คดีแม่ประนอม หุ้นบริษัทเป็นสินสมรส จะโยกจะยกให้ใครโดดๆไม่ได้ตามกฏหมาย เป็นโมฆียะ

ถ้ามีหลักฐานการซื้อขายหุ้นกันปี 2552 ก็รอศาลท่านเรียกหลักฐานเลยละกัน
รอดูหลักฐานการซื้อขาย หรือ โอนหุ้นครับ
ลูกสาวคนโตเงียบมาก หลายคนบอกเงียบเพราะกลัวโดนด่าหาว่าเนรคุณ
ทนายลูกสาวคนโต บอกให้แม่เข้าไปคุยกับลูกสาว
ตัวเองเป็นลูกแท้ๆควรจะเข้ามาเคลียกับแม่ แต่ทำตัวอยู่เหนือท่านเรียกให้เข้าไปหา

==========
“หลังจากนายศิริชัยเสียชีวิต ศาลมีคำสั่งให้ นางประนอมเป็นผู้จัดการมรดก ในปี 2557
นางประนอมก็เริ่มให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของนายศิริชัยทั้งหมด
เพื่อเตรียมแบ่งมรดกให้กับลูก ก็เริ่มพบว่า ทรัพย์สินกงสีหลายอย่าง โดยเฉพาะที่ดินกว่า 100 แปลง ที่นายศิริชัยซื้อไว้ ถูกโอนไปอยู่ในชื่อนางศิริพรทั้งหมด และเมื่อนางประนอมติดตามทวง ถามเรื่องทรัพย์สินจากนางศิริพร จึงได้ทราบว่ารายชื่อผู้ถือหุ้นถูกเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ปี 2552 เป็นเหตุให้นางประนอมต้องฟ้องเรียกทรัพย์สินมรดกและสิทธิในหุ้นคืนจากนางศิริพรต่อศาล” คนใกล้ชิดนางประนอมกล่า

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/597680
ข้อมูล ผถห
http://www.isranews.org/investigative/investigate-news-person/item/45851-inves_45851.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เรื่องจัดการสินสมรส
ม.1480 ว. 1 ไม่ได้บอกว่าเป็นโมฆียะครับ ตัวบทบอกเพียงว่าการที่คู่สมรสจัดการสินสมรสที่ต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอม (ตาม ม.1476) เพียงลำพังหรือปราศจากความยินยอมของคู่สมรสนั้น คู่สมรสอีกฝ่ายจะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้
ยกเว้นว่าได้ให้สัตยาบันแล้วหรือเป็นบุคคลภายนอก ทำโดยสุจริต เสียค่าตอบแแทน

นิติกรรมดังกล่าวจึงเป็นเพียงนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ใช่ตกเป็นโมฆียะ
จะเพิกถอนได้ต้องฟ้องศาลให้สั่งเพิกถอนภายในกำหนดระยะเวลาตาม ม.1480 ว.2 เท่านั้น
(ต่างจากกรณีโมฆียกรรมที่บุคคลซึ่งมีอำนาจบอกล้างได้บอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ นิติกรรมก็เป็นอันสิ้นผลไปทันที)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่