จากละครเรื่อง วัยแสบสาแหรกขาด จะเห็นได้ว่าปัญหาของเด็กๆแต่ละคนจัดการไม่ง่ายเลย แถมในบางปัญหายิ่งต้องใช้เวลาและความเข้าใจเป็นอย่างมาก โดยส่วนตัวหลังจากได้ดูละครเรื่องนี้คิดว่าเรื่องจิตวิทยาในเด็กเป็นเรื่องที่น่าสนใจ พอลองไปอ่านเพิ่มเติม เห็นบทความนึงเข้าคิดว่าน่าสนใจดี จึงนำมาฝากเพื่อที่เราจะได้สังเกตพฤติกรรมของเด็กๆรอบตัวที่เรารู้จักครับ
เมื่อไรที่ควรพาเด็กมาปรึกษาจิตแพทย์เด็ก ?
ผู้ปกครองมักเป็นคนแรกที่มองเห็นปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ของเด็กและจากการที่ผู้ปกครองเป็นห่วงมากขึ้น ร่วมกับการที่บุคคลภายนอก เช่น ครู เริ่มตั้งข้อสังเกต ทำให้ผู้ปกครองเริ่มคิดว่าเด็กน่าจะได้รับประโยชน์จากการมาพบแพทย์ต่อไปนี้เป็นสัญญาณซึ่งอาจบ่งชี้ว่าเด็กหรือวัยรุ่นของท่านควรได้รับความช่วยเหลือ
เด็กเล็ก
- พัฒนาการช้าไม่สมวัย เช่น พูดช้า ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัย แตกต่างจากพี่น้องหรือเด็กวัยเดียวกัน
- อุจจาระ-ปัสสาวะราด ไม่สามารถขับถ่ายในที่เหมาะสมได้ตามเกณฑ์
- ร้องไห้ อาละวาดบ่อย ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้
- ดื้อ ไม่เชื่อฟัง ก้าวร้าว ต่อต้านผู้ใหญ่เป็นประจำ และนานกว่า 6 เดือน
- ฝันร้ายบ่อย ๆ
- ซนมาก อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา มากกว่าการเล่นทั่ว ๆ ไป
- ท่าทางวิตกกังวลอย่างมาก ซึ่งอาจแสดงออกโดยการไม่ยอมไปโรงเรียนบ่อย ๆ หรือปฏิเสธไม่ยอมเข้าเรียน หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่เด็กวัยเดียวกันมักทำ
- ถึงพยายามอย่างมากแต่ผลสอบไม่ได้เท่าที่พยายาม
- ผลการเรียนตกลงอย่างชัดเจน
- ไม่สามารถเล่น หรือเข้ากับเพื่อนได้ ถูกกลั่นแกล้งรังแกบ่อย ๆ
- สงสัยว่าจะมีความเครียด หรือมีปัญหาการปรับตัวจากปัญหาภายในครอบครัว
เด็กโตและวัยรุ่น
- ผลการเรียนเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
- สงสัยว่าจะมีความเครียด หรือมีปัญหาการปรับตัวจากปัญหาภายในครอบครัว
- ใช้สารเสพติดหรือดื่มสุรา
- ไม่สามารถแก้ปัญหาและปฏิบัติงานประจำได้
- มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการนอน และ/ หรือ การกินอย่างชัดเจน
- บ่นเรื่องอาการเจ็บป่วยทางกายมากมาย
- ก้าวร้าว หรือละเมิดกฎ/ สิทธิ์ผู้อื่นบ่อย ๆ เช่น ต่อต้านผู้ใหญ่ หนีโรงเรียน ลักขโมย ทำลายข้าวของ
- กลัวความอ้วนอย่างมาก
- มีอารมณ์ซึมเศร้า มองโลกในแง่ลบ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ คิดเรื่องตายบ่อย ๆ
- อารมณ์โมโหรุนแรงอย่างควบคุมไม่ได้บ่อย ๆ
ที่มา : จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://rama4.mahidol.ac.th/ramamental/?q=generalknowledge/child/07052014-1625
ปัญหาเด็ก ๆ แค่เรื่องเล็ก ๆ จริงหรือ ?
เมื่อไรที่ควรพาเด็กมาปรึกษาจิตแพทย์เด็ก ?
ผู้ปกครองมักเป็นคนแรกที่มองเห็นปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ของเด็กและจากการที่ผู้ปกครองเป็นห่วงมากขึ้น ร่วมกับการที่บุคคลภายนอก เช่น ครู เริ่มตั้งข้อสังเกต ทำให้ผู้ปกครองเริ่มคิดว่าเด็กน่าจะได้รับประโยชน์จากการมาพบแพทย์ต่อไปนี้เป็นสัญญาณซึ่งอาจบ่งชี้ว่าเด็กหรือวัยรุ่นของท่านควรได้รับความช่วยเหลือ
เด็กเล็ก
- พัฒนาการช้าไม่สมวัย เช่น พูดช้า ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัย แตกต่างจากพี่น้องหรือเด็กวัยเดียวกัน
- อุจจาระ-ปัสสาวะราด ไม่สามารถขับถ่ายในที่เหมาะสมได้ตามเกณฑ์
- ร้องไห้ อาละวาดบ่อย ๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้
- ดื้อ ไม่เชื่อฟัง ก้าวร้าว ต่อต้านผู้ใหญ่เป็นประจำ และนานกว่า 6 เดือน
- ฝันร้ายบ่อย ๆ
- ซนมาก อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา มากกว่าการเล่นทั่ว ๆ ไป
- ท่าทางวิตกกังวลอย่างมาก ซึ่งอาจแสดงออกโดยการไม่ยอมไปโรงเรียนบ่อย ๆ หรือปฏิเสธไม่ยอมเข้าเรียน หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่เด็กวัยเดียวกันมักทำ
- ถึงพยายามอย่างมากแต่ผลสอบไม่ได้เท่าที่พยายาม
- ผลการเรียนตกลงอย่างชัดเจน
- ไม่สามารถเล่น หรือเข้ากับเพื่อนได้ ถูกกลั่นแกล้งรังแกบ่อย ๆ
- สงสัยว่าจะมีความเครียด หรือมีปัญหาการปรับตัวจากปัญหาภายในครอบครัว
เด็กโตและวัยรุ่น
- ผลการเรียนเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด
- สงสัยว่าจะมีความเครียด หรือมีปัญหาการปรับตัวจากปัญหาภายในครอบครัว
- ใช้สารเสพติดหรือดื่มสุรา
- ไม่สามารถแก้ปัญหาและปฏิบัติงานประจำได้
- มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการนอน และ/ หรือ การกินอย่างชัดเจน
- บ่นเรื่องอาการเจ็บป่วยทางกายมากมาย
- ก้าวร้าว หรือละเมิดกฎ/ สิทธิ์ผู้อื่นบ่อย ๆ เช่น ต่อต้านผู้ใหญ่ หนีโรงเรียน ลักขโมย ทำลายข้าวของ
- กลัวความอ้วนอย่างมาก
- มีอารมณ์ซึมเศร้า มองโลกในแง่ลบ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ คิดเรื่องตายบ่อย ๆ
- อารมณ์โมโหรุนแรงอย่างควบคุมไม่ได้บ่อย ๆ
ที่มา : จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้