บททดสอบใหม่เดิมพันอาณาจักรสื่อสาร 'อดิศัย'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559
อาณาจักรสื่อสารโทรคมนาคม คือเป้าหมายเดียวในชีวิตทางธุรกิจ ของ "อดิศัย โพธารามิก"
นับแต่ร่ำเรียนก็จบสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากรั้วจามจุรี แล้วไปเริ่มงานที่กรมการบินพาณิชย์ ก่อนจะผันตัวเองเข้ามาอยู่ชายคาในองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)เวลานั้น หรือปัจจุบันคือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)(บมจ.)
อำลาชีวิตพนักงานรัฐวิสาหกิจในปี 2520-2521 "อดิศัย" ก้าวไปสัมผัสชีวิตทางการเมืองเป็นครั้งแรก เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้กับคุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ในยุครัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร
แต่ก็เป็นรัฐบาลเพียงช่วงสั้นๆ จากนั้นขยับสู่ธุรกิจเอกชน เริ่มจากการเป็นลูกจ้างในบริษัท สยามเทลเทคฯ ในเครือ "ไวท์กรุ๊ป" ขยายธุรกิจหันมาทำธุรกิจค้าอุปกรณ์สื่อสารให้กับหน่วยงานทหารเพิ่มเติม
ที่ "สยามเทลเทค" เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ และทำให้เกิด "จัสมิน" ขึ้นมา เพราะบริษัทดังกล่าว รับเหมาและออกแบบวิศวกรรมให้กับหน่วยงานรัฐ
เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯขยายงาน "อดิศัย" เห็นลู่ทางทำธุรกิจ
ตัดสินใจโดดมาตั้งบริษัทลุยธุรกิจ เสนอตัวเข้าชิงประมูลงานเคเบิลใต้น้ำขององค์การโทรศัพท์ฯ
"เขา" ตัดสินใจลาออกจาก สยามเทลเทค และ เข้าประมูลเคเบิลใต้น้ำ ของ ทศท. ส่วนบริษัท อคิวเม้นท์ จำกัด เข้ารับสัมปทาน ให้บริการระบบสัญญาณผ่านดาวเทียมขนาดเล็ก หรือวีแซท และได้ลงทุนในบริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด หรือ ARS ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม "เอเซียส"
แต่ที่สร้างความฮือฮาให้กับ "อดิศัย" มากที่สุด คือ การคว้าชัยชนะประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1.5 ล้านเลขหมายในเขตภูมิภาค จากทีโอที แบ่งเค้กจาก บริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัดหรือทีเอ ของค่ายซีพี ที่ได้ 2.5 ล้านเลขหมายในเขตกรุงเทพฯ เมื่อรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เปลี่ยนนโยบาย จากเดิมให้ ทีเอ ได้สัมปทานเจ้าเดียวทั้งประเทศ
การคว้าชัยชนะของ "อดิศัย" ในครั้งนั้นทำให้ บมจ.จัสมิน ขยายอาณาจักรเติบโตอย่างต่อเนื่อง และขยายธุรกิจจากการให้บริการระบบ หรือโครงข่าย มาสู่การให้บริการระดับผู้บริโภค และ นำ บมจ.จัสมิน และทีทีแอนด์ที เข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เผอิญจังหวะที่จัสมินเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคมเต็มตัว เป็นช่วงเปลี่ยนครั้งใหญ่ของเทคโนโลยีสื่อสาร จากอะนาล็อกสู่ดิจิตอล จากเบอร์บ้านสู่มือถือ จนสะดุด ด้านหนึ่ง "ทีทีแอนด์ที" เข้าสู่กระบวนการแผนฟื้นฟูกิจการ และศาลล้มละลายกลางได้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
อีกทาง "อดิศัย" ถอดเสื้อสูตลงสู่สนามการเมืองได้นั่งเป็น รมต.พาณิชย์ ในรัฐบาล "ทักษิณ 1"
"อดิศัย" ส่งไม้ต่อ "พิชญ์" ทายาทเพียงคนเดียว เข้ามาสานต่อธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ปัจจุบันค่ายจัสมิน มี 2 ธุรกิจหลักที่ให้ความสำคัญ
บริการบรอดแบนด์ ในนามบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด
ก่อนรุกสู่ธุรกิจสื่อทีวีดิจิตอล ในช่องสถานี "โมโน 29"
ล่าสุด ตัดสินใจตั้ง "แจสโมบาย" เข้าร่วมประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี สู้สุดตัวจนดันให้การประมูลสร้างประวัติศาสตร์ จนคว้าสิทธิ์คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ 1 ใบในราคาที่วงการเห็นว่าแพงลิบเกือบ 8 หมื่นล้านบาท
4 จี ถือว่าเป็นบททดสอบใหม่! ของ "แจส"
หากแต่เกมเดิมพันครั้งนี้ "อดิศัย" จะตัดสินใจนาทีสุดท้ายอย่างไร 21 มีนาคมรู้ผล อนาคต "จัสมิน"
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 12)
บททดสอบใหม่เดิมพันอาณาจักรสื่อสาร 'อดิศัย'
บททดสอบใหม่เดิมพันอาณาจักรสื่อสาร 'อดิศัย'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559
อาณาจักรสื่อสารโทรคมนาคม คือเป้าหมายเดียวในชีวิตทางธุรกิจ ของ "อดิศัย โพธารามิก"
นับแต่ร่ำเรียนก็จบสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากรั้วจามจุรี แล้วไปเริ่มงานที่กรมการบินพาณิชย์ ก่อนจะผันตัวเองเข้ามาอยู่ชายคาในองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)เวลานั้น หรือปัจจุบันคือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)(บมจ.)
อำลาชีวิตพนักงานรัฐวิสาหกิจในปี 2520-2521 "อดิศัย" ก้าวไปสัมผัสชีวิตทางการเมืองเป็นครั้งแรก เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้กับคุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ในยุครัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร
แต่ก็เป็นรัฐบาลเพียงช่วงสั้นๆ จากนั้นขยับสู่ธุรกิจเอกชน เริ่มจากการเป็นลูกจ้างในบริษัท สยามเทลเทคฯ ในเครือ "ไวท์กรุ๊ป" ขยายธุรกิจหันมาทำธุรกิจค้าอุปกรณ์สื่อสารให้กับหน่วยงานทหารเพิ่มเติม
ที่ "สยามเทลเทค" เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ และทำให้เกิด "จัสมิน" ขึ้นมา เพราะบริษัทดังกล่าว รับเหมาและออกแบบวิศวกรรมให้กับหน่วยงานรัฐ
เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯขยายงาน "อดิศัย" เห็นลู่ทางทำธุรกิจ
ตัดสินใจโดดมาตั้งบริษัทลุยธุรกิจ เสนอตัวเข้าชิงประมูลงานเคเบิลใต้น้ำขององค์การโทรศัพท์ฯ
"เขา" ตัดสินใจลาออกจาก สยามเทลเทค และ เข้าประมูลเคเบิลใต้น้ำ ของ ทศท. ส่วนบริษัท อคิวเม้นท์ จำกัด เข้ารับสัมปทาน ให้บริการระบบสัญญาณผ่านดาวเทียมขนาดเล็ก หรือวีแซท และได้ลงทุนในบริษัท เอเซียส รีเยนแนล เซอร์วิส จำกัด หรือ ARS ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม "เอเซียส"
แต่ที่สร้างความฮือฮาให้กับ "อดิศัย" มากที่สุด คือ การคว้าชัยชนะประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1.5 ล้านเลขหมายในเขตภูมิภาค จากทีโอที แบ่งเค้กจาก บริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัดหรือทีเอ ของค่ายซีพี ที่ได้ 2.5 ล้านเลขหมายในเขตกรุงเทพฯ เมื่อรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เปลี่ยนนโยบาย จากเดิมให้ ทีเอ ได้สัมปทานเจ้าเดียวทั้งประเทศ
การคว้าชัยชนะของ "อดิศัย" ในครั้งนั้นทำให้ บมจ.จัสมิน ขยายอาณาจักรเติบโตอย่างต่อเนื่อง และขยายธุรกิจจากการให้บริการระบบ หรือโครงข่าย มาสู่การให้บริการระดับผู้บริโภค และ นำ บมจ.จัสมิน และทีทีแอนด์ที เข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เผอิญจังหวะที่จัสมินเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคมเต็มตัว เป็นช่วงเปลี่ยนครั้งใหญ่ของเทคโนโลยีสื่อสาร จากอะนาล็อกสู่ดิจิตอล จากเบอร์บ้านสู่มือถือ จนสะดุด ด้านหนึ่ง "ทีทีแอนด์ที" เข้าสู่กระบวนการแผนฟื้นฟูกิจการ และศาลล้มละลายกลางได้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
อีกทาง "อดิศัย" ถอดเสื้อสูตลงสู่สนามการเมืองได้นั่งเป็น รมต.พาณิชย์ ในรัฐบาล "ทักษิณ 1"
"อดิศัย" ส่งไม้ต่อ "พิชญ์" ทายาทเพียงคนเดียว เข้ามาสานต่อธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ปัจจุบันค่ายจัสมิน มี 2 ธุรกิจหลักที่ให้ความสำคัญ
บริการบรอดแบนด์ ในนามบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด
ก่อนรุกสู่ธุรกิจสื่อทีวีดิจิตอล ในช่องสถานี "โมโน 29"
ล่าสุด ตัดสินใจตั้ง "แจสโมบาย" เข้าร่วมประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี สู้สุดตัวจนดันให้การประมูลสร้างประวัติศาสตร์ จนคว้าสิทธิ์คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ 1 ใบในราคาที่วงการเห็นว่าแพงลิบเกือบ 8 หมื่นล้านบาท
4 จี ถือว่าเป็นบททดสอบใหม่! ของ "แจส"
หากแต่เกมเดิมพันครั้งนี้ "อดิศัย" จะตัดสินใจนาทีสุดท้ายอย่างไร 21 มีนาคมรู้ผล อนาคต "จัสมิน"
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 12)