กรณีแบบนี้ถือว่าแซงคิวไหมครับ

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ผมมีเรื่องที่ค้างคาใจมานานถึงสิ่งที่ผมคิดและยึดมั่น  กับสิ่งที่ผมประสบมา
...ในประเด็นการแซงคิว  อยากมาขอความคิดเห็นจากเพื่อนสมาชิกครับ

ขออนุญาตเท้าความนะครับ

ผมเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการครับ ลักษณะงานเป็นแบบมีผู้มาติดต่อเป็นจำนวนมากต่อวัน  เฉลี่ย 400 - 700  คนต่อ 8 ชั่วโมงทำงาน
ผู้มาใช้บริการก็มีทุกเชื้อชาติครับ  ทั้งไทย  ทั้งเทศ

ด้วยชั่วโมงเร่งด่วน  ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง  มีเงื่อนไขด้านเวลามาเกี่ยวข้อง
หลายๆ ครั้งที่มีผู้รอรับบริการต่อแถว 20 - 30 คน
บางครั้งคนมาทีหลังแต่เงื่อนไขด้านเวลากระชั้นชิด  เห็นว่าหากรอตามคิวจะไม่สามารถรับบริการให้เสร็จทันเวลาได้  
สามารถมาขอรับบริการก่อน  ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่อาวุโส  มารับไปดำเนินการในส่วนอื่น แยกต่างหากไม่เกี่ยวกัน  

มีหลายกรณีเกี่ยวเนื่องกับการแซงคิวในรูปแบบต่างๆ  หลายเคสครับ  แต่ส่วนใหญ่  จะสามารถตัดสินได้ชัดเจนว่าเป็นการแซงคิวหรือไม่

....แต่มีอยู่กรณีนึง  กรณีที่ผมจะมารบกวนขอความเห็นจากท่านๆ นี่ล่ะครับ
ที่ทำให้ผมไม่มั่นใจ  เพราะผู้รับบริการ  เค้ามองว่าที่เค้าทำ  มันไม่ใช่การแซงคิว
แต่ในมุมมองของผมซึ่งเป็นผู้ให้บริการ  ผมมองว่าเป็นการแซงคิวชัดเจน  
...แต่เค้ามั่นใจ  และเถียง  ไม่ยอมรับจนผมหวั่นไหวเลยล่ะครับ

>>>>>>>>กรณีนี้  เป็นผู้รับบริการที่มาเป็นหมู่คณะครับ
สมมุติว่ามากัน 5 ท่าน  เค้าเตอร์ให้บริการมีเยอะครับ  
5 ท่านนี้  ได้แยกกันเข้าแถว  ทั้งหมด 3 แถว ตามภาพ


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

จากท้ายแถว  ก็รับบริการกันมาตามลำดับ  จนสมาชิกในคณะนั้น  เห็นว่าเค้าเตอร์ของผม ( แถวกลาง ) ให้บริการเร็วกว่า  
จึงได้เรียกเพื่อจากแถวข้างๆ ( แถวซ้าย ) มาจอยในแถวกลางของผม  โดยด้านหลังของกลุ่มเค้ายังมีผู้อื่นมารอต่อคิวอยู่เช่นกัน

เมื่อมาถึงคิวของผู้ที่ย้ายแถวมา  ผมได้ปฎิเสธการให้บริการ  เนื่องจากเห็นว่า.....
แม้ว่าเค้าจะมาด้วยกัน  แต่ได้เลือกเข้ารับบริการคนละแถว คนละเค้าเตอร์แล้ว
และมีผู้รอรับบริการท่านอื่น   รออยู่ด้านหลัง ซึ่งหากผมอนุญาต  จะเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้รอรับบริการท่านอื่น
ผมจึงมีทางเลือกให้ 2 ทาง คือ 1. กลับไปแถวเดิม ตำแหน่งเดิม 2. หากจะรับบริการจากผม  ต้องไปต่อที่คิวสุดท้ายของแถว


แต่แทบทั้งหมด  เค้าจะไม่ยอม  และแย้งว่ามาตรฐานสากล  แบบนี้ไม่เป็นการแซงคิวและละเมิดสิทธิ์คนอื่นแต่อย่างใด
เพราะเค้ามาด้วยกัน  

แน่นอนครับ  อย่างที่เรียน  ในทัศนะของผม แบบนี้เป็นการแซงคิวชัดเจน  ผมจึงยืนกรานไม่ให้บริการ
และบางครั้งก็มีเหตุการณ์ต่อเนื่อง  คือบางคณะ  บางกลุ่มได้ร้องเรียนกับต้นสังกัดของผม

ผมจึงอาจคลางแคลงใจไม่ได้  ว่า หรือผมจะเข้าใจผิด  จริงๆ แล้วเคสนี้ไม่ใช่การแซงคิว

เป็นที่มาของกระทู้นี้  หวังว่าเพื่อนสมาชิกจะสามารถให้ความกระจ่างได้  ว่าแบบนี้เป็นการแซงคิวหรือไม่

ตอบได้ทั้งความเห็นส่วนตัว  และทั้งโดยหลักการ  หลักสากลเลยนะครับ

ขอบคุณทุกความเห็นล่วงหน้าครับ อมยิ้ม17อมยิ้ม17
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
แบบของคุณ ถูกแล้ว
ความคิดเห็นที่ 22
ตามความเห็นของผมนะครับ การเข้าคิวนี่น่าจะเอาอย่างญี่ปุ่นมากที่สุด ไม่ว่าจะมีกี่เคาท์เตอร์ คนญี่ปุ่นก็จะเข้าคิวเดียว พอมีเคาท์เตอร์ว่าง คนแรกสุดของแถวก็จะเดินไปใช้บริการ (ถ้าใครนึกไม่ออกและเคยไปเข้าคิวเช็คอินขึ้นเครื่องบินหรือรอแท็กซี่ที่สนามบิน ก็ประมาณนั้นแหละครับ แต่ถ้าไม่เคย ก็คงหาตัวอย่างได้ยากแล้วล่ะครับ)

ส่วนการเข้าคิวของคนไทย จะต่อคิวที่หน้าเคาท์เตอร์เลย แล้วทีนี้ก็ขึ้นอยู่กะโชคชะตาและจำนวนพรรคพวก ถ้าคนคิวก่อนทำธุระเสร็จเร็วเราก็ได้เร็ว หรือถ้ามีพรรคพวกไปมาก ก็อาศัยไหว้วานพรรคพวกช่วยต่อคิวซะทุกเคาท์เตอร์ แล้วค่อยวิ่งไปทำธุระที่เคาท์เตอร์ที่คิวเคลื่อนเร็วที่สุด ซึ่งอันนี้ผมถือว่า... แซงคิวครับ และมันไม่ยุติธรรมกับคนที่รอคิวข้างหลัง (แต่ดันเป็นเรื่องปกติสำหรับคนไทย เพราะ... ใครๆ เขาก็ทำกัน

เรื่องบางเรื่องเป็น ไทยแลนด์โอนลี่ เพราะฉะนั้นถ้าคิดมากก็จะเป็นบ้าครับ อยู่อย่างไทยๆ สบายๆ ชิวๆ บ้านเราจะพัฒนามากไปกว่านี้คงยากละครับ ทำใจให้สบายเถอะ 5555
ความคิดเห็นที่ 59
ขอมาสนับสนุนร่วมกับความเห็นที่ 22 นะครับ
คือถ้าไม่มีระบบบัตรคิว
คุณเจ้าของกระทู้ สามารถที่จะเปลี่ยนวิธีการเข้าคิวแบบแถวใครแถวมันตามแต่ละช่องบริการ
มาเป็น ให้มีแถวคิวเหลือเพียงแค่ 1 แถว ได้หรือเปล่าหละครับ
แล้วพอมีเคาน์เตอร์ไหนว่าง ก็ให้คนแรกสุดของคิวเดินไปใช้บริการ
ซึ่งมันจะเป็นวิธีการ First in First Out จริงๆ
หรือถ้าบอกว่าเดี๋ยวแถวคิวจะยาวเกินไป ก็ทำการกั้นให้ต่อแถวเป็นแนวซิกแซกก็ยังได้นะครับผม

วิธีการนี้ ที่ญี่ปุ่น ก็น่าจะเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัดที่สุดครับ เพราะพี่แกเล่นใช้มุขนี้กันทั้งประเทศ
เวลาต่อแถว ก็รู้สึกสบายใจ ไม่ต้องมาคิดว่า เอ๊ะ แถวไหนเร็วสุดน้า

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่