การนับอายุราชการ

การนับอายุราชการ (ราชการแนวหน้า ปฏิรูป วันที่ 19/2/2012) http://www.charuaypontorranin.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539235540&Ntype=4

  1.เวลาที่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ที่ส่วนราชการแห่งหนึ่ง ต่อมาได้โอนไปรับราชการ ในส่วนราชการอีกแห่งหนึ่ง หรือโอนไปรับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ก็จะได้รับเงินเดือน และนับเวลาราชการต่อเนื่องไปตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการหรือพนักงานเหล่านั้นบัญญัติไว้

2.มีประเด็นที่เป็นปัญหาว่า เมื่อข้าราชการรายหนึ่งรับราชการอยู่ที่กรม ก.จนได้รับเงินเดือน 13,050 บาท แล้วลาออกจากราชการเพื่อรับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการที่ กรม ข. โดยใช้วุฒิปริญญาโทได้รับเงินเดือน 9,700 บาท วันเดียวกับที่ได้รับอนุญาตลาออก เช่นนี้ ข้าราชการรายนี้จะได้นับเวลาราชการต่อเนื่องหรือไม่

3.ประเด็นนี้ ก.พ.ได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้วเห็นว่า การที่ข้าราชการรายนี้ที่รับราชการใน กรม ก. ได้ลาออกกรม ก. แล้วได้รับคัดเลือกและ บรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการของกรม ข. โดยใช้วุฒิปริญญาโทและรับเงินเดือน ในอัตราขั้นแรก (9,700 บาท) โดยไม่ได้นำอายุราชการขณะเป็นข้าราชการของ กรม ก. มานับเป็นเวลาราชการต่อเนื่อง แต่เริ่มนับอายุราชการใหม่เลยทำให้ข้าราชการผู้นี้ไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์จากการที่เคยปฏิบัติราชการที่ กรม ก. แต่ประการใดประกอบกับกรณีนี้ไม่ได้เป็นการโอนหรือบรรจุกลับเข้า รับราชการด้วย ดังนั้น ฐานะการเป็นข้าราชการของผู้นี้ จึงไม่ต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถนับระยะเวลาต่อเนื่องกันได้ (มติอ.ก.พ.กฎหมายฯ ครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552)

4.จะเห็นได้ว่า ข้าราชการรายนี้สละสิทธิ์การได้รับเงินเดือนต่อเนื่อง และนับระยะเวลาราชการต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

5.ส่วนในการนับระยะเวลาราชการเพื่อการคำนวณบำเหน็จบำนาญ ตามพระราชบัญญัติกองทุน บำเหน็จ บำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ข้าราชการที่ออกจากราชการ ถ้ากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการ ในตอนหลังได้ เว้นแต่ผู้นั้นถูก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ทำให้เห็นว่าต้องดูว่าจะนับอายุราชการ ตามกฎหมายฉบับใด

---

สอบถามว่า การนับระยะเวลาราชการต่อเนื่อง มีประโยชน์อย่างไรนอกเหนือจากประโยชน์ที่ใช้คำนวณบำเหน็จบำนาญ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่