"และผู้ใดเล่าจะอธรรมยิ่งกว่าผู้กุความเท็จให้แก่อัลลอฮ์...."

ชารีอะฮ์ หรือกฏหมายอิสลามที่ใช้ในการพิจารณาตัดสินการลงโทษด้วยการรุมกันปาหินใส่ผู้ที่ประพฤติผิดประเวณีอย่างทารุณกรรมเยี่ยงฝูงสุนัขป่ารุมกันทึ้งกัดกินลูกแกะ ที่ไม่มีทางสู้ ตามที่ภาษาอรับเรียกว่า “รอยัม” (stoning), การลงโทษประหารชีวิตผู้ที่ละทิ้งศาสนาอิสลาม, การลงโทษผู้ดื่มสุราด้วยการโบยและการกักขัง, การขวักลูนัยตา, การถอนฟันนักโทษ, การตัดข้อมือขโมยโดยไม่มีการพิจารณาและทำความเข้าใจบริบทของบัญญัติให้ชัดเจน,และการอภัยโทษเมื่อผู้กระทำผิดรับสารภาพ, การลงโทษดังกล่าวไม่มีในหลักการของศาสนาอิสลาม และไม่มีกำหนดไว้ในอัลกุรอาน,

   อัลกุรอานได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในเรื่องการลงโทษผู้ผิดประเวณีโดยการโบย 100 ครั้ง ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในอัลกุรอาน, อิสลามไม่มีการบังคับในเรื่องศาสนา  ดังนั้นความมีศรัทธาต่ออิสลามจึงไม่อาจจะบังคับได้โดยสถาบันทางศาสนาหรือเจ้าหน้าที่ทางศาสนาหรือท่านผู้รู้ทางศาสนา, แม้แต่ท่านศาสดามูฮัมมัดก็ตามท่านไม่อาจจะบังคับให้ผู้ใดในเรื่องความศรัทธาต่อศาสนาอิสลาม ท่านเป็นเพียงผู้นำข่าวสารมาสู่มนุษย์เท่านั้น ตามหลักศาสนาท่านไม่ใช่ผู้ปกครองของปวงชน

ชะรีอะฮ์ (อาหรับ: شريعة ; อังกฤษ: Sharia/Shari'ah) คือ ประมวลข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของ กฎหมายศาสนาของศาสนาอิสลาม ที่ใช้เรียกกันอยู่ในปัจจุบัน

   คำว่า "ชะรีอะฮ์" แปลว่า "ทาง" หรือ "ทางไปสู่แหล่งน้ำ"  หมายถึง 'เส้นทางที่จะตอบสนองชีวิตจิตวิญญาณ,ในความหมายที่แท้จริงมันหมายถึง "เส้นทางไปสู่​​แหล่งที่มาของการดำรงชีวิต." (ในบริบทของศตวรรษที่ 7 ทะเลทรายอารเบีย, ถิ่นกำเนิดของศาสนาอิสลาม,หมายถึง ความคิดของการดำรงชีวิตนี้มีการเชื่อมโยงไปยังเส้นทางที่นำไปสู่​​หลุมน้ำ) เป็นที่เข้าใจกันว่าคำว่าเส้นทางหมายถึง เส้นทางต่างๆสำหรับบุคคลที่แตกต่างกันในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน

ความคิด ในเรื่อง“ชารีอะฮ์” เริ่มมาจากอัลกุรอาน ซึ่งมุสลิมทุกๆคนมีความจำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อที่จะเข้าใจและใช้สิทธิที่อัลลอฮ์ให้แก่มุสลิมทุกๆคนเพื่อพิจารณาและตัดสินใจด้วยตนเองในการที่จะเชื่อหรือมีความศรัทธาต่อศาสนาอิสลาม(อัลกุรอาน 18:29 และ 2:256)

    มุสลิมทุกๆคนมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติคุณค่าทางคุณธรรมด้วยตนเองโดยเลือกแนวทางที่กำหนดไว้ในอัลกุรอาน,หรือพอใจเลือกที่จะหันเหออกนอกทางของ อัลกุรอาน ได้ตามใจปราถนา,ในปัจจุบันแทนที่มุสลิมจะขวนขวายศึกษาอัลกุรอาน เพื่อเพิ่มพูลความรู้และ เพิ่มขีดความสามารถของตนเอง

    แต่ในขณะเดียวกันสังคมมุสลิมกลับประดิษฐ์ ชารีอะฮ์ ขึ้นมาบังคับมุสลิมให้ปฏิบัติออกนอกทางบัญญัติของอัลกุรอาน ตามอารมณ์และอุดมการณ์ทางการเมือง, ซึ่งเป็นลักษณะของ ชารีอะฮ์ หรือกฏหมายอิสลามในปัจจุบันที่บังคับใช้ในประเทศที่ส่วนใหญ่ของประชาชนเป็นมุสลิม

   ชารีอะฮ์ หรือกฏหมายอิสลามที่ บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นกฏหมายที่ใช้บังคับมุสลิมเปรียบเช่นการต้อนฝูงแกะที่ตาบอด, เป็นกฏหมายที่ บังคับและริดรอนสิทธิมนุษยชน, เป็นกฏหมายที่ริดรอนสิทธิ ในการตัดสินใจเลือกคุณค่าทางคุณธรรมของตนเองตามที่อัลกุรอานให้สิทธิต่อมนุษย์ทุกๆเผ่าพันธุ์ในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน,ซึ่งเราควรจะได้รับรางวัลในชีวิตแห่งจิตวิญญาณเมื่อเราปฏิบัติตามแนวทาง  ของอัลลอฮ์, กฏหมายอิสลามในปัจจุบันไม่เพียงแต่การปฏิบัติอิสลามที่ผิดหลักการโดยการบังคับมนุษย์เท่านั้น, มีหลายแง่มุมของกฏหมายอิสลามที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของอิสลามในอัลกุรอาน

   ชารีอะฮ์ หรือ กฏหมายอิสลามที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วยกฏบัญญัติลูกผสมของกฏหมายก่อนที่จะมีอัลกุรอาน เป็นต้นว่า การลงโทษสังหารด้วยการปาด้วยหิน (รอยัม/stoning) ซึ่งเป็นกฏหมายของยิว  ในปัจจุบันชาวยิวเลิกใช้ไปนานแล้ว, กฎหมายฆราวาส คือกฎหมายของประชาชนทั่วๆ ไป ทั้งพระทั้งฆราวาสก็คือประชาชนทั้งสิ้น, กฏบัญญัติตามแนวโน้มของสังคม,และ กฎหมายของนักล่าอาณานิคม ซึ่ง แล้วแต่ว่า บรรดาผู้รู้ทางศาสนาอิสลามจะจิ้มนิ้วไปถูกหน้าไหนของหนังสือประวัติศาสตร์

    กฏหมายชารีอะฮ์ไม่เพียงแต่เป็นกฎหมายที่คาดการณ์ของอัลกุรอานและหะดีษเท่านั้น, แต่การใช้บังคับไม่มีมารตฐานและไม่สม่ำเสมอต่างจากชุมชนหนึ่งไปจากอีกชุมชนหนึ่ง ซึ่งแล้วแต่ว่าขนบธรรมเนียมและประเพณีของชุมชนนั้นๆจะตีความหมายของอัลกุรอานและฮาดีษแตกต่างกันไปอย่างไร, คำถามจึงตามมาว่า ถ้า ชารีอะฮ์ หรือ กฏหมายอิสลาม เป็นกฏหมายของอัลลอฮ์แล้ว ทำไมจึงมีการบังคับและการลงโทษที่แตกต่างกันจากประเทศที่มีมุสลิมเป็นประชาชนส่วนใหญ่ จากประเทศหนึ่งต่างจากอีกประเทศหนึ่ง

   ตัวอย่างเช่นผู้ผิดประเวณีในประเทศซูดานถูกลงโทษโดยการ ปาด้วยหิน/รอยัม/stoning,แต่ผุ้ผิดประเวณีในประเทศมาเลเซียถูกลงโทษโดยการโบย(การโบยถูกต้องตามอัลกุรอาน)

   อีกกรณีหนึ่ง ถ้ากฏหมายชารีอะฮ์ มีพื้นฐานมาจากอิสลาม/อัลกุรอาน แล้วทำไมจึงมีการลงโทษผู้ดื่มสุราในเมื่อไม่มีการกำหนดโทษในอัลกุรอาน นอกจากการห้ามและการตักเตือนว่าแอลกอฮอล์เป็นเครื่องมือของตัวแห่งความชั่วให้ออกห่าง, สำหรับผู้ฝ่าฝืนอัลกุรอานห้ามไม่ให้ละหมาดในขณะมึนเมาและอาจจะมีโทษในโลกแห่งจิตวิญญาณ แต่ไม่ได้มีการกำหนดโทษไว้ในอัลกุรอาน

   ประเทศซาอุดิอารเบียเป็นตัวอย่างให้เห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีที่มีการบิดเบือนระหว่างอิสลามกับการเมือง, กฏหมายชารีอะฮ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมประชาชนให้อยู่ภายใต้อำนาจของผู้ปกครอง  รัฐบาลมุสลิม (ไม่มีคำว่า “รัฐบาลอิสลามหรือ รัฐอิสลาม") บังคับให้ประชาชนอ่อนน้อมต่อรัฐบาลโดยการอ้างอิงศาสนา หรือ ใช้ศาสนา อิสลามเป็นเครื่องมือ, แต่ในที่สุดก็ไม่อาจจะมีผู้ใดโต้เถียงบัญญัติของพระเจ้าได้

   ตามความเป็นจริง กฏหมายชารีอะฮ์ ก็คือ สิ่งที่มนุษย์ ประดิษฐ์ ด้วยการแปลกปลอมโดยนักการเมืองร่วมมือกับบรรดาผู้สอนศาสนาอิสลามในขณะที่อยู่ภายใด้การปกครองของผู้เผด็จการ
  
   มุสลิมไม่เคยถูกสอนให้รู้ว่า ในช่วงชีวิตของท่านรอซูล มูฮัมมัด ไม่เคยมีกฏหมาย ชารีอะฮ์ สถิตย์อยู่เลย และ ท่านไม่เคยสร้างกฏหมายชารีอะฮ์ขึ้นมาใช้ปกครองประชาชนชาวกรุงมะดินะ, อัลกุรอานเท่านั้นที่ท่านรอซูลใช้ในการปกครอง, นอกเหนือจากคัมภีร์เล่มอื่นๆแล้ว อัลกุรอานควรจะเป็นคัมภีร์ที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของมุสลิม, แต่มองดูสังคมมุสลิมในปัจจุบัน มุสลิมยึดถืออัลกุรอานและฮาดีษอยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งบางครั้งเชื่อถือฮาดีษเหนือกว่าอัลกุรอาน ด้วยซ้ำไป

   เพื่อความเข้าใจและความยุติธรรมต่อมุสลิมตามเวลาที่ล่วงมาเป็นเวลาหลายร้อยปี การที่มีการรวบรวมฮาดีษและยึดถือปฏิบัติตามฮาดีษนั้น มุสลิมมีความต้องการที่จะปฏิบัติหลักการของศาสนาอิสลามให้ เหมือนและใกล้เคียงกับการปฏิบัติของท่านรอซูลมูฮัมมัดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้, ความตั้งใจเช่นนี้จะต้องยอมรับว่าเป็นความตั้งใจที่ดีในการที่ต้องการจะเป็นมุสลิมที่ดี   

    แต่อย่างไรก็ตาม,วัฒนธรรมประเพณี(ฮาดีษ) เช่นการบังคับให้มีการแต่งงานกับผู้เยาว์ที่ไร้เดียงสา ผู้ที่ไม่อาจจะเข้าใจในสิทธิของตนได้, การ ปาด้วยหิน/รอยัม/Stoning, การสังหารผู้หมดศรัทธาต่ออิสลาม เรื่องเหล่านี้ อยู่นอกเหนือจากคำสอนในอัลกุรอาน, มุสลิมควรที่จะพิจารณาดูว่าเมื่อใดเราควรจะแบ่งขอบเขตให้ชัดเจนว่า ฮาดีษใดที่ขัดกับคุณค่าทางคุณธรรมและจริยาธรรมที่มีสอนอยู่ในอัลกุรอาน, ฮาดีษเหล่านั้นควรขจัดให้หมดสิ้นไปจากสังคมมุสลิม

ก่อนที่มุสลิมจะตื่นเต้นและดีอกดีใจเกี่ยวกับการนำกฏหมายชารีอะฮ์เข้ามาสนับสนุนการลงโทษ มนุษย์อย่างขาดความยุติธรรม, และริดรอนสิทธิมนุษยชน ในสังคมมุสลิมนั้น, มุสลิมจะต้องถามตัวเองว่า “กฏหมายชาริอะฮ์” นั้นเป็นกฏหมายที่แท้จริงของศาสนาอิสลามหรือไม่?

وَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنِ افْتَرَىٰ عَلَى اللَّهِ كَذِبًا أَوْ كَذَّبَ بِالْحَقِّ لَمَّا جَاءَهُ ۚ أَلَيْسَ فِي جَهَنَّمَ مَثْوًى لِلْكَافِرِينَ   

And who is more unjust than one who forges a lie against Allah, or gives the lie to the truth when it has come to him? Will not in hell be the abode of the unbelievers? [29:68]

และผู้ใดเล่าจะอธรรมยิ่งกว่าผู้กุความเท็จให้แก่อัลลอฮ์ หรือปฏิเสธสัจธรรมเมื่อมันได้มายังเขา ที่พำนักในนรกญะหันนัม ไม่ใช่สำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาดอกหรือ? (อัลกุรอาน 29:68)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่