คนเราสร้างบุญสร้างบารมีมาต่างกันครับ บางคนเกิดมาเป็นมหาเศรษฐี บางคนเกิดมาเป็นยาจกเข็ญใจ บางคนเกิดมามีปัญญาเลิศ บางคนเกิดมามีปัญญาทราม พระสัมมาสัพุทธเจ้าตรัสว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดมาจากเหตุในอดีตทั้งสิ้น กรรมในอดีตเป็นสิ่งกำหนดผลในอนาคต บางครั้งกำลังใจเราต่ำกว่าคนอื่น พอเห็นคนอื่นเขาทำในสิ่งที่ยิ่งกว่า เลิศกว่าเรา แทนที่เราจะอนุโมทนากับเขา เรากลับไปอิจฉาว่าร้ายเขา
ลองอ่านเรื่องมหาทุกขตะดู
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=46993
คุณอยากเป็นยาจก หรือเศรษฐี คุณเป็นผู้กำหนดตัวคุณเอง
การมีทรัพย์มาก ก็ดีไปอย่างหนึ่ง คือเราไม่ต้องไปตรากตรำกับชีวิตมาก เราจะได้มีเวลามาปฏิบัติธรรม อาจจะต่างจากบางคนที่ทุกวันนี้แม้จะหาเวลามาฟังเทศน์ฟังธรรมยังไม่มีเลย แล้วจะเอาเวลาที่ไหนมานั่งสมาธิภาวนา คงต้องมืดตื้ดมืดบอดกันต่อไป เอาแต่วิจารณ์คนอื่นโดยที่ตัวเองไม่ลงมือปฏิบัติ ไม่เคยทำบุญเลย แล้วจะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวพุทธได้อย่างไร
แต่ที่เห็นกิจกรรมของวัดพระธรรมกาย รวมทั้งสิ่งก่อสร้างใหญ่โต ก็เพราะมีผู้มีเงินบริจาคมามากก็ต้องทำมากทำใหญ่ทำโตตามกำลังทรัพย์ตามจิตศรัทธาของผู้ใจบุญ เพราะการจัดกิจการงานบุญแต่ละครั้งต้องใช้เงินหลายร้อยล้านบาท บวชพระ บวชเณรเป็นหมื่นเป็นแสนรูป ทั่วประเทศ ก็ทางวัดนี่แหละที่เป็นกำลังทุนที่สำคัญ เพื่อให้สาธุชนได้มีโอกาสทำบุญใหญ่ๆร่วมกัน นี่คือหนึ่งในการสร้างบารมีของชาวพุทธ
อย่างเช่นที่วัดพระธรรมกายเขามีสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่โต ก็เพียงเพื่อให้เหมาะกับจำนวนผู้มีจิตศรัทธามาร่วมงานบุญพร้อมๆกันที่ละหลายแสนคน ดั่งเช่นนครเมกกะ ของซาอุ ก็เพียงเพื่อให้ผู้มีบุญมาร่วมกิจการงานบุญอย่างสะดวกสบายตามบารมีที่พวกเขา ร่วมสร้างกันมา อย่าไปอิจฉาเขาเลย
http://www.dmc.tv/pages/scoop/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html#dhammakaya-temple-9
เราอาจจะเคยเห็นวัดอื่นๆทั่วไปทำกิจการงานบุญเล็กบุญน้อย ซึ่งเราอาจจะชินตากับสิ่งเหล่านั้น แต่การสร้างมหาทานบารมี เราอาจจะเคยได้ยินแต่ในพระไตรปิฏก พระราชาบางองค์ทำบุญจนเงินทองหมดท้องพระคลัง คนจนสุดๆอย่างมหาทุกขตะทำบุญด้วยผ็าผืนสุดท้ายของตน กำลังใจเหล่านี้ ย่อมไม่ธรรมดา แต่ก็มิวายมีพระเทวทัตมารมาคอยขัดขวางการสร้างบารมีในพระชาติสุดท้ายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่นั่นเป็นสมัยพุทธกาล
แต่ในยุคนี้จะมีภาพนี้ให้เห็นก็ลำบาก แต่ที่เห็นก็มีแต่กลุ่มนี้แหละ ที่เขาสร้างรูปหล่อทองคำเพื่อแสดงความกตัญญู บูชาต่อปูชนียาจารย์ที่ใหญ่กว่าตัวจริง ถึง 7-8 องค์ๆละหลายร้อยโลทองคำ นี่ก็ถูกวิจารณ์ สร้างพระพุทธรูปฉาบด้วยทองคำหนึ่งล้านนี่ก็ถูกวิจารย์ สร้างธรรมกายเจดีย์ทรงพุทธกาลนี่ก็ถูกวิจารย์ รวมเด็กๆมาเพื่อสอนบาปบุญคุณโทษครั้งละห้าแสนคนนี่ก็ถูกวิจารณ์ การจัดเดินธุดงค์เพื่อจะได้สะกิดใจคนให้เห็นว่าพระพุทธศานายังดำรงค์อยู่นี่ก็ถูกวิจารณ์ จัดตักบาตรพระครั้งละหมื่นรูปแสนรูปก็ถูกวิจารณ์ แต่ก็ไม่เห็นพวกเขาย่อท้อต่อการสร้างบารมีนะ มีแต่พวกเรานี่แหละที่กำลังใจไม่ถึงแล้วก็ไปวิจารณ์พวกเขา กระทบกระเทือนกันชั่วโมงสองชั่วโมงก็เอะอะโวยวายว่าได้รับความเดือนร้อน
นี่แหละที่บอกว่า คนเราสร้างบุญสร้างบารมีมาต่างกันครับ บางอย่างก็เหนือวิสัยเหนือกำลังใจที่เราจะทำได้ แต่พวกเขาก็ทำได้สำเร็จ ดั่งสมัยพุทธกาล
วัดพระธรรมกาย เปรียบเทียบการสร้างบารมีกับสมัยพุทธกาล
ลองอ่านเรื่องมหาทุกขตะดู
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=46993
คุณอยากเป็นยาจก หรือเศรษฐี คุณเป็นผู้กำหนดตัวคุณเอง
การมีทรัพย์มาก ก็ดีไปอย่างหนึ่ง คือเราไม่ต้องไปตรากตรำกับชีวิตมาก เราจะได้มีเวลามาปฏิบัติธรรม อาจจะต่างจากบางคนที่ทุกวันนี้แม้จะหาเวลามาฟังเทศน์ฟังธรรมยังไม่มีเลย แล้วจะเอาเวลาที่ไหนมานั่งสมาธิภาวนา คงต้องมืดตื้ดมืดบอดกันต่อไป เอาแต่วิจารณ์คนอื่นโดยที่ตัวเองไม่ลงมือปฏิบัติ ไม่เคยทำบุญเลย แล้วจะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวพุทธได้อย่างไร
แต่ที่เห็นกิจกรรมของวัดพระธรรมกาย รวมทั้งสิ่งก่อสร้างใหญ่โต ก็เพราะมีผู้มีเงินบริจาคมามากก็ต้องทำมากทำใหญ่ทำโตตามกำลังทรัพย์ตามจิตศรัทธาของผู้ใจบุญ เพราะการจัดกิจการงานบุญแต่ละครั้งต้องใช้เงินหลายร้อยล้านบาท บวชพระ บวชเณรเป็นหมื่นเป็นแสนรูป ทั่วประเทศ ก็ทางวัดนี่แหละที่เป็นกำลังทุนที่สำคัญ เพื่อให้สาธุชนได้มีโอกาสทำบุญใหญ่ๆร่วมกัน นี่คือหนึ่งในการสร้างบารมีของชาวพุทธ
อย่างเช่นที่วัดพระธรรมกายเขามีสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่โต ก็เพียงเพื่อให้เหมาะกับจำนวนผู้มีจิตศรัทธามาร่วมงานบุญพร้อมๆกันที่ละหลายแสนคน ดั่งเช่นนครเมกกะ ของซาอุ ก็เพียงเพื่อให้ผู้มีบุญมาร่วมกิจการงานบุญอย่างสะดวกสบายตามบารมีที่พวกเขา ร่วมสร้างกันมา อย่าไปอิจฉาเขาเลย
http://www.dmc.tv/pages/scoop/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html#dhammakaya-temple-9
เราอาจจะเคยเห็นวัดอื่นๆทั่วไปทำกิจการงานบุญเล็กบุญน้อย ซึ่งเราอาจจะชินตากับสิ่งเหล่านั้น แต่การสร้างมหาทานบารมี เราอาจจะเคยได้ยินแต่ในพระไตรปิฏก พระราชาบางองค์ทำบุญจนเงินทองหมดท้องพระคลัง คนจนสุดๆอย่างมหาทุกขตะทำบุญด้วยผ็าผืนสุดท้ายของตน กำลังใจเหล่านี้ ย่อมไม่ธรรมดา แต่ก็มิวายมีพระเทวทัตมารมาคอยขัดขวางการสร้างบารมีในพระชาติสุดท้ายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่นั่นเป็นสมัยพุทธกาล
แต่ในยุคนี้จะมีภาพนี้ให้เห็นก็ลำบาก แต่ที่เห็นก็มีแต่กลุ่มนี้แหละ ที่เขาสร้างรูปหล่อทองคำเพื่อแสดงความกตัญญู บูชาต่อปูชนียาจารย์ที่ใหญ่กว่าตัวจริง ถึง 7-8 องค์ๆละหลายร้อยโลทองคำ นี่ก็ถูกวิจารณ์ สร้างพระพุทธรูปฉาบด้วยทองคำหนึ่งล้านนี่ก็ถูกวิจารย์ สร้างธรรมกายเจดีย์ทรงพุทธกาลนี่ก็ถูกวิจารย์ รวมเด็กๆมาเพื่อสอนบาปบุญคุณโทษครั้งละห้าแสนคนนี่ก็ถูกวิจารณ์ การจัดเดินธุดงค์เพื่อจะได้สะกิดใจคนให้เห็นว่าพระพุทธศานายังดำรงค์อยู่นี่ก็ถูกวิจารณ์ จัดตักบาตรพระครั้งละหมื่นรูปแสนรูปก็ถูกวิจารณ์ แต่ก็ไม่เห็นพวกเขาย่อท้อต่อการสร้างบารมีนะ มีแต่พวกเรานี่แหละที่กำลังใจไม่ถึงแล้วก็ไปวิจารณ์พวกเขา กระทบกระเทือนกันชั่วโมงสองชั่วโมงก็เอะอะโวยวายว่าได้รับความเดือนร้อน
นี่แหละที่บอกว่า คนเราสร้างบุญสร้างบารมีมาต่างกันครับ บางอย่างก็เหนือวิสัยเหนือกำลังใจที่เราจะทำได้ แต่พวกเขาก็ทำได้สำเร็จ ดั่งสมัยพุทธกาล