Relay เป็นอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานในอุตสาหกรรมได้หลากหลาย โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ได้แก่ General Relay, Timer Relay, Protection Relay และ Solid State Relay ค่ะ
ตัวอย่างรวม Relay ทุกประเภท
มาดูกันว่า Relay ประเภทต่างๆ ทำอะไรได้บ้าง
1. General Relay (เจนเนอรัล รีเลย์)
รูปแสดงถึงลักษณะภายนอก และวงจรของ General Relay
รีเลย์ประเภทนี้ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ไฟลำดับที่สอง (secondary switch) คือเป็นสวิตซ์ตัด-ต่อวงจร โดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า
ตัวอย่างการใช้งาน
- การนำรีเลย์ต่อใช้งานกับหลอดไฟผ่านขั้ว C และ NC
เพื่อให้หลอดไฟยังคงติดสว่างแม้ไม่ได้กดสวิตช์ดังรูป A และ เมื่อทำการกดสวิตช์ ไฟจากแบตเตอรี่จะเหนี่ยวนำขดลวดให้สวิตช์ไหลจากขั้ว C ไปขั้ว NO ทำให้หลอดไฟดับ ดังรูป B
- การนำรีเลย์ไปต่อใช้งานกับมอเตอร์
ดูได้ตามวิดีโอนี้ค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=AHi1s7jRsOg
2. Timer Relay (ไทม์เมอร์รีเลย์)
ใช้ในการควบคุมเวลาการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ผู้ใช้ต้องการ นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมโรงงาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องจักรที่สำคัญมาก
ตัวอย่างการใช้งาน
- วงจรสตาร์เดลต้า
ในขณะที่สตาร์ท มอเตอร์จะทำการต่อแบบสตาร์ ซึ่งสามารถลดแรงดันขณะสตาร์ทได้ และเมื่อมอเตอร์หมุนไปได้ซักระยะหนึ่ง(ตามทามเมอร์ ที่ตั้งไว้) ประมาณความเร็ว 75% ของความเร็วพิกัดมอเตอร์จะทำการต่อแบบเดลต้า เพื่อควบคุมกระแสไฟสำหรับการใช้งาน
วงจรนี้เหมาะสำหรับใช้กับมอเตอร์ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 10 แรงม้าขึ้นไป เช่น มอเตอร์ที่ไปขับใบมีดในการตัดชิ้นงาน มอเตอร์ขับปั๊มน้ำขึ้นแท็งค์ เป็นต้น
ภาพแสดง วงจรสตาร์เดลต้าของทามเมอร์ รีเลย์
- วงจรเปิด-ปิด ปั้มน้ำ
ใช้ Timer Relay ปิด-ปิด ปั๊มน้ำตามเวลาที่ต้องการ
ภาพแสดงวงจรเปิด - ปิด ปั๊มน้ำโดย Timer Relay
- วงจรเปิด-ปิด แอร์
ใช้ Timer Relay เซตช่วงเวลาเปิด-ปิดแอร์ เช่น เช็ตให้เปิดแอร์ 11:00 - 19:00 และ ปิดแอร์ 19:00 - 11:00 เหมาะกับการใช้งานในออฟฟิศ หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
ภาพแสดง วงจรเปิด - ปิด เครื่องปรับอากาศโดย Timer Relay
3. Protection Relay (โปรเทคชั่น รีเลย์)
Protection Relay เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รีเลย์ป้องกันไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจับความผิดปกติที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และทำงานสั่งปลดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดปัญหาออกจากระบบไฟฟ้าโดยเร็ว เพื่อไม่ให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย
รีเลย์ชนิดนี้จะใช้เงื่อนไขในการตรวจสอบความผิดปกติ ดังต่อไปนี้
1. Over current คือ กระแสในขณะใช้งานมีค่าเกินที่กำหนด Protection Relay จะทำการตัดระบบ
2. Max/min voltage คือ แรงดันในขณะใช้งานมีค่าเกินหรือต่ำกว่าที่กำหนด
3. Phase sequence คือ การเรียงลำดับเฟสไม่ถูกต้อง
4. Phase loss คือ แรงดันของเฟสใดเฟสหนึ่งหายไป
5. Min/max frequency คือ ความถี่ในขณะใช้งานมีค่าเกินหรือต่ำกว่าที่กำหนด
6. Asymmetry คือ ไม่มีความสมดุลทางไฟฟ้า (Unbalance)
4. Solid State Relay (โซลิดสเตท รีเลย์)
Solid State Relay นิยมเรียกตามตัวย่อว่า SSR เป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกที่ไม่ใช้หน้าสัมผัสในการตัดต่อวงจร แต่จะใช้เทคโนโลยีของ เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ทำให้ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ เพื่อลดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้น และเพิ่มอายุการใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น
วงจร ของ Solid State Relay ( โซลิดสเตตรีเลย์ ) สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยงานของท่านได้อย่างหลากหลายดังต่อไปนี้
-ใช้ควบคุมระบบเปิดปิดไฟฟ้าแสงสว่าง
-ใช้ควบคุมขดลวดความร้อน
-ใช้ควบคุม Solenoid Valve
-ใช้ควบคุมการ Start Motor 1 Phase
-ประยุกต์ใช้กับงานกับวงจรไฟ 3 เฟส
-ใช้ควบคุมการ start motor 3 เฟส
-ใช้ควบคุมขดลวดความร้อน
รูปการทำงานของ Solid State Relay
นี่ก็คือ Relay ทั้งสี่ประเภท ที่เป็นอุปกรณ์มือขวาของหลากหลายอุตสาหกรรม หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้กำลังศึกษาเรื่อง Relay เบื้องต้นนะคะ
Cr:
https://www.factomart.com/th/main-relay
ตัวอย่างการใช้งาน Relay ประเภทต่างๆ สำหรับผู้ศึกษาเบื้องต้น
มาดูกันว่า Relay ประเภทต่างๆ ทำอะไรได้บ้าง
1. General Relay (เจนเนอรัล รีเลย์)
รูปแสดงถึงลักษณะภายนอก และวงจรของ General Relay
รีเลย์ประเภทนี้ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ไฟลำดับที่สอง (secondary switch) คือเป็นสวิตซ์ตัด-ต่อวงจร โดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า
ตัวอย่างการใช้งาน
- การนำรีเลย์ต่อใช้งานกับหลอดไฟผ่านขั้ว C และ NC
เพื่อให้หลอดไฟยังคงติดสว่างแม้ไม่ได้กดสวิตช์ดังรูป A และ เมื่อทำการกดสวิตช์ ไฟจากแบตเตอรี่จะเหนี่ยวนำขดลวดให้สวิตช์ไหลจากขั้ว C ไปขั้ว NO ทำให้หลอดไฟดับ ดังรูป B
- การนำรีเลย์ไปต่อใช้งานกับมอเตอร์
ดูได้ตามวิดีโอนี้ค่ะ https://www.youtube.com/watch?v=AHi1s7jRsOg
2. Timer Relay (ไทม์เมอร์รีเลย์)
ใช้ในการควบคุมเวลาการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ผู้ใช้ต้องการ นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมโรงงาน ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเครื่องจักรที่สำคัญมาก
ตัวอย่างการใช้งาน
- วงจรสตาร์เดลต้า
ในขณะที่สตาร์ท มอเตอร์จะทำการต่อแบบสตาร์ ซึ่งสามารถลดแรงดันขณะสตาร์ทได้ และเมื่อมอเตอร์หมุนไปได้ซักระยะหนึ่ง(ตามทามเมอร์ ที่ตั้งไว้) ประมาณความเร็ว 75% ของความเร็วพิกัดมอเตอร์จะทำการต่อแบบเดลต้า เพื่อควบคุมกระแสไฟสำหรับการใช้งาน
วงจรนี้เหมาะสำหรับใช้กับมอเตอร์ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 10 แรงม้าขึ้นไป เช่น มอเตอร์ที่ไปขับใบมีดในการตัดชิ้นงาน มอเตอร์ขับปั๊มน้ำขึ้นแท็งค์ เป็นต้น
ภาพแสดง วงจรสตาร์เดลต้าของทามเมอร์ รีเลย์
- วงจรเปิด-ปิด ปั้มน้ำ
ใช้ Timer Relay ปิด-ปิด ปั๊มน้ำตามเวลาที่ต้องการ
ภาพแสดงวงจรเปิด - ปิด ปั๊มน้ำโดย Timer Relay
- วงจรเปิด-ปิด แอร์
ใช้ Timer Relay เซตช่วงเวลาเปิด-ปิดแอร์ เช่น เช็ตให้เปิดแอร์ 11:00 - 19:00 และ ปิดแอร์ 19:00 - 11:00 เหมาะกับการใช้งานในออฟฟิศ หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
ภาพแสดง วงจรเปิด - ปิด เครื่องปรับอากาศโดย Timer Relay
3. Protection Relay (โปรเทคชั่น รีเลย์)
Protection Relay เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รีเลย์ป้องกันไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจับความผิดปกติที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และทำงานสั่งปลดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดปัญหาออกจากระบบไฟฟ้าโดยเร็ว เพื่อไม่ให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย
รีเลย์ชนิดนี้จะใช้เงื่อนไขในการตรวจสอบความผิดปกติ ดังต่อไปนี้
1. Over current คือ กระแสในขณะใช้งานมีค่าเกินที่กำหนด Protection Relay จะทำการตัดระบบ
2. Max/min voltage คือ แรงดันในขณะใช้งานมีค่าเกินหรือต่ำกว่าที่กำหนด
3. Phase sequence คือ การเรียงลำดับเฟสไม่ถูกต้อง
4. Phase loss คือ แรงดันของเฟสใดเฟสหนึ่งหายไป
5. Min/max frequency คือ ความถี่ในขณะใช้งานมีค่าเกินหรือต่ำกว่าที่กำหนด
6. Asymmetry คือ ไม่มีความสมดุลทางไฟฟ้า (Unbalance)
4. Solid State Relay (โซลิดสเตท รีเลย์)
Solid State Relay นิยมเรียกตามตัวย่อว่า SSR เป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกที่ไม่ใช้หน้าสัมผัสในการตัดต่อวงจร แต่จะใช้เทคโนโลยีของ เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ทำให้ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ เพื่อลดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้น และเพิ่มอายุการใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น
วงจร ของ Solid State Relay ( โซลิดสเตตรีเลย์ ) สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยงานของท่านได้อย่างหลากหลายดังต่อไปนี้
-ใช้ควบคุมระบบเปิดปิดไฟฟ้าแสงสว่าง
-ใช้ควบคุมขดลวดความร้อน
-ใช้ควบคุม Solenoid Valve
-ใช้ควบคุมการ Start Motor 1 Phase
-ประยุกต์ใช้กับงานกับวงจรไฟ 3 เฟส
-ใช้ควบคุมการ start motor 3 เฟส
-ใช้ควบคุมขดลวดความร้อน
รูปการทำงานของ Solid State Relay
นี่ก็คือ Relay ทั้งสี่ประเภท ที่เป็นอุปกรณ์มือขวาของหลากหลายอุตสาหกรรม หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้กำลังศึกษาเรื่อง Relay เบื้องต้นนะคะ
Cr: https://www.factomart.com/th/main-relay