ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก
๑. จากเฟซบุ๊กของ Punya Pappayon (28 มีนาคม เวลา 15:12 น. )
...........................................................................................
เห็นงานเขียนของ "วินทร์ เลียววาริณ"
ซึ่งในอดีตเคยเป็นนักเขียนในดวงใจของข้าพเจ้า
ในระดับที่ติดตามซื้อหนังสือเขาทุกเล่ม (แต่ปัจจุบันมิได้เป็นแล้ว)
ทำให้อดคิดถึงเรื่องความเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ในอดีต เวลาเราชื่นชอบนักเขียน หรือแม้แต่ศิลปิน คนทำหนัง คนทำหนังคนไหน
เหตุผลที่เราชื่นชอบก็น่าจะเป็นเพราะ ผลงานออกมาดี มีความคิดสร้างสรรค์
ล้ำสมัยก้าวหน้าแปลกใหม่กว่าคนทำงานรุ่นเดียวกัน
จนกระทั่งเวลาผ่านไป รสนิยมของคนเราย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
ประกอบกับมีคนทำงานหน้าใหม่ๆ มากขึ้น
ในขณะที่นักเขียนคนนั้นยังคงทำอะไรเหมือนเดิม
เหมือนที่เคยทำเหมือน 20 ปีที่แล้ว
และนั่นทำให้นักเขียนคนที่เราเคยชื่นชมในผลงาน
จนตามซื้อหนังสือของเขาครบทุกเล่ม
จึงกลับกลายเป็นคนที่งานได้เชยและล้าหลังจนเราเบือนหน้าหนีในปัจจุบัน
และยิ่งในยุคที่สิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปรวดเร็วอย่างน่าตกใจ
ก็อาจทำให้นักเขียนที่มัวแต่ก้มหน้าก้มตาเขียนหนังสือให้ทันเดดไลน์
หรือพยายามออกหนังสือให้ทันปีละ 4 เล่ม
ยิ่งมองไม่เห็นถึงโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วดังกล่าว
เช่นเดียวกับปกหนังสือที่เขาออกแบบ
เมื่อก่อนอาจเป็นภาพกราฟฟิคที่สวยงามโฉบเฉี่ยวดุจดังภาพโฆษณา
แต่พอเวลาผ่านไป
กราฟฟิคนั้นกลับออกมาเชยไม่ต่างจากภาพ
"สวัสดีวันจันทร์" "มีความสุขวันพระ" แบบที่ชอบส่งกันในไลน์
ด้วยเหตุนี้สิ่งที่นักเขียนควรทำนอกจากตะบี้ตะบันเขียนก็คือ
รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงและก้าวไปให้ทันมัน
เพราะสุดท้ายถ้าใครก้าวไม่ทัน
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ความตายของนักเขียน
ซึ่งไม่ใช่เป็นความตายในเชิงชีวภาพ แต่เป็นความตายทางวรรณกรรม
คือเขียนอะไรมาก็ไม่มีใครสนใจอ่านอีกต่อไป
เรื่องของ "นักเขียน" ที่มีมุมมองกับจุดยืน...คนละแบบ
๑. จากเฟซบุ๊กของ Punya Pappayon (28 มีนาคม เวลา 15:12 น. )
...........................................................................................
เห็นงานเขียนของ "วินทร์ เลียววาริณ"
ซึ่งในอดีตเคยเป็นนักเขียนในดวงใจของข้าพเจ้า
ในระดับที่ติดตามซื้อหนังสือเขาทุกเล่ม (แต่ปัจจุบันมิได้เป็นแล้ว)
ทำให้อดคิดถึงเรื่องความเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ในอดีต เวลาเราชื่นชอบนักเขียน หรือแม้แต่ศิลปิน คนทำหนัง คนทำหนังคนไหน
เหตุผลที่เราชื่นชอบก็น่าจะเป็นเพราะ ผลงานออกมาดี มีความคิดสร้างสรรค์
ล้ำสมัยก้าวหน้าแปลกใหม่กว่าคนทำงานรุ่นเดียวกัน
จนกระทั่งเวลาผ่านไป รสนิยมของคนเราย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
ประกอบกับมีคนทำงานหน้าใหม่ๆ มากขึ้น
ในขณะที่นักเขียนคนนั้นยังคงทำอะไรเหมือนเดิม
เหมือนที่เคยทำเหมือน 20 ปีที่แล้ว
และนั่นทำให้นักเขียนคนที่เราเคยชื่นชมในผลงาน
จนตามซื้อหนังสือของเขาครบทุกเล่ม
จึงกลับกลายเป็นคนที่งานได้เชยและล้าหลังจนเราเบือนหน้าหนีในปัจจุบัน
และยิ่งในยุคที่สิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปรวดเร็วอย่างน่าตกใจ
ก็อาจทำให้นักเขียนที่มัวแต่ก้มหน้าก้มตาเขียนหนังสือให้ทันเดดไลน์
หรือพยายามออกหนังสือให้ทันปีละ 4 เล่ม
ยิ่งมองไม่เห็นถึงโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วดังกล่าว
เช่นเดียวกับปกหนังสือที่เขาออกแบบ
เมื่อก่อนอาจเป็นภาพกราฟฟิคที่สวยงามโฉบเฉี่ยวดุจดังภาพโฆษณา
แต่พอเวลาผ่านไป
กราฟฟิคนั้นกลับออกมาเชยไม่ต่างจากภาพ
"สวัสดีวันจันทร์" "มีความสุขวันพระ" แบบที่ชอบส่งกันในไลน์
ด้วยเหตุนี้สิ่งที่นักเขียนควรทำนอกจากตะบี้ตะบันเขียนก็คือ
รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงและก้าวไปให้ทันมัน
เพราะสุดท้ายถ้าใครก้าวไม่ทัน
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ความตายของนักเขียน
ซึ่งไม่ใช่เป็นความตายในเชิงชีวภาพ แต่เป็นความตายทางวรรณกรรม
คือเขียนอะไรมาก็ไม่มีใครสนใจอ่านอีกต่อไป