องค์ประกอบของอุโบสถศีล
องค์ของศีล ๘ และเกณฑ์วินิจฉัย ว่าขาดหรือไม่ในแต่ละข้อ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี
(เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๕
๑.๑ ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๑.๒ ปาณสญญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๑.๓ วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๑.๔ อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า
๑.๕ เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
๒. อทินฺนาทานา เวรมณี
(เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๕
๒.๑ ปรปริคฺคหิตํ ของมีเจ้าของหวง
๒.๒ ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่ามีเจ้าของหวง
๒.๓ เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลัก
๒.๔ อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะลัก
๒.๕ เตน หรณํ นำของมาด้วยความเพียรนั้น
๓. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี
(เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์, เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์คือร่วมประเวณี)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๒ หรือ ๔
๓.๑ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๓.๒ มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปาทนํ อวัยวะเพศถึงกัน
(ตามนัยแห่งฎีกาพรหมชาลสูตรและกังขาวิตรณี)
๓.๑ อชฺฌจรณียวตฺถุ เสพทางทวาร ๓ (คือ ปาก ทวารเบา และทวารหนัก)
๓.๒ ตตฺถ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๓.๓ เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
๓.๔ สาทิยนํ มีความยินดี
(ตามนัยแห่งอรรถกถาขุททกปาฐะ)
๔. มุสาวาทา เวรมณี
(เว้นจากการพูดเท็จ)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
๔.๑ อตฺถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง
๔.๒ วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้ผิด
๔.๓ ตชฺโช วายาโม พยายามพูดออกไป
๔.๔ ปรสฺส ตทตฺถวิชานนนํ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น
๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฐานา เวรมณี
(เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นทางแห่งความประมาท)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
๕.๑ มทนียํ ของทำให้เมา มีสุรา เป็นต้น
๕.๒ ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตใคร่จะดื่ม
๕.๓ ตชฺโช วายาโม ทำความพยายามดื่ม
๕.๔ ปีตปฺปเวสนํ ดื่มให้ไหลล่วงลำคอเข้าไป
๖. วิกาลโภชนา เวรมณี
(เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้วไป จนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
๖.๑ วิกาโล เวลาตั้งแต่เที่ยงแล้วไปถึงก่อนอรุณขึ้น
๖.๒ ยาวกาลิกํ ของเคี้ยวของกินสงเคราะห์เข้าในอาหาร
๖.๓ อชฺโฌหรณปฺปโยโค พยายามกลืนกิน
๖.๔ เตน อชฺโฌหรณํ กลืนให้ล่วงลำคอเข้าไปด้วยความเพียรนั้น
๗. นจฺจคีตวาทิตวิสุกาทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฐานา เวรมณี
(เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้องบรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้
ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๓ สองตอน
ตอนที่ ๑ การบันเทิง ๓
๗.๑ นจฺจาทีนิ การเล่นมีฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น
๗.๒ ทสฺสนตฺถาย คมนํ ไปเพื่อจะดูหรือฟัง
๗.๓ ทสฺสนํ ดูหรือฟัง
ตอนที่ ๒ การตกแต่ง ๓
๗.๑ มาลาทีนํ อญฺญตรตา เครื่องประดับตกแต่ง มีดอกไม้และของหอม เป็นต้น
๗.๒ อนุญฺญาตการณาภาโว ไม่มีเหตุเจ็บไข้ เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต
๗.๓ อลงฺกตภาโว ทัดทรง ตกแต่ง เป็นต้น ด้วยจิตคิดจะประดับให้สวยงาม
๘. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี
(เว้นจากการนอนที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหรา ฟุ่มเฟือย)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๓
๘.๑ อุจฺจาสยนมหาสยนฺ ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
๘.๒ อุจฺจาสยนมหาสยนสญฺญิตา รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
๘.๓ อภินิสีทนํ วาอภินิปชฺชนํ วา นั่งหรือนอนลงไป
หมายเหตุ ศีล ๕ ข้อ ๓ ได้แก่
๓. กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี
(เว้นจากการประพฤตผิดในกาม, เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หรือหวงแหน)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
๓.๑ อคมนียวตฺถุ หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด (หญิง 20 จำพวก)
๓.๒ ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๓.๓ เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
๓.๔ มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติอธิวาสนํ ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน
(หญิง ๒๐ จำพวก คือ ๑. หญิงมีมารดารักษา ๒. หญิงมีบิดารักษา ๓. หญิงมีมารดาและบิดารักษา
๔. หญิงมีพี่ชายหรือน้องชายรักษา ๕. หญิงมีพี่สาวหรือน้องสาวรักษา ๖. หญิงมีญาติรักษา ๗. หญิงมีตระกูลเดียวกันรักษา ๘. หญิงประพฤติธรรมร่วมอาจารย์เดียวกันรักษา ๙. หญิงมีสามีรักษา ๑๐. หญิงที่ถูกสินไหมบังคับ
๑๑. ภรรยาสินไถ่ ๑๒. หญิงสมัครอยู่กับชาย ๑๓. หญิงเป็นภรรยาเพราะทรัพย์ ๑๔. หญิงเป็นภรรยาเพราะได้ผ้านุ่งห่ม ๑๕. หญิงที่ชายสู่ขอ ๑๖. หญิงที่ชายช่วยปลงภาระ ๑๗. หญิงเป็นทาสีชายได้เป็นภรรยา ๑๘. หญิงรับจ้างชายได้เป็นภรรยา ๑๙. หญิงเชลยได้มาเป็นภรรยา ๒๐. หญิงอยู่กับชายขณะหนึ่งคิดว่าชายนั้นเป็นสามีตน
(สำหรับชายต้องห้ามสำหรับหญิง พึงเทียบกลับเอาตามนี้)
เงื่อนไขในการขาดจากศีล
ศีลแต่ละข้อหรือแต่ละประเภท ที่เรามีเจตนารักษาแล้วจะขาดได้ก็ต่อเมื่อเราละเมิดครบองค์ของศีลข้อนั้นๆ เช่น ระบุไว้ว่าศีลข้อที่ ๑ (ปาณาฯ) จะขาดก็ต้องละเมิดให้ครบทั้ง ๕ องค์ ถ้าละเมิดไม่ครบองค์ ๕ ศีลก็ไม่ขาด เป็นแต่ศีลทะลุด่างพร้อย หรือเศร้าหมองเท่านั้น ศีลแต่ละข้อจะขาดได้ ก็อยู่ที่เรา “จงใจ” หรือ “เจตนา” ล่วง ถ้าล่วงเพราะไม่เจตนาก็ไม่ขาดและไม่ด่างพร้อยด้วย
จากหนังสือ ศีล ค่ะ
องค์ประกอบของอุโบสถศีล
องค์ของศีล ๘ และเกณฑ์วินิจฉัย ว่าขาดหรือไม่ในแต่ละข้อ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี
(เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๕
๑.๑ ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๑.๒ ปาณสญญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๑.๓ วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๑.๔ อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะฆ่า
๑.๕ เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
๒. อทินฺนาทานา เวรมณี
(เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๕
๒.๑ ปรปริคฺคหิตํ ของมีเจ้าของหวง
๒.๒ ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่ามีเจ้าของหวง
๒.๓ เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลัก
๒.๔ อุปกฺกโม เพียรเพื่อจะลัก
๒.๕ เตน หรณํ นำของมาด้วยความเพียรนั้น
๓. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี
(เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์, เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์คือร่วมประเวณี)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๒ หรือ ๔
๓.๑ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๓.๒ มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปาทนํ อวัยวะเพศถึงกัน
(ตามนัยแห่งฎีกาพรหมชาลสูตรและกังขาวิตรณี)
๓.๑ อชฺฌจรณียวตฺถุ เสพทางทวาร ๓ (คือ ปาก ทวารเบา และทวารหนัก)
๓.๒ ตตฺถ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๓.๓ เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
๓.๔ สาทิยนํ มีความยินดี
(ตามนัยแห่งอรรถกถาขุททกปาฐะ)
๔. มุสาวาทา เวรมณี
(เว้นจากการพูดเท็จ)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
๔.๑ อตฺถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง
๔.๒ วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้ผิด
๔.๓ ตชฺโช วายาโม พยายามพูดออกไป
๔.๔ ปรสฺส ตทตฺถวิชานนนํ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น
๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฐานา เวรมณี
(เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นทางแห่งความประมาท)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
๕.๑ มทนียํ ของทำให้เมา มีสุรา เป็นต้น
๕.๒ ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตใคร่จะดื่ม
๕.๓ ตชฺโช วายาโม ทำความพยายามดื่ม
๕.๔ ปีตปฺปเวสนํ ดื่มให้ไหลล่วงลำคอเข้าไป
๖. วิกาลโภชนา เวรมณี
(เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้วไป จนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
๖.๑ วิกาโล เวลาตั้งแต่เที่ยงแล้วไปถึงก่อนอรุณขึ้น
๖.๒ ยาวกาลิกํ ของเคี้ยวของกินสงเคราะห์เข้าในอาหาร
๖.๓ อชฺโฌหรณปฺปโยโค พยายามกลืนกิน
๖.๔ เตน อชฺโฌหรณํ กลืนให้ล่วงลำคอเข้าไปด้วยความเพียรนั้น
๗. นจฺจคีตวาทิตวิสุกาทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฐานา เวรมณี
(เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้องบรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้
ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๓ สองตอน
ตอนที่ ๑ การบันเทิง ๓
๗.๑ นจฺจาทีนิ การเล่นมีฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น
๗.๒ ทสฺสนตฺถาย คมนํ ไปเพื่อจะดูหรือฟัง
๗.๓ ทสฺสนํ ดูหรือฟัง
ตอนที่ ๒ การตกแต่ง ๓
๗.๑ มาลาทีนํ อญฺญตรตา เครื่องประดับตกแต่ง มีดอกไม้และของหอม เป็นต้น
๗.๒ อนุญฺญาตการณาภาโว ไม่มีเหตุเจ็บไข้ เป็นต้น ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต
๗.๓ อลงฺกตภาโว ทัดทรง ตกแต่ง เป็นต้น ด้วยจิตคิดจะประดับให้สวยงาม
๘. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี
(เว้นจากการนอนที่นอนอันสูงใหญ่ หรูหรา ฟุ่มเฟือย)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๓
๘.๑ อุจฺจาสยนมหาสยนฺ ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
๘.๒ อุจฺจาสยนมหาสยนสญฺญิตา รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
๘.๓ อภินิสีทนํ วาอภินิปชฺชนํ วา นั่งหรือนอนลงไป
หมายเหตุ ศีล ๕ ข้อ ๓ ได้แก่
๓. กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี
(เว้นจากการประพฤตผิดในกาม, เว้นจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ผู้อื่นรักใคร่หรือหวงแหน)
ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อล่วงพร้อมด้วยองค์ ๔
๓.๑ อคมนียวตฺถุ หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด (หญิง 20 จำพวก)
๓.๒ ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๓.๓ เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ
๓.๔ มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติอธิวาสนํ ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน
(หญิง ๒๐ จำพวก คือ ๑. หญิงมีมารดารักษา ๒. หญิงมีบิดารักษา ๓. หญิงมีมารดาและบิดารักษา
๔. หญิงมีพี่ชายหรือน้องชายรักษา ๕. หญิงมีพี่สาวหรือน้องสาวรักษา ๖. หญิงมีญาติรักษา ๗. หญิงมีตระกูลเดียวกันรักษา ๘. หญิงประพฤติธรรมร่วมอาจารย์เดียวกันรักษา ๙. หญิงมีสามีรักษา ๑๐. หญิงที่ถูกสินไหมบังคับ
๑๑. ภรรยาสินไถ่ ๑๒. หญิงสมัครอยู่กับชาย ๑๓. หญิงเป็นภรรยาเพราะทรัพย์ ๑๔. หญิงเป็นภรรยาเพราะได้ผ้านุ่งห่ม ๑๕. หญิงที่ชายสู่ขอ ๑๖. หญิงที่ชายช่วยปลงภาระ ๑๗. หญิงเป็นทาสีชายได้เป็นภรรยา ๑๘. หญิงรับจ้างชายได้เป็นภรรยา ๑๙. หญิงเชลยได้มาเป็นภรรยา ๒๐. หญิงอยู่กับชายขณะหนึ่งคิดว่าชายนั้นเป็นสามีตน
(สำหรับชายต้องห้ามสำหรับหญิง พึงเทียบกลับเอาตามนี้)
เงื่อนไขในการขาดจากศีล
ศีลแต่ละข้อหรือแต่ละประเภท ที่เรามีเจตนารักษาแล้วจะขาดได้ก็ต่อเมื่อเราละเมิดครบองค์ของศีลข้อนั้นๆ เช่น ระบุไว้ว่าศีลข้อที่ ๑ (ปาณาฯ) จะขาดก็ต้องละเมิดให้ครบทั้ง ๕ องค์ ถ้าละเมิดไม่ครบองค์ ๕ ศีลก็ไม่ขาด เป็นแต่ศีลทะลุด่างพร้อย หรือเศร้าหมองเท่านั้น ศีลแต่ละข้อจะขาดได้ ก็อยู่ที่เรา “จงใจ” หรือ “เจตนา” ล่วง ถ้าล่วงเพราะไม่เจตนาก็ไม่ขาดและไม่ด่างพร้อยด้วย
จากหนังสือ ศีล ค่ะ