พรบ ทารุณกรรมสัตว์ เป็น พรบ ที่อุบาวก์ และไร้ความรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุดด

พรบ  ทารุณกรรมสัตว์ฉบับปัจจุบั ผลักดันโดยมูลนิธิและองค์กรด้านหมา และคนที่เป้นที่รุ้จักกัน  เช่น เก๋ ชลดา
โดยพยายามสร้างวาทกรรมผ่านความเมตตาเป้นหลัก  ผลักดันเป็นกระแสสังคม ในการล่ารายชื่อให้มากที่สุดเ
ในขณะที่คนมากมายคนหลงเชื่อ คิดว่าจะได้เห้นประเทศไทยจะปฏิรุประบบสัตว์ให้ทัดเทียบกับเมืองนอก  ..มีระบบควบคุมดูแลสัตว์  ตั้งแต่เจ้าของ  ในที่สาธารณะ  รวมไปถึงการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์

แต่แท้จริงแล้ว  กลับตรงกันข้าม  พรบนี้กลายเป้น  พรบ  ลักไก่  ที่ลอกเมืองนอกมาด้านเดียว แต่อีกด้านที่สำคัญที่สุด กลับไร้แม้แต่เงา
ทุกวันนี้เลยกลายเป้น พรบ   ที่ตรงข้ามกับเจตนารมย์ที่แท้จริง แตกต่างกับเมืองนอกอย่างชีดเจน  ..ทั้งยังสร้างความอุบาวก์ และไร้ความรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุดดดดด ...

เป้นช่องว่างให้คนที่เห้นแก่ตัวเอาสุนัขมาไว้ในที่สาธารณะมากขึ้น สร้างปัญหามากขึ้น ในขณะที่ผุ้เดือดร้อนไม่มีกฎหมายใดรองรับ  ส่วนคนในสังคมกลับต้องมาทะเลาะกันเอง ในขณะที่ปัญหาหมาจรจีดไม่ได้หมดไป  อีกทั้งภาครัฐยังไร้อำนาจ  และความสามารถในการสร้างสวัสดิภาพให้กับสังคม  ..สังคมเลยวุ่นวายไม่จบสิ้น เพียงเพราะความเห้นแก่ตัวและไร้สามัญสำนึกของคนกลุ่มหนึ่ง ที่โยนปัญหาส่วนตัวมาให้สังคมรองรับ

ความอ้ปลักษณ์  ของพรบ  นี  เริ่มตั้งแต่ใจความสำคัญที่กล่าวถึงด้านสวัสดิภาพการเลี้ยงสัตว์แบบลอยๆ  ไม่มีอะไรอะไรที่เชื่อมโยงไปถึงคุณภาพ  เลยแม้แต่ข้อเดียว
...ไม่มีการกล่าวถึงความผิด และบทลงโทษของเจ้าของสุนัขที่ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงตัวเองไปสร้างความเดือดร้อนแก่สังคม ไม่มีเลยข้อนี้
..ไม่มีกระบวนการควบคุมสัตว์ ใดๆทั้งสิ้น  เช่นไม่มีระบบลงทะเบียนเจ้าของ  ไม่มีระบบคัดแยกสัตว์จรจัดออกจากสังคม
...ในขณะที่กำหนดการกระทำของการทารุณกรรมไว้อย่างละเอียดยิบ

นอกจากนี้แล้ว ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ  เมื่อนำมาใช้จริง ผุ้มีส่วนเกี่ยวข้องทางกฎหมาย  กลับเอาบริบทการป้องกันตัวแบบคน มาตัดสินในบริบทแบบหมา ซึ่งมันใช้ไม่ได้...ส่งผลให้ยิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำ และความไม่ยุติธรรมต่อผุ้ได้รับผลกระทบ และสังคมอย่างทวีคูณไม่รุ้จักจบจักสิ้น

และนี่คือต้นตอของปัญหา  พรบ  ทารุณกรรมสัตว์ อยากให้ลองอ่านดู  และลองวิเคราะห์เปรียบเทีบกับข้อเท้จจริง  ทั้งจากเมืองนอกและเมืองไทย  
http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/law87-261257-4.pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่