ขออนุญาติปรึกษา กำลังประสบปัญหา ต้องรับมือกับคนที่มีอาการสภาวะอารมณ์ที่รุนเเรงมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะ เรามีเรื่องจะรบกวนสอบถามผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือเเพทย์ที่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องผู้มีสภาวะอารมณ์ที่รุนเเรงค่ะ
ออกตัวก่อนเลยว่า เราเพิ่งเคยล๊อกอินมาตั้งกระทู้เลยค่ะ เพราะเราต้องการที่จะปรึกษาตามหัวกระทู้เลย
ผิดพลายยังไง ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยคะ

   เริ่มเลยค่ะ ขอเข้าประเด็นเลย
ประเด็นก็คือ ตอนนี้พี่ที่รู้จักกันกำลังประสบปัญหา คนใกล้ตัวของพี่เขามีอาการหรืออารณ์ที่รุนเเรงมากๆค่ะ
ถ้าคนโมโหธรรมดายังพอเข้าใจค่ะ เเต่นี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งเเละค่อนข้างเเรงค่ะ
ถามว่าอาการนั้นเป็นยังไง.... (คือเราก็ไม่รู้ว่าเขาเรียกว่าอาการอะไรนะคะ เเละไม่รู้ว่าเเบบนี้คือมีอาการทางจิตรึป่าว เเค่บรรยายว่าเป็นยังไงบ้าง)

      ขออนุติใช้นามแฝงพี่ที่เขามีอาการอารมณ์รุ่นเเรงนี้หน่อยนะค่ะ สมมติว่าชื่อพี่ A นะค่ะ
อาการคือ เขามีอารมณ์ปี๊ดเเตกเเบบฉุดไม่อยู่เลยค่ะ ชนิดที่ว่า เอาวัวมาขวาง เอาช้างมาลากก็หยุดไม่ได้
เเม้เเต่มีผู้ใหญ่ อย่างพ่อเเม่ เขาก็ปี๊ด วีนเหวี่ยงเเบบจัดหนักเรียกว่าไม่เกรงใจเลยค่ะ ใช้คำด่าทอมากมาย
เหมือนที่เราเห็นๆในคลิปตาม Facebook เลยค่ะ
ยกตัวเองประเด็นดังก่อนหน้านี้เรื่องป้าคนนึงที่อ้างตัวว่าเป็นคนใหญ่คนโตเเล้วโวยวายในสถานที่สาธารณะอะค่ะ เเบบนั้นเลย
เเละก็มีการ Post สถานะลง Facebook เเบบคือใช้คำเเรงมากค่ะ เเรงชนิดที่ว่ากล้าใช้คำเเบบนี้ post ออกสื่อเลยเหรอ
จนทำให้พี่ที่หนูรู้จักเเละพ่อเเม่ของพี่เขาเหนื่อย ร้องออกมาว่าไม่ไหวเเล้ว ทุกคนอ่อนล้าเเละเพลียกับ พี่ A มากๆ
เเต่คือก็ทำไรไม่ได้ค่ะ พี่ A ก็เหมือนเป็นคนในครอบครัว คือหนูสงสารเเละเป็นห่วง พี่เเละพ่อเเม่เขามาก
สิ่งที่ทำได้คือ ทำตามใจ ทำทุกอย่างให้พี่ A เขาพอใจ สบายใจ เพื่อที่จะได้หยุด สงบสักที

ถามว่ารู้ได้ไงว่าเขาอาจจะมีอาการที่จิต....คือ พี่ A เขาได้มีการเข้าไปปรึกษาเเละได้รับการรักษาโดยจิตเเพทย์ค่ะเเต่เพิ่งเขารับการรักษาไม่นาน
ทางบ้านทุกคนรับรู้เรื่องนี้อยู่เเล้วคือพี่ A เขาเหมือนจะรู้สึกตัวว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า ไม่ไหวแล้ว เลยไปปรึกษาเเพทย์

ถามว่าทำไมปี๊ด... ปกติ ถ้ามีอะไรขัดใจพี่ A ปี๊ดอยู่เเล้วค่ะ เเต่เหมือนเร็วๆนี้มีเรื่องที่ทำให้พี่ A เขารู้สึกขัดใจ ทำให้เขาไม่พอใจเเบบมากๆ อาจจะเรียกได้ว่าถึงขั้นสุด
ซึ้งเรื่องที่ทำให้พี่ A ปี๊ด เอาตามจริงหันหน้าคุยกันดีๆด้วยเหตุผลก็จบค่ะ เเต่พี่ A คุยไม่รู้เรื่องค่ะ ใช้เเต่อารมณ์เเล้วก็ปี๊ดเเบบฉุดไม่ได้เลย
คือมันเป็นเรื่องที่ทำให้พี่ A ขัดใจเเละไม่พอใจค่ะขอไม่ลงรายละเอียดว่าเรื่องราวอะไรนะค่ะ ไม่สะดวกเล่าจริงๆ

คือเราจะถามว่า....ควรจะรับมืออย่างไรเวลาเขาปี๊ดค่ะ ควรตามใจทำตามที่เขาต้องการ เพื่อให้เขาหยุดรึป่าวค่ะ
เเล้วถ้าใช้ไม้เเข็งไม่ทำตามใจพี่ A จะเป็นผลดีรึป่าว (สำหรับเรา เหมือนเขาไม่พอใจเขาจะปี๊ดเพื่อให้ทุกคนทำตามที่เขาต้องการอะค่ะ)

ควรจะรับมือกันคนที่มีอาการเเบบนี้ยังไงดี สงสารพี่เเละพ่อเเม่เขาค่ะ
เราจะพูดยังไงให้เขายอมรับความจริงได้ค่ะ เวลามีเรื่องราวขัดใจพี่เขา
เเละเราควรจะทำยังไงให้เขาหายจากอาการเเบบนี้ค่ะ เเค่พี่  A เข้าปรึกษาจิตเเพทย์ไปเรื่อยๆ จะหายไหมค่ะ

ที่เล่ามาอาจจะดูเหมือนไม่มีอะไรเเต่สำหรับครอบครัวพี่เขาคือเดือนร้อนจริงๆ ที่ต้องคอยมารับมือกับอารมณ์รุนเเรงเเบบนี้ค่ะ
คือไม่รู้จริงๆค่ะว่าควรต้องทำอย่างไร
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ เเละขอบคุณทุกคำเเนะนำต่างๆนะค่ะ

ขออภัยจริงๆนะค่ะถ้าเราเเท๊กไปผิดห้อง

พาพันขอบคุณพาพันขอบคุณ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
health.kapook.com/view533.html

โรคไบโพลาร์ Bipolar คนสองบุคลิก เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย



          โรคไบโพลาร์ (Bipolar) เป็นโรคทางอารมณ์ ทำให้ผู้ป่วยเป็นคนสองบุคลิก เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ลองไปทำความรู้จักกับ โรคไบโพล่าร์ อารมณ์แปรปรวนกันให้ชัด ๆ

          สำหรับโรคไบโพลาร์ (Bipolar) นี้ เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางด้านเรื่องอารมณ์ กลุ่มเดียวกับโรคซึมเศร้า แต่โรคซึมเศร้านั้นคือ โรคอารมณ์ที่ชัดเจน ที่มีอารมณ์เบื่อเศร้า แต่โรคไบโพลาร์ จะมีลักษณะที่มีอารมณ์ช่วงหนึ่งจะมีลักษณะครื้นเครง รื่นเริง สนุกสนานสลับกับอารมณ์ซึมเศร้าอีกช่วงหนึ่ง 

          โรคไบโพลาร์นี้มีหลายชื่อ เช่น โรคอารมณ์แปรปรวน, manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันชื่อเป็นทางการคือ โรคไบโพลาร์ (bipolar disorder) ลักษณะสำคัญของโรคนี้คือ อาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ (mania) ก็ได้ 







สาเหตุของโรคไบโพลาร์

          ถ้าถามว่า คนกลุ่มไหนเป็นโรคไบโพลาร์มากกว่ากัน จากสถิติจะพบว่า ผู้ป่วยโรคนี้มักเริ่มเป็นก่อนวัยกลางคน บางรายเริ่มเป็นตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี ช่วงวัยรุ่น แต่อาการไม่ปรากฏชัด ทำให้คนไม่สังเกต แต่ก็มีบางรายที่มาเริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปีได้ 

          ส่วนสาเหตุนั้น เชื่อว่าเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุล คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกินไป และสารนอร์เอปิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไป นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมค่อนข้างมาก หากแพทย์ลองซักผู้ป่วยดี ๆ จะพบว่าผู้ป่วยจะมีญาติบางคนป่วยเป็นโรคนี้ด้วย ทำให้อาจบอกได้ว่า ลูกหลานของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป 






อาการของโรคไบโพลาร์

          คนที่มีอาการไบโพลาร์นั้น จะอารมณ์ดีในลักษณะที่ผิดปกติ เรียกว่า mania หมายถึงอารมณ์ดีมากเกินกว่าปกติที่ควรจะเป็น และมักจะไม่มีเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล ช่วงที่มีอารมณ์ดีจะช่างพูดช่างคุย คุยได้ไม่หยุด และไม่ชอบให้ใครมาขัดจะเกิดอารมณ์หงุดหงิด บางคนอารมณ์ดีจนกระทั่งตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 

          แต่ถ้าอารมณ์ร้ายขึ้นมาเมื่อไร ก็ถึงขั้นใช้อารมณ์ก้าวร้าวได้ เรียกว่าเปลี่ยนไปเป็นคนละคน ซึ่งอาจทำให้มีปัญหากระทบกระเทือนต่อหน้าที่การงาน และการใช้ชีวิตประจำวันได้เลย ผู้ป่วยบางคนจะมีปัญหาไม่ยอมหลับ ยอมนอน ตอนกลางคืน อยากเที่ยวกลางคืน ใช้จ่ายเงินมาก มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น ยิ้มทางเพศ 

          ถ้าอาการนี้เริ่มเป็นมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น อาจทำให้ผู้ป่วยไม่มีสมาธิในการเรียน ผลการเรียนตกลง มีปัญหาทางพฤติกรรม ทะเลาะกับเพื่อนฝูง ครูอาจารย์ รู้สึกอยากไปเที่ยวกลางคืน ออกไปเตร็ดเตร่ ซึ่งถ้าพ่อแม่ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างใกล้ชิดก็จะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติเลย

          อย่างไรก็ตาม อาการของโรคไบโพลาร์ไม่จำเป็นต้องสลับกับช่วงซึมเศร้า บางคนเป็นโรคนี้อยู่ช่วงหนึ่ง อาจจะประมาณ 4-6 เดือนก็สามารถกลับคืนเป็นปกติได้เองโดยไม่ต้องรักษา ทำให้คนรอบข้างไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาถ้าไม่สังเกตอย่างใกล้ชิด เมื่อเป็นปกติแล้วเขาจะดำเนินชีวิตได้ปกติ พอถึงช่วงหนึ่งจะรื่นเริงอีก หรืออาจจะสลับไปขั้วตรงข้าม เป็นแบบซึมเศร้า อาการก็จะเริ่มตั้งแต่แยกตัว เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เบื่อ ๆ เข้าก็รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ที่สำคัญที่สุดคือการฆ่าตัวตาย   

        โรคนี้ ช่วงซึมเศร้าจะเหมือนกับโรคซึมเศร้า อัตราการฆ่าตัวตายคือ 15-20% เพราะฉะนั้น เท่ากับว่าผู้ป่วยหนึ่งในห้ามีโอกาสที่จะเกิดปัญหาเบื่อเศร้าและฆ่าตัวตาย แต่ช่วงที่รื่นเริงมาก ๆ ก็จะมีประเด็นการฆ่าตัวตายได้ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ตอนซึมเศร้า 






แนวทางในการรักษาโรคไบโพลาร์

          โรคไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ได้แก่ ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics), และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants) ดังนี้

          1. ใช้ยาไปช่วยในการปรับสารสื่อนำประสาทตรงให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ เรียกชื่อกลุ่มยานี้ว่า กลุ่มปรับอารมณ์ให้คงที่ mood stabilizer ซึ่งจะมียาเฉพาะไม่กี่ตัวที่จะใช้ในการรักษาที่จะช่วยอาการนี้ได้ 

          ช่วงระยะการรักษาช่วงแรกจะเป็นการคุมอาการให้กลับมาเป็นปกติที่สุดภายใน 1 สัปดาห์ก่อน หรืออย่างช้า 1 เดือน หลังจากนั้นจะเป็นการรักษาต่อเนื่อง อาจต้องใช้ยาคุมอาการ ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับอาการคนไข้เป็นสำคัญ ในคนไข้บางราย 1 ปี อาจมาพบหมอแค่ 2-4 ครั้งเท่านั้น ไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลตลอด 

          2. ยาหลักที่นิยมใช้รักษาและได้ผลดี คือ lithium ควบคุมอาการ mania ได้ดีมาก แต่ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากโรคนี้อาจเป็น ๆ หาย ๆ ได้ ตัวยายังสามารถป้องกันได้ทั้งอาการ mania และอาการซึมเศร้า ยาอื่น ๆ ที่ได้ผลดี ได้แก่ valproate, carbamazepine, lamotrigine, gabapentin และ topiramate

          3. สำหรับอาการซึมเศร้าตอบสนองดีต่อยา clozapine, olanzapine, risperidone, quetiapine และziprasidone 

          อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด คนรอบข้างต้องเข้าใจในผู้ป่วยที่เป็นภาวะเช่นนี้ด้วย ตัวผู้ป่วยเองก็ต้องดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยก็วันละ 6-8 ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหาและลดความเครียด และอย่าใช้ยากระตุ้นหรือสารมึนเมา เช่น เหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง 

          ถ้ามีผู้ป่วยในครอบครัว คนรอบตัวต้องเข้าใจและช่วยกันป้องกันผู้ป่วยในช่วงก่อนโรคกำเริบรุนแรง เพราะว่ามีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำอีก ช่วงอายุที่มีโอกาสเป็นโรคอารมณ์แปรปรวนมากที่สุด คือ 15-25 ปี กลุ่มนี้จะเริ่มต้นด้วยอาการขยันผิดปกติ หรือที่เรียกว่า "ไฮเปอร์แอคทีฟ" ต่อมา บางช่วงของการเจ็บป่วยก็จะเปลี่ยนเป็นซึมเศร้า เป็นมาก ๆ อาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย 

          สรุปแล้วโรคนี้รักษาได้ หากคนรอบตัวมีอาการผิดปกติทางอารมณ์อย่างที่บอกมา ควรพาไปพบแพทย์เพื่อให้วินิจฉัย เพื่อจะได้รีบรักษาให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป จะช่วยลดความสูญเสียทางด้านหน้าที่การงาน และเงินทอง เวลาผู้ป่วยมีอาการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรุนแรง เป็นปัญหาสังคมได้ 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
- นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ, ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ 
- ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ 


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่