เห็นใช้ผิดกันเยอะ วันนี้จึงขอคัดลอกข้อความบางส่วนจากตำราภาษาไทยมาให้อ่านกันครับ ^^
จาก
"ไวยากรณ์ไทย" โดย รศ. ดร. นววรรณ พันธุเมธา
หนังสือชุด บรมราชกุมารีอักษรานุรักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับที่ ๕
>>
...คำบอกมาลาอาจกำหนดได้เป็นพวก ๆ เช่น พวกละ นะ ซิ เถอะ กระมัง หรอก แน่ะ นี่ หนอ แหละ
พวก ละ ได้แก่
ละ ล่ะ
พวก นะ ได้แก่
นะ น่ะ นา น้า
...
...คำพวกนี้มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อพูด เสียงอาจสั้นหรือยาว และเสียงสูงต่ำแตกต่างจากอักษรที่เขียน
เช่น ละ เวลาพูดจะเป็น
ลา (เสียงสั้นกว่า ลา ที่หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง)
ซิ เวลาพูดจะเป็น
ซี (เสียงสั้นกว่า ซี ในคำว่า ซีเมนต์)...
คำพวก ละ ได้แก่
ล่ะ กับ
ละ
ล่ะ ใช้ในประโยคถามให้ตอบ ผู้พูดต้องการทราบคำตอบ
ตัวอย่าง
๑. ไปกันกี่คน
ล่ะ
๒. เมื่อตอนเย็นใครมาหาคุณ
ล่ะ
๓. เธอจะช่วยเขาไหม
ล่ะ
๔. ทำไมเธอไม่พูดกับเขา
ล่ะ
น่าสังเกตว่าในประโยคที่มีคำบอกการถาม หรือ
ล่ะ มักปรากฏหน้า
หรือ และออกเสียงสามัญ
ตัวอย่าง
๑. คุณจะไป
ละหรือ
๒. เสื้อตัวนี้ เธอจะทิ้ง
ละหรือ
ล่ะ ใช้ในประโยคบอกให้ทำ มักเป็นการสั่งห้ามล่วงหน้า ทั้งที่เหตุการณ์ยังมิได้เกิดขึ้น
ตัวอย่าง
๑. เธออย่าไปไหน
ล่ะ
๒. รู้อย่างนี้แล้วอย่าบอกใคร
ล่ะ
ละ ใช้ในประโยคแจ้งให้ทราบ บอกเล่าสิ่งที่คิดว่าผู้ฟังยังไม่รู้ ไม่ใช้ในประโยคคำตอบ
ตัวอย่าง
๑. ฉันไป
ละ พรุ่งนี้จะมาใหม่
๒. พวกเราไปกันหมดทุกคน
ละ ยายนุชก็ไป
๓. เมื่อตอนเย็นมีใครมาหาคุณ
ละ
อธิบายเพิ่มเติม
ประโยคถามให้ตอบ เดิมเรียก ประโยคคำถาม
ประโยคบอกให้ทำ เดิมเรียก ประโยคคำสั่ง
ประโยคแจ้งให้ทราบ เดิมเรียก ประโยคบอกเล่า
ล่ะ เป็นเสียงวรรณยุกต์โท แบบเดียวกับ
ล่า (ล่าสัตว์) แต่สั้นกว่า
ป.ล. แท็กห้องการ์ตูนด้วยเพราะ search อากู๋แล้วเจอกระทู้คำถามนี้จากห้องการ์ตูน
การใช้ ละ ล่ะ ท้ายประโยคที่คนไทยมักใช้ผิด
"ไวยากรณ์ไทย" โดย รศ. ดร. นววรรณ พันธุเมธา
หนังสือชุด บรมราชกุมารีอักษรานุรักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับที่ ๕
>>
...คำบอกมาลาอาจกำหนดได้เป็นพวก ๆ เช่น พวกละ นะ ซิ เถอะ กระมัง หรอก แน่ะ นี่ หนอ แหละ
พวก ละ ได้แก่ ละ ล่ะ
พวก นะ ได้แก่ นะ น่ะ นา น้า
...
...คำพวกนี้มีลักษณะพิเศษ คือ เมื่อพูด เสียงอาจสั้นหรือยาว และเสียงสูงต่ำแตกต่างจากอักษรที่เขียน เช่น ละ เวลาพูดจะเป็น ลา (เสียงสั้นกว่า ลา ที่หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง) ซิ เวลาพูดจะเป็น ซี (เสียงสั้นกว่า ซี ในคำว่า ซีเมนต์)...
คำพวก ละ ได้แก่ ล่ะ กับ ละ
ล่ะ ใช้ในประโยคถามให้ตอบ ผู้พูดต้องการทราบคำตอบ
ตัวอย่าง
๑. ไปกันกี่คนล่ะ
๒. เมื่อตอนเย็นใครมาหาคุณล่ะ
๓. เธอจะช่วยเขาไหมล่ะ
๔. ทำไมเธอไม่พูดกับเขาล่ะ
น่าสังเกตว่าในประโยคที่มีคำบอกการถาม หรือ ล่ะ มักปรากฏหน้า หรือ และออกเสียงสามัญ
ตัวอย่าง
๑. คุณจะไปละหรือ
๒. เสื้อตัวนี้ เธอจะทิ้งละหรือ
ล่ะ ใช้ในประโยคบอกให้ทำ มักเป็นการสั่งห้ามล่วงหน้า ทั้งที่เหตุการณ์ยังมิได้เกิดขึ้น
ตัวอย่าง
๑. เธออย่าไปไหนล่ะ
๒. รู้อย่างนี้แล้วอย่าบอกใครล่ะ
ละ ใช้ในประโยคแจ้งให้ทราบ บอกเล่าสิ่งที่คิดว่าผู้ฟังยังไม่รู้ ไม่ใช้ในประโยคคำตอบ
ตัวอย่าง
๑. ฉันไปละ พรุ่งนี้จะมาใหม่
๒. พวกเราไปกันหมดทุกคนละ ยายนุชก็ไป
๓. เมื่อตอนเย็นมีใครมาหาคุณละ
อธิบายเพิ่มเติม
ประโยคถามให้ตอบ เดิมเรียก ประโยคคำถาม
ประโยคบอกให้ทำ เดิมเรียก ประโยคคำสั่ง
ประโยคแจ้งให้ทราบ เดิมเรียก ประโยคบอกเล่า
ล่ะ เป็นเสียงวรรณยุกต์โท แบบเดียวกับ ล่า (ล่าสัตว์) แต่สั้นกว่า
ป.ล. แท็กห้องการ์ตูนด้วยเพราะ search อากู๋แล้วเจอกระทู้คำถามนี้จากห้องการ์ตูน