ใกล้มอเตอร์โชว์แล้วค่ะ เราจะเห็นสาวๆสวยๆ เหล่าพริตตี้ในงานมากมาย บางคนก็บอกตัวเองเป็นพริตตี้ บางคนก็บอกตัวเองเป็นเอ็มซี
หรือเรียกเป็นพริตตี้เอ็มซีทีเดียว ฟังแค่เอ็มซีบอกตาสีตาสาอาจจะไม่เข้าใจ
เมื่อก่อนตอนจขกท.บอกที่บ้านว่าทำอาชีพอะไร คุณแม่ก็งงค่ะ มันอะไรน่ะลูก
ตามกระทู้นี้มาค่ะ จะเล่าให้ฟัง
อ่อๆ กระทู้นี้เพื่อหนุ่มๆ จะได้เข้าใจสาวๆในแวดวงมากขึ้นด้วยค่ะ
อาชีพที่ต้องใช้ บุคลิกภาพ รูปร่างหน้าตา ทักษะเฉพาะตัว และมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษ งงๆ เหล่านี้
BA PC PG PT MC
เอ๊ะนี่มันอะไร ....
อ้างอิงจากกูเกิล /อักษรย่อ.com + ความเข้าใจเจ้เอง
BA Beauty Advisor = พนักงานเชียร์สินค้า แนะนำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องสำอาง พนักงานส่งเสริมความงาม หรือพนักงานที่อยู่ตามเคาท์เตอร์เครื่องสำอางตามห้างสรรพสินค้า มีหน้าที่ในการให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องสำอางให้กับลูกค้า รวมถึงการสาธิตการใช้เครื่องสำอางแต่ละชิ้นให้กับลูกค้าที่สนใจ นอกจากจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่จะต้องนำเสนอแล้ว BA จะต้องมีทักษะในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงความสามารถทางด้านศิลปะ ความงาม การแต่งหน้า และสามารถทำการขายสินค้าให้กับลูกค้าได้ด้วย รายได้ แล้วแต่แบรนด์/ยอดขาย โดยมากเป็นพนักงานประจำ
PC Product Consultant = พนักงานแนะนำสินค้า หรือ พนักงานขายสินค้า ที่อยู่ตามห้างหรือบูธสินค้า แปลตามตัว ที่ปรึกษาผลิตภัณฑ์ เวลาเดินในซุปเปอร์สโตร์ใหญ่ๆ จะมีพนักงานยืนตามชั้นสินค้าของตัวเอง ใส่เสื้อแบรนด์สินค้านั้นๆ เมื่อลูกค้าเดินเข้าไปในโซนผลิตภัณฑ์ของตัวเองก็จะเข้ามาแนะนำ ซึ่งน้องๆPC ต้องได้รับการเทรนข้อมูลอย่างถูกต้องมาก่อน เมื่อลูกค้าถามจะได้ตอบและแนะนำได้ บางทีลูกค้าก็เป็นเจ้าหน้าที่บริษัทสินค้าปลอมตัวมา audit ก็มี รายได้ โดยเฉลี่ย 400++ ต่อวัน ลักษณะงานเป็นพนักงานห้างคนหนึ่ง ต้องยืนตลอด ห้ามเล่นโทรศัพท์ มีเวลาพักตามรอบที่กำหนด นอกจากรายได้ประจำอาจมีค่าคอมมิชชั่นจากยอดขายด้วย
PG Promotion Girl = พนักงานโปรโมทสินค้า เน้นการขายสินค้าที่มีการจัดโปรโมชั่น ส่วนมากจะเป็นประเภทพาร์ทไทม์ไม่ใช่งานประจำเนื่องจากสินค้าที่ขายเป็นสินค้าเฉพาะที่ทำโปรโมชั่น และพนักงานก็คัดจากหน้าตาและบุคลิกภาพ โดยรวมเหมือนคือ PC ต้องรู้ข้อมูลสินค้า ตอบคำถาม แนะนำลูกค้าได้ ต้องยืน ต้องเชียร์ขาย แต่จะเน้นขายสินค้าช่วงโปรโมชั่น มียอดขายตามเป้าที่กำหนด อาจมีเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สวยๆ น่ารักๆ ให้พนักงาน ดูเหมือนเป็นตำแหน่งที่อยู่ระหว่างพริตตี้กับพีซี สวยด้วยและขายด้วย รายได้ โดยเฉลี่ย 700++ ต่อวัน
จากข้อมูลข้างต้น ฟังดูเหมือนจะมีแต่ผู้หญิง ต้องบอกว่า โดยมากเป็นผู้หญิงค่ะ แต่ผู้ชายก็มี หลายๆแบรนด์ก็ใช้สาวประเภทสอง ซึ่งสินค้าบางตัวสาวสองทำยอดได้ดีกว่าด้วย
มาดูกันต่อ
PT Pretty Boy/Girl = พริตตี้ แปลว่าน่ารัก ก็ต้องเป็น หนุ่มหล่อ สาวสวย น่ารัก ดึงดูดลูกค้าได้ แม้ไม่ต้องพูดอะไร เขาเข้ามาถ่ายรูป ก็โพสได้ ยิ้มเก่ง จะให้ดีก็รู้จักสินค้า พอตอบคำถามเบื้องต้นได้ ถ้าลูกค้าสนใจก็แนะนำไปให้ เซล หรือพนักงานของสินค้านั้นๆ ดูแลต่อไป พบได้ตามงานกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Events) งานแสดงสินค้า (Exhibitions) ต้องยืนประจำบูท บางงานอาจให้นั่งได้บ้าง (สาวๆมักบ่นกันในวงว่า ยืน Teen แตก) การใส่รองเท้าส้นสูงเพื่อความสง่า เรื่องชุดเสื้อผ้าแล้วแต่ทางเจ้าของสินค้า/ผู้ว่าจ้างกำหนด อาจมีอยู่แล้ว ตัดให้ใหม่ หรือบอกสีให้ไปหามาเอง บางงานก็ให้พวกเธอมาแจกสินค้า โบร์ชัว หรือแม้แต่ยืนถ่ายรูป เชิญรางวัล บลาๆ สิ่งจำเป็นของอาชีพพริตตี้ คือ ... บุคลิกภาพ ความสวยหล่อ ดูดี (เหมาะจะให้เรียก พริตตี้ ว่างั้นเถอะ) เรื่องรูปร่างก็มีส่วน ต้องผอม ต้องเป๊ะไว้ จะได้ใส่ชุดที่ลูกค้ามีให้ได้ง่าย ต่อมาก็เป็นเรื่องทักษะความรู้ ที่สามารถเรียนรู้ข้อมูลงานได้เร็ว มีมนุษยสัมพันธ์ดี รายได้ โดยเฉลี่ย 1500-3000 บาทต่อวัน
MC Master of ceremonies /Emcee = พิธีกร ผู้ควบคุม/ดำเนินงาน รายการต่างๆ อันนี้เมืองไทยบ้านเรายังสับสน ขออนุญาตอธิบายโดยละเอียด โปรดติดตาม...
Pretty MC คือน้องๆที่ น่ารัก สวย ดูดี แบบพริตตี้ มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย สามารถ พูดประชาสัมพันธ์ออกไมค์ได้ (ในวงการจะเรียกว่า โฟน คือ ต้องพูดสื่อสารผ่านเครื่องขยายเสียงออกสื่อในที่สาธารณะได้ ซึ่งน้องพริตตี้บางคนทำไม่ได้ก็จะรู้ตัวเองว่าไม่รับงานโฟน เพราะกลัวไมค์ ไม่กล้า พอพูดแล้วซ้ำวกวนไปมา พูดไม่รู้เรื่อง บางคนก็พยายามฝึกจากการดูรุ่นพี่ ก็ขยับจาก พริตตี้มารับงาน MC โฟนสินค้าได้ด้วย) ภาพรวมเหมือนพริตตี้ ต้องสวยดูดี ชุดเครื่องแต่งกายแล้วแต่ทางเจ้าของสินค้าหรือผู้ว่าจ้างกำหนด แต่มีข้อยกเว้นนะ บางคนอาจจะไม่สวยเป๊ะ แต่โฟนเก่งมาก ก็ถือเป็นภาษีส่วนนี้ไป ลูกค้าอาจจะมีสคริปให้ หรือโยนโบร์ชัวร์บอกโปรโมชั่นมา แล้วให้โซโล่เอง ซึ่งเหล่า MC มือโปรก็จะไม่มีปัญหา
การโฟนประชาสัมพันธ์สินค้า คือ .. การบอกข้อมูลผ่านเครื่องขยายเสียง(ไมโครโฟน ลำโพง บางงานMC ลากลำโพงเองอย่างกะแอร์ลากกระเป๋าก็มี) ทั้งชื่อสินค้า คุณสมบัติ ประโยชน์ ราคา โปรโมชั่น สิ่งที่ลูกค้าจะได้ สิทธิพิเศษเพิ่มเติม ชวนเล่นเกม แจกของพรีเมี่ยมต่างๆ
เราจะพบได้ตามงานกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Events) งานแสดงสินค้า (Exhibitions) หรือห้างสรรพสินค้า หน้าร้านค้าต่างๆ หรือแม้แต่ ตลาดนัด ย่านชุมชน บางชนิดสินค้ามีการเดินขบวน เราเรียกกันว่าเดินทรูป (Troop) ในขบวนจะมี MC Pretty Staff เจ้าหน้าที่อื่นๆ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ ถือป้าย แจกโบชัวร์ ว่ากันไป ถ้าเป็นงานบูทหรือหน้าร้าน MC จะอยู่บูทเฉพาะช่วงประชาสัมพันธ์ วันละ 3-4-5 ครั้ง ตามแต่ตกลงเนื้องาน จะไม่ได้อยู่ประจำบูทเหมือนพริตตี้ แต่ก็แล้วแต่ตกลงกันกับผู้ว่าจ้างค่ะ
เวลาเราเห็นหนุ่มสาวเหล่านี้ โฟนประชาสัมพันธ์(โดยมากจะเป็นสาวๆ) ก็สามารถฟังรายละเอียดเบื้องต้นก่อน แล้วติดต่อสอบถามจากพนักงานประจำบูทหรือสินค้าได้ หรือถ้าพวกเธอชวนเล่นเกม ไม่ว่าจะตอบคำถามหรือให้ควักแบงค์ยี่สิบ ก็เข้าไปเล่นเลยค่ะ นางมีหน้าที่แจก ต้องแจกค่ะ ช่วยเล่นที (จากไดอารี่ตุ๊ดซี่ ที่เจ้หลีเจอ ประมาณนั้น แต่เรื่องจริงแล้ว คำถามแบบนั้น ทีมงานไม่น่าจะให้ถามโจ่งแจ้งนะ เป็นเจ้จะตอบข้อ ก. ไม่เคยค่ะ ตีแบ๊วไป เอิ๊กๆ^^)
ในต่างประเทศเขาจะมี MC Pretty เป็นกิจจะลักษณะ ตามงานฮอลหรือ Events พิเศษไป ไม่เหมือนบ้านเราที่เห็นได้ทุกห้าง ทุกเสาร์อาทิตย์ จนชินตา
นี่คือ MC โฟนประชาสัมพันธ์สินค้า รายได้ โดยเฉลี่ย 1500-3500 บาท ต่อวัน
ทีนี้มี MC มีแบบ
MC onstage อีก แนะนำเบื้องลึกละนะ เพราะว่ามันคือทักษะความสามารถเฉพาะของบุคคล บางคนพูดไมค์อยู่ข้างล่างได้ พอขึ้นเวทีไปไม่เป็นก็มี ต้องอาศัยประสบการณ์ การเลือกใช้คำให้เหมาะกับลักษณะงาน และผู้ร่วมงาน เช่น งานเทคโนโลยี งานการท่องเที่ยว งานหนังสือ งานแม่และเด็ก หรือแม้แต่การใช้เสียงไม่ให้กวนหูคนฟังแต่ยังน่าสนใจ MC onstage ในงาน Events จะเป็นลักษณะกึ่งพิธีกร เราเรียกกันว่า
MC กลาง มีการรันคิว ลำดับของเวที บางงานรายละเอียดไม่ซับซ้อน เช่น เปิดงาน แนะนำงานโดยรวม มีบูทไหน สินค้าอะไรมาบ้าง โปรโมชั่นที่น่าสนใจของแต่ละวัน ส่งต่อให้ MC ของแต่ละบูทขึ้นมาประชาสัมพันธ์เอง หรือมีสัมภาษณ์คนสำคัญ ดารา เล่นเกมแจกของ ปิดงาน ลักษณะโดยรวมเหมือน Pretty MC ทั่วไป ทั้งบุคลิกรูปร่างหน้าตา ก็ต้องดูดี มั่นใจ เรื่องชุดเครื่องแต่งกายตามตกลงกับผู้ว่าจ้าง ตัวงานจะเป๊ะ เป็นทางการหน่อย เพราะเป็นงานเวที ที่มีคนดู และผู้เกี่ยวข้องมากขึ้นนั่นเอง รายได้โดยเฉลี่ย 3000-5000 ต่อวัน
ต่อมา
MC/Emcee พิธีกร ที่ต้องแนบคำว่า Emcee เพราะสากลเขาใช้แบบนี้ค่ะ เดี๋ยวแจงอีกทีนะ ในขั้นนี้เราจะใช้คำว่า พิธีกร แต่หลังเวทีก็จะเรียกชื่อเล่นตำแหน่งเราว่า
MC อยู่ดี ก็เป็นที่เข้าใจกัน พิธีกร เวที เป็นผู้ดำเนินรายการบนเวที ในกิจกรรมต่างๆ งานแถลงข่าว งานเปิดตัว งานสัมมนา งานประกวด งานแต่งงาน งานเลี้ยง และอื่นๆ มีเจ้าหน้าที่/ออแกไนซ ช่วยดูแลงานให้ ตัวงานจะมีกำหนดการไว้เรียบร้อยตั้งแต่ต้นจนจบ เปิดตัวพิธีกร เชิญผู้บริหาร เชิญคนสำคัญ มีช่วงพิเศษ ตัดริบบิ้น/สัมภาษณ์ VTR การแสดง การบรรยาย จับฉลาก/แจกของรางวัล บลาๆๆๆ ทั้งนี้แล้วแต่ กิจกรรมของแต่ละงาน ลักษณะงานพิธีกร จะเน้นความสามารถเป็นหลัก ทักษะการสื่อสารในที่สาธารณะ การใช้คำพูดให้เหมาะสม บุคลิกภาพโดยรวมที่ดูดี สามารถดูแลเวที ควบคุมสถานการณ์ต่างๆให้ผ่านไปได้ ทำให้ผู้ร่วมงานประทับใจในการดำเนินรายการ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าปลาบปลื้มมากถึงมากที่สุด รายได้ คิดเหมือนดาราเลยค่ะ No name โดยเฉลี่ย ก็ 5,000-10,000 หรือมีชื่อเสียง อย่างที่เรารู้จักกัน ดีเจดังๆ พิธีกรมากฝีมือหลายท่านก็ เป็นหลักหมื่นถึงหลักแสน แต่ เราคิดเป็นคิวงานนะคะ คือ งานลักษณะนี้ จะมีกำหนดเวลาแน่นอน เช่น งานเปิดตัวสินค้าหรือ บริษัท นับตั้งแต่ 8.00-12.00 น. เป็น 1 คิวงาน งานเลี้ยงฉลองต่างๆช่วงเย็น นับตั้งแต่ 18.00-22.00 น.เป็น 1 คิวงาน ทั้งนี้แล้วแต่การตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับงานค่ะ ซึ่งอาจจะดิวตรง ผ่านผู้จัดการ โมเดลลิ่ง หรือผ่านออแกไนซก็แล้วแต่กรณี ซึ่งนั่นหมายความว่า พิธีกร อาจจะรับงานวันหนึ่งมากกว่า หนึ่งคิวก็ได้ ราคาแต่ละงานอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจทุกฝ่าย (งานแต่งงานก็เช่นกัน พิธีกรงานหมั้นช่วงเช้านับเป็น 1คิว และงานเลี้ยงฉลองช่วงเย็น นับเป็นอีก 1คิวค่ะ)
ข้างต้นเป็นราคาทั่วไปที่เป็นงานภาษาไทย ถ้าต้องใช้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆในการสื่อสารด้วย ราคาจะเพิ่มขึ้นอีก 50-100% ค่ะ
อ่อ.. สำหรับราคาต่างจังหวัด ค่าเฉลี่ยอาจจะน้อยกว่านี้ เพราะค่าครองชีพต่ำกว่า งบประมาณลูกค้าไม่สูงมาก ยังไงๆก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของคนจ้างและคนทำงานค่ะ
เรื่องบุคลิกภาพ รูปร่างหน้าตา เอาเป็นว่าเดี๋ยวนี้หมอทำได้ ทุกอย่าง อยากเป็นแบบไหน จ่าย จัด จ้ะ ถามว่าจำเป็นมั้ย แต่ละคนมีคาแรคเตอร์ต่างกัน อยู่ที่การวางตำแหน่งของตัวเอง ถ้ามาแนวเอ็กซเซ็กซี่ ต้องมีนมตู้ม เอวคอด สะโพกผาย ก็ทำค่ะ หนูตัวเล็กเป็นพริตตี้เอ็มซีได้มั้ย ก็ไม่มีใครห้ามนะ อยู่ที่ลูกค้าต้องการแบบไหน สินค้าบางอย่างอาจจะต้องการคาแรคเตอร์แบบ น่ารัก ใสๆ ก็ได้ บางคนเรียบร้อย ก็มีงานตลอด สุดท้าย เราก็เป็นสินค้าหนึ่ง ให้ผู้ว่าจ้างเลือกใช้อยู่ดี
สิ่งสำคัญ จำเป็น ดอกจันตัวโต ที่ก็ควรมีในทุกวงการ คือ ความรับผิดชอบ การมีวินัย รู้สิ่งใดควรไม่ควร รับงาน 1 แล้ว มีงาน 2 เข้ามา แม้ราคาสูงกว่าก็ควรต้องทำใจปฏิเสธงาน 2 เพื่อรักษาเครดิต ไม่มาสาย ไม่เอาเปรียบ กินแรงเพื่อน ไม่มัวเล่นโทรศัพท์ มีการเตรียมตัวก่อนทำงาน รู้ข้อมูลสินค้า/ลูกค้า จัดเสื้อผ้าหน้าผมเรียบร้อย ให้เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของสินค้า ที่เขาตัดสินใจว่าจ้างเราให้มาเป็นตัวแทนของสินค้าเขา เรามีเกียรติมากกว่าที่จะมาทำงานให้ผ่านไปวันๆ ซึ่งในงานกิจกรรมพิเศษเหล่านั้น ผู้ว่าจ้างก็ต้องคาดหวังมาก เป็นธรรมดา
อ่ะๆ เดี๋ยวเครียด มาดูในมอเตอร์โชว์ซักนิดว่าอะไรคืออะไร ติดตามจาก ความเห็นค่ะ
เพิ่มเติม ใครอยากทำงานด้านนี้ ความเห็น 3 ค่ะ
Pretty MC คืออะไร ต่างกันยังไง ทำยังไงจะได้เป็น และ PC PG BA BG คือ...
หรือเรียกเป็นพริตตี้เอ็มซีทีเดียว ฟังแค่เอ็มซีบอกตาสีตาสาอาจจะไม่เข้าใจ
เมื่อก่อนตอนจขกท.บอกที่บ้านว่าทำอาชีพอะไร คุณแม่ก็งงค่ะ มันอะไรน่ะลูก
ตามกระทู้นี้มาค่ะ จะเล่าให้ฟัง
อ่อๆ กระทู้นี้เพื่อหนุ่มๆ จะได้เข้าใจสาวๆในแวดวงมากขึ้นด้วยค่ะ
อาชีพที่ต้องใช้ บุคลิกภาพ รูปร่างหน้าตา ทักษะเฉพาะตัว และมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษ งงๆ เหล่านี้
BA PC PG PT MC
เอ๊ะนี่มันอะไร ....
อ้างอิงจากกูเกิล /อักษรย่อ.com + ความเข้าใจเจ้เอง
BA Beauty Advisor = พนักงานเชียร์สินค้า แนะนำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องสำอาง พนักงานส่งเสริมความงาม หรือพนักงานที่อยู่ตามเคาท์เตอร์เครื่องสำอางตามห้างสรรพสินค้า มีหน้าที่ในการให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องสำอางให้กับลูกค้า รวมถึงการสาธิตการใช้เครื่องสำอางแต่ละชิ้นให้กับลูกค้าที่สนใจ นอกจากจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่จะต้องนำเสนอแล้ว BA จะต้องมีทักษะในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงความสามารถทางด้านศิลปะ ความงาม การแต่งหน้า และสามารถทำการขายสินค้าให้กับลูกค้าได้ด้วย รายได้ แล้วแต่แบรนด์/ยอดขาย โดยมากเป็นพนักงานประจำ
PC Product Consultant = พนักงานแนะนำสินค้า หรือ พนักงานขายสินค้า ที่อยู่ตามห้างหรือบูธสินค้า แปลตามตัว ที่ปรึกษาผลิตภัณฑ์ เวลาเดินในซุปเปอร์สโตร์ใหญ่ๆ จะมีพนักงานยืนตามชั้นสินค้าของตัวเอง ใส่เสื้อแบรนด์สินค้านั้นๆ เมื่อลูกค้าเดินเข้าไปในโซนผลิตภัณฑ์ของตัวเองก็จะเข้ามาแนะนำ ซึ่งน้องๆPC ต้องได้รับการเทรนข้อมูลอย่างถูกต้องมาก่อน เมื่อลูกค้าถามจะได้ตอบและแนะนำได้ บางทีลูกค้าก็เป็นเจ้าหน้าที่บริษัทสินค้าปลอมตัวมา audit ก็มี รายได้ โดยเฉลี่ย 400++ ต่อวัน ลักษณะงานเป็นพนักงานห้างคนหนึ่ง ต้องยืนตลอด ห้ามเล่นโทรศัพท์ มีเวลาพักตามรอบที่กำหนด นอกจากรายได้ประจำอาจมีค่าคอมมิชชั่นจากยอดขายด้วย
PG Promotion Girl = พนักงานโปรโมทสินค้า เน้นการขายสินค้าที่มีการจัดโปรโมชั่น ส่วนมากจะเป็นประเภทพาร์ทไทม์ไม่ใช่งานประจำเนื่องจากสินค้าที่ขายเป็นสินค้าเฉพาะที่ทำโปรโมชั่น และพนักงานก็คัดจากหน้าตาและบุคลิกภาพ โดยรวมเหมือนคือ PC ต้องรู้ข้อมูลสินค้า ตอบคำถาม แนะนำลูกค้าได้ ต้องยืน ต้องเชียร์ขาย แต่จะเน้นขายสินค้าช่วงโปรโมชั่น มียอดขายตามเป้าที่กำหนด อาจมีเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สวยๆ น่ารักๆ ให้พนักงาน ดูเหมือนเป็นตำแหน่งที่อยู่ระหว่างพริตตี้กับพีซี สวยด้วยและขายด้วย รายได้ โดยเฉลี่ย 700++ ต่อวัน
จากข้อมูลข้างต้น ฟังดูเหมือนจะมีแต่ผู้หญิง ต้องบอกว่า โดยมากเป็นผู้หญิงค่ะ แต่ผู้ชายก็มี หลายๆแบรนด์ก็ใช้สาวประเภทสอง ซึ่งสินค้าบางตัวสาวสองทำยอดได้ดีกว่าด้วย
มาดูกันต่อ
PT Pretty Boy/Girl = พริตตี้ แปลว่าน่ารัก ก็ต้องเป็น หนุ่มหล่อ สาวสวย น่ารัก ดึงดูดลูกค้าได้ แม้ไม่ต้องพูดอะไร เขาเข้ามาถ่ายรูป ก็โพสได้ ยิ้มเก่ง จะให้ดีก็รู้จักสินค้า พอตอบคำถามเบื้องต้นได้ ถ้าลูกค้าสนใจก็แนะนำไปให้ เซล หรือพนักงานของสินค้านั้นๆ ดูแลต่อไป พบได้ตามงานกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Events) งานแสดงสินค้า (Exhibitions) ต้องยืนประจำบูท บางงานอาจให้นั่งได้บ้าง (สาวๆมักบ่นกันในวงว่า ยืน Teen แตก) การใส่รองเท้าส้นสูงเพื่อความสง่า เรื่องชุดเสื้อผ้าแล้วแต่ทางเจ้าของสินค้า/ผู้ว่าจ้างกำหนด อาจมีอยู่แล้ว ตัดให้ใหม่ หรือบอกสีให้ไปหามาเอง บางงานก็ให้พวกเธอมาแจกสินค้า โบร์ชัว หรือแม้แต่ยืนถ่ายรูป เชิญรางวัล บลาๆ สิ่งจำเป็นของอาชีพพริตตี้ คือ ... บุคลิกภาพ ความสวยหล่อ ดูดี (เหมาะจะให้เรียก พริตตี้ ว่างั้นเถอะ) เรื่องรูปร่างก็มีส่วน ต้องผอม ต้องเป๊ะไว้ จะได้ใส่ชุดที่ลูกค้ามีให้ได้ง่าย ต่อมาก็เป็นเรื่องทักษะความรู้ ที่สามารถเรียนรู้ข้อมูลงานได้เร็ว มีมนุษยสัมพันธ์ดี รายได้ โดยเฉลี่ย 1500-3000 บาทต่อวัน
MC Master of ceremonies /Emcee = พิธีกร ผู้ควบคุม/ดำเนินงาน รายการต่างๆ อันนี้เมืองไทยบ้านเรายังสับสน ขออนุญาตอธิบายโดยละเอียด โปรดติดตาม...
Pretty MC คือน้องๆที่ น่ารัก สวย ดูดี แบบพริตตี้ มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย สามารถ พูดประชาสัมพันธ์ออกไมค์ได้ (ในวงการจะเรียกว่า โฟน คือ ต้องพูดสื่อสารผ่านเครื่องขยายเสียงออกสื่อในที่สาธารณะได้ ซึ่งน้องพริตตี้บางคนทำไม่ได้ก็จะรู้ตัวเองว่าไม่รับงานโฟน เพราะกลัวไมค์ ไม่กล้า พอพูดแล้วซ้ำวกวนไปมา พูดไม่รู้เรื่อง บางคนก็พยายามฝึกจากการดูรุ่นพี่ ก็ขยับจาก พริตตี้มารับงาน MC โฟนสินค้าได้ด้วย) ภาพรวมเหมือนพริตตี้ ต้องสวยดูดี ชุดเครื่องแต่งกายแล้วแต่ทางเจ้าของสินค้าหรือผู้ว่าจ้างกำหนด แต่มีข้อยกเว้นนะ บางคนอาจจะไม่สวยเป๊ะ แต่โฟนเก่งมาก ก็ถือเป็นภาษีส่วนนี้ไป ลูกค้าอาจจะมีสคริปให้ หรือโยนโบร์ชัวร์บอกโปรโมชั่นมา แล้วให้โซโล่เอง ซึ่งเหล่า MC มือโปรก็จะไม่มีปัญหา
การโฟนประชาสัมพันธ์สินค้า คือ .. การบอกข้อมูลผ่านเครื่องขยายเสียง(ไมโครโฟน ลำโพง บางงานMC ลากลำโพงเองอย่างกะแอร์ลากกระเป๋าก็มี) ทั้งชื่อสินค้า คุณสมบัติ ประโยชน์ ราคา โปรโมชั่น สิ่งที่ลูกค้าจะได้ สิทธิพิเศษเพิ่มเติม ชวนเล่นเกม แจกของพรีเมี่ยมต่างๆ
เราจะพบได้ตามงานกิจกรรมส่งเสริมการตลาด (Events) งานแสดงสินค้า (Exhibitions) หรือห้างสรรพสินค้า หน้าร้านค้าต่างๆ หรือแม้แต่ ตลาดนัด ย่านชุมชน บางชนิดสินค้ามีการเดินขบวน เราเรียกกันว่าเดินทรูป (Troop) ในขบวนจะมี MC Pretty Staff เจ้าหน้าที่อื่นๆ ช่วยกันประชาสัมพันธ์ ถือป้าย แจกโบชัวร์ ว่ากันไป ถ้าเป็นงานบูทหรือหน้าร้าน MC จะอยู่บูทเฉพาะช่วงประชาสัมพันธ์ วันละ 3-4-5 ครั้ง ตามแต่ตกลงเนื้องาน จะไม่ได้อยู่ประจำบูทเหมือนพริตตี้ แต่ก็แล้วแต่ตกลงกันกับผู้ว่าจ้างค่ะ
เวลาเราเห็นหนุ่มสาวเหล่านี้ โฟนประชาสัมพันธ์(โดยมากจะเป็นสาวๆ) ก็สามารถฟังรายละเอียดเบื้องต้นก่อน แล้วติดต่อสอบถามจากพนักงานประจำบูทหรือสินค้าได้ หรือถ้าพวกเธอชวนเล่นเกม ไม่ว่าจะตอบคำถามหรือให้ควักแบงค์ยี่สิบ ก็เข้าไปเล่นเลยค่ะ นางมีหน้าที่แจก ต้องแจกค่ะ ช่วยเล่นที (จากไดอารี่ตุ๊ดซี่ ที่เจ้หลีเจอ ประมาณนั้น แต่เรื่องจริงแล้ว คำถามแบบนั้น ทีมงานไม่น่าจะให้ถามโจ่งแจ้งนะ เป็นเจ้จะตอบข้อ ก. ไม่เคยค่ะ ตีแบ๊วไป เอิ๊กๆ^^)
ในต่างประเทศเขาจะมี MC Pretty เป็นกิจจะลักษณะ ตามงานฮอลหรือ Events พิเศษไป ไม่เหมือนบ้านเราที่เห็นได้ทุกห้าง ทุกเสาร์อาทิตย์ จนชินตา
นี่คือ MC โฟนประชาสัมพันธ์สินค้า รายได้ โดยเฉลี่ย 1500-3500 บาท ต่อวัน
ทีนี้มี MC มีแบบ MC onstage อีก แนะนำเบื้องลึกละนะ เพราะว่ามันคือทักษะความสามารถเฉพาะของบุคคล บางคนพูดไมค์อยู่ข้างล่างได้ พอขึ้นเวทีไปไม่เป็นก็มี ต้องอาศัยประสบการณ์ การเลือกใช้คำให้เหมาะกับลักษณะงาน และผู้ร่วมงาน เช่น งานเทคโนโลยี งานการท่องเที่ยว งานหนังสือ งานแม่และเด็ก หรือแม้แต่การใช้เสียงไม่ให้กวนหูคนฟังแต่ยังน่าสนใจ MC onstage ในงาน Events จะเป็นลักษณะกึ่งพิธีกร เราเรียกกันว่า MC กลาง มีการรันคิว ลำดับของเวที บางงานรายละเอียดไม่ซับซ้อน เช่น เปิดงาน แนะนำงานโดยรวม มีบูทไหน สินค้าอะไรมาบ้าง โปรโมชั่นที่น่าสนใจของแต่ละวัน ส่งต่อให้ MC ของแต่ละบูทขึ้นมาประชาสัมพันธ์เอง หรือมีสัมภาษณ์คนสำคัญ ดารา เล่นเกมแจกของ ปิดงาน ลักษณะโดยรวมเหมือน Pretty MC ทั่วไป ทั้งบุคลิกรูปร่างหน้าตา ก็ต้องดูดี มั่นใจ เรื่องชุดเครื่องแต่งกายตามตกลงกับผู้ว่าจ้าง ตัวงานจะเป๊ะ เป็นทางการหน่อย เพราะเป็นงานเวที ที่มีคนดู และผู้เกี่ยวข้องมากขึ้นนั่นเอง รายได้โดยเฉลี่ย 3000-5000 ต่อวัน
ต่อมา MC/Emcee พิธีกร ที่ต้องแนบคำว่า Emcee เพราะสากลเขาใช้แบบนี้ค่ะ เดี๋ยวแจงอีกทีนะ ในขั้นนี้เราจะใช้คำว่า พิธีกร แต่หลังเวทีก็จะเรียกชื่อเล่นตำแหน่งเราว่า MC อยู่ดี ก็เป็นที่เข้าใจกัน พิธีกร เวที เป็นผู้ดำเนินรายการบนเวที ในกิจกรรมต่างๆ งานแถลงข่าว งานเปิดตัว งานสัมมนา งานประกวด งานแต่งงาน งานเลี้ยง และอื่นๆ มีเจ้าหน้าที่/ออแกไนซ ช่วยดูแลงานให้ ตัวงานจะมีกำหนดการไว้เรียบร้อยตั้งแต่ต้นจนจบ เปิดตัวพิธีกร เชิญผู้บริหาร เชิญคนสำคัญ มีช่วงพิเศษ ตัดริบบิ้น/สัมภาษณ์ VTR การแสดง การบรรยาย จับฉลาก/แจกของรางวัล บลาๆๆๆ ทั้งนี้แล้วแต่ กิจกรรมของแต่ละงาน ลักษณะงานพิธีกร จะเน้นความสามารถเป็นหลัก ทักษะการสื่อสารในที่สาธารณะ การใช้คำพูดให้เหมาะสม บุคลิกภาพโดยรวมที่ดูดี สามารถดูแลเวที ควบคุมสถานการณ์ต่างๆให้ผ่านไปได้ ทำให้ผู้ร่วมงานประทับใจในการดำเนินรายการ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าปลาบปลื้มมากถึงมากที่สุด รายได้ คิดเหมือนดาราเลยค่ะ No name โดยเฉลี่ย ก็ 5,000-10,000 หรือมีชื่อเสียง อย่างที่เรารู้จักกัน ดีเจดังๆ พิธีกรมากฝีมือหลายท่านก็ เป็นหลักหมื่นถึงหลักแสน แต่ เราคิดเป็นคิวงานนะคะ คือ งานลักษณะนี้ จะมีกำหนดเวลาแน่นอน เช่น งานเปิดตัวสินค้าหรือ บริษัท นับตั้งแต่ 8.00-12.00 น. เป็น 1 คิวงาน งานเลี้ยงฉลองต่างๆช่วงเย็น นับตั้งแต่ 18.00-22.00 น.เป็น 1 คิวงาน ทั้งนี้แล้วแต่การตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับงานค่ะ ซึ่งอาจจะดิวตรง ผ่านผู้จัดการ โมเดลลิ่ง หรือผ่านออแกไนซก็แล้วแต่กรณี ซึ่งนั่นหมายความว่า พิธีกร อาจจะรับงานวันหนึ่งมากกว่า หนึ่งคิวก็ได้ ราคาแต่ละงานอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจทุกฝ่าย (งานแต่งงานก็เช่นกัน พิธีกรงานหมั้นช่วงเช้านับเป็น 1คิว และงานเลี้ยงฉลองช่วงเย็น นับเป็นอีก 1คิวค่ะ)
ข้างต้นเป็นราคาทั่วไปที่เป็นงานภาษาไทย ถ้าต้องใช้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆในการสื่อสารด้วย ราคาจะเพิ่มขึ้นอีก 50-100% ค่ะ
อ่อ.. สำหรับราคาต่างจังหวัด ค่าเฉลี่ยอาจจะน้อยกว่านี้ เพราะค่าครองชีพต่ำกว่า งบประมาณลูกค้าไม่สูงมาก ยังไงๆก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของคนจ้างและคนทำงานค่ะ
เรื่องบุคลิกภาพ รูปร่างหน้าตา เอาเป็นว่าเดี๋ยวนี้หมอทำได้ ทุกอย่าง อยากเป็นแบบไหน จ่าย จัด จ้ะ ถามว่าจำเป็นมั้ย แต่ละคนมีคาแรคเตอร์ต่างกัน อยู่ที่การวางตำแหน่งของตัวเอง ถ้ามาแนวเอ็กซเซ็กซี่ ต้องมีนมตู้ม เอวคอด สะโพกผาย ก็ทำค่ะ หนูตัวเล็กเป็นพริตตี้เอ็มซีได้มั้ย ก็ไม่มีใครห้ามนะ อยู่ที่ลูกค้าต้องการแบบไหน สินค้าบางอย่างอาจจะต้องการคาแรคเตอร์แบบ น่ารัก ใสๆ ก็ได้ บางคนเรียบร้อย ก็มีงานตลอด สุดท้าย เราก็เป็นสินค้าหนึ่ง ให้ผู้ว่าจ้างเลือกใช้อยู่ดี
สิ่งสำคัญ จำเป็น ดอกจันตัวโต ที่ก็ควรมีในทุกวงการ คือ ความรับผิดชอบ การมีวินัย รู้สิ่งใดควรไม่ควร รับงาน 1 แล้ว มีงาน 2 เข้ามา แม้ราคาสูงกว่าก็ควรต้องทำใจปฏิเสธงาน 2 เพื่อรักษาเครดิต ไม่มาสาย ไม่เอาเปรียบ กินแรงเพื่อน ไม่มัวเล่นโทรศัพท์ มีการเตรียมตัวก่อนทำงาน รู้ข้อมูลสินค้า/ลูกค้า จัดเสื้อผ้าหน้าผมเรียบร้อย ให้เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของสินค้า ที่เขาตัดสินใจว่าจ้างเราให้มาเป็นตัวแทนของสินค้าเขา เรามีเกียรติมากกว่าที่จะมาทำงานให้ผ่านไปวันๆ ซึ่งในงานกิจกรรมพิเศษเหล่านั้น ผู้ว่าจ้างก็ต้องคาดหวังมาก เป็นธรรมดา
อ่ะๆ เดี๋ยวเครียด มาดูในมอเตอร์โชว์ซักนิดว่าอะไรคืออะไร ติดตามจาก ความเห็นค่ะ
เพิ่มเติม ใครอยากทำงานด้านนี้ ความเห็น 3 ค่ะ