรือจะพบสัตว์นาๆชนิดทั้ง อูฐ ม้า นกยูง เป็นต้น

สัตว์ที่นี้น่ารักมาก เหมือนจะเอียงคอเล่นกล้องเป็น
และวัดบางกุ้ง เดิมเป็นค่ายบางกุ้ง ป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่าย ที่ค่ายบางกุ้ง เรียกว่า "ค่ายบางกุง้" โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่าย เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นที่เคารพบูชา ของทหาร ภายหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ค่ายบางกุ้งก็ร้างไปจนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานีจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนจาก ระยอง ชลบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรีรวบ รวมผู้คนมาตั้งกองทหารรักษาค่ายจึงมีชื่อเรียก อีกหนึ่งว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง"  และที่วัดนี้ยังมีอนุสรณ์สถานพระเจ้าตากสินมหาราชอีกด้วย
ทรงประดิฐโบสถ์ปรกโพธิ์ เป็นอุโบสถหลังเดิมที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จะถูกปกคลุมด้วยรากไม้ใหญ่ทั้งโพธิ์ ไทร ไกร กร่าง มองจากภายนอกคิดว่าเป็นกลุ่มต้นไม้ใหญ่ มากกว่ามีโบสถ์อยู่ข้างใน รากไม้เหล่านี้ช่วยให้โบสถ์คงรูปอยู่ได้ ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐาน ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อย (หลวงพ่อนิลมณี) และเรียกโบสถ์ว่า "โบสถ์ปรกโพธิ์" และมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สมัยปลายกรุศรีอยุธยาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ

พี่คนชับเรือได้บอกไว้ว่าที่วัดบางกุ้งได้ถูกแต่งตั้งเป็น Unseen thailand อีกด้วย

ไหว้พระจบวัดที่ 5 ก็เป็นเวลา เย็นช่วง 5 โมงพอดีเลย นั่งเรือกลับลมเย็นดูวิถีชีวิตสองฝั่งคลองได้เลย สองฝั่งของล่องเรือไปเรื่อยๆก็จะพบเขื่อนริมแม่น้ำบางแห่งทรุดตัวพังลงเนื่องจากถูกคลื่นน้ำเซาะตลิ่ง แต่กลิ่นไอบ้านไม้ริมน้ำยังคงดังเดิม แต่สิ่งที่เพิ่มเติมคือรีสอทร์บ้านพักต่างที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ถ้าคุณมีโอกาศได้แวะมาล่องเรื่อขอให้ทุกคนอย่าทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง และท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ไปด้วยกันนะคะ
ถ่ายภาพบนเรือสักภาพเพี้ยนแช๊ะ ตอนนี้กลับมาถึงตลาดน้ำแย้ว

ในตลาดน้ำก็ยังคงเห็นแม่ค้าพายเรือมาขายอยู่บางส่วน แต่ก็เหลือเพียงไม่มากนะคะ
ตกเย็นนักท่องเที่ยวคึกคักกันมากๆเลย


มีขนม อาหาร หลายหลายชนิดกันให้ได้เลือกเลย เดินไปถึง 6 โมงเย็นต้องรีบกลับบ้านแล้ว เราเลือกนั่งสองแถวมาลองตลาดแม่กรองเหมือนเดิมคะ แล้วนั่งรถตู้กลับบางประแก้วจ้า วินนี้จะหมด 6 โมงครึ่งนะคะ แต่...เราไปไม่ทัน555 ซึ่งแปลว่าตกรถ แต่โชคช่วยมีรถตู้นั่งไปลงพระราม2 ได้คะ ในราคา 70 บาท อ่ะๆสรุปค่าเดินทางตลอดทริปอมยิ้ม17


ขอบคุณสำหรับการอ่านและติดตาม ป่ะเที่ยวกัน!!!นานาขอบคุณ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่