สธ. ห่วงคนไทยตรวจหาเชื้อเอชไอวีน้อย วอนคนมีพฤติกรรมเสี่ยงเร่งตรวจหาเชื้อ ก่อนป่วยรุนแรงและแพร่เชื้อสู่คนอื่น เดินหน้ารณรงค์ตรวจฟรีพร้อมดันสิทธิประโยชน์การให้ยาต้านไวรัสทุกระดับค่าภูมิต้านทาน หวังลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิต และการตีตรา เชื่อ 10 ปีจะไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวรณรงค์ตรวจเอชไอวี “ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจเอชไอวี” ว่า สธ. และภาคีเครือข่ายด้านเอดส์กำหนดให้วันที่ 1 ก.ค. ของทุกปีเป็นวันรณรงค์ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (Voluntary Counselling and Testing Day : VCT Day) เพื่อให้ประชาชนตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ซึ่งขณะนี้ยังคงตระหนักถึงเรื่องนี้น้อยอยู่ เห็นได้จากไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 500,000 คน แต่มีเพียง 250,000 รายที่ทราบผลเลือดและเข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว ทั้งที่ สธ. ได้จัดระบบบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ระบบบริการปรึกษา การตรวจวินิจฉัย การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ครอบคลุมในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้ จึงได้ให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศจัดกิจกรรมรณรงค์การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีพฤติกรรมเสี่ยงทั้งอดีตและปัจจุบัน เช่น ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น โดยประชาชนสามารถรับการตรวจเลือดเอชไอวี ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทุกแห่ง ฟรี ปีละ 2 ครั้ง
“การทราบผลตรวจเลือดจะช่วยให้ผู้ที่ไม่ติดเชื้อเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเอง ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ก็จะป้องกันไม่ถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่น และได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว ช่วยลดการป่วยจากโรคฉวยโอกาส เช่น วัณโรค และลดการเสียชีวิตลง ตามยุทธศาสตร์ของ สธ. ที่มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ ทั้งผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิต และการรังเกียจตีตรา” ปลัด สธ. กล่าว
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า มาตรการเพื่อให้ประชาชน
เข้าถึงบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีของ คร. คือ ส่งเสริมหน่วยบริการสุขภาพให้จัดบริการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี แบบทราบผลในวันเดียว (same day result) ในโรงพยาบาลทุกแห่ง รวมถึงการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน โดยปีนี้มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ติดเชื้อในทุกระดับเม็ดเลือดขาว หรือซีดีโฟร์ (CD4) ตามความพร้อมของผู้ติดเชื้อและดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมปรับสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวต่อไป ขณะเดียวกัน ได้วางแผนพัฒนาระบบบริการและศักยภาพผู้ให้บริการ ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์อย่างมีคุณภาพไปพร้อมกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สธ.
Report by LIV APCO
“ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจเอชไอวี”
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวรณรงค์ตรวจเอชไอวี “ประโยชน์ 6 ข้อที่ควรตรวจเอชไอวี” ว่า สธ. และภาคีเครือข่ายด้านเอดส์กำหนดให้วันที่ 1 ก.ค. ของทุกปีเป็นวันรณรงค์ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (Voluntary Counselling and Testing Day : VCT Day) เพื่อให้ประชาชนตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ซึ่งขณะนี้ยังคงตระหนักถึงเรื่องนี้น้อยอยู่ เห็นได้จากไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 500,000 คน แต่มีเพียง 250,000 รายที่ทราบผลเลือดและเข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว ทั้งที่ สธ. ได้จัดระบบบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ไว้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ระบบบริการปรึกษา การตรวจวินิจฉัย การรักษาด้วยยาต้านไวรัส ครอบคลุมในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้ จึงได้ให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศจัดกิจกรรมรณรงค์การตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี ให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีพฤติกรรมเสี่ยงทั้งอดีตและปัจจุบัน เช่น ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น โดยประชาชนสามารถรับการตรวจเลือดเอชไอวี ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทุกแห่ง ฟรี ปีละ 2 ครั้ง
“การทราบผลตรวจเลือดจะช่วยให้ผู้ที่ไม่ติดเชื้อเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเอง ส่วนผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ก็จะป้องกันไม่ถ่ายทอดเชื้อไปให้ผู้อื่น และได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว ช่วยลดการป่วยจากโรคฉวยโอกาส เช่น วัณโรค และลดการเสียชีวิตลง ตามยุทธศาสตร์ของ สธ. ที่มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ ทั้งผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิต และการรังเกียจตีตรา” ปลัด สธ. กล่าว
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า มาตรการเพื่อให้ประชาชน
เข้าถึงบริการตรวจหาเชื้อเอชไอวีของ คร. คือ ส่งเสริมหน่วยบริการสุขภาพให้จัดบริการปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี แบบทราบผลในวันเดียว (same day result) ในโรงพยาบาลทุกแห่ง รวมถึงการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน โดยปีนี้มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ติดเชื้อในทุกระดับเม็ดเลือดขาว หรือซีดีโฟร์ (CD4) ตามความพร้อมของผู้ติดเชื้อและดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมปรับสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวต่อไป ขณะเดียวกัน ได้วางแผนพัฒนาระบบบริการและศักยภาพผู้ให้บริการ ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์อย่างมีคุณภาพไปพร้อมกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สธ.
Report by LIV APCO