คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ไม่เลือกงาน ไม่ตกงาน ถ้า เก่ง จริง & มีความสามารถ จริง
เงินเดือน ขึ้นอยู่กับ วุฒิ ตำแหน่ง ประสบการณ์ ความสามารถ ของ แต่ละบุคคล
มี ทั้ง มหาวิทยาลัย เอกชน & มหาวิทยาลัย รัฐบาล
ทุกสถาบัน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ดีหมด ขึ้นอยู่กับ ผู้เรียน จะมีความขยัน มาก แค่ไหน จะเก็บเกี่ยวเอาความรู้มาได้ มาก แค่ไหน
เรียนจบ สายอาชีพ ประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก ต้องขยันเพิ่มเติม เพราะ พื้นฐาน สายสามัญ ไม่แน่น
เรียนจบ สายอาชีพ ประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก เรียน ต่อเนื่อง หรือ เทียบโอน แต่ ก่อน เรียก ต่อเนื่อง เดี๋ยวนี้ เรียก เทียบโอน ขึ้นอยู่กับ วิชา ที่ เทียบโอน ได้ จาก สถาบัน โรงเรียน วิทยาลัย เดิม ถ้า ต่อ สาขา เดิม หรือ สาขา ที่ เกี่ยวข้อง อาจจะเทียบโอน ได้ มาก อาจจะจบเร็ว ถ้า เปลี่ยน สาขา อาจจะ เทียบโอน ได้ น้อย อาจจะจบ ช้า ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับ ความขยันของแต่ละ บุคคล วิชา ที่ เทียบโอน ต้องได้ Grade C or 2
แต่ละ สาขา เน้นคนละด้าน
น้อง ต้องหาตัวเองให้พบ ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร บุคลิกภาพ เป็น แบบไหน เรียนจบแล้วอยากทำงานเกี่ยวกับอะไรแล้วเลือกเรียนในสิ่งที่ใช่ทำในสิ่งที่ชอบแล้วจะมีความสุขในการเรียนและการทำงาน
บางคนคิดว่า ชอบ ถนัด พอมาเรียนจริง ๆ เรียน ไม่ได้ ไม่ไหว
ภาษา ใช้ในการเรียนต่อ และ การทำงาน
U-Review สาขาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม https://www.youtube.com/watch?v=mZo8LBWUj9E
http://www.admissionpremium.com/
สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก
บุคลิกภาพของผู้เรียน
.มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
.ชื่นชอบการทำงานด้านศิลปะและการออกแบบ
.สนใจในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยสื่อ
และเทคโนโลยีสมัยใหม่
.มีความขยันและอดทนในการทำงาน ฯลฯ
คอมพิวเตอร์กราฟิก Computer Graphic
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบงานกราฟิกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
ในด้านการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบ
สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล ได้แก่ การออกแบบโปสเตอร์
การออกแบบโลโก้ การออกแบบภาพลักษณ์สำหรับองค์กร
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และการออกแบบ
กราฟิกสำหรับเว็บไซต์ เป็นต้น
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกมุ่งเน้นที่จะพัฒนาแนวความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบงานกราฟิก ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ รวมถึงทักษะทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย
โอกาสทางวิชาชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา สาขาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
Interactive Designer
นักออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ ผู้ที่ทำงานด้านการออกแบบข้อมูล (Information Design) การออกแบบหน้าการใช้งานหรือหน้าปฏิบัติการ(Interface Design) หน้าจอทัชกรีน (Touch Screen) การออกแบบเว็บไซต์ (Web Design) สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สื่อการเรียนการสอน (e-Learning) และสื่อปฏิสัมพันธ์การจัดวางติดตั้ง (Installation Interactive Media)
Graphic Designer
นักออกแบบกราฟิก ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการออกแบบด้วยรูปภาพ ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหวเพื่อใช้ในการสร้างผลงานออกแบบเพื่อการสื่อสารทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล เช่น โบรชัวร์ โปสเตอร์ สื่อโฆษณา เป็นต้น
Motion Graphic Designer
นักออกแบบกราฟิก ผู้นำเสนองานออกแบบกราฟิกในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว โดยนำหลักการของแอนิเมชันและทฤษฎีภาพยนตร์มาประยุกต์ใช้กับหลักการออกแบบกราฟิกเพื่อสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่างๆ เช่น มิวสิควีดีโอ ไตเติ้ลรายการทีวี เป็นต้น
Photographer
ช่างภาพ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพด้วยกล้อง โดยนำทฤษฎีของแสงมาประยุกต์ใช้กับการจัดวางองค์ประกอบ เพื่อถ่ายทอดความคิดและจินตนาการของตนผ่านทางภาพถ่ายที่สมบูรณ์แบบและสวยงาม
Creative
นักออกแบบสื่อสร้างสรรค์ เป็นผู้ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์งานออกแบบใหม่ๆที่หลากหลายและสามารถตอบโจทย์จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ทางการตลาดของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ มีหน้าที่ในการคิดงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เช่น งานโฆษณา (Advertising Design) งานออกแบกราฟิก (Graphic Design)
Art Director
ผู้กำกับศิลป์ เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกำกับสไตล์งานและการพัฒนาแนวความคิด เพือวางทิศทางในการทำงานออกแบบที่ชัดเจน ตลอดจนควบคุมคุณภาพการงานผลิตตลอดขั้นตอนให้เสร็จสมบูรณ์
Creative Director
ผู้กำกับการออกแบบงานสร้างสรรค์ เป็นผู้บริหารจัดการงานสร้างสรรค์ ควบคุมดูแลทีมงานให้แนวทางในการทำงานและเสนอแนะแนวความคิดในการออกแบบตลอดจนควบคุมให้งานออกมาตอบโจทย์ตามจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ทางการตลาดของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ ในงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เช่น งานโฆษณา(Advertising Design) งานออกแบบกราฟิก (Graphic Design) ฯลฯ
อาชีพ เช่น นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) นักออกแบบเว็บไซต์ (Website Designer) นักออกแบบกราฟิเพี่อสภาพแวดล้อม (Environmental Graphic Designer) นักออกแบบดิสเพลย์ (Display Designer) นักออกแบบแอนิเมชั่น (Animator Designer) หรือเป็นครีเอทีฟ ฯลฯ
โอกาสในการทำงาน
เปิดกว้างในการประกอบอาชีพด้านการสร้างสรรค์
งานศิลปะและการออกแบบที่หลากหลายในอุตสาหกรรมดิจิทัล
คอนเทนท์ เช่น นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
นักวาดภาพประกอบ (Illustrator) ช่างภาพ (Photographer)
นักออกแบบสื่อสร้างสรรค์ (Creative) นักออกแบบเว็บไซต์
(Web Designer) นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer)
โปรแกรมเมอร์สื่อมัลติมีเดีย (Interactive Programmer)
นักออกแบบกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphic Artist)
นักสร้างโมเดลสามมิติ (3D Modeller) นักสร้างแอนิเมชัน
2 มิติ (2D Animator) นักสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ
(3D Animator) นักออกแบบงานด้านภาพและเทคนิคพิเศษ
(Visual Effects Artist) นักออกแบบเกม (Game Designer)
และอื่น ๆ ในสายงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจน
การประกอบอาชีพแบบอิสระหรือฟรีแลนซ์ที่ตอบรับการ
ขยายตัวทางธุรกิจในด้านนี้ของประเทศ และเนื่องจากบุคลากร
ด้านนี้กำลังเป็นที่ต้องการอย่างสูง จึงนับเป็นทางเลือกหนึ่ง
ที่ดีของผู้ที่สนใจศึกษาและต้องการทำงานในสายอาชีพเหล่านี้ ฯลฯ
เงินเดือน ขึ้นอยู่กับ วุฒิ ตำแหน่ง ประสบการณ์ ความสามารถ ของ แต่ละบุคคล
มี ทั้ง มหาวิทยาลัย เอกชน & มหาวิทยาลัย รัฐบาล
ทุกสถาบัน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ดีหมด ขึ้นอยู่กับ ผู้เรียน จะมีความขยัน มาก แค่ไหน จะเก็บเกี่ยวเอาความรู้มาได้ มาก แค่ไหน
เรียนจบ สายอาชีพ ประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก ต้องขยันเพิ่มเติม เพราะ พื้นฐาน สายสามัญ ไม่แน่น
เรียนจบ สายอาชีพ ประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก เรียน ต่อเนื่อง หรือ เทียบโอน แต่ ก่อน เรียก ต่อเนื่อง เดี๋ยวนี้ เรียก เทียบโอน ขึ้นอยู่กับ วิชา ที่ เทียบโอน ได้ จาก สถาบัน โรงเรียน วิทยาลัย เดิม ถ้า ต่อ สาขา เดิม หรือ สาขา ที่ เกี่ยวข้อง อาจจะเทียบโอน ได้ มาก อาจจะจบเร็ว ถ้า เปลี่ยน สาขา อาจจะ เทียบโอน ได้ น้อย อาจจะจบ ช้า ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับ ความขยันของแต่ละ บุคคล วิชา ที่ เทียบโอน ต้องได้ Grade C or 2
แต่ละ สาขา เน้นคนละด้าน
น้อง ต้องหาตัวเองให้พบ ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร บุคลิกภาพ เป็น แบบไหน เรียนจบแล้วอยากทำงานเกี่ยวกับอะไรแล้วเลือกเรียนในสิ่งที่ใช่ทำในสิ่งที่ชอบแล้วจะมีความสุขในการเรียนและการทำงาน
บางคนคิดว่า ชอบ ถนัด พอมาเรียนจริง ๆ เรียน ไม่ได้ ไม่ไหว
ภาษา ใช้ในการเรียนต่อ และ การทำงาน
U-Review สาขาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม https://www.youtube.com/watch?v=mZo8LBWUj9E
http://www.admissionpremium.com/
สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก
บุคลิกภาพของผู้เรียน
.มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
.ชื่นชอบการทำงานด้านศิลปะและการออกแบบ
.สนใจในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยสื่อ
และเทคโนโลยีสมัยใหม่
.มีความขยันและอดทนในการทำงาน ฯลฯ
คอมพิวเตอร์กราฟิก Computer Graphic
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบงานกราฟิกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
ในด้านการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบ
สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล ได้แก่ การออกแบบโปสเตอร์
การออกแบบโลโก้ การออกแบบภาพลักษณ์สำหรับองค์กร
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และการออกแบบ
กราฟิกสำหรับเว็บไซต์ เป็นต้น
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกมุ่งเน้นที่จะพัฒนาแนวความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบงานกราฟิก ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ รวมถึงทักษะทางเทคโนโลยี ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย
โอกาสทางวิชาชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา สาขาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก
Interactive Designer
นักออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ ผู้ที่ทำงานด้านการออกแบบข้อมูล (Information Design) การออกแบบหน้าการใช้งานหรือหน้าปฏิบัติการ(Interface Design) หน้าจอทัชกรีน (Touch Screen) การออกแบบเว็บไซต์ (Web Design) สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สื่อการเรียนการสอน (e-Learning) และสื่อปฏิสัมพันธ์การจัดวางติดตั้ง (Installation Interactive Media)
Graphic Designer
นักออกแบบกราฟิก ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการออกแบบด้วยรูปภาพ ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหวเพื่อใช้ในการสร้างผลงานออกแบบเพื่อการสื่อสารทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล เช่น โบรชัวร์ โปสเตอร์ สื่อโฆษณา เป็นต้น
Motion Graphic Designer
นักออกแบบกราฟิก ผู้นำเสนองานออกแบบกราฟิกในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว โดยนำหลักการของแอนิเมชันและทฤษฎีภาพยนตร์มาประยุกต์ใช้กับหลักการออกแบบกราฟิกเพื่อสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่างๆ เช่น มิวสิควีดีโอ ไตเติ้ลรายการทีวี เป็นต้น
Photographer
ช่างภาพ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพด้วยกล้อง โดยนำทฤษฎีของแสงมาประยุกต์ใช้กับการจัดวางองค์ประกอบ เพื่อถ่ายทอดความคิดและจินตนาการของตนผ่านทางภาพถ่ายที่สมบูรณ์แบบและสวยงาม
Creative
นักออกแบบสื่อสร้างสรรค์ เป็นผู้ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์งานออกแบบใหม่ๆที่หลากหลายและสามารถตอบโจทย์จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ทางการตลาดของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ มีหน้าที่ในการคิดงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เช่น งานโฆษณา (Advertising Design) งานออกแบกราฟิก (Graphic Design)
Art Director
ผู้กำกับศิลป์ เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกำกับสไตล์งานและการพัฒนาแนวความคิด เพือวางทิศทางในการทำงานออกแบบที่ชัดเจน ตลอดจนควบคุมคุณภาพการงานผลิตตลอดขั้นตอนให้เสร็จสมบูรณ์
Creative Director
ผู้กำกับการออกแบบงานสร้างสรรค์ เป็นผู้บริหารจัดการงานสร้างสรรค์ ควบคุมดูแลทีมงานให้แนวทางในการทำงานและเสนอแนะแนวความคิดในการออกแบบตลอดจนควบคุมให้งานออกมาตอบโจทย์ตามจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ทางการตลาดของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ ในงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ เช่น งานโฆษณา(Advertising Design) งานออกแบบกราฟิก (Graphic Design) ฯลฯ
อาชีพ เช่น นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer) นักออกแบบเว็บไซต์ (Website Designer) นักออกแบบกราฟิเพี่อสภาพแวดล้อม (Environmental Graphic Designer) นักออกแบบดิสเพลย์ (Display Designer) นักออกแบบแอนิเมชั่น (Animator Designer) หรือเป็นครีเอทีฟ ฯลฯ
โอกาสในการทำงาน
เปิดกว้างในการประกอบอาชีพด้านการสร้างสรรค์
งานศิลปะและการออกแบบที่หลากหลายในอุตสาหกรรมดิจิทัล
คอนเทนท์ เช่น นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
นักวาดภาพประกอบ (Illustrator) ช่างภาพ (Photographer)
นักออกแบบสื่อสร้างสรรค์ (Creative) นักออกแบบเว็บไซต์
(Web Designer) นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer)
โปรแกรมเมอร์สื่อมัลติมีเดีย (Interactive Programmer)
นักออกแบบกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphic Artist)
นักสร้างโมเดลสามมิติ (3D Modeller) นักสร้างแอนิเมชัน
2 มิติ (2D Animator) นักสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ
(3D Animator) นักออกแบบงานด้านภาพและเทคนิคพิเศษ
(Visual Effects Artist) นักออกแบบเกม (Game Designer)
และอื่น ๆ ในสายงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจน
การประกอบอาชีพแบบอิสระหรือฟรีแลนซ์ที่ตอบรับการ
ขยายตัวทางธุรกิจในด้านนี้ของประเทศ และเนื่องจากบุคลากร
ด้านนี้กำลังเป็นที่ต้องการอย่างสูง จึงนับเป็นทางเลือกหนึ่ง
ที่ดีของผู้ที่สนใจศึกษาและต้องการทำงานในสายอาชีพเหล่านี้ ฯลฯ
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ค่ะ
สาขานี้เน้นการวาดรูปมากไหมคะ ? เน้นด้านไหน ? พอดีเป็นคนชอบตัดต่ออะค่ะ พวกรูปภาพ วิดิโอ
จบมาหางาน (ที่แน่นอน มั่นคง) ยากไหมคะ ? จขกท.เชื่อแหละค่ะว่าถ้าคนเราขยันหางานทำ มันก็ต้องมีงานให้ทำ แต่งานที่แน่นอนนี่ไม่แน่ใจ5555
จบมาแล้วถ้าตัน แบบตันจริงๆ หางานด้านนี้โดยตรงไม่ได้จริงๆ สามารถพลิกแพลงเป็นด้านไหนได้บ้างคะ ?
ปัจจัยสำคัญเลยค่ะ เงินค่ะ55555555555 เงินเดือนขั้นต่ำสาขานี้ประมาณเท่าไหรคะ ?
มีมหาลัยที่ไหนรับวุฒิปวส.บ้างคะ ? จขกท.อยากต่อปวส.ก่อนค่อยเรียนมหาลัย อยากทำงานไปด้วย ไม่อยากรบกวนแม่มากอะ
เท่าที่หาค่าเทอมของมหาลัยก็พอสมควรอยู่ทั้งรัฐ&เอกชน แต่ถ้าจะไปด้านนี้จริงๆ ต้องเอกชนเลยไหมคะ หลายคนที่รู้จักบอกเอกชนจะโอเคกว่า
#1 ไม่ดราม่า :เรียนที่ไหนก็เหมือนๆกันนะคะ ไม่เอาๆ เดี๋ยวยาว5555555
#2 ขอบคุณค่ะ