พระปุณณมันตานี เกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ อันไม่ห่าง
ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์มากนัก เดิมท่านมีชื่อว่า “ปุณณะ” แต่เนื่องจากมารดาของท่าน ชื่อ
นางมันตานี คนทั่วไปจึงมักเรียกท่านว่า “ปุณณมันตานีบุตร” และโดยสายเลือดนับว่าท่านเป็น
หลานของ "พระอัญญาโกณฑัญญะ"
พระปุณณมันตานี ได้เข้ามาบวชในพุทธศาสนา โดยการชักนำของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
ผู้เป็นลุง ในสมัยเมื่อพระพุทธองค์หลังจากทรงจำพรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พอออก
พรรษาแล้วทรงส่งสาวกจำนวน ๖๐ รูป ออกประกาศพระศาสนา นับว่าเป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก
พระอัญญาโกณฑัญญะ ก็เป็นอีกรูปหนึ่งในจำนวนนั้นด้วย ท่านได้กลับไปที่บ้านของท่านแสดง
ธรรมโปรดญาติพี่น้อง ขณะนั้น ปุณณมันตานี บุตรหลานชายของท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสขอ
บวชในพุทธศาสนา ซึ่งท่านให้บรรพชาเป็นสามเณรไว้ก่อน แล้วพาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ที่กรุงราชคฤห์ พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้ เมื่อบวชแล้วไม่นานอุตสาห์บำเพ็ญเพียร
เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
ปฏิบัติอย่างไรสอนอย่างนั้น
เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว มีปฏิปทาตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม ๑๐ ประการ(กถาวัตถุ 10) คือ:-
๑ อัปปิจฉตา เรื่องความปรารถนาน้อย
๒ สันตุฏฐิตา เรื่องความสันโดษ
๓ ปวิเวกตา เรื่องความสงัด
๔ อสังสัคคตา เรื่องความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๕ วิริยารัมภะ เรื่องความเพียร
๖ สีลตา เรื่องศีล
๗ สมาธิ เรื่องสมาธิ
๘ ปัญญา เรื่องปัญญา
๙ วิมุตติ เรื่องความหลุดพ้น
๑๐ วิมุตติญาณทัสนะ เรื่องความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น
คุณธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กถาวัตถุ 10 ประการนี้กล่าวสั้น ๆ ก็คือ มักน้อย
สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระ จะสั่งสอนบริษัทบริวารของท่านด้วย
คุณธรรม ๑๐ ประการนี้ จากท่านจนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ด้วยเหตุนี้ ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของ
ท่านไม่ว่าจะไปสู่ที่ใด ๆ ก็จะพากันกล่าวยกย่องพรรณนาคุณของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ผู้
เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน ให้ปรากฏแก่พุทธบริษัทในที่นั้น ๆ เสมอ แม้พระสารีบุตรเถระ ได้
ทราบข่าวคุณธรรมของท่านแล้ว ก็มีความปรารถนาจะได้สนทนาธรรมกับท่าน
[bพระปุณณมันตานีบุตร สนทนาธรรม กับ พระสารีบุตร
สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จมายังเมืองสาวัตถี ณ ที่นั้นพระสารีบุตรกับพระ
ปุณณมันตานีบุตร ได้มีโอกาสพบกัน พระสารีบุตรได้สนทนาไต่ถามท่านเกี่ยวกับ วิสุทธิ 7
ประการ อันได้แก่:-
๑ ลีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
๒ จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต
๓ ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
๔ กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
๕ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่า หรือมิใช่ทาง
๖ ปฏิปาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
๗ ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะกล่าวคือมรรคญาณ
พระปุณณมันตานีบุตร ได้ถวายคำอธิบายว่า วิสุทธิ 7 นี้ ย่อมเป็นปัจจัยอาศัยส่งต่อกัน
ไปจนถึงพระนิพพาน ท่านเปรียบเช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล ต้องเดินทางเร่งด่วน จากกรุงสาวัตถี
ไปเมืองสาเกตุ ต้องใช้รถม้าฝีเท้าดีถึง ๗ ผลัดต่อ ๆกันไปโดยลำดับกระทั่งถึงที่หมาย(ทางระยะ
ไกลมาก จำเป็นต้องเปลี่ยนรถม้าถึง7ผลัดต่อๆกันไป)
เมื่อการสนทนาไต่ถามกันและกันจบลง พระเถระทั้งสองต่างก็กล่าวอนุโมทนาคุณกถา
ของกันและกัน และแยกกันกลับสู่ที่พักของตน
เพราะความที่พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ท่านดำรงต้นตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเช่นไร ก็
สั่งสอนบรรดาศิษย์และพุทธบริษัทอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมนั้นด้วย
พระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ใน
ทาง ผู้เป็นพระธรรมกถึก
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาพอสมควรแก่กาล
เวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ (เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก) สนทนาธรรม กับ พระสารีบุตร
ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์มากนัก เดิมท่านมีชื่อว่า “ปุณณะ” แต่เนื่องจากมารดาของท่าน ชื่อ
นางมันตานี คนทั่วไปจึงมักเรียกท่านว่า “ปุณณมันตานีบุตร” และโดยสายเลือดนับว่าท่านเป็น
หลานของ "พระอัญญาโกณฑัญญะ"
พระปุณณมันตานี ได้เข้ามาบวชในพุทธศาสนา โดยการชักนำของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ
ผู้เป็นลุง ในสมัยเมื่อพระพุทธองค์หลังจากทรงจำพรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พอออก
พรรษาแล้วทรงส่งสาวกจำนวน ๖๐ รูป ออกประกาศพระศาสนา นับว่าเป็นพระธรรมทูตรุ่นแรก
พระอัญญาโกณฑัญญะ ก็เป็นอีกรูปหนึ่งในจำนวนนั้นด้วย ท่านได้กลับไปที่บ้านของท่านแสดง
ธรรมโปรดญาติพี่น้อง ขณะนั้น ปุณณมันตานี บุตรหลานชายของท่านเกิดศรัทธาเลื่อมใสขอ
บวชในพุทธศาสนา ซึ่งท่านให้บรรพชาเป็นสามเณรไว้ก่อน แล้วพาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ที่กรุงราชคฤห์ พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้ เมื่อบวชแล้วไม่นานอุตสาห์บำเพ็ญเพียร
เจริญวิปัสสนากรรมฐานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
ปฏิบัติอย่างไรสอนอย่างนั้น
เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว มีปฏิปทาตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม ๑๐ ประการ(กถาวัตถุ 10) คือ:-
๑ อัปปิจฉตา เรื่องความปรารถนาน้อย
๒ สันตุฏฐิตา เรื่องความสันโดษ
๓ ปวิเวกตา เรื่องความสงัด
๔ อสังสัคคตา เรื่องความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๕ วิริยารัมภะ เรื่องความเพียร
๖ สีลตา เรื่องศีล
๗ สมาธิ เรื่องสมาธิ
๘ ปัญญา เรื่องปัญญา
๙ วิมุตติ เรื่องความหลุดพ้น
๑๐ วิมุตติญาณทัสนะ เรื่องความรู้ความเห็นว่าหลุดพ้น
คุณธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กถาวัตถุ 10 ประการนี้กล่าวสั้น ๆ ก็คือ มักน้อย
สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ปรารภความเพียร บริบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระ จะสั่งสอนบริษัทบริวารของท่านด้วย
คุณธรรม ๑๐ ประการนี้ จากท่านจนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ด้วยเหตุนี้ ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของ
ท่านไม่ว่าจะไปสู่ที่ใด ๆ ก็จะพากันกล่าวยกย่องพรรณนาคุณของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ผู้
เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน ให้ปรากฏแก่พุทธบริษัทในที่นั้น ๆ เสมอ แม้พระสารีบุตรเถระ ได้
ทราบข่าวคุณธรรมของท่านแล้ว ก็มีความปรารถนาจะได้สนทนาธรรมกับท่าน
[bพระปุณณมันตานีบุตร สนทนาธรรม กับ พระสารีบุตร
สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จมายังเมืองสาวัตถี ณ ที่นั้นพระสารีบุตรกับพระ
ปุณณมันตานีบุตร ได้มีโอกาสพบกัน พระสารีบุตรได้สนทนาไต่ถามท่านเกี่ยวกับ วิสุทธิ 7
ประการ อันได้แก่:-
๑ ลีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
๒ จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต
๓ ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
๔ กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
๕ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่า หรือมิใช่ทาง
๖ ปฏิปาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
๗ ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะกล่าวคือมรรคญาณ
พระปุณณมันตานีบุตร ได้ถวายคำอธิบายว่า วิสุทธิ 7 นี้ ย่อมเป็นปัจจัยอาศัยส่งต่อกัน
ไปจนถึงพระนิพพาน ท่านเปรียบเช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล ต้องเดินทางเร่งด่วน จากกรุงสาวัตถี
ไปเมืองสาเกตุ ต้องใช้รถม้าฝีเท้าดีถึง ๗ ผลัดต่อ ๆกันไปโดยลำดับกระทั่งถึงที่หมาย(ทางระยะ
ไกลมาก จำเป็นต้องเปลี่ยนรถม้าถึง7ผลัดต่อๆกันไป)
เมื่อการสนทนาไต่ถามกันและกันจบลง พระเถระทั้งสองต่างก็กล่าวอนุโมทนาคุณกถา
ของกันและกัน และแยกกันกลับสู่ที่พักของตน
เพราะความที่พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ท่านดำรงต้นตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเช่นไร ก็
สั่งสอนบรรดาศิษย์และพุทธบริษัทอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมนั้นด้วย
พระผู้มีพระภาค จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ใน
ทาง ผู้เป็นพระธรรมกถึก
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ ดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาพอสมควรแก่กาล
เวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน