โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ คืออะไร?
โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสมาธิและพฤติกรรมมีการทำงานลดลง ทำให้มีปัญหากับการทำงานที่ต้องใช้สมาธิ อยู่นิ่งนานๆ ไม่ได้ โดยโรคนี้มักเกิดในวัยเด็ก แล้วเป็นต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่บางรายอาจพึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ตอนโตแล้ว
ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักมีอาการไม่ชัดเจนเหมือนกับในวัยเด็ก เนื่องจากมีอาการ hyperactivity ลดลง แต่หากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตและการทำงาน จนอาจพัฒนาไปสู่ปัญหากับบุคคลรอบข้างได้
อาการที่พบบ่อยในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีอะไรบ้าง?
โรคสมาธิสั้นในคนวัยทำงาน มักมีปัญหาในการจัดการกับเวลาเมื่อต้องทำงาน เช่น บางครั้งทำงานไม่ทันตามกำหนดเวลาส่งงาน ขี้หลงขี้ลืม เบื่อ หงุดหงิดง่าย อาจมีอาการรุนแรงตามแต่ละบุคคล ซึ่งอาจพบอาการดังต่อไปนี้
- มีปัญหาในการทำที่ต้องใช้สมาธิ เช่น เหม่อลอยเวลาต้องคุยธุระ วอกแวกง่าย ฟังอะไรจับใจความไม่ค่อยได้ ทำงานผิดพลาดเพราะประมาท
- ขี้ลืมและมีปัญหาการจัดงานให้เป็นระบบ เช่น โต๊ะทำงาน ห้องพักรกและไม่เป็นระเบียบอย่างมาก หาอะไรไม่พบเสมอ มักผัดวันประกันพรุ่ง มาสาย ทำของหายบ่อยๆ หรือจำไม่ได้ว่าวางไว้ที่ไหน ไม่สามารถทำงานเสร็จทันเวลาที่กำหนด
- หุนหันพลันแล่น เช่น พูดแทรกเวลาคนอื่นพูด ไม่ค่อยคิดก่อนทำและพูด ทำให้เกิดปัญหากับตนเองหรือคนรอบข้างบ่อยครั้ง
- เบื่อง่าย รู้สึกอึดอัดเวลานั่งเฉยๆ นานๆ เช่น เวลาประชุมนานจะรู้สึกกระวนกระวายใจ
- ชอบอะไรแปลกใหม่และตื่นเต้น
- พูดเก่ง พูดมาก
- มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ เครียด หงุดหงิดง่าย บางคนซึมเศร้าและวิตกกังวล นอนไม่หลับ เสี่ยงต่อปัญหาการติดสุราและยาเสพติดอื่นๆ
โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ มีสาเหตุมาจากอะไร?
สาเหตุของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่นั้นยังไม่ชัดเจน แต่โดยทั่วไปแล้ว ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดโรคสมาธิสั้น ได้แก่
-
ปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคสมาธิสั้น หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ
-
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
- มารดามีประวัติสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์
- เป็นเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
- ได้รับสารตะกั่วในวัยเด็ก
การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่
อาการของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่มักสังเกตได้ยาก และยังไม่มีเครื่องมือทดสอบโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่โดยเฉพาะ ดังนั้นหากกำลังสงสัยว่าตัวคุณหรือคนใกล้ตัวเป็นโรคสมาธิสั้น ทางที่ดีที่สุดคือควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินโรค แพทย์จะซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติ โดยใช้คำถามเจาะลึก ตัวอย่างเช่น
- การตรวจร่างกาย เพื่อแยกโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาการออกก่อน
- การรวบรวมข้อมูลจากประวัติผู้ป่วย ทั้งประวัติการรักษาและความเจ็บป่วยในอดีต ประวัติครอบครัว โดยแพทย์มักนึกถึงการเป็นโรคสมาธิสั้นในวัยเด็กและต่อเนื่องจนเป็นผู้ใหญ่ จึงมักมีคำถามเพื่อสอบถามอาการโรค
- สอบถามประวัติที่โรงเรียน เพื่อดูพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้นของผู้ป่วยในวัยเด็ก
- พูดคุยกับผู้ปกครอง เพื่อประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วยในวัยเด็ก
- คะแนน ADHD rating scales หรือ psychological tests เพื่อช่วยประเมินอาการและความรุนแรงของโรค
การรักษาโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ทำอย่างไรได้บ้าง?
การรักษาโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ มีวิธีการรักษาเหมือนกับโรคสมาธิสั้นในเด็ก โดยต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยา ทั้งด้านการใช้ยา การฝึกทักษะทางสังคม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-
การรักษาด้วยยา โดยต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับยารักษาที่ถูกชนิดและขนาดยาเหมาะสมกับตัวผู้ป่วย ซึ่งยาที่ใช้ ได้แก่
- ยากลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เช่น ยา Methylphenidate ถือเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคสมาธิสั้น
- ยากลุ่มไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เช่น ยา Atomoxetine ที่มักใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยา Methylphenidate ได้
- ยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยาคลายกังวล
-
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยนักจิตวิทยา การรักษาที่ดีคือการปรับพฤติกรรม ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเองให้ทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ และเรียนรู้ทักษะการฝึกอารมณ์ ทักษะทางสังคม เพื่อให้รู้จักสังเกตอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น ลดปัญหาการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน และสามารถทำงานในหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดความเครียดจนเกินไป
-
การรักษาปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วม ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมักเผชิญสภาวะจิตใจร่วม เช่น ปัญหาการเรียนรู้ วิตกกังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลง ย้ำคิดย้ำทำ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองดังต่อไปนี้ สามารถช่วยให้อาการของโรคสมาธิสั้นดีขึ้นได้
- ฝึกอารมณ์ตนเอง ไม่ดีใจหรือเสียใจเร็วเกินไป
- รู้จักสังเกตอารมณ์ของผู้อื่น รู้จักรอคอย รับฟัง เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อลดปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ลดพฤติกรรมใจร้อนหุนหันพลันแล่น เช่น ควรขับรถให้ช้าลง
- จัดตารางเวลาในการทำงานและใช้ชีวิต มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
- จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเป็นที่เป็นทาง
- ทำประโยชน์ให้แก่ตัวเองและผู้อื่น เพื่อสร้างความภาคภูมิใจ เสริมความมั่นใจ และความมีคุณค่าให้ตัวเอง
- พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารประเภทน้ำตาลและคาเฟอีน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สมาธิสั้นที่รู้จักกันดีในวัยเด็ก ผู้ใหญ่ก็เป็นได้ ข้อมูลจาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2021/adhd-can-be-happened-in-an-adult
สมาธิสั้นที่รู้จักกันดีในวัยเด็ก ผู้ใหญ่ก็เป็นได้
โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากสมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมสมาธิและพฤติกรรมมีการทำงานลดลง ทำให้มีปัญหากับการทำงานที่ต้องใช้สมาธิ อยู่นิ่งนานๆ ไม่ได้ โดยโรคนี้มักเกิดในวัยเด็ก แล้วเป็นต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่บางรายอาจพึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ตอนโตแล้ว
ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักมีอาการไม่ชัดเจนเหมือนกับในวัยเด็ก เนื่องจากมีอาการ hyperactivity ลดลง แต่หากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตและการทำงาน จนอาจพัฒนาไปสู่ปัญหากับบุคคลรอบข้างได้
อาการที่พบบ่อยในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีอะไรบ้าง?
โรคสมาธิสั้นในคนวัยทำงาน มักมีปัญหาในการจัดการกับเวลาเมื่อต้องทำงาน เช่น บางครั้งทำงานไม่ทันตามกำหนดเวลาส่งงาน ขี้หลงขี้ลืม เบื่อ หงุดหงิดง่าย อาจมีอาการรุนแรงตามแต่ละบุคคล ซึ่งอาจพบอาการดังต่อไปนี้
- มีปัญหาในการทำที่ต้องใช้สมาธิ เช่น เหม่อลอยเวลาต้องคุยธุระ วอกแวกง่าย ฟังอะไรจับใจความไม่ค่อยได้ ทำงานผิดพลาดเพราะประมาท
- ขี้ลืมและมีปัญหาการจัดงานให้เป็นระบบ เช่น โต๊ะทำงาน ห้องพักรกและไม่เป็นระเบียบอย่างมาก หาอะไรไม่พบเสมอ มักผัดวันประกันพรุ่ง มาสาย ทำของหายบ่อยๆ หรือจำไม่ได้ว่าวางไว้ที่ไหน ไม่สามารถทำงานเสร็จทันเวลาที่กำหนด
- หุนหันพลันแล่น เช่น พูดแทรกเวลาคนอื่นพูด ไม่ค่อยคิดก่อนทำและพูด ทำให้เกิดปัญหากับตนเองหรือคนรอบข้างบ่อยครั้ง
- เบื่อง่าย รู้สึกอึดอัดเวลานั่งเฉยๆ นานๆ เช่น เวลาประชุมนานจะรู้สึกกระวนกระวายใจ
- ชอบอะไรแปลกใหม่และตื่นเต้น
- พูดเก่ง พูดมาก
- มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ เครียด หงุดหงิดง่าย บางคนซึมเศร้าและวิตกกังวล นอนไม่หลับ เสี่ยงต่อปัญหาการติดสุราและยาเสพติดอื่นๆ
โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ มีสาเหตุมาจากอะไร?
สาเหตุของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่นั้นยังไม่ชัดเจน แต่โดยทั่วไปแล้ว ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดโรคสมาธิสั้น ได้แก่
- ปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคสมาธิสั้น หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
- มารดามีประวัติสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์
- เป็นเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
- ได้รับสารตะกั่วในวัยเด็ก
การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่
อาการของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่มักสังเกตได้ยาก และยังไม่มีเครื่องมือทดสอบโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่โดยเฉพาะ ดังนั้นหากกำลังสงสัยว่าตัวคุณหรือคนใกล้ตัวเป็นโรคสมาธิสั้น ทางที่ดีที่สุดคือควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินโรค แพทย์จะซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติ โดยใช้คำถามเจาะลึก ตัวอย่างเช่น
- การตรวจร่างกาย เพื่อแยกโรคที่อาจเป็นสาเหตุของอาการออกก่อน
- การรวบรวมข้อมูลจากประวัติผู้ป่วย ทั้งประวัติการรักษาและความเจ็บป่วยในอดีต ประวัติครอบครัว โดยแพทย์มักนึกถึงการเป็นโรคสมาธิสั้นในวัยเด็กและต่อเนื่องจนเป็นผู้ใหญ่ จึงมักมีคำถามเพื่อสอบถามอาการโรค
- สอบถามประวัติที่โรงเรียน เพื่อดูพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้นของผู้ป่วยในวัยเด็ก
- พูดคุยกับผู้ปกครอง เพื่อประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วยในวัยเด็ก
- คะแนน ADHD rating scales หรือ psychological tests เพื่อช่วยประเมินอาการและความรุนแรงของโรค
การรักษาโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ ทำอย่างไรได้บ้าง?
การรักษาโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ มีวิธีการรักษาเหมือนกับโรคสมาธิสั้นในเด็ก โดยต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยา ทั้งด้านการใช้ยา การฝึกทักษะทางสังคม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- การรักษาด้วยยา โดยต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับยารักษาที่ถูกชนิดและขนาดยาเหมาะสมกับตัวผู้ป่วย ซึ่งยาที่ใช้ ได้แก่
- ยากลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เช่น ยา Methylphenidate ถือเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคสมาธิสั้น
- ยากลุ่มไม่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เช่น ยา Atomoxetine ที่มักใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยา Methylphenidate ได้
- ยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยาคลายกังวล
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยนักจิตวิทยา การรักษาที่ดีคือการปรับพฤติกรรม ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเองให้ทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ และเรียนรู้ทักษะการฝึกอารมณ์ ทักษะทางสังคม เพื่อให้รู้จักสังเกตอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น ลดปัญหาการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน และสามารถทำงานในหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดความเครียดจนเกินไป
- การรักษาปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วม ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมักเผชิญสภาวะจิตใจร่วม เช่น ปัญหาการเรียนรู้ วิตกกังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลง ย้ำคิดย้ำทำ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองดังต่อไปนี้ สามารถช่วยให้อาการของโรคสมาธิสั้นดีขึ้นได้
- ฝึกอารมณ์ตนเอง ไม่ดีใจหรือเสียใจเร็วเกินไป
- รู้จักสังเกตอารมณ์ของผู้อื่น รู้จักรอคอย รับฟัง เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อลดปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ลดพฤติกรรมใจร้อนหุนหันพลันแล่น เช่น ควรขับรถให้ช้าลง
- จัดตารางเวลาในการทำงานและใช้ชีวิต มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
- จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเป็นที่เป็นทาง
- ทำประโยชน์ให้แก่ตัวเองและผู้อื่น เพื่อสร้างความภาคภูมิใจ เสริมความมั่นใจ และความมีคุณค่าให้ตัวเอง
- พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารประเภทน้ำตาลและคาเฟอีน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้