7 วีธี หาตลาดพืชเกษตรด้วยตัวเอง
===========================
ในบทความนี้ผมจะพูดถึงวิธีการหาตลาดพืชเกษตรสำหรับมือใหม่นะครับ อาจเป็นพืชผัก หรืออะไรก็ได้ เพื่อต่อยอดสู่มืออาชีพครับ การทำเราทำอะไรซักอย่าง สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือการมีตลาดรองรับ เราอาจปลูกพืชผลเกษตรเพื่อรับประทานในครอบครัวก่อน เมื่อชำนาญแล้วก็ค่อยหาช่องทางตลาดครับ ซึ่งผมสรุปมาแล้ว 7 ข้อ จากประสบการณ์ที่ไปเจอมาจริงครับ คุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลา ว่าแล้วเริ่มกันเลยจากข้อแรกครับ สำหรับการหาตลาดด้วยตัวเอง
1.ออกสำรวจตลาด
คุณอาจจะออกเดินสำรวจตลาดสดแถวบ้านก่อน หรือตลาดในแต่ละท้องที่ ซึ่งมีความต้องการที่ต่างกัน เช่น ในภาคอีสานกับภาคใต้ จะมีความต้องการผักที่ต่างกัน หรือในชุมชนที่มีผู้คนกินเจ จะมีความต้องการผักค่อนข้างสูง สำรวจดูว่าผักอะไรขาด หรือยังมีราคาแพง กลับมาแล้วลองศึกษาวิธีปลูก และลองทำเลยครับ คิดได้ให้ทำเลย ผมถือคตินี้มาเสมอ อย่ารอให้พร้อม เพราะมันจะไม่มีโอกาสทำเลย ถ้าคุณจะเอาจริงกับตลาดนี้ หรืออาจไปดูที่ห้างใหญ่ ๆ ก็ได้ เช่น โลตัส บิ๊กซี แม็กโคร ท็อปซุปเปอร์มาเก็ต ฯ ดูให้ครบครับ ไม่ว่าจะเป็นตัวผลิตภัณฑ์พืชผักต่าง ๆ แม้กระทั้งแพ็กเก็จ บางครั้งที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อก็เพราะแพ็กเก็จนี้แหละครับ แล้วเราค่อยมาปรับให้เข้ากับของเรา ดูทั้งทีเอาให้ครบเลย
2.เตรียมผลิตภัณฑ์
ไม่ว่าคุณกำลังปลูกอะไรอยู่ก็ตาม แล้วอยากขายหรือหาตลาดให้ได้ สิ่งที่คุณต้องทำคือ ฝึกฝน ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก อาจใช้เวลา 1-2 เดือน หรืออาจมากกว่านั้น ลองปลูกให้คนในครอบครัวทาน ศึกษาให้ครบรอบด้านเกี่ยวกับสิ่งที่ปลูก เช่นปลูกคะน้า ก็ต้องศึกษาว่าธรรมชาติของคะน้า ชอบน้ำ ดินและอากาศแบบไหน ศัตรูพืชและแมลงมีอะไรบ้าง ถ้าต้องปลูกส่งขายวันละ 10-20 กก. จะวางแผนอย่างไร นี่พูดถึงแค่ผักชนิดเดียวนะครับ คุณอาจปลูก 2-3 อย่างขึ้นไป เพื่อเป็นเกษตรผสมผสาน เผื่อราคาตัวหนึ่งไม่ดี ก็ยังมีตัวหนึ่งพยุงไว้อยู่ ศึกษา เรียนรู้ ลงมือทำ แก้ไขไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลงตัว ทำไปอยู่อย่างนี้ครับ และสิ่งที่คุณทำเหล่านี้จะทำให้คุณเป็นที่หนึ่งในอาชีพที่คุณทำ
3.ตั้งชื่อให้ดี
อาจจะตั้งชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่เราทำครับ ลงท้ายหรือขึ้นต้นด้วย ฟาร์ม ไร่ แปลง อะไรก็แล้วแต่คุณ ที่เป็นแบรนด์ของคุณเอง เป็นชื่อที่สื่อความหมาย โดยให้สอดคล้องกัน เพื่อให้คนจำได้ครับ
4.เลือกเป้าหมาย
ฟังดูเหมือนจะไปลองสังหารเลยครับ ฮ่า ๆๆ หลังจากที่เราสำรวจตลาดแล้ว ก็เลือกเลยครับว่าเราจะนำสินค้าไปเสนอแก่ใคร อาจเป็นแผงผักในตลาดสด ซึ่งถ้าเป็นแผงเล็กเขาอาจจะปลูกเองขายเอง แต่ถ้าเป็นแผงส่ง เขาต้องมีการรับมาครับ นี้เลยเป้าหมายเรา ซึ่งอาจจะเป็นพ่อค้าคนกลางอีกทีก็ได้ครับ หรือจะเลือกส่งตามร้านอาหารตามสั่ง ร้านข้าวต้ม ร้านเนื้อย่างหมูกะทะ ร้านข้าวแกง และสุดท้ายคือตามห้างใหญ่ ๆ อย่างโลตัสกับบิ๊กซีเขาจะมีศูนย์รับและกระจายสินค้าประจำภาคครับ ถ้าอยู่ใกล้แถวนั้นลองไปเสนอดูเลยครับ ส่วนแม็กโครและท็อปซุปเปอร์มาเก็ต เขาจะรับหน้าห้างครับ ห้างท็อปนี้เขาจะถามหาเครื่องหมายรับรองเกษตรอินทรีย์ เพราะเขาเน้นผักปลอดภัยมาจำหน่ายให้ผู้บริโภค ถ้าเราได้เครื่องหมายรับรองแล้วจะคุยกันง่ายขึ้นครับ ลองติดต่อดู ถ้าสินค้านั้น ๆ ไม่มีใครส่ง เราจะมีโอกาสสูงครับ ให้ติดต่อหัวหน้าฝ่ายรับสินค้าได้เลย เราอาจะเลือกติดต่อทุกที่เลยก็ได้นะครับ เมื่อได้แล้วไปข้อต่อไปกันเลย
5.พกความมั่นใจ
ตามตัวเลยครับ มั่นใจในสิ่งที่เราทำ หายใจลึก ๆ ไม่ต้องตื่นเต้น ไม่ต้องอาย ของอย่างนี้ต้องลงมือทำครับอย่างที่บอก เสนอที่แรกอาจจะประหม่าหน่อย คิดก่อนที่จะพูดออกไป จุดสำคัญก็คือการขายของเรา ถ้าสินค้าเราดี แต่เรานำเสนอไม่ดีหรือเราตื่นเต้นพูดผิดพูดถูกก็จบครับ ของอย่างนี้ต้องซ้อมก่อน ซ้อมในใจหรือซ้อมกับกระจกที่บ้านก่อนก็ได้ แต่ถ้าครั้งแรกผ่านไปแล้ว ครั้งที่สองสามสี่จะง่ายขึ้นมากครับ
6.นำเสนออย่างมืออาชีพ
อย่างไหนถึงจะเรียกว่ามืออาชีพ ก็สิ่งที่เราทำหรือปลูกซ้ำ ๆ นั่นแหละครับ มืออาชีพแล้ว ทีนี้ก็เหลือแต่นำเสนอ ก็จะไหนซะอีกครับ ก็สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนั้นไง รู้ลึก รู้จริง ในสิ่งที่เราทำ ค่อย ๆ พูดออกไป คิดก่อนพูด คุยรายละเอียดต่าง ๆ ว่าเราทำอะไร ปลูกอะไร จะส่งให้ราคาไหน ส่งได้วันละกี่กิโล ซึ่งในที่นี้เราต้องส่งราคาส่งที่เราอยู่ได้นะครับ อาจส่งให้หลายตัวเพื่อกระจายรายได้ออกไป ซึ่งผมหมายถึงราคาส่งที่เราอยู่ได้และเขารับได้นะครับ อาจจะอ้างอิงจากราคากลางในการรับซื้อครับ ลองคุยดูหลาย ๆ ที่ ห้ามท้อเด็ดขาด แต่ถ้าเรามีแผงเอง หรือมีญาติที่ขายอยู่แล้ว เราอาจจะฝากขายก็ได้ ค่อย ๆ ขยับขยาย เรียนรู้การปลูก การดูแล การขาย การตลาดไปพร้อม ๆ กัน ในที่นี้ผมแนะนำให้คุยตั้งแต่แผงเล็ก แผงส่ง ไปจนถึงในห้างเลยนะครับ ไหน ๆ มาถึงจุดนี้แล้ว ลุยให้เต็มที่เลย แล้วคุณจะรู้ว่ามันไม่ยากอย่างที่คิด ผมลองมาแล้ว
สุดท้าย ถ้าตกลงกันได้แล้ว ต้องส่งให้สม่ำเสมอ ถ้าผิดนัดจะทำให้เราเสียเครดิต เวลาหาตลาดยากมาก แต่ถ้าหาได้แล้วเราจะติดลมบนเลยครับ เพราะฉะนั้น ห้ามผิดนัดเด็ดขาด
7.พกนามบัตรให้เป็นนิสัย
ประสบการณ์ในการหาตลาดของผมก็คือ เขาจะขอนามบัตรของเราเพื่อจะติดต่อกลับครับ อันนี้ในกรณีให้ห้างใหญ่ที่ผมไปติดต่อ แล้วผมก็คิดในใจว่า “เฮ้ย…. ลืมได้ยังไงเนี้ย” ไม่ใช่ลืมติดตัวไปนะครับ แต่ดันลืมทำไป เพราะคิดไม่ถึง มั่วแต่คิดการนำเสนออยู่ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจึงอยากจะบอกว่า ให้คุณเตรียมนามบัตรไปด้วย เพื่อให้เขาสามารถติดต่อกลับได้ครับ ใส่ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทร ปลูกอะไร ขายอะไร ถ้าคุณมี Faneface ใน facebook ก็ให้ใส่ QR-Code สำหรับส่องไปโลดครับ เพื่อให้เขาเห็นสิ่งที่คุณทำ สะดวกดี เพราะนามบัตรจะเป็นเครื่องนำทางให้ในผู้คนสามารถติดต่อกลับมาหาเราได้ อ้อ แล้วอย่าลืมขอนามบัตรเขาไว้ด้วยนะครับ เผื่อเราจะติดต่อเขาไปอีก
และนี้ก็เป็น 7 วิธีการหาตลาดเกษตรด้วยตัวเอง ที่ผมสรุปให้แล้วครับ เอาไปใช้กันได้ หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุก ๆ ท่านนะครับ
============================================
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับการทำเกษตร การหาตลาด
และบทความดี ๆ ที่ส่งตรงถึงหน้าจอคุณได้ที่
แฟนเพจ : ทำเกษตรกัน By หนุ่มเกษตรอินทรีย์
https://www.facebook.com/Numsmartfarmer/?fref=ts
รับรองว่าจะมีแต่เรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรแน่นอนครับ
[เกษตรอินทรีย์] 7 วีธี หาตลาดพืชเกษตรด้วยตัวเอง
7 วีธี หาตลาดพืชเกษตรด้วยตัวเอง
===========================
ในบทความนี้ผมจะพูดถึงวิธีการหาตลาดพืชเกษตรสำหรับมือใหม่นะครับ อาจเป็นพืชผัก หรืออะไรก็ได้ เพื่อต่อยอดสู่มืออาชีพครับ การทำเราทำอะไรซักอย่าง สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือการมีตลาดรองรับ เราอาจปลูกพืชผลเกษตรเพื่อรับประทานในครอบครัวก่อน เมื่อชำนาญแล้วก็ค่อยหาช่องทางตลาดครับ ซึ่งผมสรุปมาแล้ว 7 ข้อ จากประสบการณ์ที่ไปเจอมาจริงครับ คุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลา ว่าแล้วเริ่มกันเลยจากข้อแรกครับ สำหรับการหาตลาดด้วยตัวเอง
1.ออกสำรวจตลาด
คุณอาจจะออกเดินสำรวจตลาดสดแถวบ้านก่อน หรือตลาดในแต่ละท้องที่ ซึ่งมีความต้องการที่ต่างกัน เช่น ในภาคอีสานกับภาคใต้ จะมีความต้องการผักที่ต่างกัน หรือในชุมชนที่มีผู้คนกินเจ จะมีความต้องการผักค่อนข้างสูง สำรวจดูว่าผักอะไรขาด หรือยังมีราคาแพง กลับมาแล้วลองศึกษาวิธีปลูก และลองทำเลยครับ คิดได้ให้ทำเลย ผมถือคตินี้มาเสมอ อย่ารอให้พร้อม เพราะมันจะไม่มีโอกาสทำเลย ถ้าคุณจะเอาจริงกับตลาดนี้ หรืออาจไปดูที่ห้างใหญ่ ๆ ก็ได้ เช่น โลตัส บิ๊กซี แม็กโคร ท็อปซุปเปอร์มาเก็ต ฯ ดูให้ครบครับ ไม่ว่าจะเป็นตัวผลิตภัณฑ์พืชผักต่าง ๆ แม้กระทั้งแพ็กเก็จ บางครั้งที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อก็เพราะแพ็กเก็จนี้แหละครับ แล้วเราค่อยมาปรับให้เข้ากับของเรา ดูทั้งทีเอาให้ครบเลย
2.เตรียมผลิตภัณฑ์
ไม่ว่าคุณกำลังปลูกอะไรอยู่ก็ตาม แล้วอยากขายหรือหาตลาดให้ได้ สิ่งที่คุณต้องทำคือ ฝึกฝน ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก อาจใช้เวลา 1-2 เดือน หรืออาจมากกว่านั้น ลองปลูกให้คนในครอบครัวทาน ศึกษาให้ครบรอบด้านเกี่ยวกับสิ่งที่ปลูก เช่นปลูกคะน้า ก็ต้องศึกษาว่าธรรมชาติของคะน้า ชอบน้ำ ดินและอากาศแบบไหน ศัตรูพืชและแมลงมีอะไรบ้าง ถ้าต้องปลูกส่งขายวันละ 10-20 กก. จะวางแผนอย่างไร นี่พูดถึงแค่ผักชนิดเดียวนะครับ คุณอาจปลูก 2-3 อย่างขึ้นไป เพื่อเป็นเกษตรผสมผสาน เผื่อราคาตัวหนึ่งไม่ดี ก็ยังมีตัวหนึ่งพยุงไว้อยู่ ศึกษา เรียนรู้ ลงมือทำ แก้ไขไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลงตัว ทำไปอยู่อย่างนี้ครับ และสิ่งที่คุณทำเหล่านี้จะทำให้คุณเป็นที่หนึ่งในอาชีพที่คุณทำ
3.ตั้งชื่อให้ดี
อาจจะตั้งชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่เราทำครับ ลงท้ายหรือขึ้นต้นด้วย ฟาร์ม ไร่ แปลง อะไรก็แล้วแต่คุณ ที่เป็นแบรนด์ของคุณเอง เป็นชื่อที่สื่อความหมาย โดยให้สอดคล้องกัน เพื่อให้คนจำได้ครับ
4.เลือกเป้าหมาย
ฟังดูเหมือนจะไปลองสังหารเลยครับ ฮ่า ๆๆ หลังจากที่เราสำรวจตลาดแล้ว ก็เลือกเลยครับว่าเราจะนำสินค้าไปเสนอแก่ใคร อาจเป็นแผงผักในตลาดสด ซึ่งถ้าเป็นแผงเล็กเขาอาจจะปลูกเองขายเอง แต่ถ้าเป็นแผงส่ง เขาต้องมีการรับมาครับ นี้เลยเป้าหมายเรา ซึ่งอาจจะเป็นพ่อค้าคนกลางอีกทีก็ได้ครับ หรือจะเลือกส่งตามร้านอาหารตามสั่ง ร้านข้าวต้ม ร้านเนื้อย่างหมูกะทะ ร้านข้าวแกง และสุดท้ายคือตามห้างใหญ่ ๆ อย่างโลตัสกับบิ๊กซีเขาจะมีศูนย์รับและกระจายสินค้าประจำภาคครับ ถ้าอยู่ใกล้แถวนั้นลองไปเสนอดูเลยครับ ส่วนแม็กโครและท็อปซุปเปอร์มาเก็ต เขาจะรับหน้าห้างครับ ห้างท็อปนี้เขาจะถามหาเครื่องหมายรับรองเกษตรอินทรีย์ เพราะเขาเน้นผักปลอดภัยมาจำหน่ายให้ผู้บริโภค ถ้าเราได้เครื่องหมายรับรองแล้วจะคุยกันง่ายขึ้นครับ ลองติดต่อดู ถ้าสินค้านั้น ๆ ไม่มีใครส่ง เราจะมีโอกาสสูงครับ ให้ติดต่อหัวหน้าฝ่ายรับสินค้าได้เลย เราอาจะเลือกติดต่อทุกที่เลยก็ได้นะครับ เมื่อได้แล้วไปข้อต่อไปกันเลย
5.พกความมั่นใจ
ตามตัวเลยครับ มั่นใจในสิ่งที่เราทำ หายใจลึก ๆ ไม่ต้องตื่นเต้น ไม่ต้องอาย ของอย่างนี้ต้องลงมือทำครับอย่างที่บอก เสนอที่แรกอาจจะประหม่าหน่อย คิดก่อนที่จะพูดออกไป จุดสำคัญก็คือการขายของเรา ถ้าสินค้าเราดี แต่เรานำเสนอไม่ดีหรือเราตื่นเต้นพูดผิดพูดถูกก็จบครับ ของอย่างนี้ต้องซ้อมก่อน ซ้อมในใจหรือซ้อมกับกระจกที่บ้านก่อนก็ได้ แต่ถ้าครั้งแรกผ่านไปแล้ว ครั้งที่สองสามสี่จะง่ายขึ้นมากครับ
6.นำเสนออย่างมืออาชีพ
อย่างไหนถึงจะเรียกว่ามืออาชีพ ก็สิ่งที่เราทำหรือปลูกซ้ำ ๆ นั่นแหละครับ มืออาชีพแล้ว ทีนี้ก็เหลือแต่นำเสนอ ก็จะไหนซะอีกครับ ก็สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนั้นไง รู้ลึก รู้จริง ในสิ่งที่เราทำ ค่อย ๆ พูดออกไป คิดก่อนพูด คุยรายละเอียดต่าง ๆ ว่าเราทำอะไร ปลูกอะไร จะส่งให้ราคาไหน ส่งได้วันละกี่กิโล ซึ่งในที่นี้เราต้องส่งราคาส่งที่เราอยู่ได้นะครับ อาจส่งให้หลายตัวเพื่อกระจายรายได้ออกไป ซึ่งผมหมายถึงราคาส่งที่เราอยู่ได้และเขารับได้นะครับ อาจจะอ้างอิงจากราคากลางในการรับซื้อครับ ลองคุยดูหลาย ๆ ที่ ห้ามท้อเด็ดขาด แต่ถ้าเรามีแผงเอง หรือมีญาติที่ขายอยู่แล้ว เราอาจจะฝากขายก็ได้ ค่อย ๆ ขยับขยาย เรียนรู้การปลูก การดูแล การขาย การตลาดไปพร้อม ๆ กัน ในที่นี้ผมแนะนำให้คุยตั้งแต่แผงเล็ก แผงส่ง ไปจนถึงในห้างเลยนะครับ ไหน ๆ มาถึงจุดนี้แล้ว ลุยให้เต็มที่เลย แล้วคุณจะรู้ว่ามันไม่ยากอย่างที่คิด ผมลองมาแล้ว
สุดท้าย ถ้าตกลงกันได้แล้ว ต้องส่งให้สม่ำเสมอ ถ้าผิดนัดจะทำให้เราเสียเครดิต เวลาหาตลาดยากมาก แต่ถ้าหาได้แล้วเราจะติดลมบนเลยครับ เพราะฉะนั้น ห้ามผิดนัดเด็ดขาด
7.พกนามบัตรให้เป็นนิสัย
ประสบการณ์ในการหาตลาดของผมก็คือ เขาจะขอนามบัตรของเราเพื่อจะติดต่อกลับครับ อันนี้ในกรณีให้ห้างใหญ่ที่ผมไปติดต่อ แล้วผมก็คิดในใจว่า “เฮ้ย…. ลืมได้ยังไงเนี้ย” ไม่ใช่ลืมติดตัวไปนะครับ แต่ดันลืมทำไป เพราะคิดไม่ถึง มั่วแต่คิดการนำเสนออยู่ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจึงอยากจะบอกว่า ให้คุณเตรียมนามบัตรไปด้วย เพื่อให้เขาสามารถติดต่อกลับได้ครับ ใส่ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทร ปลูกอะไร ขายอะไร ถ้าคุณมี Faneface ใน facebook ก็ให้ใส่ QR-Code สำหรับส่องไปโลดครับ เพื่อให้เขาเห็นสิ่งที่คุณทำ สะดวกดี เพราะนามบัตรจะเป็นเครื่องนำทางให้ในผู้คนสามารถติดต่อกลับมาหาเราได้ อ้อ แล้วอย่าลืมขอนามบัตรเขาไว้ด้วยนะครับ เผื่อเราจะติดต่อเขาไปอีก
และนี้ก็เป็น 7 วิธีการหาตลาดเกษตรด้วยตัวเอง ที่ผมสรุปให้แล้วครับ เอาไปใช้กันได้ หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุก ๆ ท่านนะครับ
============================================
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับการทำเกษตร การหาตลาด
และบทความดี ๆ ที่ส่งตรงถึงหน้าจอคุณได้ที่
แฟนเพจ : ทำเกษตรกัน By หนุ่มเกษตรอินทรีย์
https://www.facebook.com/Numsmartfarmer/?fref=ts
รับรองว่าจะมีแต่เรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรแน่นอนครับ