ตอนที่ 2 สรุปสาระสำคัญร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....
ตอนที่ 1
http://ppantip.com/topic/34957148
อะไรคือมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา เรามีคำตอบ
เครดิตภาพ
http://www.ilcampaign.org/wp-content/uploads/2014/04/o-JUDGE-GAVEL-facebook.jpg
มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา ประกอบด้วย 1 มาตรการ คือ
1. การไกล่เกลี่ยคดีอาญา (ดำเนินการในชั้นพนักงานสอบสวน)
ประเภทของคดีที่จะทำการไกล่เกลี่ยได้
(1) คดีความผิดอันยอมความได้
(2) คดีความผิดลหุโทษ
(3) คดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินห้าปีตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
- ผลของการเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย คือ จะทำให้อายุความสะดุดหยุดอยู่
- การไกล่เกลี่ย - จะกระทำได้แต่โดยความสมัครใจและความประสงค์ของคู่กรณี
- จะกระทำโดยผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
- ผลของการไกล่เกลี่ยที่คู่กรณีสามารถมีข้อตกลงร่วมกันได้ จะถูกส่งไปยังพนักงานอัยการเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย หากไม่มีข้อแก้ไข ให้คู่กรณีปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงต่อไป เมื่อปฏิบัติครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานอัยการสั่งยุติคดี หากไม่ปฏิบัติ ให้พนักงานอัยการสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป
2. การชะลอการฟ้อง (ดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการ)
ประเภทของคดีที่จะทำการชะลอการฟ้องได้
(1) คดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว
(2) คดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 5 ปี
(3) คดีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
คดีนั้นเป็นคดีที่ควรสั่งฟ้อง แต่เป็นกรณีที่พนักงานอัยการอาจมีคำสั่งชะลอการฟ้องได้ ผู้ต้องหาจะต้องไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในลักษณะต้องห้ามมิให้ชะลอฟ้อง โดยในคดีที่ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย และผู้ต้องหาให้มีการชะลอการฟ้องด้วย
การสั่งให้ชะลอการฟ้องนี้ พนักงานอัยการอาจกำหนดเงื่อนไขและระยะเวลาการคุมประพฤติไว้ได้ในหลายลักษณะตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกินสามปี และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากอัยการสูงสุดด้วย
เมื่อผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานอัยการมีคำสั่งยุติคดี ในการนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
ร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....
อะไรคือมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา เรามีคำตอบ
ตอนที่ 1 http://ppantip.com/topic/34957148
อะไรคือมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา เรามีคำตอบ
เครดิตภาพ http://www.ilcampaign.org/wp-content/uploads/2014/04/o-JUDGE-GAVEL-facebook.jpg
มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา ประกอบด้วย 1 มาตรการ คือ
1. การไกล่เกลี่ยคดีอาญา (ดำเนินการในชั้นพนักงานสอบสวน)
ประเภทของคดีที่จะทำการไกล่เกลี่ยได้
(1) คดีความผิดอันยอมความได้
(2) คดีความผิดลหุโทษ
(3) คดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินห้าปีตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
- ผลของการเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย คือ จะทำให้อายุความสะดุดหยุดอยู่
- การไกล่เกลี่ย - จะกระทำได้แต่โดยความสมัครใจและความประสงค์ของคู่กรณี
- จะกระทำโดยผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย
- ผลของการไกล่เกลี่ยที่คู่กรณีสามารถมีข้อตกลงร่วมกันได้ จะถูกส่งไปยังพนักงานอัยการเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย หากไม่มีข้อแก้ไข ให้คู่กรณีปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงต่อไป เมื่อปฏิบัติครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานอัยการสั่งยุติคดี หากไม่ปฏิบัติ ให้พนักงานอัยการสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป
2. การชะลอการฟ้อง (ดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการ)
ประเภทของคดีที่จะทำการชะลอการฟ้องได้
(1) คดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว
(2) คดีความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 5 ปี
(3) คดีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
คดีนั้นเป็นคดีที่ควรสั่งฟ้อง แต่เป็นกรณีที่พนักงานอัยการอาจมีคำสั่งชะลอการฟ้องได้ ผู้ต้องหาจะต้องไม่เป็นบุคคลที่อยู่ในลักษณะต้องห้ามมิให้ชะลอฟ้อง โดยในคดีที่ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย และผู้ต้องหาให้มีการชะลอการฟ้องด้วย
การสั่งให้ชะลอการฟ้องนี้ พนักงานอัยการอาจกำหนดเงื่อนไขและระยะเวลาการคุมประพฤติไว้ได้ในหลายลักษณะตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกินสามปี และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากอัยการสูงสุดด้วย
เมื่อผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานอัยการมีคำสั่งยุติคดี ในการนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
ร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....