เบื้องหลังพิธีกรรม วัดพระธรรมกาย

กระทู้สนทนา
ผมเข้าวัดเคยได้ยินหลวงพ่อทัตตชีโวรองเจ้าอาวาส ท่านเคยอธิบายเรื่องนี้อย่างนี้ครับ

ตอนจะสร้างวัด ทีมงานทั้งหมดก็ศึกษากันว่า วัดควรจะเป็นอย่างไร จึงได้ข้อสรุปว่า วัดคือโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมสำหรับประชาชน เมื่อเป็นมหาลัย ก็ต้องมีการเรียนการสอน คือปริยัติ และปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังต้องมีกิจกรรม เพื่อเชื่อมโยงปริยัติ ปริบัติ สู่การนำไปใช้จริง และ ทำให้ประชาชนเป็นเจ้าของวัด เพราะวัดที่เราอุตสาห์สร้างมาด้วยความลำบาก ควรจะอยู่นาน ๆ สร้างความเจริญให้กับพระพุทธศาสนา การที่วัดจะเจริญและอยู่ได้นาน วัดนั้นต้องเป็นวัดของประชาชน  สรุป วัดพระธรรมกายจะทำอะไรต้องมี 3 เรื่องนี้ ทำธรรมะปริยัติ ธรรมะปฏิบัติ กิจกรรมเพื่อความเป็นเจ้าของวัด

การตอกเสาเข็ม ความจริงเป็นเรื่องของการก่อสร้าง แต่วัดท่านเอาหลักการข้างต้นมาจับ พอจัดพิธีตอกเสาเข็ม ก็เป็นโอกาส เชิญเจ้าภาพและสาธุชนที่ร่วมบุญสร้างวิหารนี้ ได้มาฟังธรรม ได้มานั่งสมาธิร่วมกัน และทำเสากับค้อนเล็ก ๆ ตอกลงไปในดินพร้อมกัน กับปั้นจั่นที่ตอกเสาต้นแรกลงไปส่วนตัวทุกคนก็ได้บุญได้ความปลื้มใจ จากการทำทาน รักษาศีล และทำภาวนา ส่วนรวมทุกคน ก็รู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของวัด และพร้อมจะมาช่วยกันใช้ ช่วยกันดูแลเมื่อวิหารสร้างเสร็จ ถามว่าผิดมั้ย ก็ไม่ผิดอะไร ก็เหมือนการกรวดน้ำหลังทำบุญ หรือพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อดูวัตถุประสงค์แล้วก็จะเข้าใจ

การเชื่อมโยงธรรมะ ปริยัติ ปฏิบัติ และ ความมีส่วนร่วม ความเป็นเจ้าของวัด คือวัตถุประสงค์ของพิธีกรรมทั้งหลายวัดพระธรรมกาย

ก่อนพิธีกรรม มีฟังธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ

ภาพเสาเข็มของอาคาร (แต่ละงานก็เปลี่ยนไป)

ภาพฆ้อนกับเสาเข็มของเรา เสร็จงานเก็บกลับบ้านเป็นที่ระลึก

ปั้นจั่นก็ตอกไป  เราก็ตอกของเรา แต่ทุกครั้งที่ตอกเท่ากับบอกตัวเองว่า เราคือเจ้าของวัด และวัดพระธรรมกายคือวัดของประชาชน

เมื่อวัดมีภัย ก็พร้อมจะออกมาช่วยกัน ภาพตักทรายใส่กระสอบ ป้องกันน้ำท่วมวัดและชุมชน
ทั้งพระภิกษุ สามเณร

ทั้งโยม

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่