== เมาแล้ว ขับ ตำรวจบังคับ ให้เจาะ เลือดตรวจแอลกอฮอลล์ได้หรือไม่(รวมมาฝากเพื่อน และคุณหมอ) ==

จากคดีดัง CLS 3333  ชน Ford ตอนนี้ ทำให้เกิดไฟลุกท่วม ฝ่าย Ford เสียชีวิต

และ คนขับ เบ็นซ์ปฏเสธ การตรวจเลือดหา Alcohol

จนมีการถกกันเยอะว่า  เวลาเมาแล้ว ขับ ปฏิเสธไม่ให้ตำรวจเจาะเลือดได้หรือไม่ ตามที่ ถกกันเยอะตอนนี้

วันก่อนลูกชาย  นักเทคนิคการแพทย์ มาถามผมว่า  "ป๊า กรณีเมาแล้วขับ  ถ้า เค้าไม่ยอมให้เจาะได้มั้ย "

แบบบางคน กลัวเข็ม หรือ กลัวเค้าไปตรวจอะไรอย่างอื่นที่ เค้าไม่อนุญาติ ไรแบบนี้

เลยมานึกว่า เออ จริงแฮะ ข้อเท็จจริง มันเป็นอย่างไร

เพราะว่า ตามกฏหมายทั่วไป เวลาตรวจเลือดคนไข้ ต้องได้รับการยินยอม จากคนไข้ก่อน

แต่ในกรณี ตรวจหา แอลกอฮอลล์ ในเลือด หรือ ตรวจสารเสพติดในเลือด มันเป็นการทำผิดกฏหมาย อย่างนี้ ผู้ต้องสงสัย มีสิทธิปฏิเสธการ เจาะตรวจเลือดตรวจได้มั้ย

คือ ถ้าให้เป่าเฉยๆ หรือ ตรวจปัสสาวะ นะ โอเค ล่ะ รู้ว่ามีกฏหมายบังคับ แน่นอน

แต่ถ้าเจาะเลือด มีกฏหมายชัดเจนมั้ย ครับ ว่าตำรวจมีสิทธิ์ บังคับให้ตรวจได้

เลยไปสอบถามเพื่อนๆที่เป็นนักกฏหมาย และ ผู้พิพากษา บางท่าน

เพื่อจะได้ทราบ ข้อกฏหมาย ที่ชัดเจน กรณีเจอคนไข้หัวหมอ

ตำรวจให้เจาะ แต่ ผู้ต้องหาขู่หมอ หรือ เทคนิคการแพทย์ที่จะเจาะ ว่า ไม่ยอมมให้เจาะ ถ้าเจาะ ฟ้อง

ได้ข้อสรุป ทั้งหมดตามนี้ ครับ
================================================
สรุปข้อเท็จจริงตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง กับการเมาแล้วขับ

พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7 ) พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้ว่า มาตรา 43 (2) “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น...” และมาตรา 160 ตรี “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43(2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
- ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี ปรับสองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งปีหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

- ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าสองปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

- ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่


ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131/1 ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตาม มาตรา 131 ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด ๆโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้

ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หากการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง จำเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือส่วนประกอบของร่างกายจากผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจให้แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจดังกล่าวได้ แต่ต้องกระทำเพียงเท่าที่จำเป็น และสมควรโดยใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ทั้ง จะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออนามัยของบุคคลนั้น และผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องให้ความยินยอม หากผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายไม่ยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือผู้ต้องหา หรือผู้เสียหายกระทำการป้องปัดขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความยินยอม โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ ที่หากได้ตรวจพิสูจน์แล้วจะเป็นผลเสียต่อผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายนั้นแล้วแต่กรณี

เพิ่มเติมบทลงโทษทั่วไปสำหรับคนที่ปฏิเสธการทดสอบ
สำหรับบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืนตามกฎหมายใหม่ กรณีผู้ขับขี่ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานในการทดสอบ เดิมระวางโทษปรับครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท กรณียินยอมให้ทดสอบแต่พบว่าเมาสุราขณะขับรถ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบขับขี่
แต่กฎหมายใหม่ได้ปรับเพิ่มความเข้มงวดในการเอาผิดทางกฎหมาย โดยกรณีไม่ยินยอมให้ทดสอบให้สันนิษฐานว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าเมาไว้ก่อนจะ มีบทลงโทษคือจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ถูกกล่าวหาไปสืบพยานหักล้างในศาลได้
======================================
#สรุปจากข้อกฏหมายข้างบน

1เมาแล้วขับไม่ชนใครหรือทำให้ใครบาดเจ็บ โทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี ตำรวจอาจจะสั่งให้เป่าแอลกอฮอลล ได้  แต่บังคับหรือสั่งให้ ผู้ต้องสงสัย ตรวจเลือดไม่ได้
ถ้าสั่งให้เป่า แต่ไม่ยอมเป่า ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าดื่มสุรามา ลงโทษเหมือนเมาแล้วขับ จับไว้ก่อน แล้วส่งฟ้อง อยากสู้คดี หาหลักฐานไปหักล้างในชั้นศาล

2 เมาแล้วขับ ชนคนบาดเจ็บ ทั้งร่ากายและจิตใจ โทษจำคุกสูงสุด 5 ปี หรือ ถ้าบาดเจ็บสาหัสโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 ปี หรือชนคนตาย โทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 10 ปี เข้าข่ายความผิดที่โทษสูงสุดเกินสามปี กรณีนี้ ตำรวจ สั่งให้ผู้ต้องสงสัย ต้องเจาะเลือดได้ โดยผู้ต้องสงสัยต้องยินยอม ถ้าไม่ยินยอมตำรวจสามารถใช้เป็นข้อสันนิษฐานว่า ผลตรวจถือว่าดื่มหรือเสพยาจริง

3 ในแง่ของตำรวจถ้าสั่งให้ผู้ต้องสงสัยตรวจ ก็คงต้องอธิบายให้ผู้ต้องสงสัยรับทราบข้อกฏหมาย และเซ็นต์ยินยอมเจาะตรวจก่อนส่งตรวจ
ถ้าผู้ต้องสงสัยไม่ยินยอม ก็ให้เซ็นต์รับทราบไม่ยินยอมตรวจ แล้ว สันนิษฐาน ว่าผู้ต้องสงสัยเสพมาจริงจึงปฏิเสธการตรวจ

4 ในแง่ของแพทยฺ์หรือ เจ้าหน้าที่ที่เจาะเลือด ก็คงต้องให้ตำรวจสั่งให้เจาะมา และ ผู้ต้องสงสัยเซ้นต์ ยินยอมให้เจาะตรวจ ต่อหน้าก่อน จึงเจาะได้
ถ้าผู้ต้องสงสัยไม่ยินยอมให้ตำรวจไปจัดการกันเอง ตามข้อ 3
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่