คุณซื้ออัลบั้มเพลงครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ (ไม่อยากใช้คำว่าสุดท้ายอันจะทำให้ดูเศร้าไปหน่อย) ส่วนตัวผมเองก็ประมาณ1ปีมาแล้ว สอยอัลบั้มลิมิเต็ดของศิลปินคนโปรดที่มีขายเฉพาะในญี่ปุ่นมาแผ่นนึง ได้เปิดฟังไป1ครั้งถ้วน ทั้งนี้ ความห่างเหินของแฟนเพลงกับผลงานศิลปินที่วางขายมาจากวัฒนธรรมการฟังเพลงที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้คนไม่ได้คลั่งไคล้นักร้อง-วงดนตรีขนาดต้องตามซื้อมาเก็บทั้งอัลบั้ม ขณะที่ศิลปินก็ไม่ได้ผลิตงานออกมามากมายอีกแล้ว คนเจน Y จึงเลือกที่จะโหลดซิงเกิ้ลที่พวกเขาชอบมาไว้ในคลังเพลงส่วนตัว ถูกกฏหมายบ้าง ผิดกฏหมายบ้าง ก็ว่ากันไป
น่าเสียดายผู้คนยุคนี้ที่ไม่เคยได้จับต้องผลงานของศิลปินอีกต่อไป พวกเขาอาจไม่เคยรู้หรือจินตนาการภาพไม่ออกว่าครั้งหนึ่งเคยมีร้านขายแผ่นเสียงที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Tower Records แบรนด์ที่เคยได้ชื่อว่าทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรมเพลง (มีธุรกิจอื่นบ้างแต่ยังเกี่ยวข้องกับเพลง ทั้ง ร้านหนังสือ และ นิตยสาร) ปี 1999 พวกเขาทำยอดขายได้สูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ 7 ปีต่อมา พวกเขาถูกฟ้องล้มละลาย ล่าสุด เรื่องราวของร้านสีเดียวกับโลโก้ปั้มเชลล์แห่งนี้ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบภาพยนตร์สารคดีโดย โคลิน แฮงค์ส ลูกชายแท้ๆของ ทอม แฮงค์ส
All Things Must Pass คล้ายกับจมหมายรักถึงอุตสาหกรรมเพลงอเมริกันและบทบันทึกประวัติศาสตร์วงการค้าปลีกสหรัฐฯ ผ่านการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Tower Records นำโดย รัสส์ โซโลมอน ประธานใหญ่ผู้ก่อตั้ง ชายซึ่งหลงไหลในเสียงดนตรี เขาเริ่มต้นเปิดร้านขายแผ่นเสียงเล็กๆ ในตึก Tower Theater ที่ซาคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ของพ่อเขา ก่อนที่ต่อมาจะประสบความสำเร็จจนสามารถขยายสาขาไปกว่า200แห่งทั่วโลก รวมถึงสาขาสยามในไทย
โคลิน ให้ชาว Tower Records ที่ตอนนี้กลายเป็นผู้สูงวัยไปหมดแล้วสลับกันมานั่งเล่าเรื่อง โดยมีคนดังในวงการเพลงแทรกมาพูดความรู้สึกที่มีต่อร้านเป็นระยะ เรียงลำดับเหตุการณ์จากก่อนไปหลังแบบ1-10 อาจมองว่าเป็นการนั่งดูคนแก่ฝอย เมาธ์มอย โม้ รำลึกถึงอดีต ทว่าประวัติของร้านก็มีสีสันพอที่จะทำให้ผู้ชมไม่เบื่อ ช่วงแรกได้อารมณ์ นอสแตลเจีย ถลิวหาวันชื่นคืนสุข คิดถึงความทรงจำดีๆ ช่วงท้ายมีความหวนไห้ แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นฟูมฟาย คล้ายกับชื่อหนังที่ว่า ทุกสิ่งย่อมผันผ่าน
การชมภาพยนตร์เรื่องนี้เหมือนได้นั่งไทม์แมชชีนไปดูส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการฟังเพลงที่ร้านนี้เเกี่ยวข้องยาวนานเกือบครึ่งศตวรรษ (1960-2000) ไล่ตั้งแต่ยุคที่ศิลปินออกเพลงทีละซิงเกิ้ลลงในแผ่นเสียงไวนิล ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนมาออกอัลบั้มเป็นแผ่น CD ไปจนถึงการมาของ Mp3 (หนังไม่ได้พูดถึงเทปคาสเซ็ท) นอกจากนั้น เรายังมีโอกาสได้เป็นสักขีพยานเฝ้ามองการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีครั้งสำคัญชนิดข้ามยุคสมัย จากอนาล็อกสู่ดิจิตอล แผ่นเสียงกลายเป็นของตกยุค อัลบั้มซีดีเพลงเสื่อมความนิยม ผู้คนไม่ว่าจะรุ่นใหม่รุ่นเก่าแห่ไปดาวน์โหลดไฟล์กันฟรีๆ ไม่มีอีกแล้วภาพของแฟนคลับมากมายต่อแถวหน้าร้านรอเวลาเปิดเพื่อที่จะได้จับจองผลงานของศิลปินในดวงใจก่อนใคร และมีน้อยมากที่แฟนเพลงจะซื้อแผ่นอัลบั้มของแท้ไปให้ศิลปินที่ชอบเซ็นต์
อย่างไรก็ตาม สาเหตุการล้มครืนของร้านเครือ Tower Records ซึ่งเคยเป็นหอคอยใหญ่ เสาหลักคํ้าอุตสาหกรรมเพลงอเมริกันมาหลายปี ไม่ใช่แค่การถือกำเนิดของเว็บ Napster หรือ ไฟล์ Mp3 ที่เอื้อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น แต่มีสาเหตุอื่นๆอีกมาก ทั้งการดำเนินนโยบายพลาด การปรับตัวผิดทาง(ไม่ใช่ไม่ปรับตัว) ความหลงระเริงที่ทำให้ขยายสาขาเร็วเกินไป และความขัดแย้งภายในองค์กร เหล่านี้คือบทเรียนที่น่าสนใจในชั้นเรียนวิชาบริหารธุรกิจ
กระนั้นหากเราอยู่ในชั้นเรียนวิชาดนตรี Tower Records คือองค์กรในฝันของผู้ที่ชื่นชอบเสียงเพลง พวกเขาอยู่กันแบบครอบครัว พนักงานของที่นี่แต่ละคนมีดีเอ็นเอความซ่าส์ พวกเขามีอิสระมาก (บางคนอาจบอกว่าไร้ระเบียบ) จะแต่งตัว ไว้ผม ยังไงก็ได้ ขอแค่มีความรู้เรื่องเพลงและทำงานได้ นำมาซึ่งเสน่ห์ของร้านที่มีบรรยากาศอบอุ่น สนุกสนาน เป็นกันเอง พนักงานเป็นมิตร สนิทกับลูกค้าราวกับเป็นเพื่อน หลายคนจึงทำงานอย่างความสุข (ได้โบนัสพิเศษเป็นการพบเจอศิลปินชื่อดังที่หมุนเวียนกันเข้ามาซื้อของและมีศิลปินชื่อดังในยุคนี้บางคนเคยทำงานที่นี่ด้วย) ไม่แปลกที่พนักงานจำนวนหนึ่งจะลงหลักปักฐานอยู่ที่นั่น ไต่เต้าจากพนักงานต๊อกต๋อยค่าแรงแสนถูกจนกลายมาเป็นผู้บริหารระดับสูงที่มีเงินเดือนมากกว่าตอนเริ่มงานวันแรกหลายเท่า สิ่งเหล่านี้หาได้ยากแล้วในองค์กรยุคปัจจุบันที่มีอัตราการย้ายงานสูง ที่น่าอิจฉาคือพวกเขาได้ได้คลุกอยู่กับสิ่งที่ตัวเองรักเกือบทั้งชีวิต
All Things Must Pass สะท้อนคำว่า ความเปลี่ยนแปลงคือนิรันด์ ได้อย่างดี แต่ฉากจบของ Tower Records ก็ไม่ได้หดหู่ขนาดนั้น เราจะเรียกร้านนี้ว่าตำนานคงไม่ได้ เมล็ดพันธุ์ของพวกเขาไม่ได้ตายไปหมดสิ้น ความภาคภูมิใจของ รัสส์ ยังคงงอกเงยอยู่ทั่วญี่ปุ่น (สาขาญี่ปุ่นแยกตัวออกมาจากบริษัทแม่ก่อนล้มละลาย) ประเทศต้นตอของสโลแกนประจำร้าน No Music No Life ขณะเดียวกัน ตอนนี้แผ่นเสียงที่เคยเป็นวัตถุโบราณเริ่มเป็นที่ต้องการในหมู่นักฟังเพลงอีกครั้ง ศิลปินหลายคนหันกลับมาออกซิงเกิ้ลใหม่กับแผ่นเสียง กระแสวินเทจทำให้มันดูคลาสสิก มีคุณค่าขึ้นมา
หนังโดนใจคอเพลงสากลแน่ๆ ส่วนใครที่เคยไปซื้ออัลบั้มเพลงที่ร้านนี้ก็คงยิ่งอินใหญ่ (แอบปล่อยแก่เบาๆ) รัสส์ โซโลมอน คือผู้ชายอีกคนหนึ่งที่สร้างอะไรเจ๋งๆขึ้นมาบนโลก มันมีความหมายกับวงการเพลง เช่นเดียวกับคำพูดของเขาที่ว่า เสียงเพลงสำคัญกับชีวิตหนุ่มสาว ว่าแต่ อัลบั้มเพลงแรกในชีวิตที่คุณซื้อคืออัลบั้มไหน?
ปล. All Things Must Pass เป็นชื่ออัลบั้มเพลงของ จอร์จ แฮริสัน แห่งวง The Beatles
คะแนน 8/10
โดย นกไซเบอร์
เครดิต
https://www.facebook.com/cyberbirdmovie
ตัวอย่างหนัง
http://movie.bugaboo.tv/watch/242734/?link=4
รีวิวหนัง : All Things Must Pass แผ่นเสียงตกยุค?
คุณซื้ออัลบั้มเพลงครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ (ไม่อยากใช้คำว่าสุดท้ายอันจะทำให้ดูเศร้าไปหน่อย) ส่วนตัวผมเองก็ประมาณ1ปีมาแล้ว สอยอัลบั้มลิมิเต็ดของศิลปินคนโปรดที่มีขายเฉพาะในญี่ปุ่นมาแผ่นนึง ได้เปิดฟังไป1ครั้งถ้วน ทั้งนี้ ความห่างเหินของแฟนเพลงกับผลงานศิลปินที่วางขายมาจากวัฒนธรรมการฟังเพลงที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้คนไม่ได้คลั่งไคล้นักร้อง-วงดนตรีขนาดต้องตามซื้อมาเก็บทั้งอัลบั้ม ขณะที่ศิลปินก็ไม่ได้ผลิตงานออกมามากมายอีกแล้ว คนเจน Y จึงเลือกที่จะโหลดซิงเกิ้ลที่พวกเขาชอบมาไว้ในคลังเพลงส่วนตัว ถูกกฏหมายบ้าง ผิดกฏหมายบ้าง ก็ว่ากันไป
น่าเสียดายผู้คนยุคนี้ที่ไม่เคยได้จับต้องผลงานของศิลปินอีกต่อไป พวกเขาอาจไม่เคยรู้หรือจินตนาการภาพไม่ออกว่าครั้งหนึ่งเคยมีร้านขายแผ่นเสียงที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Tower Records แบรนด์ที่เคยได้ชื่อว่าทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรมเพลง (มีธุรกิจอื่นบ้างแต่ยังเกี่ยวข้องกับเพลง ทั้ง ร้านหนังสือ และ นิตยสาร) ปี 1999 พวกเขาทำยอดขายได้สูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ 7 ปีต่อมา พวกเขาถูกฟ้องล้มละลาย ล่าสุด เรื่องราวของร้านสีเดียวกับโลโก้ปั้มเชลล์แห่งนี้ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบภาพยนตร์สารคดีโดย โคลิน แฮงค์ส ลูกชายแท้ๆของ ทอม แฮงค์ส
All Things Must Pass คล้ายกับจมหมายรักถึงอุตสาหกรรมเพลงอเมริกันและบทบันทึกประวัติศาสตร์วงการค้าปลีกสหรัฐฯ ผ่านการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Tower Records นำโดย รัสส์ โซโลมอน ประธานใหญ่ผู้ก่อตั้ง ชายซึ่งหลงไหลในเสียงดนตรี เขาเริ่มต้นเปิดร้านขายแผ่นเสียงเล็กๆ ในตึก Tower Theater ที่ซาคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ของพ่อเขา ก่อนที่ต่อมาจะประสบความสำเร็จจนสามารถขยายสาขาไปกว่า200แห่งทั่วโลก รวมถึงสาขาสยามในไทย
โคลิน ให้ชาว Tower Records ที่ตอนนี้กลายเป็นผู้สูงวัยไปหมดแล้วสลับกันมานั่งเล่าเรื่อง โดยมีคนดังในวงการเพลงแทรกมาพูดความรู้สึกที่มีต่อร้านเป็นระยะ เรียงลำดับเหตุการณ์จากก่อนไปหลังแบบ1-10 อาจมองว่าเป็นการนั่งดูคนแก่ฝอย เมาธ์มอย โม้ รำลึกถึงอดีต ทว่าประวัติของร้านก็มีสีสันพอที่จะทำให้ผู้ชมไม่เบื่อ ช่วงแรกได้อารมณ์ นอสแตลเจีย ถลิวหาวันชื่นคืนสุข คิดถึงความทรงจำดีๆ ช่วงท้ายมีความหวนไห้ แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นฟูมฟาย คล้ายกับชื่อหนังที่ว่า ทุกสิ่งย่อมผันผ่าน
การชมภาพยนตร์เรื่องนี้เหมือนได้นั่งไทม์แมชชีนไปดูส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการฟังเพลงที่ร้านนี้เเกี่ยวข้องยาวนานเกือบครึ่งศตวรรษ (1960-2000) ไล่ตั้งแต่ยุคที่ศิลปินออกเพลงทีละซิงเกิ้ลลงในแผ่นเสียงไวนิล ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนมาออกอัลบั้มเป็นแผ่น CD ไปจนถึงการมาของ Mp3 (หนังไม่ได้พูดถึงเทปคาสเซ็ท) นอกจากนั้น เรายังมีโอกาสได้เป็นสักขีพยานเฝ้ามองการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีครั้งสำคัญชนิดข้ามยุคสมัย จากอนาล็อกสู่ดิจิตอล แผ่นเสียงกลายเป็นของตกยุค อัลบั้มซีดีเพลงเสื่อมความนิยม ผู้คนไม่ว่าจะรุ่นใหม่รุ่นเก่าแห่ไปดาวน์โหลดไฟล์กันฟรีๆ ไม่มีอีกแล้วภาพของแฟนคลับมากมายต่อแถวหน้าร้านรอเวลาเปิดเพื่อที่จะได้จับจองผลงานของศิลปินในดวงใจก่อนใคร และมีน้อยมากที่แฟนเพลงจะซื้อแผ่นอัลบั้มของแท้ไปให้ศิลปินที่ชอบเซ็นต์
อย่างไรก็ตาม สาเหตุการล้มครืนของร้านเครือ Tower Records ซึ่งเคยเป็นหอคอยใหญ่ เสาหลักคํ้าอุตสาหกรรมเพลงอเมริกันมาหลายปี ไม่ใช่แค่การถือกำเนิดของเว็บ Napster หรือ ไฟล์ Mp3 ที่เอื้อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น แต่มีสาเหตุอื่นๆอีกมาก ทั้งการดำเนินนโยบายพลาด การปรับตัวผิดทาง(ไม่ใช่ไม่ปรับตัว) ความหลงระเริงที่ทำให้ขยายสาขาเร็วเกินไป และความขัดแย้งภายในองค์กร เหล่านี้คือบทเรียนที่น่าสนใจในชั้นเรียนวิชาบริหารธุรกิจ
กระนั้นหากเราอยู่ในชั้นเรียนวิชาดนตรี Tower Records คือองค์กรในฝันของผู้ที่ชื่นชอบเสียงเพลง พวกเขาอยู่กันแบบครอบครัว พนักงานของที่นี่แต่ละคนมีดีเอ็นเอความซ่าส์ พวกเขามีอิสระมาก (บางคนอาจบอกว่าไร้ระเบียบ) จะแต่งตัว ไว้ผม ยังไงก็ได้ ขอแค่มีความรู้เรื่องเพลงและทำงานได้ นำมาซึ่งเสน่ห์ของร้านที่มีบรรยากาศอบอุ่น สนุกสนาน เป็นกันเอง พนักงานเป็นมิตร สนิทกับลูกค้าราวกับเป็นเพื่อน หลายคนจึงทำงานอย่างความสุข (ได้โบนัสพิเศษเป็นการพบเจอศิลปินชื่อดังที่หมุนเวียนกันเข้ามาซื้อของและมีศิลปินชื่อดังในยุคนี้บางคนเคยทำงานที่นี่ด้วย) ไม่แปลกที่พนักงานจำนวนหนึ่งจะลงหลักปักฐานอยู่ที่นั่น ไต่เต้าจากพนักงานต๊อกต๋อยค่าแรงแสนถูกจนกลายมาเป็นผู้บริหารระดับสูงที่มีเงินเดือนมากกว่าตอนเริ่มงานวันแรกหลายเท่า สิ่งเหล่านี้หาได้ยากแล้วในองค์กรยุคปัจจุบันที่มีอัตราการย้ายงานสูง ที่น่าอิจฉาคือพวกเขาได้ได้คลุกอยู่กับสิ่งที่ตัวเองรักเกือบทั้งชีวิต
All Things Must Pass สะท้อนคำว่า ความเปลี่ยนแปลงคือนิรันด์ ได้อย่างดี แต่ฉากจบของ Tower Records ก็ไม่ได้หดหู่ขนาดนั้น เราจะเรียกร้านนี้ว่าตำนานคงไม่ได้ เมล็ดพันธุ์ของพวกเขาไม่ได้ตายไปหมดสิ้น ความภาคภูมิใจของ รัสส์ ยังคงงอกเงยอยู่ทั่วญี่ปุ่น (สาขาญี่ปุ่นแยกตัวออกมาจากบริษัทแม่ก่อนล้มละลาย) ประเทศต้นตอของสโลแกนประจำร้าน No Music No Life ขณะเดียวกัน ตอนนี้แผ่นเสียงที่เคยเป็นวัตถุโบราณเริ่มเป็นที่ต้องการในหมู่นักฟังเพลงอีกครั้ง ศิลปินหลายคนหันกลับมาออกซิงเกิ้ลใหม่กับแผ่นเสียง กระแสวินเทจทำให้มันดูคลาสสิก มีคุณค่าขึ้นมา
หนังโดนใจคอเพลงสากลแน่ๆ ส่วนใครที่เคยไปซื้ออัลบั้มเพลงที่ร้านนี้ก็คงยิ่งอินใหญ่ (แอบปล่อยแก่เบาๆ) รัสส์ โซโลมอน คือผู้ชายอีกคนหนึ่งที่สร้างอะไรเจ๋งๆขึ้นมาบนโลก มันมีความหมายกับวงการเพลง เช่นเดียวกับคำพูดของเขาที่ว่า เสียงเพลงสำคัญกับชีวิตหนุ่มสาว ว่าแต่ อัลบั้มเพลงแรกในชีวิตที่คุณซื้อคืออัลบั้มไหน?
ปล. All Things Must Pass เป็นชื่ออัลบั้มเพลงของ จอร์จ แฮริสัน แห่งวง The Beatles
คะแนน 8/10
โดย นกไซเบอร์
เครดิต https://www.facebook.com/cyberbirdmovie
ตัวอย่างหนัง http://movie.bugaboo.tv/watch/242734/?link=4