ขอแยกเป็น 3 หัวข้อนะครับ
1) App Store/Google Play
ผมหาข้อมูลจากหลายแหล่ง บางแหล่งก็บอกว่า ขายแอพบน App Store/Google Play ไม่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นรายได้จากต่างประเทศ แต่เมื่อผมค้นข้อมูลด้านกฎหมาย ปรากฎว่า มันจะมีหลักภาษี "ถิ่นที่อยู่" กล่าวคือ หากอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน และนำรายได้เข้าไทยในปีภาษีนั้น ก็ต้องยื่นภาษี .. สรุปแล้ว ก็ต้องยื่นภาษีใช่รึเปล่าครับ?
2) LINE sticker
อันนี้ก็หาข้อมูลมาหลายแหล่งเหมือนกัน ก็จะบอกกันว่า ไม่ต้องยื่นภาษีแล้ว เพราะไทยกับญี่ปุ่นมีอนุสัญญาว่าด้วยภาษีซ้อน .. แต่เมื่อผมค้นข้อมูลด้านกฎหมาย ปรากฎว่า ถึงแม้มีอนุสัญญาภาษีซ้อน ก็ต้องยื่นภาษีอยู่ดี เพียงแต่ทางญี่ปุ่นจะลดภาษีให้ (ตามข้อตกลงในอนุสัญญา) และสามารถขอคืนภาษีได้ หากรวมแล้วจ่ายภาษีไปเกิน (แต่ในความเป็นจริง ทางญี่ปุ่นจะคืนภาษีให้เรารึ? มีแต่เราต้องจ่ายเพิ่มในกรณีจ่ายภาษีขาด) .. สรุปแล้ว ก็ต้องยื่นภาษีเหมือนกันใช่รึเปล่าครับ?
3) Google AdSense
อันนี้ส่วนใหญ่ได้ข้อมูลมาจากเวป thaiseo ซึ่งมีคนโทรไปถามสรรพากรเลย และได้คำตอบมาว่า ต้องยื่นเสียภาษี และไม่ใช่ 40(8) ด้วย ต้องเป็น 40(2) เพราะถือว่าเป็นค่าคอมมิชชั่น ซึ่งจะหักลดหย่อน 80% เหมือน 40(8) ไม่ได้
แต่เมื่อผมลองเอาทั้ง 3 กรณีมาคิดดู .. ทั้ง 3 กรณีน่าจะเข้าข่ายการมีเงินได้ในต่างประเทศใช่ไหมครับ ซึ่งก็จะเข้าหลักภาษี "แหล่งเงินได้" กล่าวคือ ไปทำมาหากินได้รับผลประโยชน์จากประเทศไหน ก็ต้องจ่ายภาษีให้ประเทศนั้น กรณีของทั้ง 3 ก็คือ ได้รับผลประโยชน์ (เงิน) จากต่างประเทศ ดังนั้น ประเทศนั้นๆ ก็หักภาษีส่งเข้ารัฐของเค้าไปแล้ว
ดังนั้น กรณีทั้ง 3 จะเสียภาษีในประเทศไทย ก็จากหลักของถิ่นที่อยู่เท่านั้น ซึ่งต้องเข้าหลักเกณท์ 180 วัน หรือนำเงินเข้าในปีภาษีนั้น
ผมขอ copy ข้อมูลจาก wiki มานะครับ
หลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่[แก้]
ประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม
หลักแหล่งเงินได้และ
หลักถิ่นที่อยู่
ตามหลักแหล่งเงินได้นั้น ไม่สำคัญว่าบุคคลนั้นจะมีสัญชาติใด และไม่สำคัญว่าเงินได้พึงประเมินนั้นจะจ่ายจากหรือจ่ายในประเทศไทย หากมีเงินได้พึงประเมินในปีปฏิทินที่ผ่านมา จากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย บุคคลนั้น ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากร
ในส่วนของหลักถิ่นที่อยู่ ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 180 วันในหนึ่งปีปฏิทินนั้น ถือว่าเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เมื่อมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว จากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากร เมื่อนำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย ในปีปฏิทินเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น
หมายเหตุ: ผมขอใช้คำว่า "ยื่นภาษี" นะครับ คือหากยื่นแล้ว ถึงเกณท์ที่ต้องจ่ายภาษีก็ต้องจ่าย, หรือหากจ่ายภาษีขาด ก็ต้องจ่ายเพิ่ม, หรือหากจ่ายภาษีไว้เกิน ก็ขอคืนได้
อยากขอผู้รู้ด้านกฎหมายภาษีตัวจริง ช่วยเข้ามาฟันธงทั้ง 3 กรณีนี้ และวิธีการยื่นภาษี (หากต้องยื่น) อย่างละเอียด เช่น
- ประเภทของเงินได้ 40(2), 40(3) หรือ 40(8)
- วิธีขอเครดิตภาษีจากอนุสัญญาเค้าทำกันอย่างไร? ต้องใช้หลักฐานอะไรประกอบ?
- ในกรณีไม่มีหมายเลขผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย .. เราจะกรอกตัวเลขอะไรในช่อง "เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้จ่ายเงินได้" เพราะถ้าไม่กรอก โปรแกรมของกรมสรรพากร จะไม่ให้ผ่านไปหน้าต่อไป (กรณีไม่ได้เป็นมนุษย์เงินเดือน และมีรายได้จากต่างประเทศทางเดียว)
อีกอย่าง ถ้ากรณีของทั้ง 3 ข้อ เกิดกับนิติบุคคล เช่น ตั้งบริษัทเพื่อทำแอพ, ไลน์สติกเกอร์ หรือ AdSense
- จะเป็นรายได้ของบริษัทในไทยได้อย่างไร? (ในเมื่อรายได้เกิดที่ต่างประเทศ)
- จะให้ลงบัญชีอย่างไร?
- บริษัทไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในประเทศใช่ไหม?(เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นหักภาษี ณ ที่รับ)
- อะไรคือหลักฐานการรับเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบอะไร? แล้วต้องเขียนอย่างไร?
- กรณีของ VAT จะทำอย่างไร? VAT เป็น 0% ไหม และต้องมีใบกำกับภาษีไหม? ช่องรายละเอียดลูกค้าคือใคร? ใครคือลูกค้า? ถ้าจดภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายรับเข้ามา แต่ไม่มีใบกำกับภาษี จะโดนไหม?
รบกวนช่วยให้ความกระจ่างทีครับ ขอบคุณครับ
ถามเรื่อง ภาษีคนทำแอพขายบน App Store/Google Play, ทำ LINE sticker, ทำ Google AdSense
1) App Store/Google Play
ผมหาข้อมูลจากหลายแหล่ง บางแหล่งก็บอกว่า ขายแอพบน App Store/Google Play ไม่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นรายได้จากต่างประเทศ แต่เมื่อผมค้นข้อมูลด้านกฎหมาย ปรากฎว่า มันจะมีหลักภาษี "ถิ่นที่อยู่" กล่าวคือ หากอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน และนำรายได้เข้าไทยในปีภาษีนั้น ก็ต้องยื่นภาษี .. สรุปแล้ว ก็ต้องยื่นภาษีใช่รึเปล่าครับ?
2) LINE sticker
อันนี้ก็หาข้อมูลมาหลายแหล่งเหมือนกัน ก็จะบอกกันว่า ไม่ต้องยื่นภาษีแล้ว เพราะไทยกับญี่ปุ่นมีอนุสัญญาว่าด้วยภาษีซ้อน .. แต่เมื่อผมค้นข้อมูลด้านกฎหมาย ปรากฎว่า ถึงแม้มีอนุสัญญาภาษีซ้อน ก็ต้องยื่นภาษีอยู่ดี เพียงแต่ทางญี่ปุ่นจะลดภาษีให้ (ตามข้อตกลงในอนุสัญญา) และสามารถขอคืนภาษีได้ หากรวมแล้วจ่ายภาษีไปเกิน (แต่ในความเป็นจริง ทางญี่ปุ่นจะคืนภาษีให้เรารึ? มีแต่เราต้องจ่ายเพิ่มในกรณีจ่ายภาษีขาด) .. สรุปแล้ว ก็ต้องยื่นภาษีเหมือนกันใช่รึเปล่าครับ?
3) Google AdSense
อันนี้ส่วนใหญ่ได้ข้อมูลมาจากเวป thaiseo ซึ่งมีคนโทรไปถามสรรพากรเลย และได้คำตอบมาว่า ต้องยื่นเสียภาษี และไม่ใช่ 40(8) ด้วย ต้องเป็น 40(2) เพราะถือว่าเป็นค่าคอมมิชชั่น ซึ่งจะหักลดหย่อน 80% เหมือน 40(8) ไม่ได้
แต่เมื่อผมลองเอาทั้ง 3 กรณีมาคิดดู .. ทั้ง 3 กรณีน่าจะเข้าข่ายการมีเงินได้ในต่างประเทศใช่ไหมครับ ซึ่งก็จะเข้าหลักภาษี "แหล่งเงินได้" กล่าวคือ ไปทำมาหากินได้รับผลประโยชน์จากประเทศไหน ก็ต้องจ่ายภาษีให้ประเทศนั้น กรณีของทั้ง 3 ก็คือ ได้รับผลประโยชน์ (เงิน) จากต่างประเทศ ดังนั้น ประเทศนั้นๆ ก็หักภาษีส่งเข้ารัฐของเค้าไปแล้ว
ดังนั้น กรณีทั้ง 3 จะเสียภาษีในประเทศไทย ก็จากหลักของถิ่นที่อยู่เท่านั้น ซึ่งต้องเข้าหลักเกณท์ 180 วัน หรือนำเงินเข้าในปีภาษีนั้น
ผมขอ copy ข้อมูลจาก wiki มานะครับ
หลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่[แก้]
ประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักแหล่งเงินได้และหลักถิ่นที่อยู่
ตามหลักแหล่งเงินได้นั้น ไม่สำคัญว่าบุคคลนั้นจะมีสัญชาติใด และไม่สำคัญว่าเงินได้พึงประเมินนั้นจะจ่ายจากหรือจ่ายในประเทศไทย หากมีเงินได้พึงประเมินในปีปฏิทินที่ผ่านมา จากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย บุคคลนั้น ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากร
ในส่วนของหลักถิ่นที่อยู่ ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 180 วันในหนึ่งปีปฏิทินนั้น ถือว่าเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เมื่อมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว จากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากร เมื่อนำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย ในปีปฏิทินเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น
หมายเหตุ: ผมขอใช้คำว่า "ยื่นภาษี" นะครับ คือหากยื่นแล้ว ถึงเกณท์ที่ต้องจ่ายภาษีก็ต้องจ่าย, หรือหากจ่ายภาษีขาด ก็ต้องจ่ายเพิ่ม, หรือหากจ่ายภาษีไว้เกิน ก็ขอคืนได้
อยากขอผู้รู้ด้านกฎหมายภาษีตัวจริง ช่วยเข้ามาฟันธงทั้ง 3 กรณีนี้ และวิธีการยื่นภาษี (หากต้องยื่น) อย่างละเอียด เช่น
- ประเภทของเงินได้ 40(2), 40(3) หรือ 40(8)
- วิธีขอเครดิตภาษีจากอนุสัญญาเค้าทำกันอย่างไร? ต้องใช้หลักฐานอะไรประกอบ?
- ในกรณีไม่มีหมายเลขผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย .. เราจะกรอกตัวเลขอะไรในช่อง "เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้จ่ายเงินได้" เพราะถ้าไม่กรอก โปรแกรมของกรมสรรพากร จะไม่ให้ผ่านไปหน้าต่อไป (กรณีไม่ได้เป็นมนุษย์เงินเดือน และมีรายได้จากต่างประเทศทางเดียว)
อีกอย่าง ถ้ากรณีของทั้ง 3 ข้อ เกิดกับนิติบุคคล เช่น ตั้งบริษัทเพื่อทำแอพ, ไลน์สติกเกอร์ หรือ AdSense
- จะเป็นรายได้ของบริษัทในไทยได้อย่างไร? (ในเมื่อรายได้เกิดที่ต่างประเทศ)
- จะให้ลงบัญชีอย่างไร?
- บริษัทไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในประเทศใช่ไหม?(เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นหักภาษี ณ ที่รับ)
- อะไรคือหลักฐานการรับเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบอะไร? แล้วต้องเขียนอย่างไร?
- กรณีของ VAT จะทำอย่างไร? VAT เป็น 0% ไหม และต้องมีใบกำกับภาษีไหม? ช่องรายละเอียดลูกค้าคือใคร? ใครคือลูกค้า? ถ้าจดภาษีมูลค่าเพิ่ม มีรายรับเข้ามา แต่ไม่มีใบกำกับภาษี จะโดนไหม?
รบกวนช่วยให้ความกระจ่างทีครับ ขอบคุณครับ