ที่มา:
http://www.matichon.co.th/news/82762
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม
สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอุษาคเนย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ส่วนตัวว่าตนได้เดินทางไปฟังเสวนางานหนึ่ง จัดขึ้นที่หอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งตนต้องใช้ความอดทนสูงมาก เนื่องจากพบว่ายังมีผู้ที่เชื่อว่า “คนไทยมาจากภูเขาอัลไต”
โพสต์ของ Somrit Luechai: https://mobile.facebook.com/story.php?story_fbid=10207108201122486&id=1205225461
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง สมฤทธิ์ ซึ่งเล่าเพิ่มเติมว่า งานเสวนาดังกล่าว ว่าด้วยหัวข้อเกี่ยวกับการครบรอบ 200 ปีการอพยพย้ายถิ่นของคนยอง โดยมีผู้พูดรายหนึ่งซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในด้านวัฒนธรรมของจังหวัดทางภาคเหนือ กล่าวว่า คำว่าไต เป็นชื่อชาติพันธุ์ มาจากมาจากภูเขาอัลไต
“ผมมองไปที่เขาแล้วส่ายหน้าเลยนะ นักวิชาการรุ่นใหม่ที่นั่งบนเวทีก็ส่ายหน้า ทำไมยังเชื่อกันอยู่ (หัวเราะ)”
ดังนั้นที่นักวิชาการกลุ่มหนึ่งบอกว่า สื่อจะนำประเด็นเรื่องภูเขาอัลไตมาล้อเลียนและเผยแพร่ซ้ำๆทำไม เพราะคนรู้หมดแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นความจริง
“ความรู้เก่าที่เราคิดว่าคนลืมควรจะไปแล้ว แต่ไม่ใช่ โดยเฉพาะเรื่องคนไทยมาจากเขาอัลไต การรับรู้ของเราที่ถูกตอกย้ำและไม่เคยแก้ไข มันฝังอยู่กัยบคนรุ่นที่เป็นคนชี้ซ้ายชี้ขวาให้สังคมไทย ถ้าลองสำรวจดู เชื่อว่าน่าจะมี 60-70 เปอร์เซนต์เชื่อว่าเรามาจากเขาอัลไต องค์ความรู้ที่ว่าคนไทยอยู่แถวนี้ๆ ไม่เกินกว่าแม่น้ำแยงซีขึ้นไป เผลอๆมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ผมทนฟังไป 3-4 ชั่วโมง ตอนแรกกะว่าจะแสดงความคิดเห็นบ้าง แต่เปลี่ยนใจ เพราะต้องใช้เวลา ไม่ใช่แค่ 5-10 นาที มันต้องเปลี่ยนวิธีมองประวัติศาสตร์ใหม่”
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการอพยพและกวาดต้อน ซึ่งเมื่อหลายปีก่อน ตนได้ถกเถียงกับนักวิชาการท้องถิ่นจากอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ซึ่งบรรพบุรุษเป็นชาวยวนที่ถูกกวาดต้อนมาจากเชียงแสน มาบอกว่าตนใช้คำผิด เพราะไม่ได้ถูกกวาดต้อน แต่อพยพย้ายถิ่น
“ผมจำประโยคนี้ได้เต็มหูเลย เขาบอกว่าสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีการไปตีเมืองเชียงแสน ประเทศไทยมีดินแดนเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน ล้านนาเป็นของสยาม ดังนั้นการที่เชียงแสนมาอยู่สระบุรีเป็นการย้ายถิ่นภายในประเทศ ลองนึกดูสิ เขาเป็นอาจารย์ด้วย ผมนี่ลุกขึ้นเสียงดังเลย บอกว่าผมรับไม่ได้กับวิธีคิดอย่างนี้ คุณไปอ่านเอกสารมาทั้งหมดสิ ประเด็นคือถ้าคุณย้ายถิ่นจะมาทำไมไกลขนาดนี้ ทำไมไม่อยู่แถวล้านนา (หัวเราะ) เขาบอกว่า การถูกกวาดต้อนลงมาเป็นภาพที่ไม่ดี ดูต่ำต้อย”
สมฤทธิ์ยังกล่าวอีกว่า ประวัติศาสตร์ฉบับเอาใจซึ่งกันและกันยังคงมีอยู่ เช่นในงานเสวนาดังกล่าวที่มีผู้พูดว่า ชาติพันธุ์ของตนมีผิวพรรณดีกว่าคนอื่น ชื่นชมยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นประวัติศาสตร์ฉบับเอาใจกัน ไม่สนใจข้อเท็จจริง ไม่ใช่ประวัติศาสตร์เพื่อสร้างความเข้าใจ
“แบบนี้ไม่ต้องเรียนก็ได้ นั่งโมเมเอาที่พึงพอใจ เป็นประเด็นที่สะท้อนออกมา อยากให้สังคมช่วยคิดว่าประวัติศาสตร์แบบนี้ออกมาได้อย่างไรเรื่องคนไทยมาจากเขาอัลไต เรื่องพม่าเผาอยุธยา และอื่นๆอีกหลายเรื่องยังทำงานอยู่ ยังไม่ได้ถูกล้างไป รวมถึงประวัติศาสตร์ฉบับเอาอกเอาใจซึ่งกันและกัน เหมือนประวัติศาสตร์ฉบับยาอี คงเมาๆ ซึมๆ ฟังแล้วเพลิดเพลิน มีความสุข แต่หาสาระไม่ได้ ตลกดี ” สมฤทธิ์กล่าวทิ้งท้าย
ยังติดที่ ‘เทือกเขาอัลไต’ สมฤทธิ์ ลือชัย ส่ายหัวหนักมาก -มึนเสวนา เจอประวัติศาสตร์ฉบับยาอี
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอุษาคเนย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ส่วนตัวว่าตนได้เดินทางไปฟังเสวนางานหนึ่ง จัดขึ้นที่หอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งตนต้องใช้ความอดทนสูงมาก เนื่องจากพบว่ายังมีผู้ที่เชื่อว่า “คนไทยมาจากภูเขาอัลไต”
โพสต์ของ Somrit Luechai: https://mobile.facebook.com/story.php?story_fbid=10207108201122486&id=1205225461
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง สมฤทธิ์ ซึ่งเล่าเพิ่มเติมว่า งานเสวนาดังกล่าว ว่าด้วยหัวข้อเกี่ยวกับการครบรอบ 200 ปีการอพยพย้ายถิ่นของคนยอง โดยมีผู้พูดรายหนึ่งซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในด้านวัฒนธรรมของจังหวัดทางภาคเหนือ กล่าวว่า คำว่าไต เป็นชื่อชาติพันธุ์ มาจากมาจากภูเขาอัลไต
“ผมมองไปที่เขาแล้วส่ายหน้าเลยนะ นักวิชาการรุ่นใหม่ที่นั่งบนเวทีก็ส่ายหน้า ทำไมยังเชื่อกันอยู่ (หัวเราะ)”
ดังนั้นที่นักวิชาการกลุ่มหนึ่งบอกว่า สื่อจะนำประเด็นเรื่องภูเขาอัลไตมาล้อเลียนและเผยแพร่ซ้ำๆทำไม เพราะคนรู้หมดแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นความจริง
“ความรู้เก่าที่เราคิดว่าคนลืมควรจะไปแล้ว แต่ไม่ใช่ โดยเฉพาะเรื่องคนไทยมาจากเขาอัลไต การรับรู้ของเราที่ถูกตอกย้ำและไม่เคยแก้ไข มันฝังอยู่กัยบคนรุ่นที่เป็นคนชี้ซ้ายชี้ขวาให้สังคมไทย ถ้าลองสำรวจดู เชื่อว่าน่าจะมี 60-70 เปอร์เซนต์เชื่อว่าเรามาจากเขาอัลไต องค์ความรู้ที่ว่าคนไทยอยู่แถวนี้ๆ ไม่เกินกว่าแม่น้ำแยงซีขึ้นไป เผลอๆมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ผมทนฟังไป 3-4 ชั่วโมง ตอนแรกกะว่าจะแสดงความคิดเห็นบ้าง แต่เปลี่ยนใจ เพราะต้องใช้เวลา ไม่ใช่แค่ 5-10 นาที มันต้องเปลี่ยนวิธีมองประวัติศาสตร์ใหม่”
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการอพยพและกวาดต้อน ซึ่งเมื่อหลายปีก่อน ตนได้ถกเถียงกับนักวิชาการท้องถิ่นจากอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ซึ่งบรรพบุรุษเป็นชาวยวนที่ถูกกวาดต้อนมาจากเชียงแสน มาบอกว่าตนใช้คำผิด เพราะไม่ได้ถูกกวาดต้อน แต่อพยพย้ายถิ่น
“ผมจำประโยคนี้ได้เต็มหูเลย เขาบอกว่าสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีการไปตีเมืองเชียงแสน ประเทศไทยมีดินแดนเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน ล้านนาเป็นของสยาม ดังนั้นการที่เชียงแสนมาอยู่สระบุรีเป็นการย้ายถิ่นภายในประเทศ ลองนึกดูสิ เขาเป็นอาจารย์ด้วย ผมนี่ลุกขึ้นเสียงดังเลย บอกว่าผมรับไม่ได้กับวิธีคิดอย่างนี้ คุณไปอ่านเอกสารมาทั้งหมดสิ ประเด็นคือถ้าคุณย้ายถิ่นจะมาทำไมไกลขนาดนี้ ทำไมไม่อยู่แถวล้านนา (หัวเราะ) เขาบอกว่า การถูกกวาดต้อนลงมาเป็นภาพที่ไม่ดี ดูต่ำต้อย”
สมฤทธิ์ยังกล่าวอีกว่า ประวัติศาสตร์ฉบับเอาใจซึ่งกันและกันยังคงมีอยู่ เช่นในงานเสวนาดังกล่าวที่มีผู้พูดว่า ชาติพันธุ์ของตนมีผิวพรรณดีกว่าคนอื่น ชื่นชมยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นประวัติศาสตร์ฉบับเอาใจกัน ไม่สนใจข้อเท็จจริง ไม่ใช่ประวัติศาสตร์เพื่อสร้างความเข้าใจ
“แบบนี้ไม่ต้องเรียนก็ได้ นั่งโมเมเอาที่พึงพอใจ เป็นประเด็นที่สะท้อนออกมา อยากให้สังคมช่วยคิดว่าประวัติศาสตร์แบบนี้ออกมาได้อย่างไรเรื่องคนไทยมาจากเขาอัลไต เรื่องพม่าเผาอยุธยา และอื่นๆอีกหลายเรื่องยังทำงานอยู่ ยังไม่ได้ถูกล้างไป รวมถึงประวัติศาสตร์ฉบับเอาอกเอาใจซึ่งกันและกัน เหมือนประวัติศาสตร์ฉบับยาอี คงเมาๆ ซึมๆ ฟังแล้วเพลิดเพลิน มีความสุข แต่หาสาระไม่ได้ ตลกดี ” สมฤทธิ์กล่าวทิ้งท้าย