สวัสดีเพื่อนๆ ชาวพันทิพทุกท่านนะครับ กลับมาอีกครั้งกับกระทู้ของคนคลั่งเมล่อน เฟส 3 หลังจากหายไปเกือบปี ช่วงนี้กระแสเมล่อนกำลังมาแรงหรืออาจกำลังจะลง อันนี้ผมก็ไม่ทราบ สังเกตุจาก กระทู้เมล่อนผุดเป็นดอกเห็ด แต่อย่าเพิ่งเบื่อข้าน้อยนะขอรับ เพราะความอยากปลูก ความชอบในผลไม้ตัวนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง
ปัจจุบัน ผมปลูกเมล่อนนับได้ รอบที่ 6 ด้วยระบบน้ำหยด ในโรงเรือน และตั้งแต่ครั้งที่ 5 ผมได้ทำการซื้อโรงเรือนใหม่ มาประกอบที่บ้านอีกหลัง โดยคราวนี้ตั้งใจจะแบ่งขายแบบจริงๆจังๆ ด้วย
โดยคอนเซ็ปของผมจะยังคงเป็นเหมือนเดิม คือ หาเมล่อนพันธุ์ใหม่ๆ มาปลูกเรื่อยๆ เวียนไปเพื่อไม่ให้ซ้ำ อาจจะอร่อย หรือไม่อร่อย ผมก็ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ ดังนั้น เพื่อนๆ ที่ผมแบ่งขายเมล่อนไป จะได้ร่วมเดินทางการทานเมล่อนหลากหลายสายพันธุ์ ไปพร้อมๆกับผม จนเมื่อวันนึง ผมพบพันธุ์ที่ผมตามหา (พันธุ์ที่มีกลิ่นเหมือนน้ำเมล่อนที่เขาแต่งกลิ่นขึ้นมา) อาจจะหยุดก็ได้ (แต่คงไม่มั้งมีหลายพันธุ์เหลือเกิน)
ในที่นี้ต้องขอบคุณ ผู้ใหญ่ใจดีที่คอยจัดหา เมล็ดพันธุ์ อุปกรณ์ต่างๆ มาให้ผมได้ทดลองปลูกทุกๆคนด้วยนะครับ ทั้งพี่ปุ๊ พี่ตั้ม พี่เฟิร์น พี่สาโรจน์ และคนอื่นๆ อีกมากมาย (พูดไปคนอ่านไม่รู้จักอีก 555) ส่วนเรื่องราวของเฟส 3 นี้ผมจะมานำเสนอความคลั่งของผมต่อจากคราวที่แล้ว ผมทิ้งท้ายในส่วนของการ เข้าแข่งขันการปลูกเมล่อนกระชับมิตร ของบ้านสวนทัศนา วันนี้ก็จะขอต่อจากตรงนั้นเลย
โดยวันนี้ จะขอแบ่งหัวข้อที่จะเล่าเป็นส่วนๆ ดังนี้
1 ผลของการปลูกครั้งที่ 4 สายพันธุ์ ฮอกไกโด มิโดริ และ สายพันธุ์ที่ปลูกแข่งขัน สายพันธุ์ คาเนมิสึ
2 การปลูก ครั้งที่ 5 เริ่มต้นโรงเรือนใหม่ พร้อมโรงเรือนสำเร็จรูป ขนาด 60 ต้น เมล็ดนำเข้าจากญี่ปุ่น สายพันธุ์เลนอน (LENON) และสายพันธุ์นัตสึ
3 การปลูก ครั้งที่ 6 อัพเกรดโรงเรือนใหม่ แก้ปัญหาจากครั้งที่ 5 และการเข้าร่วมการแข่งขันการปลูกเมล่อนกระชับมิตร ปีที่ 2 สายพันธุ์ปริศนา และ สายพันธุ์ เพิล
การปลูกครั้งที่ 4
รอบนี้ผมได้ทำการปลูกเมล่อน ทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ฮอกไกโด มิโดริ และอีกสายพันธุ์ คือพันธุ์ คาเนมิสึ ซึ่งการปลูกในรอบนี้ ยังปลูกอยู่ที่โรงเรือนข้างบ้านที่ได้แดดครึ่งวัน ความหวานที่ได้คือดี แต่ไม่สุด เป็นเพราะแสงแดดของโรงเรือนนี้ได้เพียง ครึ่งวันเช้าเท่านั้น ตามภาพครับ ชุดนี้สำหรับ เมล่อนพันธุ์ ฮอกไกโด(ส้ม) และ มิโดริ(เขียว)
ลักษณะเนื้อเมื่อเก็บไว้เกือบสัปดาห์
คนนี้เก็บเรียบ
ส่วนสายพันธุ์ คาเนมิสึ ที่ใช้แข่งขัน ผมทำการส่งให้พี่เขาไปแล้ว ความหวานไม่ผ่าน ไส้ล้มอีกต่างหาก (ไส้ล้มเกิดจากการขนส่งที่มีอากาศร้อน)
ลักษณะเนื้อ พันธุ์นี้จะติดกรอบหน่อย นุ่มไม่มาก จับทำเมล่อนปั่นดับกระหายซะเลย
ตอนนี้ก็จบในส่วนของการปลูกครั้งที่ 4 และช่วงนั้นผมได้ทำการหาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ไม่มีขายในบ้านเรา ก็ไปได้เมล็ดพันธุ์จากญี่ปุ่นโดยพี่ในกลุ่มคนนึงเป็นคนจัดหาให้ ขอบคุณพี่มากเลยนะครับ
รายการเมล็ดพันธุ์ ในรอบที่ 5
พันธุ์เลนอน เมล่อนญี่ปุ่นเนื้อส้ม
ฮันนี่นัตสึ เมล่อนญี่ปุ่นเนื้อเขียว
ออเรนจ นัตซึ เมล่อนญี่ปุ่นเนื้อส้ม
การปลูกครั้งที่ 5
การปลูกครั้งที่ 5 เป็นการเริ่มต้นใหม่กับโรงเรือนใหม่ที่ได้ซื้อจากพี่ท่านนึงในกลุ่ม ติดตั้งที่บ้านหลังใหม่ในหมู่บ้านเดียวกันกับโรงเรือนแรก โดยเริ่มจากการเตรียมพื้นที่หน้าบ้านจากเดิมที่หญ้ารกมาก มีต้นมะนาวเก่า ก็ทำการปรับพื้นที่ และเริ่มประกอบโรงเรือนก่อน โดยมีพ่อแม่ และเพื่อนๆ มาช่วยในการประกอบโรงเรือน ซึ่งผมจะทำโรงเรือน ทุกวัน เสาร์และอาทิตย์ เหมือนเดิม เนื่องจากทำงานบริษัทในวันธรรมดา ซึ่งใช้เวลาในการทำ โรงเรือน และ ระบบน้ำ ประมาณ 3 สัปดาห์ ( 6 วัน )
ปรับพื้นที่
การประกอบโรงเรือน
ขนาด โรงเรือน อยู่ที่ 3.6 x 4 x 2.8 เมตร
ใช้มุ้ง 32 ตา ประตูทางเข้าเป็นซิปรูดระหว่างตรงกลาง
หลังคาพลาสติก 150 ไมครอน
ปูพื้นด้วย ผ้าใบ กันหญ้าขึ้น
ต่อมาทำระบบน้ำ โดยใช้ถัง 200 ลิตร พร้อมฝา 700 กว่าบาท ปั้มจมน้ำขนาด AP3000 ต่อเหมือนโรงเรือนแรก
ทำการเพาะเมล็ด อนุบาลกล้า และย้ายปลูกตามลำดับ
ทำการผสมวัสดุปลูก ขลุยมะพร้าว และ กาบมะพร้าวสับ กรอกวัสดุปลูกลงถุง และทำการย้ายกล้า จากนั้นยกถุงปลูกเข้า โรงเรือนจัดตำแหน่งให้พอดี
และทำการต่อหัวน้ำหยด ตามจุดต่างๆ (พอปลูกจำนวนเยอะขึ้น ก็เหนื่อยเยอะขึ้น)
พอเริ่มปลูกจริง จะเริ่มเห็นปัญหาที่เกิด นั่นคือ ผ้าใบที่ปูอุ้มน้ำเป็นแอ่งเพราะพื้นไม่ได้ปรับให้เท่ากัน ทำให้เวลาเข้าไปทำงานในโรงเรือน เฉอะแฉะ รวมทั้งช่วงนั้นเป็นหน้าฝน ในโรงเรือนจะเฉอะแฉะมาก
ก่อนการขึ้นเชือกเมล่อน ติดปัญหาในการซื้อแบบที่เป็นม้วนใหญ่ๆ ไม่ทราบว่าซื้อที่ไหน สุดท้ายซื้อตามเว็บไปรษณีย์ เพราะเชือกนี้ก็คือเชือกรัดของไปรษณีย์นั่นเอง ซึ่งที่ซื้อมา น้ำหนัก 1 กิโลกรัม หลายร้อยเมตรอยู่ เมื่อได้มาแล้วจึงทำการขึ้นเชือกเมล่อน สังเกตได้จากภาพ ว่าเมล่อนนั้นโตจนจะเลื้อยลงพื้นแล้ว
ด้านบนคานจะใช้ไม้ไผ่ ยาว 4 เมตร วางพาดเป็นคู่ แยกออกจากกันลักษณะตัว V ที่ทำเป็นตัว V เพราะเวลาแขวนลูกจะทำให้ลูกยื่นออกมาจากแถวนั่นเอง
ช่วงผสมเกสร เมื่อก่อนเขียน เดี๋ยวนี้ พิมพ์เอา สะดวกดี ส่วนการคัดลูก แขวนลูก ผมจะมีกระเช้าคู่ใจใส่อุปกรณ์ไปทำงานทุกครั้ง
เมื่อทำการแขวนลูก ภาพที่ได้จะออกมาแบบนี้ ด้วยวิธีการขึ้นเชือกแบบตัว V ที่กล่าวไปข้างต้น
ทำการเขียนลาย ตามออเดอร์
ก่อนทำการเก็บเกี่ยว 10 วันทำการตัดมาเพื่อทดสอบความหวานพันธุ์เลนอน ได้ความหวาน 15 บริกส์ ถือว่าหวานมากเลยทีเดียว
เก็บเกี่ยวพันธุ์เลนอน
ลักษณะเนื้อของพันธุ์ เลนอน
นุ่มหนึบ หอม รสชาติหวานมาก น้ำหนักเฉลี่ย อยู่ที่ 1.5 กิโลกรัม
ส่วนอีก 2 สายพันธุ์ ผมไม่ได้ถ่ายรูปไว้เท่าไร ด้วยความที่ว่า ต้นเมล่อนมีปัญหาจากสภาพแวดล้อมโรงเรือนทำให้ผลผลิตไม่สมบูรณ์ แต่ก็ยังได้ทานนะครับ โดยตัวนี้ไม่แบ่งขายใคร เพราะผมทำได้ไม่ตรงตามสเป็คพันธุ์ โดยผมจะรีวิวตามที่ผมได้ทานนะครับ ส่วนรูปจะเป็นของพี่ๆในกลุ่มที่ปลูกพันธุ์เดียวกันแต่สมบูรณ์
พันธุ์ ออเรนจ์นัตสึ เนื้อนุ่ม และหอมมาก ใช้คำว่ามากที่สุดที่เคยทานเลย พันธุ์นี้ถูกใจอย่างแรง
พันธุ์ ฮันนี่ นัตสึ เนื้อนุ่ม หอมตามแบบฉบับเนื้อเขียว หวานกว่า ออเรนจนัตสึ
สรุปการปลูกครั้งที่ 5
- เจอปัญหาน้ำขังทำให้ต้นเมล่อน เกิดราแป้ง เฉอะแฉะเวลาทำงาน ไม่สบายตัว
- ผลผลิตเลนอน ก้นแตกไป 2 ลูกน่าจะเกิดจากอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนไม่สู้ดี
- ผลผลิตพันธุ์ นัตสึ และ ออเรนจนัตสึ ลูกเล็กเนื่องจากสภาพโรงเรือนชื้นแฉะ ทำให้ต้นเป็นโรคและส่งผลดังกล่าว
- ผลผลิตเลนอนได้ 70%
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องเกิดการแก้ไขในครั้งต่อไป
การปลูกครั้งที่ 6
ทำการปลูกพันธุ์ เพิล สีส้ม และพันธุ์ปริศนา(แข่งขันการปลูกเมล่อนกระชับมิตร ปีที่ 2) จากปัญหาครั้งที่แล้ว ได้ทำการแก้ปัญหาและอัพเกรดโรงเรือนดังนี้
- เทปูนเป็นฐานแทนผ้าใบ
- ใช้อิฐแดงรองถุงไม่ให้สัมผัสกับพื้น เพื่อกันเชื้อโรค และความสวยงาม
- ใส่ประตู pvc แทนซิปเนื่องจากแบบซิปจะสะดุดล้ม 555
สวยไหมโรงเรือนเวอชั่นอัพเกรด
ผลผลิตที่ได้ 2 สายพันธุ์
สายพันธุ์แรก โดนคนติฉินนินทา ว่านี่มันแคนตาลูปชัดๆ ลูกกลมๆสีขาวๆ ซึ่งเป็นเมล่อนพันธุ์ปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ เพราะเจ้าของสวนที่นำมายังไม่เฉลยสักที (รอคนอื่นปลูกให้เสร็จ) แต่เมื่อผ่าออกมาแม่เจ้า
เมล่อนเนื้อสีขาว ไม่มีกลิ่นแคนตาลูป หอมอ่อนๆแบบเฉพาะตัว เนื้อนุ่ม อร่อยมาก ความหวานวัดได้ 14 บริก
ส่วนสายพันธุ์ เพิล เนื้อส้ม รสสัมผัสเนื้อนุ่ม กลิ่นหอม วัดความหวานได้ 14 บริกเช่นกัน ก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน
ขอบคุณเพื่อนๆที่ติดตามกระทู้ของคนคลั่งเมล่อนคนนี้ หวังว่ากระทู้ผมคงเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นความรู้สำหรับเพื่อนๆทุกคนที่สนใจในการปลูกพืชต่างๆ
ปล.ผมปลูกในรั้วบ้านตัวเองแล้วนะครับ ไม่ได้ปลูกริมฟุตบาทเหมือนครั้งก่อน ขอบคุณที่ติดตามครับ
ขอบคุณขอรับ (พิมพ์บรรทัดนี้เพื่อให้ข้อความในกระทู้นี้ครบ 9999 ตัว)
เมล่อนไฮโดรโปนิกส์ ของคนคลั่งเมล่อน เฟส 3
สวัสดีเพื่อนๆ ชาวพันทิพทุกท่านนะครับ กลับมาอีกครั้งกับกระทู้ของคนคลั่งเมล่อน เฟส 3 หลังจากหายไปเกือบปี ช่วงนี้กระแสเมล่อนกำลังมาแรงหรืออาจกำลังจะลง อันนี้ผมก็ไม่ทราบ สังเกตุจาก กระทู้เมล่อนผุดเป็นดอกเห็ด แต่อย่าเพิ่งเบื่อข้าน้อยนะขอรับ เพราะความอยากปลูก ความชอบในผลไม้ตัวนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง
ปัจจุบัน ผมปลูกเมล่อนนับได้ รอบที่ 6 ด้วยระบบน้ำหยด ในโรงเรือน และตั้งแต่ครั้งที่ 5 ผมได้ทำการซื้อโรงเรือนใหม่ มาประกอบที่บ้านอีกหลัง โดยคราวนี้ตั้งใจจะแบ่งขายแบบจริงๆจังๆ ด้วย
โดยคอนเซ็ปของผมจะยังคงเป็นเหมือนเดิม คือ หาเมล่อนพันธุ์ใหม่ๆ มาปลูกเรื่อยๆ เวียนไปเพื่อไม่ให้ซ้ำ อาจจะอร่อย หรือไม่อร่อย ผมก็ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ ดังนั้น เพื่อนๆ ที่ผมแบ่งขายเมล่อนไป จะได้ร่วมเดินทางการทานเมล่อนหลากหลายสายพันธุ์ ไปพร้อมๆกับผม จนเมื่อวันนึง ผมพบพันธุ์ที่ผมตามหา (พันธุ์ที่มีกลิ่นเหมือนน้ำเมล่อนที่เขาแต่งกลิ่นขึ้นมา) อาจจะหยุดก็ได้ (แต่คงไม่มั้งมีหลายพันธุ์เหลือเกิน)
ในที่นี้ต้องขอบคุณ ผู้ใหญ่ใจดีที่คอยจัดหา เมล็ดพันธุ์ อุปกรณ์ต่างๆ มาให้ผมได้ทดลองปลูกทุกๆคนด้วยนะครับ ทั้งพี่ปุ๊ พี่ตั้ม พี่เฟิร์น พี่สาโรจน์ และคนอื่นๆ อีกมากมาย (พูดไปคนอ่านไม่รู้จักอีก 555) ส่วนเรื่องราวของเฟส 3 นี้ผมจะมานำเสนอความคลั่งของผมต่อจากคราวที่แล้ว ผมทิ้งท้ายในส่วนของการ เข้าแข่งขันการปลูกเมล่อนกระชับมิตร ของบ้านสวนทัศนา วันนี้ก็จะขอต่อจากตรงนั้นเลย
โดยวันนี้ จะขอแบ่งหัวข้อที่จะเล่าเป็นส่วนๆ ดังนี้
1 ผลของการปลูกครั้งที่ 4 สายพันธุ์ ฮอกไกโด มิโดริ และ สายพันธุ์ที่ปลูกแข่งขัน สายพันธุ์ คาเนมิสึ
2 การปลูก ครั้งที่ 5 เริ่มต้นโรงเรือนใหม่ พร้อมโรงเรือนสำเร็จรูป ขนาด 60 ต้น เมล็ดนำเข้าจากญี่ปุ่น สายพันธุ์เลนอน (LENON) และสายพันธุ์นัตสึ
3 การปลูก ครั้งที่ 6 อัพเกรดโรงเรือนใหม่ แก้ปัญหาจากครั้งที่ 5 และการเข้าร่วมการแข่งขันการปลูกเมล่อนกระชับมิตร ปีที่ 2 สายพันธุ์ปริศนา และ สายพันธุ์ เพิล
การปลูกครั้งที่ 4
รอบนี้ผมได้ทำการปลูกเมล่อน ทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ฮอกไกโด มิโดริ และอีกสายพันธุ์ คือพันธุ์ คาเนมิสึ ซึ่งการปลูกในรอบนี้ ยังปลูกอยู่ที่โรงเรือนข้างบ้านที่ได้แดดครึ่งวัน ความหวานที่ได้คือดี แต่ไม่สุด เป็นเพราะแสงแดดของโรงเรือนนี้ได้เพียง ครึ่งวันเช้าเท่านั้น ตามภาพครับ ชุดนี้สำหรับ เมล่อนพันธุ์ ฮอกไกโด(ส้ม) และ มิโดริ(เขียว)
ลักษณะเนื้อเมื่อเก็บไว้เกือบสัปดาห์
คนนี้เก็บเรียบ
ส่วนสายพันธุ์ คาเนมิสึ ที่ใช้แข่งขัน ผมทำการส่งให้พี่เขาไปแล้ว ความหวานไม่ผ่าน ไส้ล้มอีกต่างหาก (ไส้ล้มเกิดจากการขนส่งที่มีอากาศร้อน)
ลักษณะเนื้อ พันธุ์นี้จะติดกรอบหน่อย นุ่มไม่มาก จับทำเมล่อนปั่นดับกระหายซะเลย
ตอนนี้ก็จบในส่วนของการปลูกครั้งที่ 4 และช่วงนั้นผมได้ทำการหาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ไม่มีขายในบ้านเรา ก็ไปได้เมล็ดพันธุ์จากญี่ปุ่นโดยพี่ในกลุ่มคนนึงเป็นคนจัดหาให้ ขอบคุณพี่มากเลยนะครับ
รายการเมล็ดพันธุ์ ในรอบที่ 5
พันธุ์เลนอน เมล่อนญี่ปุ่นเนื้อส้ม
ฮันนี่นัตสึ เมล่อนญี่ปุ่นเนื้อเขียว
ออเรนจ นัตซึ เมล่อนญี่ปุ่นเนื้อส้ม
การปลูกครั้งที่ 5
การปลูกครั้งที่ 5 เป็นการเริ่มต้นใหม่กับโรงเรือนใหม่ที่ได้ซื้อจากพี่ท่านนึงในกลุ่ม ติดตั้งที่บ้านหลังใหม่ในหมู่บ้านเดียวกันกับโรงเรือนแรก โดยเริ่มจากการเตรียมพื้นที่หน้าบ้านจากเดิมที่หญ้ารกมาก มีต้นมะนาวเก่า ก็ทำการปรับพื้นที่ และเริ่มประกอบโรงเรือนก่อน โดยมีพ่อแม่ และเพื่อนๆ มาช่วยในการประกอบโรงเรือน ซึ่งผมจะทำโรงเรือน ทุกวัน เสาร์และอาทิตย์ เหมือนเดิม เนื่องจากทำงานบริษัทในวันธรรมดา ซึ่งใช้เวลาในการทำ โรงเรือน และ ระบบน้ำ ประมาณ 3 สัปดาห์ ( 6 วัน )
ปรับพื้นที่
การประกอบโรงเรือน
ขนาด โรงเรือน อยู่ที่ 3.6 x 4 x 2.8 เมตร
ใช้มุ้ง 32 ตา ประตูทางเข้าเป็นซิปรูดระหว่างตรงกลาง
หลังคาพลาสติก 150 ไมครอน
ปูพื้นด้วย ผ้าใบ กันหญ้าขึ้น
ต่อมาทำระบบน้ำ โดยใช้ถัง 200 ลิตร พร้อมฝา 700 กว่าบาท ปั้มจมน้ำขนาด AP3000 ต่อเหมือนโรงเรือนแรก
ทำการเพาะเมล็ด อนุบาลกล้า และย้ายปลูกตามลำดับ
ทำการผสมวัสดุปลูก ขลุยมะพร้าว และ กาบมะพร้าวสับ กรอกวัสดุปลูกลงถุง และทำการย้ายกล้า จากนั้นยกถุงปลูกเข้า โรงเรือนจัดตำแหน่งให้พอดี
และทำการต่อหัวน้ำหยด ตามจุดต่างๆ (พอปลูกจำนวนเยอะขึ้น ก็เหนื่อยเยอะขึ้น)
พอเริ่มปลูกจริง จะเริ่มเห็นปัญหาที่เกิด นั่นคือ ผ้าใบที่ปูอุ้มน้ำเป็นแอ่งเพราะพื้นไม่ได้ปรับให้เท่ากัน ทำให้เวลาเข้าไปทำงานในโรงเรือน เฉอะแฉะ รวมทั้งช่วงนั้นเป็นหน้าฝน ในโรงเรือนจะเฉอะแฉะมาก
ก่อนการขึ้นเชือกเมล่อน ติดปัญหาในการซื้อแบบที่เป็นม้วนใหญ่ๆ ไม่ทราบว่าซื้อที่ไหน สุดท้ายซื้อตามเว็บไปรษณีย์ เพราะเชือกนี้ก็คือเชือกรัดของไปรษณีย์นั่นเอง ซึ่งที่ซื้อมา น้ำหนัก 1 กิโลกรัม หลายร้อยเมตรอยู่ เมื่อได้มาแล้วจึงทำการขึ้นเชือกเมล่อน สังเกตได้จากภาพ ว่าเมล่อนนั้นโตจนจะเลื้อยลงพื้นแล้ว
ด้านบนคานจะใช้ไม้ไผ่ ยาว 4 เมตร วางพาดเป็นคู่ แยกออกจากกันลักษณะตัว V ที่ทำเป็นตัว V เพราะเวลาแขวนลูกจะทำให้ลูกยื่นออกมาจากแถวนั่นเอง
ช่วงผสมเกสร เมื่อก่อนเขียน เดี๋ยวนี้ พิมพ์เอา สะดวกดี ส่วนการคัดลูก แขวนลูก ผมจะมีกระเช้าคู่ใจใส่อุปกรณ์ไปทำงานทุกครั้ง
เมื่อทำการแขวนลูก ภาพที่ได้จะออกมาแบบนี้ ด้วยวิธีการขึ้นเชือกแบบตัว V ที่กล่าวไปข้างต้น
ทำการเขียนลาย ตามออเดอร์
ก่อนทำการเก็บเกี่ยว 10 วันทำการตัดมาเพื่อทดสอบความหวานพันธุ์เลนอน ได้ความหวาน 15 บริกส์ ถือว่าหวานมากเลยทีเดียว
เก็บเกี่ยวพันธุ์เลนอน
ลักษณะเนื้อของพันธุ์ เลนอน
นุ่มหนึบ หอม รสชาติหวานมาก น้ำหนักเฉลี่ย อยู่ที่ 1.5 กิโลกรัม
ส่วนอีก 2 สายพันธุ์ ผมไม่ได้ถ่ายรูปไว้เท่าไร ด้วยความที่ว่า ต้นเมล่อนมีปัญหาจากสภาพแวดล้อมโรงเรือนทำให้ผลผลิตไม่สมบูรณ์ แต่ก็ยังได้ทานนะครับ โดยตัวนี้ไม่แบ่งขายใคร เพราะผมทำได้ไม่ตรงตามสเป็คพันธุ์ โดยผมจะรีวิวตามที่ผมได้ทานนะครับ ส่วนรูปจะเป็นของพี่ๆในกลุ่มที่ปลูกพันธุ์เดียวกันแต่สมบูรณ์
พันธุ์ ออเรนจ์นัตสึ เนื้อนุ่ม และหอมมาก ใช้คำว่ามากที่สุดที่เคยทานเลย พันธุ์นี้ถูกใจอย่างแรง
พันธุ์ ฮันนี่ นัตสึ เนื้อนุ่ม หอมตามแบบฉบับเนื้อเขียว หวานกว่า ออเรนจนัตสึ
สรุปการปลูกครั้งที่ 5
- เจอปัญหาน้ำขังทำให้ต้นเมล่อน เกิดราแป้ง เฉอะแฉะเวลาทำงาน ไม่สบายตัว
- ผลผลิตเลนอน ก้นแตกไป 2 ลูกน่าจะเกิดจากอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนไม่สู้ดี
- ผลผลิตพันธุ์ นัตสึ และ ออเรนจนัตสึ ลูกเล็กเนื่องจากสภาพโรงเรือนชื้นแฉะ ทำให้ต้นเป็นโรคและส่งผลดังกล่าว
- ผลผลิตเลนอนได้ 70%
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องเกิดการแก้ไขในครั้งต่อไป
การปลูกครั้งที่ 6
ทำการปลูกพันธุ์ เพิล สีส้ม และพันธุ์ปริศนา(แข่งขันการปลูกเมล่อนกระชับมิตร ปีที่ 2) จากปัญหาครั้งที่แล้ว ได้ทำการแก้ปัญหาและอัพเกรดโรงเรือนดังนี้
- เทปูนเป็นฐานแทนผ้าใบ
- ใช้อิฐแดงรองถุงไม่ให้สัมผัสกับพื้น เพื่อกันเชื้อโรค และความสวยงาม
- ใส่ประตู pvc แทนซิปเนื่องจากแบบซิปจะสะดุดล้ม 555
สวยไหมโรงเรือนเวอชั่นอัพเกรด
ผลผลิตที่ได้ 2 สายพันธุ์
สายพันธุ์แรก โดนคนติฉินนินทา ว่านี่มันแคนตาลูปชัดๆ ลูกกลมๆสีขาวๆ ซึ่งเป็นเมล่อนพันธุ์ปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ เพราะเจ้าของสวนที่นำมายังไม่เฉลยสักที (รอคนอื่นปลูกให้เสร็จ) แต่เมื่อผ่าออกมาแม่เจ้า
เมล่อนเนื้อสีขาว ไม่มีกลิ่นแคนตาลูป หอมอ่อนๆแบบเฉพาะตัว เนื้อนุ่ม อร่อยมาก ความหวานวัดได้ 14 บริก
ส่วนสายพันธุ์ เพิล เนื้อส้ม รสสัมผัสเนื้อนุ่ม กลิ่นหอม วัดความหวานได้ 14 บริกเช่นกัน ก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน
ขอบคุณเพื่อนๆที่ติดตามกระทู้ของคนคลั่งเมล่อนคนนี้ หวังว่ากระทู้ผมคงเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นความรู้สำหรับเพื่อนๆทุกคนที่สนใจในการปลูกพืชต่างๆ
ปล.ผมปลูกในรั้วบ้านตัวเองแล้วนะครับ ไม่ได้ปลูกริมฟุตบาทเหมือนครั้งก่อน ขอบคุณที่ติดตามครับ
ขอบคุณขอรับ (พิมพ์บรรทัดนี้เพื่อให้ข้อความในกระทู้นี้ครบ 9999 ตัว)