วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2559
“พูดแล้วน้ำตามันจะไหล ทุกวันนี้เหมือนน้ำตาตกใน กินไม่ได้นอนไม่หลับมา 9 เดือนแล้ว ไม่สามารถเรียกร้องจากใครได้ เงินทองที่เคยมีใช้ไม่มีแล้ว ลูกสาวก็ต้องออกจากโรงเรียน ทำอย่างไรได้เราไม่มีเงินส่งเขา หนี้สินที่หากู้มาใช้จ่ายกว่า 2 แสนบาท ช่วงระหว่างที่ไม่ได้ออกเรือก็พอกหางหมู เจ้าหนี้ทวงเช้าทวงเย็น ชีวิตมันสุดๆ แล้ว คิดจะขายเรืออวนใช้หนี้อยู่เหมือนกัน แต่ไม่มีใครซื้อเพราะซื้อไปก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะกฎหมายยังไม่ชัดเจนว่าจะเอาอย่างไรแน่ ออกเรือไปก็เสี่ยงถูกจับ”
เสียงสะท้อนจาก นายนพพร สวัสดิกุล ชาวประมงพื้นบ้าน วัย 50 ปี ซึ่งใช้เรืออวน จับสัตว์น้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้าน จ.สมุทรปราการ มานานกว่า 20 ปี กล่าวถึงผลกระทบหลังจาก ..ประกาศใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ซึ่งจนถึงขณะนี้เป็นเวลากว่า 9 เดือนแล้ว ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าการทำประมงประเภทใดผิดกฎหมาย ทำให้เกิดความลักลั่นในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ มีการเหมารวมจนส่งผลกระทบต่อการทำประมงทุกรูปแบบ ในจำนวนนั้นรวมถึงการทำประมงชายฝั่ง ซึ่งเป็นอาชีพเก่าแก่ของคนพื้นถิ่นที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลด้วย
นายนพพร เล่าว่า อาศัยเรืออวนรุนจับสัตว์ทะเลในพื้นที่ห่างจากชายฝั่งไม่เกิน 3 กิโลเมตร ใน จ.สมุทรปราการ มานานกว่า 20 ปี ซึ่งลงทุนซื้อเรือและอวนไปกว่า 2 แสนบาท ซึ่งเป็นเงินที่มากสำหรับชาวประมงความรู้น้อยจบการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และยังมีภาระที่ต้องรับผิดชอบหาเลี้ยงภรรยา บุตร และหลาน รวม 5 ชีวิต โดยเฉพาะบุตรสาวที่ยังอยู่ในวัยเรียน กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากในแต่ละวัน
“เราไม่มีรายได้จากทางอื่น เรืออวนรุนคือเครื่องมือทำมาหากินอย่างเดียวที่มีอยู่ในเวลานี้ แต่มาวันหนึ่งรัฐห้ามไม่ให้ใช้อวนรุน อวนล้อม ไอ้โง่ และโพงพาง จับสัตว์ทะเลเพราะจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี อยากถามกลับเหมือนกันว่า แล้วจะให้ทำอย่างไร เพราะเครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ราคาไม่น้อยหลักแสนบาท จะให้ทิ้งไปเลยหรือ แล้วจะให้หันไปทำอย่างอื่นถามว่าจะเอาเงินทุนมาจากไหน” นายนพพร ให้ข้อมูล
ชาวประมงรายนี้เล่าด้วยว่า หลังจากรัฐบาลห้ามไม่ให้ใช้เครื่องมือที่มีอยู่จับสัตว์น้ำในทะเลก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะไม่กล้าประกอบอาชีพเดิมเนื่องจากกลัวถูกจับ โดยทุกวันนี้ในทะเลอ่าวไทยมีเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ประมงตระเวนตรวจสอบพื้นที่อยู่บ่อยครั้ง มีการจับกุมชาวประมงที่ฝ่าฝืนไปแล้วจำนวนไม่น้อย ทั้งที่ยังไม่มีความชัดเจนในนโยบายนี้ว่าจะทำกันอย่างไร ซึ่งการไม่ได้ออกเรือจับสัตว์ทะเลทำให้ครอบครัวขาดรายได้ เพราะไม่ได้ประกอบอาชีพอื่น ส่งผลกระทบกับครอบครัวอย่างรุนแรง ล่าสุดบุตรสาวซึ่งเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ลาออกจากโรงเรียนเพราะไม่มีเงินส่งเป็นค่าเล่าเรียน หนำซ้ำยังมีหนี้สินที่ยังค้างชำระอีกกว่า 2 แสนบาท และไม่แน่ว่าหากไม่สามารถหาเงินมาชดใช้หนี้ได้หมดก็อาจจะขายเรือเพื่อนำเงินมาประทังชีวิต
“ผมไม่เคยไปเรียกร้อง มีแต่ยื่นขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ช่วยเหลือและให้เห็นใจกันบ้าง เพราะธรรมชาติของพื้นที่ชายฝั่งทะเลแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน ซึ่งการจะใช้เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำย่อมมีความแตกต่างกันด้วย แต่คำสั่งห้ามเครื่องมือในการทำประมงในเวลานี้เหมือนกันครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจึงอยากให้นักวิชาการกรมประมงลงพื้นที่สำรวจกำหนดขนาดเครื่องมือทำประมงแต่ละประเภทให้มีความชัดเจนก่อนระบุให้บังคับใช้ตามกฎหมาย” นายนพพร กล่าว
ชาวประมงพื้นบ้านรายนี้บอกด้วยว่า ที่ผ่านมาไม่มีใครเข้ามาชี้แจงว่าเครื่องมือที่ใช้ในการจับสัตว์ทะเลอย่างไหนเหมาะกับการทำประมงชายฝั่งในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ไม่มีใครเคยให้คำตอบได้ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องยกเลิกอวนรุน ไอ้โง่ อวนล้อม หรือแม้กระทั่งโพงพาง ซึ่งเฉพาะอวนรุนที่ทำอยู่มีความลึกลงไปจากผิวน้ำเพียง 2-3 เมตร ไม่ใช่ระดับ 5 เมตร ที่นักวิชาการบอกว่าจะทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง จึงต้องการให้มีการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อระบุให้ชัดว่า พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดใดห้ามใช้อุปกรณ์จับสัตว์ทะเลชนิดใดเพื่อให้เกิดความชัดเจน
ไม่ใช่เฉพาะเรืออวนรุนของนายนพพรเพียงเท่านั้นที่ต้องจอดสงบนิ่ง เรือประมงพื้นบ้านที่เคยจับสัตว์ทะเลอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยจำนวน 10,627 ลำ ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยขณะนี้ทุกลำต้องจอดเทียบท่า ไม่สามารถออกทะเลเพื่อจับสัตว์น้ำได้
อ่านเพิ่มเติม
http://www.komchadluek.net/detail/20160403/225219.html
“พูดแล้วน้ำตามันจะไหล" อวสานประมงชายฝั่งอ่าวไทย-คิดขายเรือใช้หนี้
“พูดแล้วน้ำตามันจะไหล ทุกวันนี้เหมือนน้ำตาตกใน กินไม่ได้นอนไม่หลับมา 9 เดือนแล้ว ไม่สามารถเรียกร้องจากใครได้ เงินทองที่เคยมีใช้ไม่มีแล้ว ลูกสาวก็ต้องออกจากโรงเรียน ทำอย่างไรได้เราไม่มีเงินส่งเขา หนี้สินที่หากู้มาใช้จ่ายกว่า 2 แสนบาท ช่วงระหว่างที่ไม่ได้ออกเรือก็พอกหางหมู เจ้าหนี้ทวงเช้าทวงเย็น ชีวิตมันสุดๆ แล้ว คิดจะขายเรืออวนใช้หนี้อยู่เหมือนกัน แต่ไม่มีใครซื้อเพราะซื้อไปก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะกฎหมายยังไม่ชัดเจนว่าจะเอาอย่างไรแน่ ออกเรือไปก็เสี่ยงถูกจับ”
เสียงสะท้อนจาก นายนพพร สวัสดิกุล ชาวประมงพื้นบ้าน วัย 50 ปี ซึ่งใช้เรืออวน จับสัตว์น้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้าน จ.สมุทรปราการ มานานกว่า 20 ปี กล่าวถึงผลกระทบหลังจาก ..ประกาศใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย ซึ่งจนถึงขณะนี้เป็นเวลากว่า 9 เดือนแล้ว ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าการทำประมงประเภทใดผิดกฎหมาย ทำให้เกิดความลักลั่นในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ มีการเหมารวมจนส่งผลกระทบต่อการทำประมงทุกรูปแบบ ในจำนวนนั้นรวมถึงการทำประมงชายฝั่ง ซึ่งเป็นอาชีพเก่าแก่ของคนพื้นถิ่นที่อาศัยอยู่ริมฝั่งทะเลด้วย
นายนพพร เล่าว่า อาศัยเรืออวนรุนจับสัตว์ทะเลในพื้นที่ห่างจากชายฝั่งไม่เกิน 3 กิโลเมตร ใน จ.สมุทรปราการ มานานกว่า 20 ปี ซึ่งลงทุนซื้อเรือและอวนไปกว่า 2 แสนบาท ซึ่งเป็นเงินที่มากสำหรับชาวประมงความรู้น้อยจบการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และยังมีภาระที่ต้องรับผิดชอบหาเลี้ยงภรรยา บุตร และหลาน รวม 5 ชีวิต โดยเฉพาะบุตรสาวที่ยังอยู่ในวัยเรียน กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากในแต่ละวัน
“เราไม่มีรายได้จากทางอื่น เรืออวนรุนคือเครื่องมือทำมาหากินอย่างเดียวที่มีอยู่ในเวลานี้ แต่มาวันหนึ่งรัฐห้ามไม่ให้ใช้อวนรุน อวนล้อม ไอ้โง่ และโพงพาง จับสัตว์ทะเลเพราะจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี อยากถามกลับเหมือนกันว่า แล้วจะให้ทำอย่างไร เพราะเครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ราคาไม่น้อยหลักแสนบาท จะให้ทิ้งไปเลยหรือ แล้วจะให้หันไปทำอย่างอื่นถามว่าจะเอาเงินทุนมาจากไหน” นายนพพร ให้ข้อมูล
ชาวประมงรายนี้เล่าด้วยว่า หลังจากรัฐบาลห้ามไม่ให้ใช้เครื่องมือที่มีอยู่จับสัตว์น้ำในทะเลก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะไม่กล้าประกอบอาชีพเดิมเนื่องจากกลัวถูกจับ โดยทุกวันนี้ในทะเลอ่าวไทยมีเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ประมงตระเวนตรวจสอบพื้นที่อยู่บ่อยครั้ง มีการจับกุมชาวประมงที่ฝ่าฝืนไปแล้วจำนวนไม่น้อย ทั้งที่ยังไม่มีความชัดเจนในนโยบายนี้ว่าจะทำกันอย่างไร ซึ่งการไม่ได้ออกเรือจับสัตว์ทะเลทำให้ครอบครัวขาดรายได้ เพราะไม่ได้ประกอบอาชีพอื่น ส่งผลกระทบกับครอบครัวอย่างรุนแรง ล่าสุดบุตรสาวซึ่งเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ลาออกจากโรงเรียนเพราะไม่มีเงินส่งเป็นค่าเล่าเรียน หนำซ้ำยังมีหนี้สินที่ยังค้างชำระอีกกว่า 2 แสนบาท และไม่แน่ว่าหากไม่สามารถหาเงินมาชดใช้หนี้ได้หมดก็อาจจะขายเรือเพื่อนำเงินมาประทังชีวิต
“ผมไม่เคยไปเรียกร้อง มีแต่ยื่นขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ช่วยเหลือและให้เห็นใจกันบ้าง เพราะธรรมชาติของพื้นที่ชายฝั่งทะเลแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน ซึ่งการจะใช้เครื่องมือในการจับสัตว์น้ำย่อมมีความแตกต่างกันด้วย แต่คำสั่งห้ามเครื่องมือในการทำประมงในเวลานี้เหมือนกันครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจึงอยากให้นักวิชาการกรมประมงลงพื้นที่สำรวจกำหนดขนาดเครื่องมือทำประมงแต่ละประเภทให้มีความชัดเจนก่อนระบุให้บังคับใช้ตามกฎหมาย” นายนพพร กล่าว
ชาวประมงพื้นบ้านรายนี้บอกด้วยว่า ที่ผ่านมาไม่มีใครเข้ามาชี้แจงว่าเครื่องมือที่ใช้ในการจับสัตว์ทะเลอย่างไหนเหมาะกับการทำประมงชายฝั่งในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ไม่มีใครเคยให้คำตอบได้ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องยกเลิกอวนรุน ไอ้โง่ อวนล้อม หรือแม้กระทั่งโพงพาง ซึ่งเฉพาะอวนรุนที่ทำอยู่มีความลึกลงไปจากผิวน้ำเพียง 2-3 เมตร ไม่ใช่ระดับ 5 เมตร ที่นักวิชาการบอกว่าจะทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง จึงต้องการให้มีการศึกษาอย่างจริงจังเพื่อระบุให้ชัดว่า พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดใดห้ามใช้อุปกรณ์จับสัตว์ทะเลชนิดใดเพื่อให้เกิดความชัดเจน
ไม่ใช่เฉพาะเรืออวนรุนของนายนพพรเพียงเท่านั้นที่ต้องจอดสงบนิ่ง เรือประมงพื้นบ้านที่เคยจับสัตว์ทะเลอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยจำนวน 10,627 ลำ ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยขณะนี้ทุกลำต้องจอดเทียบท่า ไม่สามารถออกทะเลเพื่อจับสัตว์น้ำได้
อ่านเพิ่มเติม http://www.komchadluek.net/detail/20160403/225219.html