** เคล็ดลับคำโคลง ** ตอน..ธรรมชาติของโคลง
“ธรรมชาติ คือ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
ทุกสิ่งรอบตัวเราคือส่วนผสมของหลักธรรมชาติ
ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด เปรียบเสมือนความว่างเปล่า..”
" ความว่างเปล่า " ในที่นี้ไม่ใช่ว่าไม่สนใจอะไรเลย หากทว่าเราควรสนใจและใส่ใจในความว่างเปล่านั้นต่างหาก..
๕๕๕+ เช้าวันนี้เริ่มต้นด้วยแนวปรัชญาก็จริง แต่ขอหักมุมมาประชุมโคลงต่อกันเถอะครับพี่น้องผองเพื่อนถนนฯ...
…ตอนที่ผ่านมาสองตอนแรกผู้เขียนคิดว่าได้ปูพื้นฐานให้ผู้ที่สนใจพอสมควรแล้ว ตอนนี้อยากจะขอเจาะลึกเป็นกรณีๆไป
๑. งานประพันธ์โคลงจุดเริ่มต้นมาจากการนำเสนอถ่ายทอดอารมณ์ของมนุษย์..
ตามธรรมชาติที่มีทั้งรัก โลภ โกรธ หลง เศร้า สุข ทุกข์ สะอึกสะอื้น คร่ำครวญ รำพัน เปรมปรีดิ์ ฯลฯ
จึงเป็นที่มาว่าทำไมต้องมีการกำหนดเอก-โทในโคลง ?
เพราะเอก-โทนั้นจะใกล้เคียงกับการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก น้ำเสียง คำพูดของมนุษย์หรือธรรมชาติค่อนข้างมาก
ยกตัวอย่างเช่น...
๐ วิเวกวิโยคล้น ราตรี
เจรียงระกาขับวจี เอกเอ้
ผสานแซ่ศุภศรี จักจั่น นั่นนา
หรีดหริ่งร่ายตะเข้ แข่งเศร้าเรียมศัลย์ ฯ
โคลงสี่จึงเหมาะกับการแต่งนิราศหรือบทพร่ำรำพันเป็นอย่างมาก ด้วยประการฉะนี้แฮ
๒.นอกจากออกแนวรักพิศวาสหวานฉ่ำปนเศร้าสร้อยแล้ว โคลงยังนำเสนอในรูปแบบอื่นได้อีก เช่น..
๒.๑ แนวโกรธา ::
๐ ปรากฏการณ์กลับขั้ว กลัวอุบาทว์ พ่อเฮย
กลียุคทุกข์ยากราษฎร์ เดือดร้อน
จัณฑาลร่านหินชาติ เลวชั่ว ชาติแล
ภูวนัตตรัยต้อน ต่อต้านกังฉิน ฯ
๒.๒ แนวอื่นๆ :: ได้แก่ ธรรมะ/สุภาษิต/คำคม/พรรณาต่างๆ ฯลฯ
๐ ยอมรับความผิดไร้ ซึ่งหวัง
จำกัดขีดพลัง เพื่อไซร้
ไป่สิ้นจิตใจขลัง ควรก่อ
มิอาจสูญเสียได้ แค่ไร้ความหวัง ฯ
๓.การใช้วรรณยุกต์รูปเอก-โทวางคู่กัน สามารถทำให้เกิดเสียงได้แตกต่างกันถึง ๔ แบบ
กรณีที่ ๑ ได้เสียงเอก - โท
๐ ลักเมาโคลงกล่อมแกล้ม กานดา
กรณีที่ ๒ ได้เสียง เอก - ตรี
๐ อกหักดีกว่าไร้ ไฟสวาสดิ์
กรณีที่ ๓ ได้เสียงโท - ตรี
๐ ดารกผ็อยร่วงพื้น ภูคูถ
กรณีที่ ๔ ได้เสียง โท – โท
มีรักมีร่างอ้าง ว้างเหงา
หมายเหตุ :: หากใช้คำตายมาแทนรูปเอกก็จะได้เสียงหลากหลายขึ้น
เช่น
ตรี – โท
๐ ปรุงรักปักรสป้อ ปลดลวง
ตรี – ตรี
๐ เพราะทะเลรักนั้น หนักอก
..พยายามใช้กลยุทธ์นี้ในการเล่นเสียงโคลงจะทำให้เกิดความหลากหลายทางรสคำ
เปรียบเหมือนการร้องเพลงหากเป็นทำนองเสียงโทนเดียวตลอดจะน่าเบื่อและไม่ไพเราะเท่าเสียงหลายโทนฉะนั้น..
๔.พลิกแพลงลีลา เช่น
การวางสลับ
เอก – โท เป็น
โท –เอก ใน
บาทแรก ( เท่านั้น )
๐ ใจบางจางเบื้อจ่อ รอถวิล
การใช้เอกโทษ – โทโทษ
ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมแล้วหากไม่เหลือบ่ากว่าแรงจริงๆจะพยายามไม่ใช้
ยกเว้นบางกรณี เช่น โคลงกลอักษรถอยหลังเข้าคลอง
( กลอักษรถอยหลังเข้าคลอง / โคลงดั้นวิวิธมาลี )
๐ ฟ้าสง่าสมฤทธิ์ร้อย รัตน์หนุน
หนุนรัตน์ร้อยฤทธิ์สม สง่าฟ้า
ไสวสว่างล่าท้ากุล เกริกแม่
แม่เกริกกุลท้าหล้า สว่างไสว ฯ
---กรณีตัวอย่างถือว่า “ล่า” เป็นเอกโทษ ของคำ “หล้า”
๕. แต่ละบทไม่จำเป็นต้องมีการร้อยโคลง ยกเว้น จงใจแต่งเพื่อการโชว์การประกวด หรือจงใจแต่งเป็น
โคลงสุภาพลิลิต
ส่วนใหญ่กวีจะแต่งในเชิง
โคลงสุภาพชาตรี ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการร้อยโคลง
๖. ไม่จำเป็นต้องมีสัมผัสอักษรแพรวพราวมากนักอาจจะเฝือได้
หากแต่งหลายๆบทต้องมีแบบธรรมดาบ้างแต่เน้นในเชิงความนัย/คำคมจะดูมีพลัง
๗. นอกเหนือตำแหน่งเอกเจ็ด – โทสี่ และตำแหน่งคำสุภาพทั้งสี่แห่งนั้นแล้ว
พยายามอย่าให้มีวรรณยุกต์รกเรื้อเพราะจะทำให้น้ำหนักโคลงเกิดการโคลงเคลงเสียสมดุลโคลงได้
รสโคลงจะด้อยลง อ่าน/ฟังไม่รื่นหู ทั้งนี้รวมถึงคำสร้อยด้วยถ้าความในบาทนั้นครบแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเติมคำสร้อยให้รก
( บาทที่สอง ไม่มีคำสร้อย อย่าลืม )
๘. เทคนิคการเล่นคำซ้ำในบาท คล้ายเน้นคำพูด
เช่น..
๐ ทั้งทราย-ลม-กรวดแกล้ง ทะเล
กระหน่ำหวนคลื่นเห ฝั่งหั้น
เสียงลมเยาะหยันเก- เรเก่ง
อย่างยักษ์
อย่างมารกั้น กีดกั้นขวางทะเล ฯ
๙. วรรคหลังของทุกบาทต้องฉีก คือต้องเดินหน้า
อย่าย่ำอยู่กับที่
กรณีย่ำอยู่กับที่ เช่น
๐ แม้นทำพลาดผิดแม้น ทำพลาด
อาจแก้เป็น >>>
๐ แม้นทำผิดพลาดด้วย เผลอไผล
จะทำให้การดำเนินเรื่องไปข้างหน้า ไม่เสียพื้นที่โคลงซึ่งมีจำกัดอยู่แล้ว
พยายามใช้คำที่มีความหมายครอบคลุมในขณะเดียวกันกับการไม่เปลืองเนื้อที่ ดังนั้นไม่ควรใช้คำหลากมากเกินไปถ้าไม่จำเป็น
๑๐. สัมผัสระหว่างบาท
ควรพยายามอย่าให้โทนเสียงเดียวกันมาสัมผัสกันหากไม่จำเป็นจริงๆ เช่น
๐ คำโคลงโยงผูก
ร้อย วิ
ชา
คำพ่อผูกใจ
พา ผ่อง
แผ้ว
คำแม่ห่วงลูก
ยา ลูกตระหนัก
คำคุรุสอนศิษย์
แกล้ว ศิษย์
น้อมรับ
ฟัง ฯ
---อ่านๆไปบทเดียวไม่เท่าไหร่แต่พอหลายบทผ่านไปเหมือนท่องอาขยาน ชวนง่วงแท้
ลองแก้ไขดูครับ เช่น...
๐ คำโคลงโยงผูกร้อย เนื้อหา
คำพ่อผูกใจพา ผ่องแผ้ว
คำแม่ท่านปรารถนา ลูกตระหนัก
คำคุรุสอนศิษย์แพร้ว พ่างถ้อยควรถนอม ฯ
ในส่วนคำสุภาพ ...
... หา พา -ถนา ถนอม
>>> จัตวา – สามัญ – จัตวา – จัตวา
ในส่วนรูปโท …
... ร้อย – แผ้ว – แพร้ว – ถ้อย
>>> ตรี – โท – ตรี – โท
จะได้เสียงโคลงที่ไพเราะดุจเสียงโน้ตดนตรี เวลาขับเสียงขับโคลงจะฟังเสนาะหู
แต่อย่าไปจริงจังกับการหาคำมากนัก เพราะบางครั้งอาจนำสู่ความเพี้ยนแห่งความหมาย( คำด้าน )
ซึ่งโดยส่วนตัวแนะนำว่าความหมายต้องมาก่อนความไพเราะดังกล่าว
อันนี้แล้วแต่มุมมองนะครับ
โปรดติดตามตอนต่อไป... ขอบคุณที่รับชม
** เคล็ดลับคำโคลง ** ตอน..ธรรมชาติของโคลง
“ธรรมชาติ คือ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
ทุกสิ่งรอบตัวเราคือส่วนผสมของหลักธรรมชาติ
ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด เปรียบเสมือนความว่างเปล่า..”
" ความว่างเปล่า " ในที่นี้ไม่ใช่ว่าไม่สนใจอะไรเลย หากทว่าเราควรสนใจและใส่ใจในความว่างเปล่านั้นต่างหาก..
๕๕๕+ เช้าวันนี้เริ่มต้นด้วยแนวปรัชญาก็จริง แต่ขอหักมุมมาประชุมโคลงต่อกันเถอะครับพี่น้องผองเพื่อนถนนฯ...
…ตอนที่ผ่านมาสองตอนแรกผู้เขียนคิดว่าได้ปูพื้นฐานให้ผู้ที่สนใจพอสมควรแล้ว ตอนนี้อยากจะขอเจาะลึกเป็นกรณีๆไป
๑. งานประพันธ์โคลงจุดเริ่มต้นมาจากการนำเสนอถ่ายทอดอารมณ์ของมนุษย์..
ตามธรรมชาติที่มีทั้งรัก โลภ โกรธ หลง เศร้า สุข ทุกข์ สะอึกสะอื้น คร่ำครวญ รำพัน เปรมปรีดิ์ ฯลฯ
จึงเป็นที่มาว่าทำไมต้องมีการกำหนดเอก-โทในโคลง ?
เพราะเอก-โทนั้นจะใกล้เคียงกับการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก น้ำเสียง คำพูดของมนุษย์หรือธรรมชาติค่อนข้างมาก
ยกตัวอย่างเช่น...
๐ วิเวกวิโยคล้น ราตรี
เจรียงระกาขับวจี เอกเอ้
ผสานแซ่ศุภศรี จักจั่น นั่นนา
หรีดหริ่งร่ายตะเข้ แข่งเศร้าเรียมศัลย์ ฯ
โคลงสี่จึงเหมาะกับการแต่งนิราศหรือบทพร่ำรำพันเป็นอย่างมาก ด้วยประการฉะนี้แฮ
๒.นอกจากออกแนวรักพิศวาสหวานฉ่ำปนเศร้าสร้อยแล้ว โคลงยังนำเสนอในรูปแบบอื่นได้อีก เช่น..
๒.๑ แนวโกรธา ::
๐ ปรากฏการณ์กลับขั้ว กลัวอุบาทว์ พ่อเฮย
กลียุคทุกข์ยากราษฎร์ เดือดร้อน
จัณฑาลร่านหินชาติ เลวชั่ว ชาติแล
ภูวนัตตรัยต้อน ต่อต้านกังฉิน ฯ
๒.๒ แนวอื่นๆ :: ได้แก่ ธรรมะ/สุภาษิต/คำคม/พรรณาต่างๆ ฯลฯ
๐ ยอมรับความผิดไร้ ซึ่งหวัง
จำกัดขีดพลัง เพื่อไซร้
ไป่สิ้นจิตใจขลัง ควรก่อ
มิอาจสูญเสียได้ แค่ไร้ความหวัง ฯ
๓.การใช้วรรณยุกต์รูปเอก-โทวางคู่กัน สามารถทำให้เกิดเสียงได้แตกต่างกันถึง ๔ แบบ
กรณีที่ ๑ ได้เสียงเอก - โท
๐ ลักเมาโคลงกล่อมแกล้ม กานดา
กรณีที่ ๒ ได้เสียง เอก - ตรี
๐ อกหักดีกว่าไร้ ไฟสวาสดิ์
กรณีที่ ๓ ได้เสียงโท - ตรี
๐ ดารกผ็อยร่วงพื้น ภูคูถ
กรณีที่ ๔ ได้เสียง โท – โท
มีรักมีร่างอ้าง ว้างเหงา
หมายเหตุ :: หากใช้คำตายมาแทนรูปเอกก็จะได้เสียงหลากหลายขึ้น
เช่น ตรี – โท
๐ ปรุงรักปักรสป้อ ปลดลวง
ตรี – ตรี
๐ เพราะทะเลรักนั้น หนักอก
..พยายามใช้กลยุทธ์นี้ในการเล่นเสียงโคลงจะทำให้เกิดความหลากหลายทางรสคำ
เปรียบเหมือนการร้องเพลงหากเป็นทำนองเสียงโทนเดียวตลอดจะน่าเบื่อและไม่ไพเราะเท่าเสียงหลายโทนฉะนั้น..
๔.พลิกแพลงลีลา เช่น
การวางสลับ เอก – โท เป็น โท –เอก ในบาทแรก ( เท่านั้น )
๐ ใจบางจางเบื้อจ่อ รอถวิล
การใช้เอกโทษ – โทโทษ
ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมแล้วหากไม่เหลือบ่ากว่าแรงจริงๆจะพยายามไม่ใช้
ยกเว้นบางกรณี เช่น โคลงกลอักษรถอยหลังเข้าคลอง
( กลอักษรถอยหลังเข้าคลอง / โคลงดั้นวิวิธมาลี )
๐ ฟ้าสง่าสมฤทธิ์ร้อย รัตน์หนุน
หนุนรัตน์ร้อยฤทธิ์สม สง่าฟ้า
ไสวสว่างล่าท้ากุล เกริกแม่
แม่เกริกกุลท้าหล้า สว่างไสว ฯ
---กรณีตัวอย่างถือว่า “ล่า” เป็นเอกโทษ ของคำ “หล้า”
๕. แต่ละบทไม่จำเป็นต้องมีการร้อยโคลง ยกเว้น จงใจแต่งเพื่อการโชว์การประกวด หรือจงใจแต่งเป็นโคลงสุภาพลิลิต
ส่วนใหญ่กวีจะแต่งในเชิง โคลงสุภาพชาตรี ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการร้อยโคลง
๖. ไม่จำเป็นต้องมีสัมผัสอักษรแพรวพราวมากนักอาจจะเฝือได้
หากแต่งหลายๆบทต้องมีแบบธรรมดาบ้างแต่เน้นในเชิงความนัย/คำคมจะดูมีพลัง
๗. นอกเหนือตำแหน่งเอกเจ็ด – โทสี่ และตำแหน่งคำสุภาพทั้งสี่แห่งนั้นแล้ว
พยายามอย่าให้มีวรรณยุกต์รกเรื้อเพราะจะทำให้น้ำหนักโคลงเกิดการโคลงเคลงเสียสมดุลโคลงได้
รสโคลงจะด้อยลง อ่าน/ฟังไม่รื่นหู ทั้งนี้รวมถึงคำสร้อยด้วยถ้าความในบาทนั้นครบแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเติมคำสร้อยให้รก
( บาทที่สอง ไม่มีคำสร้อย อย่าลืม )
๘. เทคนิคการเล่นคำซ้ำในบาท คล้ายเน้นคำพูด
เช่น..
๐ ทั้งทราย-ลม-กรวดแกล้ง ทะเล
กระหน่ำหวนคลื่นเห ฝั่งหั้น
เสียงลมเยาะหยันเก- เรเก่ง
อย่างยักษ์อย่างมารกั้น กีดกั้นขวางทะเล ฯ
๙. วรรคหลังของทุกบาทต้องฉีก คือต้องเดินหน้า อย่าย่ำอยู่กับที่
กรณีย่ำอยู่กับที่ เช่น
๐ แม้นทำพลาดผิดแม้น ทำพลาด
อาจแก้เป็น >>>
๐ แม้นทำผิดพลาดด้วย เผลอไผล
จะทำให้การดำเนินเรื่องไปข้างหน้า ไม่เสียพื้นที่โคลงซึ่งมีจำกัดอยู่แล้ว
พยายามใช้คำที่มีความหมายครอบคลุมในขณะเดียวกันกับการไม่เปลืองเนื้อที่ ดังนั้นไม่ควรใช้คำหลากมากเกินไปถ้าไม่จำเป็น
๑๐. สัมผัสระหว่างบาท
ควรพยายามอย่าให้โทนเสียงเดียวกันมาสัมผัสกันหากไม่จำเป็นจริงๆ เช่น
๐ คำโคลงโยงผูกร้อย วิชา
คำพ่อผูกใจพา ผ่องแผ้ว
คำแม่ห่วงลูกยา ลูกตระหนัก
คำคุรุสอนศิษย์แกล้ว ศิษย์น้อมรับฟัง ฯ
---อ่านๆไปบทเดียวไม่เท่าไหร่แต่พอหลายบทผ่านไปเหมือนท่องอาขยาน ชวนง่วงแท้
ลองแก้ไขดูครับ เช่น...
๐ คำโคลงโยงผูกร้อย เนื้อหา
คำพ่อผูกใจพา ผ่องแผ้ว
คำแม่ท่านปรารถนา ลูกตระหนัก
คำคุรุสอนศิษย์แพร้ว พ่างถ้อยควรถนอม ฯ
ในส่วนคำสุภาพ ...
... หา พา -ถนา ถนอม
>>> จัตวา – สามัญ – จัตวา – จัตวา
ในส่วนรูปโท …
... ร้อย – แผ้ว – แพร้ว – ถ้อย
>>> ตรี – โท – ตรี – โท
จะได้เสียงโคลงที่ไพเราะดุจเสียงโน้ตดนตรี เวลาขับเสียงขับโคลงจะฟังเสนาะหู
แต่อย่าไปจริงจังกับการหาคำมากนัก เพราะบางครั้งอาจนำสู่ความเพี้ยนแห่งความหมาย( คำด้าน )
ซึ่งโดยส่วนตัวแนะนำว่าความหมายต้องมาก่อนความไพเราะดังกล่าว
อันนี้แล้วแต่มุมมองนะครับ
โปรดติดตามตอนต่อไป... ขอบคุณที่รับชม