สงกรานต์ 2559 : ถ้าไม่อยากให้ความสนุกที่สืบทอดมาหลายสิบปีหายไป ก็ขอให้ออกมาเล่นกันเยอะๆ ครับ

[เรื่องเก่าเล่าใหม่] สงกรานต์ “สาดน้ำ-ประแป้ง-เต้นแร้งเต้นกา-เฮฮาบนรถกระบะ” ของใหม่แบบมั่วๆ หรือเป็นรากเหง้าของเรามานานแล้ว?
.
.
เคยเขียนถึงเรื่องนี้มาเมื่อหลายปีก่อน ตามนี้ http://ppantip.com/topic/31912456
.
แต่ก็เข้าใจได้ว่าตัวหนังสือมันเยอะ ภาพก็ไม่มี เห็นแล้วตาลายน่าเบื่อ ( ผมเขียนเองอ่านเองยังเบื่อเลย - -! ) สมัยนี้มันต้องตัวหนังสือแค่พอประมาณ แล้วเน้นภาพเยอะๆ ดีกว่า อ่านแล้วสบายตา เลยขอรวบรวมอีกรอบแบบพยายามจะไม่ให้ตัวหนังสือติดๆ กันยาวๆ ก็แล้วกัน
.
.
---------------------------------------
.
1.การละเล่นสาดน้ำแบบสุดเหวี่ยง ไม่มีอยู่ในประเพณีสงกรานต์
.
- ความจริงคือการเล่นสาดน้ำแบบสุดเหวี่ยง อยู่กับเรามานานแล้ว เพียงแต่บางยุคบางสมัยผู้ปกครองเขาไม่ชอบ เลยสั่งแบน แต่เผอิญว่าสมัยก่อนถึงแบนก็แบนได้แค่ในเมืองหลวง แต่จังหวัดอื่นเขาก็เล่นกันตามปกติ เมื่อผู้ปกครองเปลี่ยน ทุกอย่างก็กลับคืนสู่สภาพเดิม
.
เรื่องเล่าจากคุณตาแก่ๆ คนหนึ่งที่ชื่อ “นิธิ เอียวศรีวงศ์” ถึงวันสงกรานต์ในวัยเด็กของเขา
.
“40 ปีที่แล้ว เมื่อผมเพิ่งมาอยู่เชียงใหม่ ในความรู้สึกของผม เชียงใหม่กลายเป็นบ้าไปทั้งเมืองในยามสงกรานต์ เพราะเขาเริ่มสาดน้ำกันก่อนสงกรานต์หนึ่งสัปดาห์ และต่อไปจนถึงหลังสงกรานต์อีกหนึ่งสัปดาห์ โดยเฉพาะในเขตรอบนอก จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะขังตัวเองไว้ในบ้านนานขนาดนั้น”
.
ความรู้สึกรังเกียจสงกรานต์ของผมนั้นมาจากรัฐบาลครับ เพราะผมเติบโตมาภายใต้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งรังเกียจการสาดน้ำ ท่านจึงสั่งห้ามสาดน้ำในระหว่างสงกรานต์ แต่รัฐบาลสมัยนั้นก็คล้ายรัฐบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา คือปกครองเฉพาะกรุงเทพฯ กับหัวเมืองเท่านั้น คำสั่งจึงมีผลเฉพาะในกรุงเทพฯ กับหัวเมืองใกล้เคียง
.
“เมื่อตอนเป็นเด็กในกรุงเทพฯ นั้น ผมยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ไทย ดูเหมือนท่านจะจงใจให้เราลืมไปเสีย เพราะท่านเพิ่งเปลี่ยนมาขึ้นปีใหม่ในเดือนมกราคมเหมือนฝรั่ง สงกรานต์ในประสบการณ์ของผมจึงจืดสนิท อย่างมากก็มีคนนำเอาผ้าและน้ำอบไทยมารดน้ำพ่อแม่ที่บ้าน น้ำอบไทยนั้นทั้งคนให้และคนรับต่างก็รู้อยู่แก่ใจว่า วางมาบนผ้าเพื่อจะได้เอาไปทิ้ง เพราะสมัยนั้นไม่เห็นมีใครใช้น้ำอบไทยในกรุงเทพฯ นอกจากศพ และในความรู้สึกของผม สงกรานต์ก็คือน้ำอบไทยนี่แหละ”
.
“และนี่คือเหตุผลที่กรุงเทพฯ จะเงียบเหงาในระหว่างสงกรานต์ นอกจากที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์แล้ว ไม่มีการเล่นสงกรานต์ในกรุงเทพฯ นอกจากเล่นกันเองตามบ้านระหว่างพี่น้องญาติสนิท นอกจากนี้ สลัมหรือชุมชนของชาวชนบทก็ไม่มีในกรุงเทพฯ เพราะความอุบาทว์ของแผนพัฒนายังไม่เริ่มขึ้น จึงไม่ต้องกวาดต้อนแรงงานเข้ามาใช้ ถึงคนถีบสามล้อจะเป็นชาวอีสาน แต่ก็เป็นแรงงานตามฤดูกาลเป็นส่วนใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯ สมัยนั้น หากไม่เกิดในกรุงเทพฯ ก็เกิดในเมืองจีน”
.
“และนั่นคือเหตุผลที่เด็กกรุงเทพฯ อย่างผมจะรู้สึกว่าคนเชียงใหม่เป็นบ้าไปแล้วทุกสงกรานต์ แต่เด็กกรุงเทพฯ คนอื่นโดยเฉพาะที่ไม่ได้อยู่เชียงใหม่ไม่ได้คิดอย่างผม เขามาเที่ยวและชอบใจกับ "ประเพณี" สาดน้ำอย่างไม่เลือกหน้าหรือเวลาเช่นนี้ จึงชวนเพื่อนฝูงมาเที่ยวในปีต่อมา ในที่สุดสงกรานต์เชียงใหม่ก็กลายเป็นเทศกาลท่องเที่ยวใหญ่ที่สุดของเมือง ทำเงินให้แก่ผู้คนได้เป็นร้อยเป็นพันล้านบาทอย่างในทุกวันนี้ ดึงดูดคนสิบสองภาษาเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นไม่รู้หยุด”
.

.
ที่มา : http://v1.midnightuniv.org/midnight2545/document95054.html
.
ภาพประกอบ
.
การเล่นสาดน้ำในวันสงกรานต์เชียงใหม่ ( คาดว่าภาพเหล่านี้อายุไม่ต่ำกว่า 50 ปี )
.

.

.
ที่มา : http://board.postjung.com/864764.html
.
---------------------------------------
.
2.สงกรานต์เป็นประเพณีสุภาพสำรวม
.
- ความจริงแล้วเทศกาลสงกรานต์ไม่ได้สวยงามขนาดนั้น ตรงกันข้ามมันเป็นเรื่องของการให้ผู้คนได้ระบายความเครียด ปลดปล่อยความอึดอัดจากสถานภาพทางสังคมที่เหลื่อมล้ำต่ำสูง ทั้งบุคคลกับบุคคล และบุคคลกับรัฐ
.
เรื่องเล่าจากคุณตาแก่ๆ อีกคนหนึ่งที่ชื่อ “สุจิตต์ วงศ์เทศ” ถึงวันสงกรานต์ในแบบราษฎร ( หรือที่คนสมัยนี้ใช้ศัพท์แบบฮิปๆ ว่า “แบบบ้านๆ” ) ที่ไม่ได้สวยงามเรียบร้อยแบบที่ภาครัฐพยายามจะบอก
.
“สงกรานต์เป็นช่วงเวลาการปลดปล่อยเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดที่คนเรามีทั้งปีที่ผ่านมา เช่น ตึงเครียดจากการทำมาหากิน,จากการรักษาจารีตประเพณี, จากการเมืองเศรษฐกิจเหลื่อมล้ำอย่างสูง ฯลฯ”
.
เมื่อถึงช่วงเวลาสงกรานต์จะมีประเพณีพิธีกรรมการละเล่นสนุกสนานละเมิดข้อห้ามต่างๆได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่ต้องมีขอบเขตไม่ทำร้ายบุคคลอื่นให้บาดเจ็บหรือล้มตาย
.
“มีเอกสารบันทึกว่า สงกรานต์ในอดีตอนุญาตให้พระสงฆ์ในหมู่บ้านร่วมเล่นแข่งขันกับชาวบ้านได้ เช่น พระสงฆ์แข่งเรือ, แข่งเกวียน, แข่งจุดบั้งไฟ ฯลฯ”
.
“ขณะเดียวกันผู้หญิงชาวบ้านที่มีข้อห้ามรุนแรงว่าถูกเนื้อต้องตัวพระสงฆ์ไม่ได้ในยามปกติ แต่ในช่วงสงกรานต์บางชุมชนอนุญาตให้ผู้หญิงทำได้ เช่น ในชุมชนหมู่บ้านสมัยก่อน ผู้หญิงร่วมกันอุ้มพระสงฆ์ที่นิมนต์มาฉันอาหารโยนลงไปในแม่น้ำลำคลองหนองบึงได้ และอาจละเมิดกฎเกณฑ์ได้มากกว่านี้ด้วย แต่ไม่ถึงขั้นละเมิดผิดทางเพศ”
.
“เอกสารเก่าของรัฐล้านนาโบราณ มีตำนานบอกเล่าว่า ในวันสงกรานต์ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในหุบเขาจะทำพิธีกรรมอย่างหนึ่ง คือพากันสาดน้ำไล่พระเจ้าแผ่นดินของตนที่ประทับในท้องพระโรง พระเจ้าแผ่นดินต้องวิ่งหนี แต่ยามปกติทำอย่างนั้นต้องถูกฆ่า”
.

.
ที่มา : http://www.sujitwongthes.com/2010/04/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B9%80/
.
ผู้หญิง ผู้ชาย
.
การเล่นกันเองระหว่างหนุ่มสาวผู้เฒ่าผู้แก่ก็ถึงขนาดฉุดกระชากลากถูกันจนเสื้อผ้าขาดกะรุ่งกะริ่งไปทั้งหมด พวกผู้หญิงดูจะจงใจแก้แค้นผู้ชาย หรือผู้หญิงมักจะเล่นสนุกกับผู้ชายมากกว่าจะเล่นกับผู้หญิงด้วยกันเอง
.
บางทีพวกผู้หญิงก็รวมกลุ่มกันจับผู้ชายมาเล่นแผลงๆ ด้วยการมัดไว้กับต้นเสาเพื่อเรียกค่าไถ่เป็นเหล้าหรือของกินต่างๆ สุดแต่จะหาซื้อได้ หากผู้ชายที่ถูกจับมัดเรียกค่าไถ่ไม่ยอมปฏิบัติตามสิ่งที่ผู้หญิงต้องการก็อาจจะถูกทำประจาน เป็นต้นว่าถูกจับถอดเสื้อกางเกงล่อนจ้อนเปลือยกาย และอาจจะถูกทำพิเรนทร์ๆ กับของลับฝ่ายชาย บางรายถึงขนาดเอาใบสับปะรดซึ่งมีความหยาบจนสากมาแกล้งถูที่ของลับผู้ชายให้เจ็บปวด
.
ขบถจารีตประเพณี
.
จากการแสดงออกในเทศกาลสงกรานต์ จะเห็นว่าเป็นพิธีกรรมที่ต้องการขบถต่อจารีตประเพณีดั้งเดิมของสังคม โดยได้รับการอนุมัติหรือได้รับการยอมรับจากสังคมแล้ว
.
จะเก็บความโดยสรุปจากบทความเรื่องการละเล่นและพิธีกรรมในสังคมไทย ของ ปรานี วงษ์เทศ (จากหนังสือ วัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ จัดพิมพ์โดยโครงการไทยศึกษา และโครงการเผยแพร่งานวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2528 หน้า 225-324) ดังต่อไปนี้
.
อาการขบถมีลักษณะต่อต้านความสัมพันธ์ทางสังคม ที่เน้นความแตกต่างทางเพศ เน้นระบบอาวุโส และเน้นการเคารพนับถือพระสงฆ์
.
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ในชีวิตประจำวันแล้วสังคมจะเคร่งครัดมากต่อการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ เห็นได้จากการอบรมสั่งสอนว่าเป็นประเพณีต้องปฏิบัติตาม
.
ความกดดันที่สังคมไทยมีต่อผู้หญิง จะได้รับการผ่อนคลายและแสดงออกในวันสงกรานต์ ดูจากผู้หญิงกินเหล้า เล่นการพนัน สนุกทั้งวันทั้งคืน ไม่สนใจงานบ้าน แสดงกิริยาก้าวร้าวข่มขู่ผู้ชาย การยอมให้ชายอื่นถูกเนื้อต้องตัวได้
.
เพราะในยามปกติ สถานภาพของผู้หญิงในสังคมไทยต่ำกว่าผู้ชาย ต้องทำงานหนัก รับภาระในครอบครัว ในขณะที่ผู้ชายมักจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งปีหรือมากกว่าถูกเกณฑ์แรงงานรับใช้ราชการ ผู้หญิงไทยจึงมีภาวะค่อนข้างกดดันที่ต้องรับภาระหลังการแต่งงาน ทั้งในการอบรมเลี้ยงดูลูก ทำมาหากิน
.
นอกจากนี้ความสัมพันธ์ทางสังคมอีก 2 ด้านก็ได้รับการปลดปล่อย ซึ่งแสดงถึงข้อขัดแย้งลึกๆ ในสังคมที่สมาชิกในสังคมเก็บกดไว้และแสดงออกในวันสงกรานต์ เช่น
.
เด็กล้อเล่นกับผู้ใหญ่ได้ ยั่วเย้าได้ โดยไม่ถือว่าเสียมรรยาทหรือเป็นการล่วงละเมิด
.
สถาบันสงฆ์ซึ่งเป็นสถาบันที่ชาวบ้านให้ความเคารพยกย่องและพึงปฏิบัติต่อพระสงฆ์ด้วยความเคารพ ก็ถูกต่อต้านด้วยพฤติกรรมที่ไม่คำนึงถึงข้อห้ามหรือความเหมาะสมที่ผู้หญิงพึงสำรวมต่อสงฆ์ ทั้งพระสงฆ์เองตามประเพณีความเชื่อก็ต้องประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และมีข้อห้ามมากมายที่ไม่สมควรวิสาสะกับผู้หญิง
.
กฎเกณฑ์ข้อห้ามต่างๆ ได้รับการอะลุ้มอล่วยให้ละเมิดได้ในวันสงกรานต์ ถือเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดเพื่อให้กลับไปอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดต่อไปได้
.

.

.
ที่มา : http://www.sujitwongthes.com/2016/03/weekly18032559/
.
ภาพประกอบ
.
พระสงฆ์และสามเณร : ในวันปกติต้องสำรวม ในแต่วันสงกรานต์ก็ออกมาเล่นสาดน้ำอย่างสนุกสนาน
.

.
ที่มา : http://www.เด็ก-ดี.com/board/view/2129604/ ( เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษเอานะครับ )
.
ผู้ปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐ : ในวันปกติประชาชนต้องเคารพยำเกรง แต่ในวันสงกรานต์ต้องยอมให้ประชาชนล้อเล่นได้อย่างไม่ถือสาหาความ
.

.
ที่มา : http://thaicop.บล็อกสป็อต.com/2013/04/tt.html ( เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษเอานะครับ )
.

.
ที่มา : http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1334322150&grpid=02&catid=01
.

.
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1239797109  ( ภาพที่ 24 )
.
ผู้หญิง : จากอดีตถึงปัจจุบัน วันปกติต้องสุภาพสมเป็นกุลสตรี แต่สงกรานต์ทั้งทีขอจัดหนักจัดเต็มเสียหน่อย
.
  
.
ที่มา : http://library.cmu.ac.th/ntic/picturelanna/detail_picturelanna.php?picture_id=1530
.

.
ที่มา : http://toutiao.com/a4211662431/
.
( มีต่อ )
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่