มาเล่าเรื่องไวรัสตับC และการเปลี่ยนตับ. และการเอาชนะ มะเร็งตับ ครับ
24ธันวาคม2558
เริ่มกินยารักษาไวรัสตับC สายพันธ์ 1a (3a ใช้ยานี้เช่นกัน) วันแรก ประกอบด้วย
1. Sofosbuvir 400 mg จากบริษัท Mylan ประเทศอินเดียโดยเป็นยาที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตจากบริษัท Gilead Sciences Ireland เจ้าของสิทธิบัตร
2. Daclatasvir 60 mg จากบริษัท Hetero Labs ประเทศอินเดียโดยเป็นยาที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตจากบริษัท Bristol-Myers Squibb (BMS) และ Mediccines Patent Pool (MMP)
3. Ribavirin 200 mg วันละ 600mg
ไวรัสตับอักเสบ Cสายพันธ์ 1a กินต่อเนื่องเป็นเวลา 12week หรือ24 week แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ยาที่รักษาไวรัสตับCสายพันธ์ 1a ส่วนใหญ่ไม่ประสบผล ไม่สามารถกำจัดไวรัสได้ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อจึงต้องเผชิญกับภาวะตับอักเสบ เป็นเวลานาน จนเกิดภาวะตับแข็ง และพัฒนาอาการสู่มะเร็งตับในที่สุด ซึ่งขณะนี้นับเป็นข่าวดีต่อผู้ได้รับเชื้อทุกคน เพราะยาที่สามารถกำจัดเชื้อชนิดนี้ได้มีขึ้นแล้ว แต่ยังคงมีราคาสูงพอสมควร ซึ่งคาดว่าในอนาคต 2-3ปี ข้างหน้า ราคายาก็จะปรับลงตามกลไกของตลาด ที่มียาตัวอื่นๆที่ใช้ในการรักษาทยอยตามออกมา
ปัจจุบัน 1a มียาอีก 1ตัวคือ Lediasvir & Sofosbuvir ของบริษัท Natco ประเทศอินเดีย โดยเป็นยาที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตจากบริษัท Gilead Sciences Irland เจ้าของสิทธิบัตร รวมอยู่ในเม็ดเดียวกัน ซึ่งราคาจะถูกกว่า
การรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ DAAs ( Direct-acting Antiviral Agents ) เป็นยาที่ไปยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ทำให้มีประสิทธิผลสูงกว่า และพบอาการข้างเคียงน้อยกว่า ยากลุ่มนี้เป็นยากิน มีทั้งยาโซฟอสบูเวียร์ (sofosbuvir) ยาไซมีพรีเวียร์ (simeprevir) ยาดาคลาทาสเวียร์ (daclatasvir) ยาเลดิพาสเวียร์ (ledipasvir) ทีมวิจัยได้ทบทวนผลการศึกษากว่า 846 การศึกษาทั่วโลก แทนการรักษาเดิม แบบ PR ((Pegylated-interferon) ร่วมกับไรบาวิริน (Ribavirin) เป็นยาพื้นฐานชนิดฉีด
ขอเล่ากลับไปถึงที่ไปที่มาและการรักษามะเร็งตับครับ
เมื่อพ.ศ.2551 ผมเริ่มมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก ไอ เหมือนคนเป็นหวัด ต่อมาอาการเริ่มมากขึ้น แม้เดินขึ้นบันไดบ้านถึงแค่ชานพักก็ต้องหยุดพักเพราะรู้สึกหายใจไม่ทัน หอบ ขณะนั้นยังคิดว่าตัวเองเกิดโรคหอบกำเริบ จนได้เข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลวิภาวดี แพทย์ สั่ง admit ทันที เนื่องจากมีภาวะเลือดไหลในหลอดทางเดินอาหาร ทำให้หัวใจพยายามจะรักษาความดันโลหิต ในร่างกายโดยทำงานหนักมากชีพจรเต้นเร็วเกินปกติ แพทย์ที่พบบอกว่า หัวใจไม่วายตายก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว สังเกตุร่างกายจะพบมือซีด กดไม่มีสีเลือด ตาเหลือง ตัวเหลือง เนื่องจากภาวะตับแข็ง ร่างกายคนปกติ จะมีเลือดผ่านตับวันละ 1800ลิตร เมื่อตับแข็ง เลือดจึงผ่านได้ยากความดันเลือดสูง เลือดจึงพยายามดันตัวออกในบริเวณที่เส้นเลือดบางที่สุด คือในหลอดทางเดินอาหาร ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดแตกเลือดออกในทางเดินอาหารและเกิดปมเลือดที่ค้างและรอแตกได้ตลอดเวลา ซึ่งวิธีรักษาคือการผูกปมเลือดเหล่านั้น ทาง รพ.ได้ทำการสอดกล้องเข้าไปในทางเดินอาหารและผูกปมเลือดที่แตก และให้เลือด โดยวางยาสลบหลังออกจากห้องผ่าตัดขณะนอนให้เลือดถุงที่สอง ผมเหมือนเกิดอาการแพ้เลือด ไม่สามารถนอนได้เมื่อนอนจะมีอาการเหมือนหายใจไม่ออก จึงขอหยุดการให้เลือดและฉีดยาแก้แพ้
การส่องกล้องเข้าไปในทางเดินอาหาร จะเกิดบาดแผล หลังส่องกล้องวันแรกจะกินได้แต่เพียงน้ำและเริ่มกินน้ำแกง และอาหารอ่อนๆได้ตามลำดับ
นั่นเป็นครั้งแรกที่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคตับแข็ง และมีไวรัสC จึงดำเนินการรักษาต่อที่ รพ.ศิริราช โดยมีเพื่อนรุ่นน้องที่กำลังเรียนแพทย์เฉพาะทางเป็นคนช่วยดำเนินการ ให้เข้ารับการรักษากับ อ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี ซึ่งเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องระบบทางเดินอาหารและตับ อันดับต้นๆของประเทศ ได้รับการผูกปมเลือดที่รพ.ศิริราช 4ครั้ง ซึ่งเป็นการส่องกล้องเข้าในหลอดอาหารและผูกปมเลือสดโดยการพ่นยาชา ซึ่งในครั้งแรกทรมานมาก ครั้งต่อๆมา คงเกิดความคุ้นเคย จึงเจ็บน้องลงและหายเร็วขึ้น
ได้รับการให้ยาฉีดเพื่อรักษาไวรัสC ตัวการทำให้ตับอักเสบเป็นครั้งแรก แต่ไม่ตอบสนองต่อยา จ่ายค่ายาไปแสนกว่าบาท อ.สั่งหยุดการรักษาและบอกว่าเก็บเงินไว้เปลี่ยนตับดีกว่า
การติดตามอาการของโรคมีมาต่อเนื่อง ค่าเลือดขณะแย่ๆเกล็ดเลือดเหลือเพียง 30000กว่าหน่วย ค่าตับอักเสบ สูงสุดประมาณ 600 (AST) เท้าบวมน้ำ ท้องบวม
20 ธ.ค.55 จากการติดตามโรค ทั้งอัลตร้าซาวด์ทุกสามเดือนและct scan ทุก6เดือน
ในที่สุดก็พบเซลมะเร็งที่ตับขนาด 2ซม.อ.ทวีศักดิ์จึงส่งต่อให้แผนกศัลยกรรมและเปลี่ยนถ่ายอวัยวะให้ทำการรักษาต่อ หลังพบ เซลมะเร็ง จึงทำการจี้ความร้อน RFA คือใช้คลื่นความถี่สูง จนเกิดความร้อนเข้าไปเผาทำลายเซลมะเร็ง ในบริเวณที่ต้องการ หลังการรักษาไม่ตอบสนอง และขนาดเซลมะเร็งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงตัดสินใจเปลี่ยนตับ เพราะหากรอช้าจะไม่สามารทำการรักษาได้ ซึ่งมีเวลาเพียง 6-7เดือน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหากทราบว่าเป็นมะเร็งตับ ในบางเคสต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพื่อผลของการรักษา เพราะเซลมะเร็งจะเติบโตเร็วมาก หากช้าจะไม่ทันการ
การเปลี่ยนตับ จะมีเพียง รพ.ไม่กี่ รพ.ที่สามารถทำได้
28ก.พ.56 ผมได้รับการเปลี่ยนถ่ายตับจากทีมแพทย์ของศิริราชโดย อ.สมชัย ลิ้มศรีจำเริญ และ อ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร ซึ่งเป็น อ.ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทำให้แผนกเปลี่ยนถ่ายอวัยวะของศิริราช มีชื่อเสียงสร้างผลงานการเปลี่ยนถ่ายตับให้คนไข้ มากกว่า 200ราย
ผมเปลี่ยนถ่ายตับโดยลงชื่อผู้ขอรับอวัยวะบริจาคจากสภากาชาดไทย ที่ รพ.วิชัยยุทธ ซึ่งโชคดีที่ได้รับตับในเวลาอันรวดเร็ว (ศิริราชคิวยาวมากเป็นคนที่6)เพราะหากนานเกินก็จะไม่สามารถทำการรักษาได้
อ.ใช้เวลาผ่าตัดเพียงสี่ชั่วโมง และใช้เลือดน้อยมากเพียงถุงเดียวในการผ่าตัด
หลังผ่าตัด นอนพักฟื้นอยู่รพ. 12วัน ซึ่งในต่างประเทศ 7วันหมอก็อนุญาต ให้กลับบ้านได้
จากคนที่เคยลงชื่อบริจาคร่างกาย บริจาคอวัยวะให้สภากาชาด กลับเป็นผู้ได้รับเสียเอง
หลังผ่าตัดเปลี่ยนตับ เนื่องจากอวัยวะไม่ใช่ของเราจึงต้องกินยากดภูมิตลอดชีวิต และไวรัสC ตัวการ ก็ยังคงอยู่ และยังคงโจมตีตับใหม่ต่อไป จนบางครั้งค่า AST สูงมาก จน อ.กลัวว่าจะเกิดภาวะตับวาย จึงมีการเจาะตับเพื่อตรวจเนื้อตับ สองครั้ง โดยฉีดยาชา และใช้เครื่องมือเจาะเข้าไปดึงเนื้อตับจากบริเวณใต้ซี่โครงด้านขวา เพื่อนำมาตรวจเนื้อตับว่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใด การดูแลจึงทำได้เพียงแค่ประคับประคอง จนกว่าจะได้ยา
ซึ่งในที่สุด วันนี้ก็มาถึง วันที่ตัวยารักษาไวรัสตับอักเสบซีเริ่มถูกลง. คนที่ไม่มีกำลังทรัพย์มาก็สามารถเข้าถึงได้. ปัจจุบัน ยาDaclatasvir ก็มีผลิตในอินเดียแล้ว ทำให้ยามีราคาถูกลงอีก
ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง และกำลังใจ ต่อทุกคนที่คิดว่าชีวิตคงจะสิ้นหวังแล้ว
ก้าวเดินต่อไป อย่ายอมแพ้ ถ้ายังไม่ได้สู้ถึงที่สุด ครับ
สอบถามเพิ่มเติมได้หลังไมค์ครับ ยินดีตอบทุกท่าน
Line id : boyd14992
ไวรัสตับอักเสบซี รักษาได้แล้ว
24ธันวาคม2558
เริ่มกินยารักษาไวรัสตับC สายพันธ์ 1a (3a ใช้ยานี้เช่นกัน) วันแรก ประกอบด้วย
1. Sofosbuvir 400 mg จากบริษัท Mylan ประเทศอินเดียโดยเป็นยาที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตจากบริษัท Gilead Sciences Ireland เจ้าของสิทธิบัตร
2. Daclatasvir 60 mg จากบริษัท Hetero Labs ประเทศอินเดียโดยเป็นยาที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตจากบริษัท Bristol-Myers Squibb (BMS) และ Mediccines Patent Pool (MMP)
3. Ribavirin 200 mg วันละ 600mg
ไวรัสตับอักเสบ Cสายพันธ์ 1a กินต่อเนื่องเป็นเวลา 12week หรือ24 week แล้วแต่การพิจารณาของแพทย์
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ยาที่รักษาไวรัสตับCสายพันธ์ 1a ส่วนใหญ่ไม่ประสบผล ไม่สามารถกำจัดไวรัสได้ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อจึงต้องเผชิญกับภาวะตับอักเสบ เป็นเวลานาน จนเกิดภาวะตับแข็ง และพัฒนาอาการสู่มะเร็งตับในที่สุด ซึ่งขณะนี้นับเป็นข่าวดีต่อผู้ได้รับเชื้อทุกคน เพราะยาที่สามารถกำจัดเชื้อชนิดนี้ได้มีขึ้นแล้ว แต่ยังคงมีราคาสูงพอสมควร ซึ่งคาดว่าในอนาคต 2-3ปี ข้างหน้า ราคายาก็จะปรับลงตามกลไกของตลาด ที่มียาตัวอื่นๆที่ใช้ในการรักษาทยอยตามออกมา
ปัจจุบัน 1a มียาอีก 1ตัวคือ Lediasvir & Sofosbuvir ของบริษัท Natco ประเทศอินเดีย โดยเป็นยาที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตจากบริษัท Gilead Sciences Irland เจ้าของสิทธิบัตร รวมอยู่ในเม็ดเดียวกัน ซึ่งราคาจะถูกกว่า
การรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ DAAs ( Direct-acting Antiviral Agents ) เป็นยาที่ไปยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ทำให้มีประสิทธิผลสูงกว่า และพบอาการข้างเคียงน้อยกว่า ยากลุ่มนี้เป็นยากิน มีทั้งยาโซฟอสบูเวียร์ (sofosbuvir) ยาไซมีพรีเวียร์ (simeprevir) ยาดาคลาทาสเวียร์ (daclatasvir) ยาเลดิพาสเวียร์ (ledipasvir) ทีมวิจัยได้ทบทวนผลการศึกษากว่า 846 การศึกษาทั่วโลก แทนการรักษาเดิม แบบ PR ((Pegylated-interferon) ร่วมกับไรบาวิริน (Ribavirin) เป็นยาพื้นฐานชนิดฉีด
ขอเล่ากลับไปถึงที่ไปที่มาและการรักษามะเร็งตับครับ
เมื่อพ.ศ.2551 ผมเริ่มมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก ไอ เหมือนคนเป็นหวัด ต่อมาอาการเริ่มมากขึ้น แม้เดินขึ้นบันไดบ้านถึงแค่ชานพักก็ต้องหยุดพักเพราะรู้สึกหายใจไม่ทัน หอบ ขณะนั้นยังคิดว่าตัวเองเกิดโรคหอบกำเริบ จนได้เข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลวิภาวดี แพทย์ สั่ง admit ทันที เนื่องจากมีภาวะเลือดไหลในหลอดทางเดินอาหาร ทำให้หัวใจพยายามจะรักษาความดันโลหิต ในร่างกายโดยทำงานหนักมากชีพจรเต้นเร็วเกินปกติ แพทย์ที่พบบอกว่า หัวใจไม่วายตายก็ถือว่าโชคดีมากแล้ว สังเกตุร่างกายจะพบมือซีด กดไม่มีสีเลือด ตาเหลือง ตัวเหลือง เนื่องจากภาวะตับแข็ง ร่างกายคนปกติ จะมีเลือดผ่านตับวันละ 1800ลิตร เมื่อตับแข็ง เลือดจึงผ่านได้ยากความดันเลือดสูง เลือดจึงพยายามดันตัวออกในบริเวณที่เส้นเลือดบางที่สุด คือในหลอดทางเดินอาหาร ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดแตกเลือดออกในทางเดินอาหารและเกิดปมเลือดที่ค้างและรอแตกได้ตลอดเวลา ซึ่งวิธีรักษาคือการผูกปมเลือดเหล่านั้น ทาง รพ.ได้ทำการสอดกล้องเข้าไปในทางเดินอาหารและผูกปมเลือดที่แตก และให้เลือด โดยวางยาสลบหลังออกจากห้องผ่าตัดขณะนอนให้เลือดถุงที่สอง ผมเหมือนเกิดอาการแพ้เลือด ไม่สามารถนอนได้เมื่อนอนจะมีอาการเหมือนหายใจไม่ออก จึงขอหยุดการให้เลือดและฉีดยาแก้แพ้
การส่องกล้องเข้าไปในทางเดินอาหาร จะเกิดบาดแผล หลังส่องกล้องวันแรกจะกินได้แต่เพียงน้ำและเริ่มกินน้ำแกง และอาหารอ่อนๆได้ตามลำดับ
นั่นเป็นครั้งแรกที่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคตับแข็ง และมีไวรัสC จึงดำเนินการรักษาต่อที่ รพ.ศิริราช โดยมีเพื่อนรุ่นน้องที่กำลังเรียนแพทย์เฉพาะทางเป็นคนช่วยดำเนินการ ให้เข้ารับการรักษากับ อ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี ซึ่งเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องระบบทางเดินอาหารและตับ อันดับต้นๆของประเทศ ได้รับการผูกปมเลือดที่รพ.ศิริราช 4ครั้ง ซึ่งเป็นการส่องกล้องเข้าในหลอดอาหารและผูกปมเลือสดโดยการพ่นยาชา ซึ่งในครั้งแรกทรมานมาก ครั้งต่อๆมา คงเกิดความคุ้นเคย จึงเจ็บน้องลงและหายเร็วขึ้น
ได้รับการให้ยาฉีดเพื่อรักษาไวรัสC ตัวการทำให้ตับอักเสบเป็นครั้งแรก แต่ไม่ตอบสนองต่อยา จ่ายค่ายาไปแสนกว่าบาท อ.สั่งหยุดการรักษาและบอกว่าเก็บเงินไว้เปลี่ยนตับดีกว่า
การติดตามอาการของโรคมีมาต่อเนื่อง ค่าเลือดขณะแย่ๆเกล็ดเลือดเหลือเพียง 30000กว่าหน่วย ค่าตับอักเสบ สูงสุดประมาณ 600 (AST) เท้าบวมน้ำ ท้องบวม
20 ธ.ค.55 จากการติดตามโรค ทั้งอัลตร้าซาวด์ทุกสามเดือนและct scan ทุก6เดือน
ในที่สุดก็พบเซลมะเร็งที่ตับขนาด 2ซม.อ.ทวีศักดิ์จึงส่งต่อให้แผนกศัลยกรรมและเปลี่ยนถ่ายอวัยวะให้ทำการรักษาต่อ หลังพบ เซลมะเร็ง จึงทำการจี้ความร้อน RFA คือใช้คลื่นความถี่สูง จนเกิดความร้อนเข้าไปเผาทำลายเซลมะเร็ง ในบริเวณที่ต้องการ หลังการรักษาไม่ตอบสนอง และขนาดเซลมะเร็งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงตัดสินใจเปลี่ยนตับ เพราะหากรอช้าจะไม่สามารทำการรักษาได้ ซึ่งมีเวลาเพียง 6-7เดือน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหากทราบว่าเป็นมะเร็งตับ ในบางเคสต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพื่อผลของการรักษา เพราะเซลมะเร็งจะเติบโตเร็วมาก หากช้าจะไม่ทันการ
การเปลี่ยนตับ จะมีเพียง รพ.ไม่กี่ รพ.ที่สามารถทำได้
28ก.พ.56 ผมได้รับการเปลี่ยนถ่ายตับจากทีมแพทย์ของศิริราชโดย อ.สมชัย ลิ้มศรีจำเริญ และ อ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร ซึ่งเป็น อ.ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทำให้แผนกเปลี่ยนถ่ายอวัยวะของศิริราช มีชื่อเสียงสร้างผลงานการเปลี่ยนถ่ายตับให้คนไข้ มากกว่า 200ราย
ผมเปลี่ยนถ่ายตับโดยลงชื่อผู้ขอรับอวัยวะบริจาคจากสภากาชาดไทย ที่ รพ.วิชัยยุทธ ซึ่งโชคดีที่ได้รับตับในเวลาอันรวดเร็ว (ศิริราชคิวยาวมากเป็นคนที่6)เพราะหากนานเกินก็จะไม่สามารถทำการรักษาได้
อ.ใช้เวลาผ่าตัดเพียงสี่ชั่วโมง และใช้เลือดน้อยมากเพียงถุงเดียวในการผ่าตัด
หลังผ่าตัด นอนพักฟื้นอยู่รพ. 12วัน ซึ่งในต่างประเทศ 7วันหมอก็อนุญาต ให้กลับบ้านได้
จากคนที่เคยลงชื่อบริจาคร่างกาย บริจาคอวัยวะให้สภากาชาด กลับเป็นผู้ได้รับเสียเอง
หลังผ่าตัดเปลี่ยนตับ เนื่องจากอวัยวะไม่ใช่ของเราจึงต้องกินยากดภูมิตลอดชีวิต และไวรัสC ตัวการ ก็ยังคงอยู่ และยังคงโจมตีตับใหม่ต่อไป จนบางครั้งค่า AST สูงมาก จน อ.กลัวว่าจะเกิดภาวะตับวาย จึงมีการเจาะตับเพื่อตรวจเนื้อตับ สองครั้ง โดยฉีดยาชา และใช้เครื่องมือเจาะเข้าไปดึงเนื้อตับจากบริเวณใต้ซี่โครงด้านขวา เพื่อนำมาตรวจเนื้อตับว่ามีความเสียหายมากน้อยเพียงใด การดูแลจึงทำได้เพียงแค่ประคับประคอง จนกว่าจะได้ยา
ซึ่งในที่สุด วันนี้ก็มาถึง วันที่ตัวยารักษาไวรัสตับอักเสบซีเริ่มถูกลง. คนที่ไม่มีกำลังทรัพย์มาก็สามารถเข้าถึงได้. ปัจจุบัน ยาDaclatasvir ก็มีผลิตในอินเดียแล้ว ทำให้ยามีราคาถูกลงอีก
ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง และกำลังใจ ต่อทุกคนที่คิดว่าชีวิตคงจะสิ้นหวังแล้ว
ก้าวเดินต่อไป อย่ายอมแพ้ ถ้ายังไม่ได้สู้ถึงที่สุด ครับ
สอบถามเพิ่มเติมได้หลังไมค์ครับ ยินดีตอบทุกท่าน
Line id : boyd14992