การศึกษา กับ อิสลาม
เขียนโดย : ศ. ดร. มุฮัมหมัด อะฏียะฮฺ อัล อิบรอซี
การศึกษา คือ กระดูกสันหลังของศาสนา คือ แร่ธาตุอันสำคัญยิ่งของอารยธรรมอิสลาม คือ นวัตกรรมทางวิชาการที่มหัศจรรย์มากที่สุด และคือ เครื่องมือที่จะนำพาอิสลามทะยานไปข้างหน้าได้อย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ
การศึกษาที่ไม่อาจทำให้คนเรามีจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมทางศาสนาในชีวิตประจำวันและวิถีชีวิตนอกห้องเรียนของผู้เรียน ไม่มีอิทธิพลของคำสอนจากศาสนาเข้าไปกำกับพฤติกรรมของเขาทุกย่างก้าวแล้ว การศึกษานั้นก็เป็นสิ่งที่ไร้คุณค่าและไม่มีความหมายใดๆ ต่อมนุษย์อีกต่อไป และนี่คือ ภารกิจอันดับแรกของการศึกษาในอิสลามที่จะต้องปลูกฝังลักษณะดังกล่าวลงไปในสายเลือดแห่งการเป็นมนุษย์ของเยาวชนคนรุ่นใหม่
หากมองในเชิงวิเคราะห์ต่อความตกต่ำและความเปลี่ยนแปลงในด้านลบของมุสลิมในปัจจุบันโดยโยงใยกับการศึกษาในสถาบันต่างๆ ที่ได้เสนอตัวเองรับใช้ประชาชาติอิสลามทางวิชาการ เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าล้วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่อ่อนแอและหลงทาง อาการพิการทางปัญญาและอัมพาตทางความคิด ส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นการแตกแยกทางความเชื่อ มัวเมาในวัตถุ
ความเปลี่ยนแปลงและความยิ่งใหญ่ของอิสลามจะกลับคืนสู่ประชาชาตินี้อีกครั้งหนึ่ง ก็ด้วยการหวนกลับสู่เส้นทางเดินที่มีชื่อว่า “การศึกษาและการขัดเกลาจิตวิญญาณแบบอิสลาม” ที่แท้จริง ทั้งในแง่ของศาสตร์ทางปรัชญา วิธีการ และเป้าหมาย และนี่เป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา การอบรม การฝึกฝนชีวิตอิสลามให้แก่ลูกหลาน เยาวชนมุสลิม คุณครู ผู้ปกครอง บิดามารดา ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน จะต้องหันมาสนใจ และมาทุ่มเทสรรพกำลังทุกอย่าง เพื่อการปฏิรูปการศึกษามากกว่าที่จะคิดคำนวณเพียงค่าหัวรายปี แล้วปล่อยให้ทุกอย่างเป็นภาระของสังคม โดยหาใครรับผิดชอบไม่ได้เลย
นักการศึกษาและนักประวัติศาสตร์ มิอาจปฏิเสธได้เลยว่า การศึกษาของอิสลามนั้นเป็นที่มาของรากอารยธรรมของคนมุสลิม อิสลามให้ความสำคัญกับการศึกษาจนถึงกับถือว่า การศึกษานั้นเท่ากับการทำความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า อิสลามเน้นการศึกษาทุกประเภท ทั้งทางโลกและทางธรรม อิสลามกำหนดว่า ไม่ว่าคนรวยหรือคนจนย่อมมีโอกาสที่จะศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นใดก็ตาม และถือว่าเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ไม่ว่าชายหรือหญิงที่จะต้องการแสวงหาความรู้ แต่ระบบการศึกษาในปัจจุบันถูกจำกัดโดยการเมือง ประกาศนียบัตรหรือโดยการวัดผล
“ครูและศิษย์ คล้ายกับไม้และเงา เงาไม้จะตรงได้อย่างไรเล่า ถ้าไม้นั้นโค้งงอ”
เป้าหมายของการศึกษาแห่งอิสลาม
1. การอบรมทางศีลธรรม เป็นความจำเป็นของการศึกษาแห่งอิสลาม
นักปราชญ์มุสลิม ได้เห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์แล้วว่า การอบรมทางศีลธรรมเป็นความจำเป็นของการศึกษาแห่งอิสลาม และการขัดเกลาบุคลิกลักษณะ เป็นเป้าหมายที่ถูกต้องแท้จริง นี่มิได้หมายความว่า เรามิได้ให้ความสำคัญทางร่างกาย ทางด้านจิตใจ ทางด้านวิชาการ และทางด้านปฏิบัติ แต่เรากำลังพูดถึงการศึกษาทางด้านอื่นๆ ทุกด้าน เด็กต้องการความแข็งแกร่งทางด้านสติปัญญา และร่างกาย การเรียนรู้ การปฏิบัติ และการอบรมบุคลิกลักษณะ ความรู้สึก ตลอดจนกระทั่ง รสนิยม
นักการศึกษามุสลิมเห็นพ้องต้องกันว่า จุดประสงค์ของการศึกษามิใช่การยัดเยียดความรู้ให้แก่เด็ก แต่เป็นการขัดเกลาศีลธรรมของเด็ก ให้การศึกษาแก่จิตวิญญาณ เผยแพร่คุณธรรม สั่งสอนมารยาท และเตรียมให้เขามีชีวิตที่เต็มไปด้วยความจริงใจและความบริสุทธิ์ใจ
ดังนั้น เป้าหมายแรกและเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาแห่งอิสลาม คือ การขัดเกลาทางศีลธรรม และการอบรมทางจิตวิญญาณ แต่ละบทเรียนจะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรม และครูทุกคนจะต้องถือว่า จริยธรรมทางศาสนานั้นอยู่เหนือสิ่งอื่นใด เพราะจริยธรรมทางศาสนานั้นเป็นอุดมการณ์ เป็นจริยธรรมที่สมบูรณ์ และลักษณะอันสูงส่งเช่นนี้ก็เป็นพื้นฐานแห่งอิสลาม
อิมามเฆาะซาลี ถือว่าเป้าหมายของการศึกษานั้น คือ การเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้าโดยปราศจากความยะโสโอหัง เป้าหมายของนักศึกษาในการหาความรู้นั้นต้องมิใช่เพื่อการหาอำนาจเงินทอง ความรุ่งเรือง โอ้อวด หรือแข่งขันกับคนอื่น หรืออาจสรุปได้ว่า เป้าหมายของการศึกษาแห่งอิสลามนั้นอยู่ในคำว่า “คุณธรรม”
2. เพื่อการดำเนินชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมในเวลาเดียวกัน
อิสลามมิได้จำกัดให้ศึกษาเฉพาะทางโลกหรือทางธรรมทางใดทางหนึ่งเท่านั้น แต่ท่านนบี เรียกร้องให้มุสลิมทุกคนศึกษาทั้งทางโลก และทางธรรมควบคู่กันไป ท่านได้กล่าวว่า
“จงทำงานเพื่อชีวิตในโลกนี้ เหมือนดังว่าเจ้าจะไม่ตาย และจงทำดีเพื่อโลกหน้า เหมือนดังว่าท่านจะตายในวันพรุ่งนี้”
ท่านนบี ไม่ให้เรานึงถีงโลกใดโลกหนึ่งเพียงด้านเดียว แต่ให้เรานึกถึงสองโลกไปพร้อมกันโดยไม่ทำให้โลกใดบกพร่อง
3. เน้นในแง่ที่เป็นประโยชน์ของการศึกษา
แม้การศึกษาของอิสลามจะเน้นหนักทางด้านศีลธรรมและจิตใจก็ตาม แต่อิสลามก็มิได้ละเลยที่จะให้ความสนใจในแง่ประโยชน์ของการศึกษาในสถาบัน และการวางหลักสูตรต่างๆ วัตถุประสงค์ข้อนี้จะเห็นได้จากจดหมายของเคาะลีฟะฮฺอุมัร ที่มีไปยังผู้ครองนครว่า
“จงสอนบุตรของท่านให้ว่ายน้ำ และขี่ม้า และจงสอนให้รู้จักภาษิตและโคลงกลอน”
ท่านอุมัรสั่งว่า เด็กๆ ควรได้รับการสอนให้ว่ายน้ำเป็น ขี่ม้าเป็น เล่นกีฬาเป็น รู้จักวิชาทหาร การใช้ภาษาและการประพันธ์โคลงกลอนต่างๆ คนหัวรั้นเท่านั้นที่ปฏิเสธว่านักวิชาการมุสลิม ไม่มีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป ในศตวรรษที่ 14 เกี่ยวกับเรื่องนี้ มอนโร (Monroe) กล่าวไว้ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์การศึกษา” (The History of Education) ของเขาว่า
“มุสลิมได้มีบทบาทสำคัญทางด้านการแพทย์ การผ่าตัด เภสัชศาสตร์ ดาราศาสตร์ และปรัชญา
พวกเขายังได้ประดิษฐ์ลูกตุ้มนาฬิกา และสอนชาวยุโรปให้รู้จักเข็มทิศและดินปืน”
การศึกษาของอิสลามนั้น มิใช่เป็นการศึกษาเฉพาะศาสนา ศีลธรรมและจิตใจ แต่การศึกษาในแง่นี้มีส่วนสำคัญในการปฏิบัติ ขณะเดียวกันการศึกษาของอิสลามก็มิใช่เป็นการศึกษาทางด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว แต่การเป็นเจ้าของวัตถุหรือการแสวงหาปัจจัยยังชีพนั้น อิสลามถือว่า เป็นเพียงเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้เท่านั้น
อัลฟารอบี, อิบนุ สีนา (Avicenna) และอิควานุศ เศาะฟา มีความเห็นพ้องกันว่า ความสมบูรณ์ของมนุษย์จะบรรลุได้ก็โดยมนุษย์มีศาสนาและความรู้อย่างเท่าเทียมกัน
4. การศึกษาวิชาการเพื่อวิชาการ
นักศึกษามุสลิมหลายคน ศึกษาวิชาการเพื่อวิชาการ สำหรับคนพวกนี้ มันเป็นสิ่งให้ความสุขแก่ชีวิตของเขา และโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เป็นผู้รักการเรียนรู้ ดังนั้น นักปรัชญามุสลิมหลายคนจึงหมกมุ่นอยู่กับการศึกษาวิทยาการ วรรณกรรม และศิลปะ ด้วยความสมัครใจ เพื่อตอบสนองธรรมชาติแห่งการเป็นผู้รักการศึกษาหาความรู้ การศึกษาตามอุดมการณ์ก็ คือ ศึกษาวิชาการเพื่อวิชาการ วรรณกรรมเพื่อวรรณกรรม และศิลปะเพื่อศิลปะ เพราะว่าในวิชาการเหล่านั้น คือ ความสุขที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือน
ในหนังสือ “กัชฟุซ ซุนูน” (Kashf al-Zounun) อัลฮัจญ์ เคาะลีฟะฮฺ กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นความสุขที่สุด และเป็นสิ่งประเสริฐที่สุด ในบรรดาทุกสิ่ง และในที่อื่นเขียนไว้ว่า
“เป้าหมายของการศึกษานั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาเพื่อยังชีพในโลกนี้ แต่เพื่อการได้รับสัจธรรม และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บุคลิกทางศีลธรรม”
พูดอีกแง่หนึ่งก็คือ เพื่อการได้รับสัจธรรมทางวิชาการและบุคลิกอันสมบูรณ์
ใครก็ตามที่ได้เข้าสู่การพิจารณาถึงมรดกทางวิชาการ วรรณกรรม ศาสนา และศิลปกรรมของมุสลิมแล้ว จะพบกับสิ่งมีค่าอันอมตะอย่างที่ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อนในโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสมความรู้ทางวรรณกรรม และศิลปะเพื่อศิลปะอย่างแท้จริง แต่นี่มิใช่หมายความว่า พวกเขาละทิ้งการศึกษาเพื่อการเลี้ยงชีพโดยสิ้นเชิงแต่อย่างใด
5. การศึกษาสายอาชีพทางเทคนิค และอุตสาหกรรม เพื่อการเลี้ยงชีพ
การศึกษาของอิสลาม มิได้ละเลยที่จะเตรียมตัวบุคคลให้สามารถประกอบอาชีพเพื่อความอยู่รอดของชีวิตของเขา ดังจะเห็นได้จากคำพูดของอิบนุ สีนา (Avicenna) ที่กล่าวว่า “เมื่อเด็กจบการศึกษาอัลกุรอาน และภาษาศาสตร์เบื้องต้นแล้ว เขาควรจะได้เสาะแสวงหาอาชีพที่เขาปรารถนาจะมุ่งไปทางนั้น…” เขาควรจะฝึกอาชีพจนกว่าเขาจะมีงานทำโดยสุจริตตามแนวทางของศาสนา และศีลธรรมอันดี แม้อิสลามจะถือว่าศีลธรรมย่อมมาก่อน แต่มิใช่ว่าอิสลามละเลยที่จะให้เขาได้เตรียมตัวเพื่อการแสวงหาปัจจัยยังชีพด้วย
ที่มา : หนังสือการศึกษาในอิสลาม (Education in Islam)
แปลโดย : อาจารย์ บรรจง บินกาซัน
ว่าด้วยการศึกษาและความรู้กับมุมมองศาสนาอิสลาม
เขียนโดย : ศ. ดร. มุฮัมหมัด อะฏียะฮฺ อัล อิบรอซี
การศึกษา คือ กระดูกสันหลังของศาสนา คือ แร่ธาตุอันสำคัญยิ่งของอารยธรรมอิสลาม คือ นวัตกรรมทางวิชาการที่มหัศจรรย์มากที่สุด และคือ เครื่องมือที่จะนำพาอิสลามทะยานไปข้างหน้าได้อย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ
การศึกษาที่ไม่อาจทำให้คนเรามีจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมทางศาสนาในชีวิตประจำวันและวิถีชีวิตนอกห้องเรียนของผู้เรียน ไม่มีอิทธิพลของคำสอนจากศาสนาเข้าไปกำกับพฤติกรรมของเขาทุกย่างก้าวแล้ว การศึกษานั้นก็เป็นสิ่งที่ไร้คุณค่าและไม่มีความหมายใดๆ ต่อมนุษย์อีกต่อไป และนี่คือ ภารกิจอันดับแรกของการศึกษาในอิสลามที่จะต้องปลูกฝังลักษณะดังกล่าวลงไปในสายเลือดแห่งการเป็นมนุษย์ของเยาวชนคนรุ่นใหม่
หากมองในเชิงวิเคราะห์ต่อความตกต่ำและความเปลี่ยนแปลงในด้านลบของมุสลิมในปัจจุบันโดยโยงใยกับการศึกษาในสถาบันต่างๆ ที่ได้เสนอตัวเองรับใช้ประชาชาติอิสลามทางวิชาการ เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าล้วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่อ่อนแอและหลงทาง อาการพิการทางปัญญาและอัมพาตทางความคิด ส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นการแตกแยกทางความเชื่อ มัวเมาในวัตถุ
ความเปลี่ยนแปลงและความยิ่งใหญ่ของอิสลามจะกลับคืนสู่ประชาชาตินี้อีกครั้งหนึ่ง ก็ด้วยการหวนกลับสู่เส้นทางเดินที่มีชื่อว่า “การศึกษาและการขัดเกลาจิตวิญญาณแบบอิสลาม” ที่แท้จริง ทั้งในแง่ของศาสตร์ทางปรัชญา วิธีการ และเป้าหมาย และนี่เป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา การอบรม การฝึกฝนชีวิตอิสลามให้แก่ลูกหลาน เยาวชนมุสลิม คุณครู ผู้ปกครอง บิดามารดา ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน จะต้องหันมาสนใจ และมาทุ่มเทสรรพกำลังทุกอย่าง เพื่อการปฏิรูปการศึกษามากกว่าที่จะคิดคำนวณเพียงค่าหัวรายปี แล้วปล่อยให้ทุกอย่างเป็นภาระของสังคม โดยหาใครรับผิดชอบไม่ได้เลย
นักการศึกษาและนักประวัติศาสตร์ มิอาจปฏิเสธได้เลยว่า การศึกษาของอิสลามนั้นเป็นที่มาของรากอารยธรรมของคนมุสลิม อิสลามให้ความสำคัญกับการศึกษาจนถึงกับถือว่า การศึกษานั้นเท่ากับการทำความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า อิสลามเน้นการศึกษาทุกประเภท ทั้งทางโลกและทางธรรม อิสลามกำหนดว่า ไม่ว่าคนรวยหรือคนจนย่อมมีโอกาสที่จะศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นใดก็ตาม และถือว่าเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ไม่ว่าชายหรือหญิงที่จะต้องการแสวงหาความรู้ แต่ระบบการศึกษาในปัจจุบันถูกจำกัดโดยการเมือง ประกาศนียบัตรหรือโดยการวัดผล
“ครูและศิษย์ คล้ายกับไม้และเงา เงาไม้จะตรงได้อย่างไรเล่า ถ้าไม้นั้นโค้งงอ”
เป้าหมายของการศึกษาแห่งอิสลาม
1. การอบรมทางศีลธรรม เป็นความจำเป็นของการศึกษาแห่งอิสลาม
นักปราชญ์มุสลิม ได้เห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์แล้วว่า การอบรมทางศีลธรรมเป็นความจำเป็นของการศึกษาแห่งอิสลาม และการขัดเกลาบุคลิกลักษณะ เป็นเป้าหมายที่ถูกต้องแท้จริง นี่มิได้หมายความว่า เรามิได้ให้ความสำคัญทางร่างกาย ทางด้านจิตใจ ทางด้านวิชาการ และทางด้านปฏิบัติ แต่เรากำลังพูดถึงการศึกษาทางด้านอื่นๆ ทุกด้าน เด็กต้องการความแข็งแกร่งทางด้านสติปัญญา และร่างกาย การเรียนรู้ การปฏิบัติ และการอบรมบุคลิกลักษณะ ความรู้สึก ตลอดจนกระทั่ง รสนิยม
นักการศึกษามุสลิมเห็นพ้องต้องกันว่า จุดประสงค์ของการศึกษามิใช่การยัดเยียดความรู้ให้แก่เด็ก แต่เป็นการขัดเกลาศีลธรรมของเด็ก ให้การศึกษาแก่จิตวิญญาณ เผยแพร่คุณธรรม สั่งสอนมารยาท และเตรียมให้เขามีชีวิตที่เต็มไปด้วยความจริงใจและความบริสุทธิ์ใจ
ดังนั้น เป้าหมายแรกและเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาแห่งอิสลาม คือ การขัดเกลาทางศีลธรรม และการอบรมทางจิตวิญญาณ แต่ละบทเรียนจะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรม และครูทุกคนจะต้องถือว่า จริยธรรมทางศาสนานั้นอยู่เหนือสิ่งอื่นใด เพราะจริยธรรมทางศาสนานั้นเป็นอุดมการณ์ เป็นจริยธรรมที่สมบูรณ์ และลักษณะอันสูงส่งเช่นนี้ก็เป็นพื้นฐานแห่งอิสลาม
อิมามเฆาะซาลี ถือว่าเป้าหมายของการศึกษานั้น คือ การเข้าใกล้พระผู้เป็นเจ้าโดยปราศจากความยะโสโอหัง เป้าหมายของนักศึกษาในการหาความรู้นั้นต้องมิใช่เพื่อการหาอำนาจเงินทอง ความรุ่งเรือง โอ้อวด หรือแข่งขันกับคนอื่น หรืออาจสรุปได้ว่า เป้าหมายของการศึกษาแห่งอิสลามนั้นอยู่ในคำว่า “คุณธรรม”
2. เพื่อการดำเนินชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมในเวลาเดียวกัน
อิสลามมิได้จำกัดให้ศึกษาเฉพาะทางโลกหรือทางธรรมทางใดทางหนึ่งเท่านั้น แต่ท่านนบี เรียกร้องให้มุสลิมทุกคนศึกษาทั้งทางโลก และทางธรรมควบคู่กันไป ท่านได้กล่าวว่า
“จงทำงานเพื่อชีวิตในโลกนี้ เหมือนดังว่าเจ้าจะไม่ตาย และจงทำดีเพื่อโลกหน้า เหมือนดังว่าท่านจะตายในวันพรุ่งนี้”
ท่านนบี ไม่ให้เรานึงถีงโลกใดโลกหนึ่งเพียงด้านเดียว แต่ให้เรานึกถึงสองโลกไปพร้อมกันโดยไม่ทำให้โลกใดบกพร่อง
3. เน้นในแง่ที่เป็นประโยชน์ของการศึกษา
แม้การศึกษาของอิสลามจะเน้นหนักทางด้านศีลธรรมและจิตใจก็ตาม แต่อิสลามก็มิได้ละเลยที่จะให้ความสนใจในแง่ประโยชน์ของการศึกษาในสถาบัน และการวางหลักสูตรต่างๆ วัตถุประสงค์ข้อนี้จะเห็นได้จากจดหมายของเคาะลีฟะฮฺอุมัร ที่มีไปยังผู้ครองนครว่า
“จงสอนบุตรของท่านให้ว่ายน้ำ และขี่ม้า และจงสอนให้รู้จักภาษิตและโคลงกลอน”
ท่านอุมัรสั่งว่า เด็กๆ ควรได้รับการสอนให้ว่ายน้ำเป็น ขี่ม้าเป็น เล่นกีฬาเป็น รู้จักวิชาทหาร การใช้ภาษาและการประพันธ์โคลงกลอนต่างๆ คนหัวรั้นเท่านั้นที่ปฏิเสธว่านักวิชาการมุสลิม ไม่มีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป ในศตวรรษที่ 14 เกี่ยวกับเรื่องนี้ มอนโร (Monroe) กล่าวไว้ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์การศึกษา” (The History of Education) ของเขาว่า
“มุสลิมได้มีบทบาทสำคัญทางด้านการแพทย์ การผ่าตัด เภสัชศาสตร์ ดาราศาสตร์ และปรัชญา
พวกเขายังได้ประดิษฐ์ลูกตุ้มนาฬิกา และสอนชาวยุโรปให้รู้จักเข็มทิศและดินปืน”
การศึกษาของอิสลามนั้น มิใช่เป็นการศึกษาเฉพาะศาสนา ศีลธรรมและจิตใจ แต่การศึกษาในแง่นี้มีส่วนสำคัญในการปฏิบัติ ขณะเดียวกันการศึกษาของอิสลามก็มิใช่เป็นการศึกษาทางด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว แต่การเป็นเจ้าของวัตถุหรือการแสวงหาปัจจัยยังชีพนั้น อิสลามถือว่า เป็นเพียงเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้เท่านั้น
อัลฟารอบี, อิบนุ สีนา (Avicenna) และอิควานุศ เศาะฟา มีความเห็นพ้องกันว่า ความสมบูรณ์ของมนุษย์จะบรรลุได้ก็โดยมนุษย์มีศาสนาและความรู้อย่างเท่าเทียมกัน
4. การศึกษาวิชาการเพื่อวิชาการ
นักศึกษามุสลิมหลายคน ศึกษาวิชาการเพื่อวิชาการ สำหรับคนพวกนี้ มันเป็นสิ่งให้ความสุขแก่ชีวิตของเขา และโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เป็นผู้รักการเรียนรู้ ดังนั้น นักปรัชญามุสลิมหลายคนจึงหมกมุ่นอยู่กับการศึกษาวิทยาการ วรรณกรรม และศิลปะ ด้วยความสมัครใจ เพื่อตอบสนองธรรมชาติแห่งการเป็นผู้รักการศึกษาหาความรู้ การศึกษาตามอุดมการณ์ก็ คือ ศึกษาวิชาการเพื่อวิชาการ วรรณกรรมเพื่อวรรณกรรม และศิลปะเพื่อศิลปะ เพราะว่าในวิชาการเหล่านั้น คือ ความสุขที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือน
ในหนังสือ “กัชฟุซ ซุนูน” (Kashf al-Zounun) อัลฮัจญ์ เคาะลีฟะฮฺ กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นความสุขที่สุด และเป็นสิ่งประเสริฐที่สุด ในบรรดาทุกสิ่ง และในที่อื่นเขียนไว้ว่า
“เป้าหมายของการศึกษานั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาเพื่อยังชีพในโลกนี้ แต่เพื่อการได้รับสัจธรรม และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บุคลิกทางศีลธรรม”
พูดอีกแง่หนึ่งก็คือ เพื่อการได้รับสัจธรรมทางวิชาการและบุคลิกอันสมบูรณ์
ใครก็ตามที่ได้เข้าสู่การพิจารณาถึงมรดกทางวิชาการ วรรณกรรม ศาสนา และศิลปกรรมของมุสลิมแล้ว จะพบกับสิ่งมีค่าอันอมตะอย่างที่ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อนในโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสมความรู้ทางวรรณกรรม และศิลปะเพื่อศิลปะอย่างแท้จริง แต่นี่มิใช่หมายความว่า พวกเขาละทิ้งการศึกษาเพื่อการเลี้ยงชีพโดยสิ้นเชิงแต่อย่างใด
5. การศึกษาสายอาชีพทางเทคนิค และอุตสาหกรรม เพื่อการเลี้ยงชีพ
การศึกษาของอิสลาม มิได้ละเลยที่จะเตรียมตัวบุคคลให้สามารถประกอบอาชีพเพื่อความอยู่รอดของชีวิตของเขา ดังจะเห็นได้จากคำพูดของอิบนุ สีนา (Avicenna) ที่กล่าวว่า “เมื่อเด็กจบการศึกษาอัลกุรอาน และภาษาศาสตร์เบื้องต้นแล้ว เขาควรจะได้เสาะแสวงหาอาชีพที่เขาปรารถนาจะมุ่งไปทางนั้น…” เขาควรจะฝึกอาชีพจนกว่าเขาจะมีงานทำโดยสุจริตตามแนวทางของศาสนา และศีลธรรมอันดี แม้อิสลามจะถือว่าศีลธรรมย่อมมาก่อน แต่มิใช่ว่าอิสลามละเลยที่จะให้เขาได้เตรียมตัวเพื่อการแสวงหาปัจจัยยังชีพด้วย
ที่มา : หนังสือการศึกษาในอิสลาม (Education in Islam)
แปลโดย : อาจารย์ บรรจง บินกาซัน