สวัสดีครับ นี่เป็นกระทู้ที่สองของผม วันนี้ผมจะนำเสนอเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับอาคารห้องสมุดโรงเรียน เป็นรายงานสมัยผมเรียนมหาวิทยาลัยช่วงปี3 (พ.ศ.2556) แต่รายงานฉบับนี้ไม่เคยได้นำเสนอจริงๆ ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์มากที่จะมาเผยแพร่ในพันทิป ขอนำเสนอแล้วกัน
ห้องสมุดโรงเรียนมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของครู อาจารย์ และนักเรียน เพราะเป็นแหล่งจัดเก็บ รวบรวม และให้บริการวัสดุสารนิเทศ ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ห้องสมุดเป็นศูนย์การเรียนรู้สำคัญในโรงเรียน เพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มาศึกษาหาความรู้ เรียนรู้วิทยาการต่างๆ ด้วยตนเอง นอกจากนี้ห้องสมุดยังเป็นแหล่งพัฒนาลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์อันสำคัญยิ่ง คือ นิสัยการสนใจใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นนิสัยสำคัญที่โรงเรียนต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับนักเรียน การที่โรงเรียนมีห้องสมุดที่ดี มีบริการที่ดี ย่อมมีโอกาสที่จะสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนได้ ดังนั้น ในการจัดห้องสมุดให้สามารถบริการนักเรียน ครูอาจารย์ บุคลากรในโรงเรียน ตลอดจนชุมชนได้อย่างกว้างขวาง หลากหลายนับได้ว่าเป็นคุณประโยชน์ต่อสถานศึกษายิ่งนัก
อาคารห้องสมุดโรงเรียน
ควรมีสถานที่ที่เหมาะสมใช้เป็นห้องสมุดโดยเฉพาะอาจเป็นอาคารเอกเทศ หรือเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร หากเป็นส่วนหนึ่งของอาคารควรมีทางเข้าออกของห้องสมุดเองโดยเฉพาะ ห้องสมุดควรอยู่ชั้นล่างของอาคาร หรือไม่เกินชั้น ๒ ของอาคาร ซึ่งอยู่ในจุดศูนย์กลางที่นักเรียน ครู อาจารย์มาใช้ได้สะดวก ห่างไกลจากเสียงรบกวน มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ภายในห้องสมุดควรจัดแบ่งเป็นมุมต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่
1.บริเวณทำงานของครูบรรณารักษ์ เป็นที่ทำงานของครูบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ตลอดจนนักเรียนช่วยงานห้องสมุด ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานเทคนิคของห้องสมุด และให้บริการยืม - คืน ในบริเวณนี้ควรมีโต๊ะทำงานสำหรับครูบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ เคาน์เตอร์ ยืม -คืน หนังสือ โต๊ะซ่อมหนังสือ ตู้หรือชั้นเก็บเอกสาร เก็บหนังสือใหม่และหนังสือเตรียมซ่อม ตู้เก็บวัสดุอุปกรณ์ สำหรับห้องสมุดที่มีงบประมาณมากพอ อาจจัดให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับปฏิบัติงาน และมุมหนังสือสำรองหรือหนังสือจองบริเวณอ่านหนังสือทั่วไป เป็นที่สำหรับนักเรียนและครูใช้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือสารคดีแบบเรียนต่างๆ และเป็นที่สำหรับปฏิบัติการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
2.มุมหนังสืออ้างอิง มุมนี้สำหรับให้นักเรียน ครู อาจารย์ศึกษาค้นคว้าหนังสืออ้างอิง เช่น พจนานุกรม สารานุกรม ฯลฯ เพื่อประกอบการเรียนการสอน ดังนั้น ในมุมนี้จึงเป็นบริเวณมีหนังสืออ้างอิงประเภทต่างๆ วารสารเย็บเล่ม จุลสาร และกฤตภาคไว้สำหรับให้บริการ
3.มุมวารสารและหนังสือพิมพ์ มุมนี้จัดเพื่อส่งเสริมความรู้ ความถนัด และความสนใจของนักเรียนและครูอาจารย์ สิ่งพิมพ์ที่ควรจัดหาไว้บริการในมุมนี้ ได้แก่ วารสารประเภทต่างๆ ทั้งวารสารวิชาการ และวารสารทั่วไป หนังสือพิมพ์รายวัน ครุภัณฑ์ในมุมนี้ ประกอบด้วย ที่วางหนังสือพิมพ์ ชั้นวารสาร
4.มุมศึกษาค้นคว้าเป็นรายบุคคล เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน ครู อาจารย์ ครุภัณฑ์ในมุมนี้ ได้แก่ โต๊ะ - เก้าอี้นั่งอ่านคนเดียว
5.มุมโสตทัศนศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากสื่อต่างๆ ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ และแก้ไขความบกพร่องทางการเรียนของนักเรียน สามารถให้บริการแก่นักเรียนกลุ่มเล็ก หรือบริการเป็นรายบุคคล วัสดุ สุขภัณฑ์ที่ควรจัดไว้บริการในมุมนี้ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องหูฟัง เครื่องฉายภาพนิ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ แถบบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ภาพนิ่ง CD-Rom Multi - media ฯลฯ ตลอดจนตู้เก็บวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
ตัวอย่างอาคารห้องสมุดโรงเรียน[b
ภายนอก : ควรมีสระน้ำ สวนจำลอง เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย
ภายใน : เป็นห้องพักผ่อน มุมทำการบ้าน ภายในอาจตกแต่งเป็นสไตล์ญี่ปุ่น หรือตกแต่งสไตล์อื่นๆก็ได้ กระจกควรเป็นกระจกที่โปร่งและหนา เพื่อเพิ่มแสงสว่างและความทนทาน
ภาพบน : ห้องทำงานสำหรับครูบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บริเวณบันไดมีที่รับแขก และมีตู้เย็น มีบันไดขึ้นไปสู่ห้องงานเทคนิค
ชั้น1 มีมุมเด็ก สำหรับเด็กเล็ก มีของเล่นเสริมทักษะ หนังสือภาพ หนังสือนิทาน โต๊ะสำหรับเด็ก สีระบาย
ภาพบน : ห้องอ้างอิงและหนังสือหายาก
ชั้น2 ที่นั่งอ่านหนังสือ มุมวารสาร ชั้นหนังสือ ที่พักหนังสือ มุมค้นคว้าส่วนตัว เพดานควรติดตั้งไฟส่องสว่างให้เพียงพอ และมีกระจกใสเพื่อเพิ่มแสงสว่างในเวลากลางวัน มีห้องประชุมและห้องเรียน
แนวคิดเกี่ยวกับอาคารห้องสมุดโรงเรียน
ห้องสมุดโรงเรียนมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของครู อาจารย์ และนักเรียน เพราะเป็นแหล่งจัดเก็บ รวบรวม และให้บริการวัสดุสารนิเทศ ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ห้องสมุดเป็นศูนย์การเรียนรู้สำคัญในโรงเรียน เพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มาศึกษาหาความรู้ เรียนรู้วิทยาการต่างๆ ด้วยตนเอง นอกจากนี้ห้องสมุดยังเป็นแหล่งพัฒนาลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์อันสำคัญยิ่ง คือ นิสัยการสนใจใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นนิสัยสำคัญที่โรงเรียนต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับนักเรียน การที่โรงเรียนมีห้องสมุดที่ดี มีบริการที่ดี ย่อมมีโอกาสที่จะสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนได้ ดังนั้น ในการจัดห้องสมุดให้สามารถบริการนักเรียน ครูอาจารย์ บุคลากรในโรงเรียน ตลอดจนชุมชนได้อย่างกว้างขวาง หลากหลายนับได้ว่าเป็นคุณประโยชน์ต่อสถานศึกษายิ่งนัก
อาคารห้องสมุดโรงเรียน
ควรมีสถานที่ที่เหมาะสมใช้เป็นห้องสมุดโดยเฉพาะอาจเป็นอาคารเอกเทศ หรือเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร หากเป็นส่วนหนึ่งของอาคารควรมีทางเข้าออกของห้องสมุดเองโดยเฉพาะ ห้องสมุดควรอยู่ชั้นล่างของอาคาร หรือไม่เกินชั้น ๒ ของอาคาร ซึ่งอยู่ในจุดศูนย์กลางที่นักเรียน ครู อาจารย์มาใช้ได้สะดวก ห่างไกลจากเสียงรบกวน มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ภายในห้องสมุดควรจัดแบ่งเป็นมุมต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่
1.บริเวณทำงานของครูบรรณารักษ์ เป็นที่ทำงานของครูบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ตลอดจนนักเรียนช่วยงานห้องสมุด ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานเทคนิคของห้องสมุด และให้บริการยืม - คืน ในบริเวณนี้ควรมีโต๊ะทำงานสำหรับครูบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ เคาน์เตอร์ ยืม -คืน หนังสือ โต๊ะซ่อมหนังสือ ตู้หรือชั้นเก็บเอกสาร เก็บหนังสือใหม่และหนังสือเตรียมซ่อม ตู้เก็บวัสดุอุปกรณ์ สำหรับห้องสมุดที่มีงบประมาณมากพอ อาจจัดให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับปฏิบัติงาน และมุมหนังสือสำรองหรือหนังสือจองบริเวณอ่านหนังสือทั่วไป เป็นที่สำหรับนักเรียนและครูใช้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือสารคดีแบบเรียนต่างๆ และเป็นที่สำหรับปฏิบัติการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
2.มุมหนังสืออ้างอิง มุมนี้สำหรับให้นักเรียน ครู อาจารย์ศึกษาค้นคว้าหนังสืออ้างอิง เช่น พจนานุกรม สารานุกรม ฯลฯ เพื่อประกอบการเรียนการสอน ดังนั้น ในมุมนี้จึงเป็นบริเวณมีหนังสืออ้างอิงประเภทต่างๆ วารสารเย็บเล่ม จุลสาร และกฤตภาคไว้สำหรับให้บริการ
3.มุมวารสารและหนังสือพิมพ์ มุมนี้จัดเพื่อส่งเสริมความรู้ ความถนัด และความสนใจของนักเรียนและครูอาจารย์ สิ่งพิมพ์ที่ควรจัดหาไว้บริการในมุมนี้ ได้แก่ วารสารประเภทต่างๆ ทั้งวารสารวิชาการ และวารสารทั่วไป หนังสือพิมพ์รายวัน ครุภัณฑ์ในมุมนี้ ประกอบด้วย ที่วางหนังสือพิมพ์ ชั้นวารสาร
4.มุมศึกษาค้นคว้าเป็นรายบุคคล เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน ครู อาจารย์ ครุภัณฑ์ในมุมนี้ ได้แก่ โต๊ะ - เก้าอี้นั่งอ่านคนเดียว
5.มุมโสตทัศนศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากสื่อต่างๆ ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ และแก้ไขความบกพร่องทางการเรียนของนักเรียน สามารถให้บริการแก่นักเรียนกลุ่มเล็ก หรือบริการเป็นรายบุคคล วัสดุ สุขภัณฑ์ที่ควรจัดไว้บริการในมุมนี้ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องหูฟัง เครื่องฉายภาพนิ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ แถบบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ภาพนิ่ง CD-Rom Multi - media ฯลฯ ตลอดจนตู้เก็บวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
ตัวอย่างอาคารห้องสมุดโรงเรียน[b
ภายนอก : ควรมีสระน้ำ สวนจำลอง เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย
ภายใน : เป็นห้องพักผ่อน มุมทำการบ้าน ภายในอาจตกแต่งเป็นสไตล์ญี่ปุ่น หรือตกแต่งสไตล์อื่นๆก็ได้ กระจกควรเป็นกระจกที่โปร่งและหนา เพื่อเพิ่มแสงสว่างและความทนทาน
ภาพบน : ห้องทำงานสำหรับครูบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บริเวณบันไดมีที่รับแขก และมีตู้เย็น มีบันไดขึ้นไปสู่ห้องงานเทคนิค
ชั้น1 มีมุมเด็ก สำหรับเด็กเล็ก มีของเล่นเสริมทักษะ หนังสือภาพ หนังสือนิทาน โต๊ะสำหรับเด็ก สีระบาย
ภาพบน : ห้องอ้างอิงและหนังสือหายาก
ชั้น2 ที่นั่งอ่านหนังสือ มุมวารสาร ชั้นหนังสือ ที่พักหนังสือ มุมค้นคว้าส่วนตัว เพดานควรติดตั้งไฟส่องสว่างให้เพียงพอ และมีกระจกใสเพื่อเพิ่มแสงสว่างในเวลากลางวัน มีห้องประชุมและห้องเรียน