วันนี้ไปได้ของดีมาเยอะ เลยขอจัดแถลงข่าวแจ้งสรรพคุณกันหน่อยครับ
ถ้าเอ่ยถึง "จามจุรี" หรือ "ก้ามปู" หรือ "ฉ่ำฉา" แน่นอนว่าเราๆ คิดถึงใบของเขาเป็นอย่างแรก เพราะทุกคนรู้อยู่แล้วว่าดีขนาดไหน (ใบมีไนโตรเจน 2-3% มากกว่าใบไม้ทั่วไปที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่วพอสมควร) แถมยังนิยมใช้ผสมดินปลูกต้นไม้ด้วย
ถ้าพูดถึงไม้ หลายคนก็พอจะได้ยินเรื่องเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ แม้จะไม่ใช่ไม้ที่ดีนักถ้าเทียบกับไม้อื่นๆ แต่ก็แข็งแรงพอใช้ นิยมใช้ในกลุ่มงานแกะสลัก
แต่ถ้าพูดถึง "ฝักก้ามปู" ละ?
หลายคนคงถึงกับคิ้วผูกโบว์เพราะไม่เคยรู้ว่าใช้ประโยชน์ได้
ถ้าถามกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื่องอย่าง วัว ควาย ม้า แพะ ก็จะพอตอบกันได้ว่าพวกตระกูลนี้จะชอบกินเท่านั้น
"ฝักก้ามปู" มีดีอย่างไร
1.ใช้เลี้ยงสัตว์
- ในฝักก้ามปูมีโปรตีนมากถึง 9.64% ในฝักไร้เมล็ด และมีในเมล็ดมากถึง 31.6% ถือว่ามากพอสมควร (เทียบกับหญ้าปล้องที่ 7.7% และหญ้าขนที่ 9.5%)
2.ใช้แทนกากน้ำตาล
- ใครเคยชิมเนื้อในฝักก้ามปูจะรู้ว่ามีรสหวานและมีกลิ่นหอม ซึ่งจะมีปริมาณน้ำตาลประมาณ 1/3 ของกากน้ำตาล สำหรับคนที่จะทำน้ำหมักชีวภาพแล้วหากากน้ำตาลได้ยากสามารถใช้ฝักก้ามปูทุบหรือบดหยาบในอัตรา 3/1 (ฝักก้ามปู 3 กก.สามารถแทนกากน้ำตาลได้ 1 กก.)
3.ใช้ทำปุ๋ย
- ฝักก้ามปูไร้เมล็ดจะมีไนโตรเจนประมาณ 1.54% และมีในเมล็ดประมาณ 5.05% หากนำฝักทั้งเมล็ดมาบดแล้วนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงใกล้เคียงน้ำหมักหอยเชอรี่
4.ฝักเป็นยาเย็น สามารถนำมากินเป็นยาบำรุงร่างกายได้ เมล็ดนำมาบดใช้รักษาโรคผิวหนัง และลดการอักเสบของผิวหนังได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ปล.แหล่งข้อมูลค่อนข้างน้อย ค่าไนโตรเจนจึงใช้การคำนวนจากสัดส่วนโปรตีนจากแหล่งข้อมูล ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนได้
ปล.2 ค่าไนโตรเจนที่ได้จากปุ๋ยอินทรีย์น้ำเทียบเคียงจากค่าโปรตีนของหอยเชอรี่แล้วจึงนำไปเทียบกับผลวิเคราะห์ของแหล่งข้อมูล ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนได้
ปล.3 ไม่พบข้อมูลค่า c/n raito จึงไม่มีการแนะนำในการนำไปผลิตปุ๋ยแบบแห้ง
ปล.4 ที่นำเสนอแม้ข้อมูลไม่ชัดเจนนัก มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากสิ่งใกล้ตัว และช่วยลดต้นทุนในการทำเกษตรกรรม
สุดท้ายนี้หากมีความผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
เครดิต : จันทร์สว่างฟาร์ม , กรมพัฒนาที่ดิน , puechkaset.com , foodnetworksolution.com , kanchanapisek.or.th , wikipedia.org
https://www.facebook.com/groups/836331036476777/887420944701119/?notif_t=like¬if_id=1460386626634523
รู้หรือไม่...ฝักก้ามปูก็มีดีไม่แพ้ใบ
ถ้าเอ่ยถึง "จามจุรี" หรือ "ก้ามปู" หรือ "ฉ่ำฉา" แน่นอนว่าเราๆ คิดถึงใบของเขาเป็นอย่างแรก เพราะทุกคนรู้อยู่แล้วว่าดีขนาดไหน (ใบมีไนโตรเจน 2-3% มากกว่าใบไม้ทั่วไปที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่วพอสมควร) แถมยังนิยมใช้ผสมดินปลูกต้นไม้ด้วย
ถ้าพูดถึงไม้ หลายคนก็พอจะได้ยินเรื่องเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ แม้จะไม่ใช่ไม้ที่ดีนักถ้าเทียบกับไม้อื่นๆ แต่ก็แข็งแรงพอใช้ นิยมใช้ในกลุ่มงานแกะสลัก
แต่ถ้าพูดถึง "ฝักก้ามปู" ละ?
หลายคนคงถึงกับคิ้วผูกโบว์เพราะไม่เคยรู้ว่าใช้ประโยชน์ได้
ถ้าถามกลุ่มคนเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื่องอย่าง วัว ควาย ม้า แพะ ก็จะพอตอบกันได้ว่าพวกตระกูลนี้จะชอบกินเท่านั้น
"ฝักก้ามปู" มีดีอย่างไร
1.ใช้เลี้ยงสัตว์
- ในฝักก้ามปูมีโปรตีนมากถึง 9.64% ในฝักไร้เมล็ด และมีในเมล็ดมากถึง 31.6% ถือว่ามากพอสมควร (เทียบกับหญ้าปล้องที่ 7.7% และหญ้าขนที่ 9.5%)
2.ใช้แทนกากน้ำตาล
- ใครเคยชิมเนื้อในฝักก้ามปูจะรู้ว่ามีรสหวานและมีกลิ่นหอม ซึ่งจะมีปริมาณน้ำตาลประมาณ 1/3 ของกากน้ำตาล สำหรับคนที่จะทำน้ำหมักชีวภาพแล้วหากากน้ำตาลได้ยากสามารถใช้ฝักก้ามปูทุบหรือบดหยาบในอัตรา 3/1 (ฝักก้ามปู 3 กก.สามารถแทนกากน้ำตาลได้ 1 กก.)
3.ใช้ทำปุ๋ย
- ฝักก้ามปูไร้เมล็ดจะมีไนโตรเจนประมาณ 1.54% และมีในเมล็ดประมาณ 5.05% หากนำฝักทั้งเมล็ดมาบดแล้วนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงใกล้เคียงน้ำหมักหอยเชอรี่
4.ฝักเป็นยาเย็น สามารถนำมากินเป็นยาบำรุงร่างกายได้ เมล็ดนำมาบดใช้รักษาโรคผิวหนัง และลดการอักเสบของผิวหนังได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้